Group Blog
 
All blogs
 

ศิลปะประติมากรรมสมัยรัตนโกสินทร์2

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นปรากฏมีการสร้างพระพุทธรูปใหม่อยู่บ้าง ได้แก่ พระประธานในโบสถ์และวิหารวัดมหาธาตุ กรุงเทพ ฯ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นไม่สู้มีฝีมือนักขาดความรู้สึกทางความงาม ลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปสมัยอยุธยาปนอู่ทองยุคแรก อาจจะเป็นฝีมือช่างพื้นบ้านที่เริ่มทำงานศิลปกรรม เพราะขาดช่างฝีมือดีไปในการรบกับพม่าเป็นเหตุเป็นเหตุให้ช่างเหลือน้อยลง และยังถูกกวาดต้อนช่างฝีมือดีเอาไปประเทศพม่าเสียเป็นจำนวนมาก


ประติมากรรมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นนั้นได้แก่ “ พระพุทธจุลจักร ” ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์ พระพุทธรูปทั้งสองพระองค์หุ้มทองคำลงยาประดับด้วยเนาวรัตน์ และมีขนาดใกล้เคียงกันมาก ลักษณะแบบปางห้ามสมุทร นิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน ทรงเครื่องใหญ่แบบอยุธยาตอนปลาย





พระพุทธรูปทรงเครื่อง พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สำริด ในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ร.3




ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระราชหฤทัยฝักใฝ่ทางการช่าง โดยเฉพาะในด้านประติมากรรม กล่าวกันว่าพระพักตร์ พระปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม มีพระนามว่า “ พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก ” และพระประธานในพระอุโบสถวัดราชโอรส ซึ่งกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระโอรสทรงสร้างเป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่า บานประตูพระวิหารวัดสุทัศน์เทพวราราม ส่วนหนึ่งเป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์เช่นเดียวกัน ผลงานชิ้นนี้ได้รับการยกย่องว่า มีความซับซ้อนสวยงามปัจจุบันบานประตูคู่นี้นำไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร





พระคันธาราฐ ปางขอฝน สำริด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กทม


ในสมัยรัชกาลที่ 3 ความต้องการช่างฝีมือมีมาก และมีช่างทางประติมากรรมที่มีฝีมือดี สามารถสร้างตามแบบโบราณสมัยต่างๆ ได้ตามต้องการ แต่ถึงจะเลียนแบบได้ดี ก็ขาดชีวิตชีวา คือมีลักษณะแข็ง แต่มุ่งความสวยงามทางลวดลายเครื่องประดับยิ่งกว่าสีพระพักตร์ของพระพุทธรูป ดังอาจเห็นได้จากพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ และพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นพระพุทธรูปสำริดทรงเครื่องขนาดใหญ่หุ้มทองคำ 2 องค์ หล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และยังทรงมีพระราชศรัทธาโปรดฯ ให้กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส เมื่อยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ทรงเลือกค้นในคัมภีร์ เป็นต้นว่าเรื่องพระพุทธประวัด คัดเลือกพุทธอิริยาบถปางระเบียงนั้น พระพุทธรูปเหล่านี้ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในหอราชกรมานุสรณ์ และหอราชพงศานุสรณ์หลังพระอุโบสถในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อุทิศถวายแด่พระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ นับเป็นตันแบบปางสมัยรัตนโกสินทร์




ในรัชกาลที่ 4 ทรงคิดแบบอย่างการสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่แก้ไขพุทธลักษณะให้คล้ายความเป็นจริงของมนุษย์มากยิ่งขึ้น คือ ไม่มีพระเกตุมาลาหรือเมาลี และให้มีจีวรเป็นริ้ว ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรปางสมาธิ เป็นตันว่า “ พระนิรันตราย ” และ “ พระสัมมาพุทธพรรณี ” นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างรูปเทพประติมากรรมที่สำคัญของพระนคร คือ “ พระสยามเทวาธิราช ” ผู้ปกป้องรักษาคุมครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข เป็นรูปเทพเจ้าที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เป็นฝีพระหัตถ์พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ( หม่อมเจ้าชายดิศ ในกรมหมึ่นณรงค์ หริรักษ์ )




พระพุทธรูปปางมารวิชัยปูนปั้น พระประธานในอุโบสถวัดมหาธาตุ ร. 1




 

Create Date : 10 กันยายน 2551    
Last Update : 5 ตุลาคม 2551 18:30:32 น.
Counter : 6223 Pageviews.  

