เริ่มต้นเขียนบล็อกใหม่ เพราะมีสิ่งสำคัญเหนือสิ่งใดให้รอคอย...ลูก... "น้ำผึ้งเดือนอ้าย"
Group Blog
 
All Blogs
 

วิธีเก็บรักษานมแม่

เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้ หรือจะใช้ ถุงเก็บน้ำนมแม่ ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ได้ปั๊มนมไว้บนภาชนะ ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน

สถานที่เก็บ อุณหภูมิ ระยะเวลาเก็บ

ตั้งทิ้งไว้ 25 ๐C 4-6 ช.ม.

ตั้งทิ้งไว้ 19-22 ๐C 10 ช.ม.

กระติกใส่น้ำแข็ง 15 ๐C 24 ช.ม.

ตู้เย็นช่องธรรมดา 0-4 ๐C 8 วัน

ช่องแช่แข็งตู้เย็นประตูเดียว - 2 สัปดาห์

ช่องแช่แข็งตู้เย็น 2 ประตู - 4-6 เดือน

ช่องแช่แข็งเย็นจัด ตู้เย็นชนิดพิเศษ -19 ๐C 6 เดือน หรือมากกว่า


ปริมาณนมที่เหมาะสมสำหรับทารกโดยประมาณ

อายุ ปริมาณต่อมื้อ (โดยเฉลี่ย)

แรกเกิด - 2 เดือน 2-5 oz.

2 - 4 เดือน 4-6 oz.

4 - 6 เดือน 5-7 oz.


เมื่อต้องการนำนมที่แช่แข็งไว้มาใช้ ให้ละลาย นมแม่ ที่แช่แข็งด้วยการนำมาแช่ในตู้เย็นปกติก่อนล่วงหน้า 1 คืน (12 ช.ม.) ถ้าลูกชอบแบบเย็นๆ ก็เขย่าๆ ให้ไขมันที่แยกชั้นละลายเข้ากันแล้วป้อนได้เลย แต่ถ้าลูกไม่ชอบก็นำมาแช่ในน้ำอุ่นก่อนป้อน ห้ามใช้น้ำร้อนจัดหรือไมโครเวฟ เพราะจะทำลายเซลล์มีชีวิตที่อยู่ใน นมแม่ ไม่ควรปล่อยให้นมแช่แข็งละลายเองที่อุณหภูมิห้อง ถ้าลืมและต้องการให้ละลายเร็ว ให้แช่ในน้ำธรรมดาให้เป็นอุณหภูมิปกติ แล้วเปลี่ยนเป็นแช่น้ำอุ่น
นมที่เก็บในถุงเก็บนมแม่จะละลายเร็วกว่าเก็บในขวดหรือภาชนะอื่นๆ
น้ำนมที่ละลายแล้ว สามารถเก็บในตู้เย็นได้ 24 ช.ม. น้ำนมที่เหลือจากการป้อนนมในขวดหรือถ้วย สามารถเก็บได้ถึงมื้อต่อไปเท่านั้น
ไม่ควรนำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว กลับไปแช่แข็งใหม่
สามารถผสมน้ำนมแม่ที่บีบหรือปั๊มออกมาใหม่ใส่รวมกับน้ำนมแม่ที่แช่เย็นไว้ก่อนแล้วได้ภายใน 24 ช.ม.หลังจากการเก็บครั้งแรก
ถ้าต้องการใช้นมภายใน 8 วันหลังจากปั๊ม ไม่ต้องแช่แข็ง ให้แช่ตู้เย็นช่องปกติ ถ้าต้องการแช่แข็ง ให้แช่แข็งภายใน 24-48 ช.ม. หลังจากปั๊มออกมา (ยิ่งแช่แข็งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น)
น้ำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว อาจมีกลิ่นหืน แต่ไม่เสีย (นอกจากมีกลิ่นรุนแรงมากและมีรสเปรี้ยว จึงจะเสีย)

หมายเหตุ


คำแนะนำในการเก็บรักษาน้ำนมแม่ข้างต้น เป็นคำแนะนำทั่วๆ ไป ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ สิ่งใดก็ตามที่แตกต่างไปจากคำแนะนำดังกล่าว ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละครอบครัว ถ้ากังวลมากก็ไม่ควรทำ แต่ถ้าคิดว่าน่าจะได้ ก็ทดลองทำดูได้ อาจจะใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ ก็จำไว้เป็นประสบการณ์ของตนเองค่ะ ถ้าอยากทราบว่านมเสียหรือไม่ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ชิมค่ะ

ขอบคุณที่มา : //www.breastfeedingbasics.com




 

Create Date : 30 มกราคม 2551    
Last Update : 30 มกราคม 2551 12:39:19 น.
Counter : 399 Pageviews.  

