Group Blog
 
All blogs
 
ศิลปกรรมลัทธิโพสท์อิมเพรสชั่นนิมส์ Post - Impressionism Art

ศิลปะลัทธิโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์ Post – Impressionism Art




Post – Impressionism Art มีความหมายว่า ลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์ยุคหลัง ด้วยคำว่า Post หมายความว่า ช่วงระยะหลัง กล่าวให้ง่ายต่อความเข้าใจก็คือ โพสท์อิมเพรสนิสม์ เป็นลัทธิศิลปะที่แสดงปรากฏการณ์ชของตนในช่วงหลังศิลปะลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์นั่นเอง บุคคลที่ให้ชื่อลัทธินี้คือ โรเจอร์ ฟราย นักวิจารณ์ศิลปะที่มีชื่อเสียงชาวอังกฤษ เป็นผู้ใช้เรียกนิทรรศการผลงานศิลปะที่กราฟตัน แกลเลอรี ในกรุงลอนดอน ปี ค.ศ. 1910 ( วิรุณ ตั้งเจริญ . 2535 : 21 ) แต่การเคลื่อนไหวของศิลปินลัทธิโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์นี้ มีการเคลื่อนไหวในฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 1880 – 1905 ซึ่งมีช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับการเคลื่อนไหวของศิลปะลัทธินีโออิมเพรสชั่นนิสม์ ( Adams. 1994 : 396 )





ศิลปินอิมเพรสชั่นนิสม์กลุ่มนี้ มีความแตกต่างจากอิมเพรสชั่นนิสม์กลุ่มอื่น คือ ศิลปินแต่ละคนต่างทำงานศิลปกรรมของตน ไปตามความคิดความเชื่อมั่นส่วนตัว โดยไม่มีความสัมพันธ์เชิงกลุ่มหรือองค์กรระหว่างกัน เพียงพวกเขามีความเชื่อทางศิลปะคล้ายคลึงกัน นั่นคือการแสดงออกโดยเน้นรูปทรง สี ภายใต้การเปล่ง สำแดงอารมณ์ภายในส่วนตน ( Personal emotion ) ให้ปรากฏออกมา ซึ่งในที่สุดแล้วศิลปินแต่ละคนก็จะสร้างสรรค์ ผลงานที่มีลักษณะรูปแบบแตกต่างกันไป แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ




กลุ่มที่เกี่ยวข้องหรือเน้นการแสดงออกด้านอารมณ์ ( Emotional aspect ) โพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์กลุ่มนี้ มีศิลปินแวนโก๊ะ กับ โกแกง เป็นศิลปินหลัก และกลุ่มที่เน้นความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางศิลปะ ( Structural aspect ) ซึ่งเริ่มต้นโดย เซซานน์และเซอราท์ ผลงานของกลุ่มแรกเป็นผลงานสร้างสรรค์ จากฐานความรู้สึกทางอารมณ์อันเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง ส่วนกลุ่มหลังเป็นการพัฒนาโครงสร้างทางรูปทรงและรูปทรงและสีสัน กระนั้นศิลปินแต่ละคนก็มีการสร้างสรรค์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลอีกต่างหาก



ศิลปินกลุ่มโพสท์อิมเพรสชันนิสม์ค่อนข้างจะโชคดีกว่ากลุ่มอื่น ในส่วนที่พวกเขาได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากนักวิจารณ์ศิลปะคนสำคัญของอังกฤษในยุคนั้นคือ โรเจอร์ ฟราย ( Roger Fry , ค.ศ. 1866 – 1934 ) กับ ( Clive Bell , ค.ศ. 1881 – 1964 ) พร้อมพวกกลุ่มบลูมสเบอรี ( Bloomsbury Group ) เป็นผู้จัดให้มีการแสดงจิตรกรรมของศิลปินผู้สร้างงานตามแนวโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ถึง 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ที่ กราฟตัน แกลเลอรี่ และตั้งชื่อนิทรรศการว่า “ มาเนต์ และกลุ่มโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์ ” ซึ่งจุดกระแสศิลปะในอังกฤษให้เกิดความตื่นตัวเป็นอย่างมากและนำมาซึ่งชื่อลัทธิศิลปะกลุ่มนี้




โดยรวมคือ ศิลปินกลุ่มนี้ได้ให้ความสำคัญต่อโครงสร้างทางรูปทรงศิลปะ ( Art Form ) มากกว่าการถ่ายทอดให้เกิดความเหมือนจริงว่าเป็นภาพอะไร เพื่อให้คนชมเกิดปฏิกิริยาทางความรู้สึกต่อภาพมากกว่าที่จะให้ภาพแสดงให้ผู้ชมรับผู้รู้เรื่องราวจากผลงาน และผลงานของพวกเขาก็ทำนักสุนทรียศาสตร์กลุ่มนี้ยึดถือทฤษฎีรูปทรง ที่เชื่อว่าคุณค่าของศิลปะอยู่ที่รูปทรง