ศิลปะประติมากรรมสมัยรัตนโกสินทร์ 3

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระพุทธรูปก็กลับมีพระเกตุมาลาใหม่ หันไปนิยมแบบพระพุทธรูปคันธารราฐของอินเดีย เช่น พระพุทธรูปปางของฝนและพระไสยาสที่วัดราชาธิวาส เป็นต้น ในสมัยนี้นักประติมากรรมชาวต่างประเทศผู้หนึ่งชื่อ นายทอร์นาเรลลี่ ได้ปั้นพระพุทธรูปปางถวายเนตรขึ้นถวายในรัชกาลที่ 5 เป็นที่ต้องพระราชหฤทัยมาก เพราะสามารถปั้นพระพุทธรูปได้ตรงตามพระราชประสงค์ แบบพระพุทธรูปในศิลปะอินเดียแบบคันธารราฐ กล่าวคือ ปั้นเหมือนคนจริง ครองสังฆาฎิเป็นริ้วตามธรรมชาติคลุมพระอังสาทั้งสองข้าง มีชายลูกบวบพาดพระกรซ้ายไว้พระเกศายาวและเกล้าเป็นมวยอยู่กลางพระเศียร พระพุทธรูปแบบนี้พระองค์คงติดพระทัยมาตั้งแต่เมื่อราวเสด็จประพาสประเทศอินเดีย พ.ศ. 2414




พระพุทธรูปปางของฝน แบบคันธารราฐ สมัยรัชกาลที่ 5


ขณะเดียวกัน ทรงมีพระราชศรัทธาให้จำลองแบบพระพุทธรูปที่งดงามสมัยสุโขทัยคือ “ พระพุทธชินราช ” ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก มาเป็นพระประธานที่พระอุโบสถวัดเบจมบพิตร กรุงเทพมหานคร ในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 มีแนวโน้มที่จะสร้างพระพุทธรูป ในรูปของมนุษย์ ดังเช่นมีการเลียนแบบพระพุทธรูปคันธาระของอินเดีย แต่ก็เป็นไปได้ยากเพราะความศรัทธาของชาวไทยไม่ค่อยนิยมแบบใหม่ จึงหันมาสร้างแบบผสมระหว่างเหมือนจริงกับรูปแบบเดิม ดังเช่น ศาสตราจารย์ศิลปะ พีระศรี ได้ออกแบบพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ที่พุทธมณฑล อำเภอศาลายา จังหวัดนครปฐม เมื่อ พ.ศ. 2500 เป็นแบบพระพุทธปางลีลา

ศิลปะประติมากรรมสมัยรัตนโกสินทร์นั้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 ก็มีการสู้รบกันจึงไม่เวลาจะมาสนใจในเรื่องของประติมากรรมเท่าไรนัก แต่พระองค์จึงโปรดให้รวบรวมพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ทั่วราชอาณาจักร ในตามวัดต่างๆ ปรากฏว่ามีพระพุทธรูปถูกทอดทิ้งไว้ ได้รวบรวมได้กว่า 1,200 องค์ พระองค์ได้นำเข้ามายังกรุงเทพฯ เพื่อไปประดิษฐานตามต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปสำริด เช่น พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร ส่วนในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 , 3 ,4 ก็ไม่ก็ต่างกันมากนัก ก็ทรงโปรดให้ช่างที่มีฝีมือด้านการปั้นพระพุทธรูปมีการเลียนแบบ ตามโบราณสมัยต่างๆ ได้ดี มีการนำเรื่องลวดลายเครื่องประดับ การทำจีวรเป็นริ้ว ไม่มีพระเกตุมาลาหรือเมาลี นั่งขัดสมาธิเพชรปางสมาธิ ส่วนในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 , 6 มีแน้วโน้มที่จะสร้างพระพุทธรูปในรูปของมนุษย์ เช่นการเลียนแบบพระพุทธรูปคันธาระของอินเดีย


อ้างอิง
ผศ. ประจวบ . เอี่ยมผู้ช่วย ,ศิลปะโบราณคดีของไทย . กรุงเพทฯ. ฝ่ายเอกสารตำรา สถาบันราชภัฏ สวนดุสิต . 2537




 

Create Date : 10 กันยายน 2551    
Last Update : 5 ตุลาคม 2551 18:23:47 น.
Counter : 706 Pageviews.  