มาทำ stock น้ำนม กันเถอะ!

สำหรับคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงานประจำ แต่ยังต้องการ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต่อไป เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยากค่ะ แต่ต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าเล็กน้อยค่ะ นั่นคือ การทำ stock น้ำนมเก็บไว้ให้ลูกในระหว่างวันที่คุณแม่ต้องไปทำงาน

การทำ stock น้ำนม ขอแนะนำให้เริ่มเก็บน้ำนมตั้งแต่สัปดาห์แรกหลังคลอดเลยนะคะ เพราะนอกจากจะช่วยให้เราไม่ต้องกังวลในช่วงใกล้ๆ จะกลับไปทำงาน แล้วยังเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมด้วยค่ะ

หลังจากสัปดาห์แรก เมื่อทุกอย่างเริ่มเข้าที่เข้าทาง (เล็กน้อย) ขอให้คุณแม่เริ่มปั๊มนมเก็บไว้ได้เลยนะคะ โดยเลือกช่วงเวลาที่รู้สึกคัดเต้านมมากที่สุด (โดยปกติจะเป็นช่วงเช้าตอนตื่นนอนใหม่ๆ เพราะร่างกายจะได้พักผ่อนเต็มที่ เต้านมจะผลิตน้ำนมได้เต็มที่) ให้ลูกดูดก่อนข้างหนึ่ง ถ้าลูกอิ่มดีแล้วก็ปั๊มจากอีกข้างหนึ่งเก็บไว้ค่ะ วันแรกๆ อาจจะได้ติดก้นขวด ไม่ต้องกังวลนะคะ ปั๊มให้ได้อย่างน้อย 15 นาที ถึงไม่มีอะไรออกมา หรือแค่หยดเดียวติดปลายช้อน ก็ไม่เป็นไรค่ะ ถ้าน้อยมากๆ ก็ยังไม่ต้องแช่แข็ง เอาช้อนเล็กๆ แตะปลายช้อนทีละนิด แล้วก็ป้อนลูกค่ะ (น้อยแค่ไหน ก็มีภูมิคุ้มกันค่ะ ยิ่งวันแรกๆ น้ำนมยิ่งมีคุณค่ามากค่ะ)

ถ้าลูกดูดข้างเดียวแล้วไม่อิ่มก็ให้ดูดทั้งสองข้าง หลังจากนั้นก็ปั๊มต่อประมาณ 10-15 นาทีต่อข้าง เพื่อกระตุ้นเต้านม ในระหว่างวันก็เช่นกันค่ะ ถ้ามื้อไหนคุณแม่ไม่ขี้เกียจ เมื่อลูกดูดเสร็จแล้ว ก็ใช้ปั๊มกระตุ้นต่อสัก 10-15 นาที ทำเรื่อยๆ ทุกวัน ร่างกายก็จะรับรู้ว่าต้องผลิตน้ำนมเพิ่ม น้ำนมที่ปั๊มก็จะได้ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 1 oz. -2 oz. -3 oz. ....ดู “วิธีเก็บรักษานมแม่”

พอครบเดือน ก็จะเริ่มมี stock ไว้พอสมควรแล้วค่ะ แต่ไม่ควรหยุดปั๊มนะคะ โดยเฉพาะเด็กที่นอนนานๆ ถ้าลูกไม่ดูดนมทุก 2-3 ชม. ก็ต้องปั๊มออกมาเก็บไว้เรื่อยๆ นะคะ สำหรับเด็กที่ดูดนมถี่มากๆ บางครั้งไม่ถึงช.ม. ก็มี ก็ไม่เป็นไรค่ะ ให้เค้าดูดตามต้องการ คุณแม่ก็พยายามดื่มน้ำมากๆ ทานอาหารให้ครบ และพักผ่อนให้เต็มที่ ร่างกายเราก็จะผลิตน้ำนมได้ตามความต้องการของลูกในที่สุดค่ะ