ศิลปะคือรูปทรง ( Art as Form ) ได้ไช้ลักษณะรูปแบบของกลุ่มโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์เป็นกรณีตัวอย่างในระยะเริ่มต้น ( ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ . 2543 : 36 - 41) ซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยเสริมหรือแรงหนุนให้ศิลปะกลุ่มนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระยะต่อมาตราบจนปัจจุบัน



ศิลปินลัทธิโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์



ศิลปินคนสำคัญของลัทธิโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์ มี 4 คน คือ เซซานน์ , แวนโกะ , โกแกง และ โลเทรค





พอล โกแกง ( Paul Gauguin , ค.ศ. 1848 – 1903 ) โกแกงเป็นชาวปารีส มีฐานะร่ำรวยจากอาชีพค้าขายหุ้น แต่ในที่สุด โกแกงก็หันมาใช้เวลาในชีวิตเขียนภาพตั้งแต่ ค.ศ. 1883 เป็นต้นมา จนยอมละทิ้งครอบครัวและฐานะอันดีสู่มนต์เสน่ห์ทางศิลปะ โกแกงมีความคิดบางอย่างคล้ายกับแวนโก๊ะ คือ เขาฝันถึงการรวมกลุ่มจิตรกรตั้งเป็นนิคม
ในด้านหลักคิดทางการสร้างสรรค์โกแกงมักจะแนะนำคนที่มาชมผลงานของเขาและบรรดาลูกศิษย์ว่า การวาดภาพนั้นควรวาดมันด้วยจิตใจ ทั้งนี้เพราะการใส่อารมณ์ลงในสีนั้น ทำให้รูปแบบจากธรรมชาติมีความสมบูรณ์ และมีความเป็นระเบียบยิ่งขึ้นนี่คือ จุดกำเนิดของลัทธิสังเคราะห์ ( Synthetism ) ซึ่งต่อมาโกแกงมีฐานะคล้ายผู้นำของกลุ่มนี้
จิตรกรกลุ่มนี้มีความศรัทธาในตัวโกแกงมาก และนับถือโกแกงเสมือนอาจารย์กับศิษย์ คำพูด คำแนะนำของเขาถูกรวบรวมทีละเล็กทีละน้อยจนกลายเป็น “ ลัทธิ ” เป็นหลักการของพวกลัทธิสังเคราะห์ไป
เขาได้จัดความคิดความพยายาม ที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ของสีให้เหมือนกับหลักของดนตรี เพื่อให้มนุษย์ได้รับรู้รสของสีโดยไม่จำเป็นต้องมีคำบรรยาย
โกแกงมีความสนใจในศิลปะของพวกอนารยะ และศิลปะของพวกประชาชนสามัญธรรมดาเขามีความเชื่อว่าจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุโรป มาจากศาสนนิยาย นิทานพื้นบ้าน เพราะฉะนั้น เขาอาจสร้างศิลปกรรมใหม่ขึ้นมาได้ โดยการศึกษาความคิดของพวกอนารยชน ดังนั้น จึงศึกษาพวกเครื่องปั้นดินเผาของชาวตะวันออก ชาวอินเดียนแดงเผ่าแอสเต็ค ซึ่งได้แสดงความรู้สึกออกมาราวกับเรื่องราวในนวนิยายอันลึกลับ
สำหรับผลงานชิ้นเยี่ยมของโกแกง คือ “ พระไครสต์สีเหลือง ” ( The Yellow Christ , ค.ศ. 1889 ) และภาพ “ ภาพเหมือนศิลปิน ” ( Self Portrait , ค.ศ. 1913 – 1894 )