ศิลปะประติมากรรมสมัยรัตนโกสินทร์

ศิลปะประติมากรรมสมัยรัตนโกสินทร์

ในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 การสงครามยังติดพันอยู่กับพม่าหลายครั้งจึงไม่มีเวลาสำหรับงานสร้างประติมากรรมสำหรับทางพระพุทธศาสนามาก พระองค์จึงโปรด ฯ ให้รวบรวมพระพุทธรูปจากจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร เช่น จากพระนครศรีอยุธยา สุโขทัย และตามวัดในจังหวัดต่างๆ ปรากฏว่ามีพระพุทธรูปที่ถูกทอดทิ้งอยู่ รวบรวมได้กว่า 1,200 องค์ นำเข้าในกรุงเทพมหานครและส่วนใหญ่จะเป็นพระพุทธรูปสำริด ขนาดใหญ่ลงมาถึงขนาดเล็กเพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานตามวัดสำคัญ ๆ ในกรุงเทพฯ ส่วนที่เหลือได้ส่งไปประดิษฐานเป็นพระระเบียง ตามอารามต่างๆ เช่น ที่วัดพระเชตุพน ฯ วัดมหาธาตุ ฯ เป็นตัน การที่โปรดให้รวบรวมพระพุทธรูปที่ทอดทิ้งเข้ามาไว้นี้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ศิลปกรรมของชาติอย่างมาก จะด้วยเกรงข้าศึกจากพม่าจะเข้าช่วงชิงหรือข้าศึกทราบว่าเป็นพระพุทธรูปสำริดสำคัญก่อนการเคลื่อนย้าย ทรงโปรดฯ ให้พอกปูนปั้นแปลงองค์พระพุทธรูปเสียทุกองค์ ดังนั้นพระพุทธรูปเหล่านั้นจึงเป็นพระเก่าสมัยก่อน เช่น พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สมัยอู่ทองและอยุธยาก็มีมาก
พระพุทธรูปสุโขทัยไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่หุ้มด้วยปูนไว้ภายนอกปกปิดไว้ ลักษณะเป็นแบบพระพุทธรูปรัตนโกสินทร์ที่มีฝีมือหยาบ ๆ พบครั้งแรกที่วัดพระยาไกรบางขุน บางขุนเทียน กรุงเพทมหานคร ต่อมาได้ยกให้วัดไตรมิตรสำหรับเป็นพระประธานในศาลาหลังหนึ่งที่สร้างขึ้นใหม่ จากการเคลื่อนย้ายองค์พระพุทธรูปขึ้นไปประดิษฐานบนศาลา เกิดล้มกระแทกกับพื้นทำให้เห็นร่องรอยแตกของปูนปั้นหุ้มองค์พระพุทธรูปไว้ เห็นภายในเป็นพระพุทธทองคำแบบสุโขทัยอย่างงดงาม ปัจจุบันพระพุทธรูปสุโขทัยไตรมิตร ยังคงอยู่เป็นที่เลื่อมใสสำหรับผู้พบเห็นเป็นอัศจรรย์นักที่พระพุทธรูปทองรอดพ้นจากสายตาข้าศึกจนมาประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรมิตรวิทยารามกรุงเทพมหานครอยู่ทุกวันนี้




พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร
เป็นพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ ปางมารวิชัย ปัจจุบันประดิษฐานที่วัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพฯ






 

Create Date : 05 กันยายน 2551    
Last Update : 5 ตุลาคม 2551 18:22:42 น.
Counter : 622 Pageviews.  


tlemovie
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




รายงานตัวครับ
lOGO background
Friends' blogs
[Add tlemovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.