เมื่อลูกครบเดือน ก็หัดให้ลูกดื่มนมจากช้อน จากแก้ว หรือจากขวด เลือกเอาตามสะดวกค่ะ ไม่จำเป็นต้องกังวลมากว่า วิธีไหนดีที่สุด เลือกเอาที่คิดว่าเหมาะและง่ายกับคนป้อนค่ะ ถ้าเลือกป้อนด้วยช้อนหรือแก้ว ช่วงแรกที่ไม่ถนัดอาจจะหกเลอะเทอะไปบ้าง แต่ถ้าฝึกคล่องแล้วก็ไม่มีปัญหา สำหรับบ้านที่มีผู้ใหญ่หัวโบราณสักนิด ถ้าไม่อยากขัดแย้งกันก็ใช้ขวดก็ได้ค่ะ (ไม่ต้องกังวลมากค่ะ เพราะวิธีการไม่ใช่สาระสำคัญ ขอให้เป็นนมแม่ก็พอค่ะ ไม่จำเป็นต้องเอาเรื่องนี้มาทะเลาะกัน คุณแม่จะเครียดเปล่าๆ ลำพังต้องรับมือกับประเด็นที่ว่าทำไมไม่เลี้ยงนมผสมก็เครียดพอแล้วค่ะ) ดู “วิธีหัดให้ลูกดูดนมจากขวด”

เมื่อคุณแม่เริ่มไปทำงาน ก็ให้ลูกกินนมที่เราปั๊มเก็บไว้ ระหว่างที่อยู่ที่ทำงานก็ปั๊มนมทุก 3 ชม. พยายามกำหนดเวลาให้ตรงกันทุกวัน เช่นตอนเช้าให้ลูกดูดก่อนไปทำงาน พอถึงที่ทำงานก็ปั๊มตอน 10.00 -13.00-16.00 น. แช่ตู้เย็นหรือเตรียมกระติกใส่แล้วนำกลับมาให้ลูกกินในวันรุ่งขึ้น วันเสาร์-อาทิตย์ ก็ให้ลูกดูดนมแม่ทุกมื้อ เพื่อรักษาปริมาณน้ำนม เพราะไม่มีเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดีเท่าลูกดูดเองค่ะ

สต็อคเท่าไหร่ถึงจะพอ
ถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนๆ โดยไม่ต้องใช้นมผสมนั้น ในช่วงที่ลาสามเดือนนั้น ต่อให้เร่งทำสต็อคได้เป็นพันออนซ์ก็จะไม่พอสำหรับลูก ถ้าคุณแม่ไปทำงานแล้วปั๊มได้แค่วันละครั้งหรือสองครั้ง
ในทางกลับกัน ถึงแม้จะมีสต็อคแค่สิบยี่สิบออนซ์ก่อนไปทำงาน แต่คุณแม่สามารถหาเวลาปั๊มหรือบีบนมให้ลูกได้เท่ากับจำนวนออนซ์และมื้อที่ลูกกินตอนที่แม่ไปทำงาน (ลูกกินที่บ้าน 3 มื้อ รวม 12 oz. แม่ก็ปั๊ม 3 มื้อ กลับมาส่งลูก 12 oz. ถ้าลูกกิน 4 มื้อ รวม 20 oz. แม่ก็ปั๊ม 4 มื้อ รวม 20 oz มาให้ลูก) ถ้าทำได้แบบนี้ จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานแค่ไหนก็ได้ค่ะ


ปัญหาหลักที่หลายคนทำผิดพลาดเมื่อกลับไปทำงานก็คือ
ไม่ได้ปั๊มเท่ากับจำนวนมื้อที่ลูกกิน วันแรกที่กลับไปทำงานใหม่ๆ แม้ว่าบางคนจะปั๊มแค่ครั้งเดียวตอนเที่ยง ก็อาจจะได้น้ำนมมากเป็นสิบออนซ์ เพราะนมสะสมมากจากที่เคยให้ลูกดูดตอนอยู่บ้าน3-4 ครั้ง แต่พอไม่กี่วัน ก็จะปั๊มนมได้น้อยลงจนตกใจ และถ้ายังคงปั๊มวันละครั้งไปเรื่อยๆ ไม่นานก็จะลดลงเรื่อยๆ จนไม่พอในที่สุด เพราะร่างกายจะตอบสนองกับความต้องการที่ลดลงนี้โดยอัตโนมัติ