ผลงาน




Tahitian Women on the Beach 1891 painting by Paul Gauguin






Paul Gauguin LA Orana Maria






Deux_Tahitienn





Paul Gauguin



พอล เซซานน์ ( Paul Cezanne , ค.ศ 1839 – 1906 ) เซซานน์เป็นศิลปินชาวฝรั่งเศสเกิดในครอบครัวที่มีฐานะค่อนข้างดี เซซานน์เข้ารับการศึกษาทางกฎหมายก่อนที่จะหันมาศึกษาศิลปะอย่างจริงจัง เขามีความศรัทธาและชื่นชมในชีวิตและผลงาน ของโมเนต์กับปิสชาร์โรเป็นอย่างมาก และเคยร่วมกลุ่มสร้างสรรค์งานกับพวกอิมเพรสชั่นนิสม์ แต่ในที่สุด เขาก็แยกตัวมาสร้างสรรค์งานตามความเชื่อของตน ( Duthting . 1994 : Foreword ) คือ ศิลปะมิใช่การจำลองแบบ ( Reproduction ) แต่เป็นการนำเสนอ ( Representation ) ของศิลปินที่มีต่อความเป็นจริง นอกจากนี้ เขายังมีความเชื่อต่อกลวิธีศิลปะว่าการวาดเส้น ( Drawing ) กับการระบายสี ( Painting ) มีความคล้ายคลึงกัน ด้วยขณะที่เขาระบายสี เซซานน์ได้ละทิ้งวิชาทัศนียภาพด้วยเส้น ( Linear Perspective ) ที่เคยทำกันมาแต่โบราณกาล เขามุ่งเข้าหาความคิดใหม่ทางด้านสี ซึ่งเป็นวิชาทัศนียภาพอีกรูปแบบหนึ่งอันแตกต่างไปจากของเดิม คือ ให้สีเป็นผู้กำหนดความลึกตื้นหรือระยะใกล้ไกล แทนเส้น
นอกจากเซซานน์บุกเบิกงานจิตรกรรม ให้ก้าวหน้าไปจากพวกอิมเพรสชั่นนิสม์ได้กระทำนอกเหนือไปจากสี ปริมาตร ฯลฯ เซซานน์ยังได้ทำการผันแปรรูปทรงด้วย
สำหรับผลงานชิ้นสำคัญของพอล เซซานน์ คือ ภาพนาฬิกาทำด้วยหินอ่อนสีดำ ( Black Marble Clock ) ค.ศ. 1869 , บ้านของชายผู้แขวนคอตาย ( La Maison du Pendu ) ค.ศ. 1873 และทิวทัศน์ ( Lac d Amecy )


ผลงาน





Cézanne, Paul
Still Life with Peppermint Bottle
1890-1894






ลิ้งคของ เซซานลองดู

www.racingmix.com/word/cezanne.htm

-House on the Marne- by Paul Cezanne
//www.whitehouse.gov/history/art/images/261.html




ทูลูส โลเทรค ( Henri de Toulouse – Lautrec , ค.ศ. 1864 – 1901 ) โลเทรคเป็นจิตรกรที่เป็นบุตรของขุนนางชั้นสูง เขาโชคร้ายที่เป็นคนพิการขาหักจากการประสบอุบัติเหตุ และตกม้าจนพิการตลอดชีวิต เขาจึงเป็นจิตรกรที่มีร่างกายเตี้ยแคระแกรนไม่เติบโต แต่สิ่งที่เขามีอย่างดีคือความเฉลียวฉลาดในการศึกษาทุกด้าน โดยเฉพาะด้านศิลปกรรม เขาเลือกศึกษาศิลปะแนวหลักวิชาเป็นการเบื้องต้น แต่ในระยะหลังเขาได้หันมาสร้างงานตามแบบโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์ ด้วยการใช้ชีวิตและทำงานในย่านมองมาร์ต แหล่งชุมชนศิลปิน และสถานเริงรมณ์ถึง 13 ปี ทำให้เขาได้รู้จักกับศิลปินอย่างหลากหลาย รวมทั้งการได้รู้จักและมีความสัมพันธ์กับแวนโก๊ะด้วย
ผลงานของทูลูส โลเทรคเต็มไปด้วยชีวิตชีวา เขาสร้างงานเท่าที่สังเกตเห็นได้ไนสิ่งต่างๆ และเสนอออกอย่างตรงไปตรงมา ทางด้านรูปแบบก็มีลักษณะแบบและกล้า การใช้เส้นก็เป็นไปอย่างสละสลวย มีอิสระยิ่ง ส่วนวิธีระบายสีนั้นเขาใช้สีน้ำมันผสมกันน้ำมันจนเหลวและระบายให้ฉ่ำคล้ายสีน้ำ รูปร่างของคน การจัดภาพ เส้นที่โค้งสะบัดอย่างสนุกสนาน เหล่านี้ล้วนเป็นลักษณะพิเศษ ทูลูส โลเทรค ที่แสดงให้เห็นความสนใจในร่างที่เคลื่อนไหว ดังเช่น ภาพชีวิตคนในสถานเริงรมย์ ภาพเหล่านั้นมีลีลาแสดงกิริยาอารมณ์ได้อย่างยิ่ง

วงการศิลปะได้สูญเสียจิตรกรคนสำคัญคนหนึ่งซึ่งได้ชื่อว่า ไม่มีทฤษฎี ไม่มีการบันทึกถึงความสามารถในด้านบุกเบิกสุนทรียภาพใหม่ๆ ผลงานที่เขาสร้างขึ้นนั้นเป็นการ “ การบันทึก ” เท่าที่เขาเห็นและเข้าใจ ปราศจากความคิดเห็น ไม่มีความสงสาร ไม่มีอารมณ์รู้สึก ไม่มีการกล่าวหา และไม่มีการส่อเสียดใดๆ ทั้งสิ้น