□ บีบไม่เป็น หรือใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่ดีพอ ทำให้ไม่สามารถปั๊มนมออกมาได้เท่ากับที่ลูกเคยดูดในแต่ละมื้อ เมื่อเราเริ่มให้ลูกกินนมแม่ที่ปั๊ม ก็จะรู้เองว่าปริมาณน้ำนมที่ลูกต้องการแต่ละมื้อนั้นเท่าไหร่ (แตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ไม่ต้องเมล์มาถามนะคะว่าลูกตัวเองต้องการนมเท่าไหร่ สังเกตเอาเองค่ะ) ถ้าลูกกิน 3 ครั้ง รวม 12 oz แล้วเราก็ปั๊มได้ 3 ครั้ง รวมแล้ว 12 oz หรือมากกว่า ก็ถือว่าเครื่องปั๊มนมนั้นใช้ได้ โดยปกติ ถ้าในช่วงลา 3 เดือน แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนๆ โดยไม่ใช้นมผสม เมื่อกลับไปทำงาน ถ้าบีบด้วยมือได้คล่องและชำนาญ หรือใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี บีบหรือปั๊มเท่าจำนวนครั้งที่ลูกกินที่บ้าน ส่วนใหญ่จะปั๊มได้มากกว่าที่ลูกต้องการนิดหน่อยอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ สำหรับคุณแม่ที่โชคร้าย ที่ทำงานไม่สะดวกให้ปั๊มนมได้วันละ 3-4 ครั้ง ขอบอกว่าถ้าวันละครั้งเดียวนี่ยากมาก แต่ถ้าได้อย่างน้อย 2 ครั้ง พอมีลุ้นค่ะ สมมติว่าลูกอยู่บ้านกินนมวันละ 4 มื้อ แม่ปั๊มได้แค่ 2 ครั้ง เที่ยงกับบ่ายสาม ก็ขอให้มาปั๊มชดเชยตอนตีห้า กับ ห้าทุ่มเที่ยงคืนเพิ่มค่ะ ในมื้อที่จะปั๊มชดเชยนี้ พยายามให้ลูกกินข้างเดียว แล้วปั๊มเก็บอีกข้าง ทำแบบนี้สักอาทิตย์ ร่างกายก็จะรับรู้ว่ามีความต้องการในเวลานั้นๆ มากกว่าเวลากลางวัน มันก็จะปรับการผลิตให้เองค่ะ แบบนี้แม้ว่าจะปั๊มได้แค่วันละสองครั้งที่ทำงาน ก็พอได้ค่ะ

จำนวนสต็อคน้ำนมที่น่าจะพอดีๆ ก่อนไปทำงาน โดยส่วนตัวคิดว่าสัก 30-50 ถุง (ถุงละ 2-4 oz) ก็น่าจะกำลังดี เพราะอาจจะมีบางวันเครียดๆ ปั๊มได้น้อยกว่าปกติ ก็ยังมีเผื่อเหลือเผื่อขาด วันไหนอารมณ์ดี เจ้านายชม ปั๊มได้เกินกว่าที่ลูกกินก็มาชดเชยวันที่ได้น้อยไป

สต็อคที่มากเกินไปสร้างความไม่สะดวก คือ ไม่มีที่เก็บ และยังทำให้นมที่ต้องนำมาใช้ต้องย้อนหลังไปเป็นเดือน ซึ่งไม่ตรงกับวัยของลูกอีกต่างหาก

ถ้าใครโชคดีไม่ต้องทำงานประจำ ให้ลูกดูดจากได้เต้าทุกมื้อ ทุกวันนี่ถือว่า สุดยอดแล้วค่ะ แบบนี้มีสต็อคไม่ถึง 10 ถุงก็พอ เผื่อเวลาแอบหนีลูกไปชอปปิ้งสัก 3-4 ชม. อย่างเก่งก็แค่มื้อเดียว กลับมาบ้านลูกกินนมไปแล้ว ก็มาปั๊มเก็บไว้แทนที่ใช้ไป 1 มื้อ

เป็นเรื่องธรรมดานะคะ ถ้าบางวันจะปั๊มได้มากบ้าง น้อยบ้าง สลับกันไป ปกติลูกกินวันละ 12 อาจจะมีบางวันได้ 10 บางวันได้ 14 การผลิตน้ำนมก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของเราล่ะค่ะ วันไหนอารมณดี กินอิ่ม นอนเยอะ ก็ปั๊มได้เยอะ วันไหนเครียด กินน้อย นอนไม่พอ ก็ปั๊มได้น้อยไปบ้าง ไม่ต้องตกอกตกใจ ยิ่งเครียด ยิ่งน้อยค่ะ ขอให้ยึดหลักความสม่ำเสมอ ทำให้ได้ทุกวัน ดูแลร่างกายให้ดี เดี๋ยวก็กลับมาเหมือนเดิมค่ะ

ขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆ ที่ //www.breastfeedingthai.com นะคะ




 

Create Date : 30 มกราคม 2551    
Last Update : 30 มกราคม 2551 12:32:17 น.
Counter : 312 Pageviews.  