ผลงาน




Henri de Toulouse-Lautrec At the Moulin Rouge 1892-1895






Henri-Marie-Raymond de Toulouse Lautrec Monfa





วินเซนต์ แวนโกะ (Vincent Van Gogh , ค.ศ 1853 – 1890 ) แวนโก๊ะเป็นบุตรชายของพระนิกายโปรเตสแตนท์ชาวฮอลันดา เขาเป็นคนที่เอาจริงเอาจังกับการใช้ชีวิตมาตั้งแต่เด็ก เขาสัมผัสศิลปะจากการเป็นพนักงานจำหน่ายภาพให้กับบริษัทแห่งหนึ่ง แล้วหันเหชีวิต มาเป็นครู เป็นพระ และย้อนกลับมาเป็นจิตรกร เมื่ออายุได้ 27 ปี และได้รู้จักกับจิตรกรร่วมสมัยกันหลายคน อาทิ โลเทรก , เบอร์นาร์ด และ โกแกง ซึ่งจิตรกรคนหลังนี้เขาได้ใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน แต่ความเห็นไม่ลงรอยจนถึงกับทะเลาะวิวาทกัน ส่งผลต่อสภาพจิตใจของแวนโก๊ะเป็นอย่างมาก จนนักประวัติศาสตร์ศิลป์หลายคนเชื่อว่า ความขัดแย้งอย่างรุนแรงดังกล่าวมีส่วนทำให้แวนโก๊ะมีจิตผิดปกติ และต่อมาอีสองปี แวนโก๊ะก็ปลิดชีพตนเองด้วยปืนในที่สุด
แวนโก๊ะเป็นศิลปินที่มีอารมณ์รุนแรงผู้หนึ่ง จนนักวิจารณ์ศิลปะบางคน กล่าวว่าแวนโก๊ะ วิกลจริต โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากผลงานช่วงสุดท้ายของชีวิต เช่น ภาพราตรีประดับดาว ( The starry Night ) ซึ่งเขียนไว้ในปี ค.ศ. 1889
สำหรับผลงานแวนโก๊ะที่ได้รับการยกย่องว่าเยี่ยมยอด มี 3 ภาพ คือ ภาพ “ คนกินมัน ” ( Potato Eaters , ค.ศ. 1885 ) , “ ดอกทานตะวัน ” ( Sun Flower , ค.ศ. 1888 ) และ “ ใบหน้าของศิลปิน ” ( Self Portrait , ค.ศ. 1890 )


ผลงาน





Sunflowers (Still Life: Vase with Fifteen Sunflowers) 1888
Van Gogh's Room at Arles, 1889





ภาพราตรีประดับดาว ( The starry Night ) ค.ศ. 1889






Arles



Create Date : 11 กันยายน 2551
Last Update : 5 ตุลาคม 2551 18:14:18 น. 9 comments
Counter : 27410 Pageviews.

 
-- --


โดย: -- -- IP: 125.25.109.7 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2551 เวลา:13:51:02 น.  

 
เรื่องราวนี้ดีมากเลยค่ะ


โดย: luck IP: 118.173.248.111 วันที่: 19 ธันวาคม 2551 เวลา:21:07:58 น.  

 
ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อมูลดีดี


โดย: cxh' IP: 58.8.160.51 วันที่: 8 เมษายน 2552 เวลา:13:03:47 น.  

 
ขอบคุณนะค่ะที่มีข้อมูลดีดีไว้ไห้ดู


โดย: โบจุง IP: 125.24.71.205 วันที่: 25 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:13:22 น.  

 
ขอบคุนคับ เกือบมะรอดวะแล้ว ดีที่เจอ เฮ้อ~


โดย: จอมโจร IP: 210.246.74.200 วันที่: 27 สิงหาคม 2552 เวลา:19:37:21 น.  

 
ดีคราบดีมาก


โดย: คิม IP: 192.168.10.24, 58.9.185.215 วันที่: 11 ธันวาคม 2552 เวลา:0:44:25 น.  

 
เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ
ชอบๆ


โดย: กาน IP: 58.9.198.68 วันที่: 27 เมษายน 2553 เวลา:20:34:54 น.  

 
55555555555555555555555+++++++++++


โดย: sengoku IP: 125.27.29.19 วันที่: 20 ธันวาคม 2553 เวลา:17:27:10 น.  

 
ขอบคุณนะค่า


โดย: noofoo IP: 125.26.108.20 วันที่: 23 มกราคม 2554 เวลา:19:41:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tlemovie
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




รายงานตัวครับ
lOGO background
Friends' blogs
[Add tlemovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.