101 เหตุผล กับน้ำนมแม่


1. สมาคมกุมารแพทย์อเมริกัน แนะนำ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

2. สถาบันโภชนาการศาตร์สหรัฐอเมริกาส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

3. นมแม่ ย่อยง่ายกว่า นมผสม

เนื่องจากน้ำนมวัวมีโปรตีนเป็นสองเท่าของน้ำนมคน เด็กกินนมผสมจึงมักจะได้รับโปรตีนมากเกินกว่าที่พวกเขาต้องการ (และส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของโปรตีนที่ย่อยยากอย่างเคซีน) อุจจาระของเด็กกินนมผสมจะมีปริมาณมากกว่าเพราะทารกไม่สามารถดูดซึมโปรตีนได้ทั้งหมด และกำจัดส่วนเกินออกมาทางอุจจาระ ในขณะที่เด็กกิน นมแม่จะดูดซึมเกือบทั้ง 100% ของโปรตีนในน้ำนมคน

4. การไม่ให้ลูกดูดนมจากอกแม่เพิ่มความเสี่ยงของแม่ในการเป็นมะเร็งเต้านม

5. การที่เด็กทารกดูดนมจากอกแม่ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว

6. การเลี้ยงลูกด้วยนมผสม เพิ่มความเสี่ยงของเด็กทารกหญิงในการเป็นมะเร็งเต้านมเมื่อโตขึ้น

7. การเลี้ยงลูกด้วยนมผสม มีผลให้เด็กมีภาวะสติปัญญาต่ำกว่าเลี้ยงด้วย นมแม่

8. นมแม่ พร้อมดื่มอยู่เสมอ และบรรจุอยู่ในภาชนะที่สวยงามกว่า นมผสม

9. นมแม่ ช่วยกำจัดของเสียออกจากระบบขับถ่ายของทารกแรกเกิด

10. นมแม่ มีภูมิต้านทานโรคและช่วยในการพัฒนาระบบภูมิต้านทานในเด็กทารก

11. การให้ลูกดูดลูกจากอกแม่ตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ของลูก และเพิ่มความผูกพันธ์ระหว่างแม่และลูก

12. นมแม่ มีสารอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารก

13. การไม่ให้ลูกดูดนมจากอกแม่ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งที่รังไข่

14. การให้นมลูกช่วยให้แม่ลดน้ำหนักหลังคลอดบุตรได้อย่างรวดเร็ว

15. แม่ที่คลอดก่อนกำหนดจะมีน้ำนมพิเศษ (Pre-term milk) ซึ่งเหมาะสำหรับทาีรกที่คลอดก่อนกำหนด

16. องค์การอนามัยโลกและองค์การยูนิเซฟแนะนำให้ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

17. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติในลำไส้

18. การดื่มนมผสมเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานในเด็ก

19. เด็กกิน นมแม่ ช่วยลดความต้องการอินซูลินในแม่ที่เป็นโีรคเบาหวาน

20. การดื่มนมผสมเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กทารก

21. นมแม่ ลดความเสี่ยงที่เด็กจะเป็นโรคหอบหืด

22. นมผสม เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อทางหูในทารก

23. เด็กกินนมผสมมีความเสี่ยงสูงกว่าในการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิดในช่วงวัยเด็ก

24. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ป้องกันเด็กจากปัญหาความบกพร่องทางสายตา

25. นมวัวทำใ้ห้เกิดอาการระคายเคืองในลำไส้

26. เด็กกินนมผสมมีโอกาสเป็นโรคอ้วนมากกว่าเมื่อโตขึ้น

27. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้แม่ลาป่วยน้อยลง เพราะเด็กที่เลี้ยงด้วย นมแม่ จะแข็งแรงและป่วยน้อยกว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมผสม

28. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยให้ยับยั้งการเจริญเติบโตผิดที่ของเยื่อบุมดลูก

29. การดูดนมของทารกช่วยป้องกันการตกเลือดของมารดาหลังคลอด

30. การเลี้ยงทารกด้วยนมผสม ทำให้ทารกมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่ทำให้เสียชีวิตกระทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ (SIDS) เพิ่มขึ้น

31. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยป้องกันการติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วง

32. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วย ป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

33. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยป้องกันทารกจากการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ

34. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สะดวกกว่านมผสมเพราะไม่ต้องเตรียมขวด ไม่ต้องใช้น้ำร้อน

35. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของวัคซีนที่ลูกได้รับ

36. นมแม่ ไม่ต้องเสียเงินซื้อ

37. นมผสม ราคาแพง

38. เราต้องเสียเงินในแต่ละปีหลายหมื่นล้านกับการนำเข้านมผสม และค่ารักษาโรคเด็กทารกที่ป่วยเพราะขาดภูมิคุ้มกันจาก นมแม่

39. ทารกที่กินนมแม่ไม่ต้องไปหาหมอบ่อยๆ เพราะแข็งแรงกว่าทารกที่กินนมผสม

40. สารอาหารแต่ละชนิดในนมแม่มีสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับทารก

41. นมแม่ มีสารเคมีที่ทำให้ลูกสงบและไม่ค่อยงอแง

42. การให้ลูกดูดนม ช่วยลดความเครียดให้แม่ ทำให้แม่หลับได้ง่าย

43. นมแม่ อร่อยกว่านมผสม

44. ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่โดยรวมแล้วมีสุขภาพที่ดีกว่า

45. ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่มีโอกาสต่ำที่จะเสียชีวิตก่อนอายุสามขวบ

46. นมแม่อุ่นกำลังดี

47. ประหยัดค่ารักษาพยาบาลลูก และไม่ต้องเสียเวลาไปหาหมอบ่อยๆ

48. ไม่ต้องกังวลเรื่องเลิกขวดนม

49. ไม่ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติในการบรรจุหีบห่อเหมือนนมผสม

50. นมแม่ไม่เสียง่าย

51. การดูดนมจากเต้า ทำให้ลูกมีฟันสวยกว่าดูดจากขวด

52. จากการศึกษาพบว่าเด็กที่กินนมแม่มีโอกาสเกิดโรคสายตาสั้นน้อยกว่า

53. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยคุมกำเนิดได้

54. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดคอเลสเตอรอลสูง

55. นมแม่ไม่ต้องแช่เย็น เพราะนมแม่ไม่เสียง่ายเหมือนนมผสม

56. นมวัวเหมาะสำหรับลูกวัว นมแม่เหมาะสำหรับลูกคน

57. นมแม่ช่วยให้การทำงานของลำไส้พัฒนาขึ้นอย่างเหมาะสม

58. นมแม่มีเอ็นดอร์ฟิน ช่วยลดความเจ็บปวดให้ลูกได้โดยธรรมชาติ

59. นมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารกที่ป่วย

60. แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองนอนหลับได้มากกว่า (โดยเฉพาะนอนกับลูก)

61. ทารกที่กินนมแม่มีความสุขมากกว่าในตอนกลางคืน เพราะไม่ต้องรอชงนม

62. ลูกกินนมแม่ คุณพ่อสบายกว่าในตอนกลางคืน

63. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ใดๆ ให้ยุ่งยาก

64. นมแม่ไม่เคยถูกเรียกเก็บคืนจากท้องตลาด เพราะเกิดปัญหาในการผลิต

65. นมแม่ไม่ติดเชื้อแบคทีเรีย

66. ไม่ต้องกังวลว่ายี่ห้อไหนจะดีกว่ากัน

67. ไม่ต้องกังวลว่าน้ำที่ใช้ชงนมจะสะอาดพอหรือเปล่า

68. ทารกที่กินนมแม่ติดเชื้อในลำไส้น้อยกว่า

69. การดูดนมแม่ช่วยให้ช่องปากและขากรรไกรมีพัฒนาการดีกว่า

70. ทารกที่กินนมแม่เกิดฟันผุน้อยกว่า

71. ทารกที่กินนมแม่ ฟันเป็นระเบียบมากกว่า ไม่ต้องจัดฟันในภายหลัง

72. ทารกที่กินนมแม่มีพัฒนาการทางการพูดดีกว่า

73. นมแม่ช่วยลดการเกิดผื่นภูมิแพ้

74. ทารกที่กินนมแม่มีผิวพรรณสดใสกว่า

75. ทารกที่กินนมแม่แหวะนมน้อยกว่า

76. นมแม่เหมาะสำหรับเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมากกว่านมผสม

77. นมแม่ไม่มีส่วนผสมของสารตัดแต่งพันธุกรรม

78. นมแม่ไม่มีฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต

79. การให้นมลูกช่วยป้องกันการขาดธาตุเหล็กของแม่

80. ไม่ต้องกังวลว่าจะพบในภายหลังว่าขาดส่วนผสมใดไปบ้างเหมือนนมผสม

81. แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองช่วยประหยัดค่าผ้าอนามัย

82. น้ำนมแม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อทางตา

83. เด็กกินนมแม่ตัวหอมกว่า

84. เด็กกินนมแม่มีพัฒนาการทางสังคมดีกว่า

85.หน้าอกของแม่ถูกออกแบบมาเพื่อการให้นมลูก

86.การให้นมลูกช่วยสร้างความมั่นใจในตัวเองให้กับแม่

87. Lack of breastfeeding associated with multiple sclerosis in later life

88. Suckling optimizes hand-to-eye coordination

89. Less chance of inguinal hernia

90. Breastfeeding may lower blood pressure in Childhood

91. Much nicer diaper changes!

92. Better cognitive development for low birth weight babies

93. Decreased risk of baby developing urinary tract infections

94. Breastfeeding decreases chances of developing rheumatoid arthritis

95. Breastfeeding decreases child's chances of contracting Hodgkins disease

96. Breastfeeding decreases chances of osteoporosis

97. Breastfed babies have less chance of cardiopulmonary distress while feeding

98. Breastfed babies have less chance of developing ulcerative colitis

99. Breast milk protects against hemophilus b. bacteria

100. Breastfed babies require shorter pre- and post-surgical fasting

101. Breastfed babies have less chance of developing necrotizing enterocolitis


ที่มา //www.promom.org/101/index.html






 

Create Date : 30 มกราคม 2551    
Last Update : 30 มกราคม 2551 11:36:08 น.
Counter : 220 Pageviews.  

มหัศจรรย์ น้ำนมแม่

แหล่งของโปรตีนสำคัญ

ถ้าจะว่ากันจริงๆ แล้ว โปรตีนในนมแม่จะมีปริมาณต่ำกว่านมผสม (นมกระป๋อง) ค่ะ แต่อย่าเพิ่งตกใจไป นั่นก็เพราะสำหรับนมแม่แล้วจะมีโปรตีนที่ลูกต้องการอยู่ครบถ้วน และสามารถย่อยง่ายทั้งดูดซึมได้ดี ต่างจากนมกระป๋องซึ่งต้องมีปริมาณของโปรตีน (และสารอาหารอื่นๆ) เยอะเพราะย่อยได้ยากกว่า และลูกดูดซึมไปใช้ได้ไม่ดีเท่านมแม่ ก็เลยต้องมีโปรตีนอยู่เยอะๆ เผื่อเอาไว้ไงคะ

ทีนี้เรามาดูโปรตีนตัวสำคัญที่มีในน้ำนมแม่กันค่ะ

อัลฟ่า-แลคตัลบูมิน เป็นโปรตีนที่พบมากเลยในน้ำนมแม่ช่วยให้ลูกน้อยเจริญเติบโตได้ดีและไม่ทำให้ลูกรักเป็นโรคภูมิแพ้ด้วยค่ะ ต่างจากโปรตีนในนมผสม (นมวัว) ชื่อ เบต้า-แลคตัลบูมิน ที่หากลูกรับประทานเข้าไป อาจไปกระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ง่าย


taurine (ทอรีน) ที่มีอยู่แล้วในน้ำนมแม่ช่วยบำรุงสมองลูกและยังช่วยพัฒนาเรื่องการมองเห็นได้ดีอีกด้วยค่ะ


lactoferrin (แลคโตเฟอร์ริน) โปรตีนที่ย่อยได้ง่ายกว่าโปรตีนในนมผม ทนต่อกรดในกระเพาะอาหาร และยังมีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถจับกับธาตุเหล็กในลำไส้ได้ ทำให้แบคทีเรียซึ่งต้องใช้โมเลกุลของธาตุเหล็กอิสระช่วยในการเจริญเติบโตไม่สามารถเจริญเติบโตต่อได้ จึงช่วยป้องกันการติดเชื้อในลูกได้ค่ะ


วัคซีนหยดแรก ลูกเกิดมาใหม่ๆ ยังสร้างภูมิคุ้มกันเองได้ไม่ดีค่ะ เลยยังไม่ค่อยมีภูมิต้านทานเชื้อโรคมากเท่าผู้ใหญ่ แต่ลูกยังสามารถรับภูมิต้านทานโรคได้จากนมแม่ ถ้าแม่เคยไม่สบายเป็นโรคใดมาก่อนละก็ ร่างกายของคุณแม่ก็จะสร้างภูมิป้องกันเชื้อโรคชนิดนั้นๆ ไว้ด้วย และภูมิคุ้มกันนั้นก็สามารถส่งผ่านให้ลูกรักได้ทางนมแม่ค่ะ


โคลอสตรัม โคลอสตรัมคือน้ำนมใสสีเหลืองซึ่งอยู่ในน้ำนมแม่ในระยะแรกๆ หรือจะเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าหัวน้ำนมนั่นเองค่ะ โคลอสตรัมจะมีภูมิคุ้มกันสูง และยังช่วยระบายขี้เทา ทำให้ลูกหายตัวเหลืองเร็วด้วยค่ะ


DHA หรือ Docosahexaenoic Acid ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมก้า 3 ส่วนประกอบชิ้นสำคัญเลยค่ะของไขมันในสมอง ซึ่งลูกรักจะได้รับโดยตรงจากนมแม่นั่นเอง แถม DHA ในน้ำนมแม่นั้นจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไปด้วยค่ะ


ไลโซไซม์ (Lysozyme) ในน้ำนมแม่จะมีไลโซไซม์ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีฤทธิ์ย่อยสลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เชื้อตายค่ะ และไลโซไซม์นี้มีในน้ำนมแม่มากกว่านมวัวถึง 3,000 เท่าเชียว แถมบังไม่สามารถเติมลงในนมกระป๋องได้ เพราะเอนไซม์ต่างๆ จะถูกทำลายด้วยความร้อนในขั้นตอนที่นำนมผสมไปฆ่าเชื้อก่อนบรรจุกระป๋องค่ะ

สารช่วยป้องกันแบคทีเรีย
ในน้ำนมแม่มี Bifidus Growth Factor หรือสารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อแล็กโตบาซิลลัส (ซึ่งไม่มีในน้ำนมวัว) และเจ้าเชื้อแล็กโตบาซิลลัสนี้จะช่วยให้เกิดกรดอินทรีย์ในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียอื่นๆ ทั้งหลายอยู่ไม่ได้ (นั่นเพราะแบคทีเรียที่เป็นอันตรายกับร่างกายเราหลายขนิดแพ้สภาพความเป็นกรดค่ะ)

นอกจากนี้แล็กโตสในน้ำนมแม่เองก็ยังเปลี่ยนเป็นกรดแล็กติกไปช่วยให้ลำไส้มีสภาพเป็นกรดจนแบคทีเรียไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกแรงหนึ่งด้วยค่ะ
แต่หากลูกน้อยเรารับประทานนมผสมแทนละก็ จะทำให้ในลำไส้มีสภาพเป็นด่าง ซึ่งเป็นตัวกลางอย่างดีในการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอุจจาระร่วง ทำให้ลูกมีโอกาสสูงที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร อย่างเช่น ท้องอืด ท้องเสีย แถมอุจจาระของลูกยังมีกลิ่นรุนแรงกว่าได้นมแม่อีกค่ะ

มากประโยชน์ มากคุณค่าจริงๆ ด้วยใช่ไหมคะ นมแม่แถมยังได้มาฟรีๆ ไม่ต้องไปหาซื้อให้เปลืองกะตังค์อีกตะหาก แล้วอย่างนี้จะอดใจไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไรไหวใช่ไหมคะ

ขอขอบคุณ รศ.กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์ ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
[ ที่มา..นิตยสารรักลูก ปีที่ 21 ฉบับที่ 241 กุมภาพันธ์ 2546 ]




 

Create Date : 30 มกราคม 2551    
Last Update : 30 มกราคม 2551 10:38:18 น.
Counter : 259 Pageviews.  

ตัวช่วยของแม่


1. ก่อนอื่นจะต้องคิดล่วงหน้าว่าอุปกรณ์หรือจุดใดๆในบ้านที่อาจก่ออันตรายให้กับลูก เมื่อหาพบให้พยายามป้องกันการเกิดอุบัติเหตุเอาไว้ก่อน เช่น ควรล็อคตู้เสื้อผ้า ลิ้นชัก ปิดห้องครัวให้มิดชด หรือซื้อที่ปิดเต้าไฟฟ้าทุกแห่ง

การกระทำเช่นนี้จะช่วยลดคำพูดห้ามของพ่อแม่ประเภท “อย่าทำอย่างโน้น อย่างนี้นะลูก” ขณะเดียวกันยังเปิดโอกาสให้เจ้าตัวน้อยกลายเป็นนักสำรวจภายในบ้านอย่างอิสระ ไม่ต้องถูกห้ามทำโน่น ทำนี่อีกด้วย

2. พยายามเลี่ยงการใช้คำว่า “อย่าทำ....” “ห้ามทำ....”ต่างๆกับลูก ยกเว้นว่าการกระทำเช่นนั้นจะเป็นอันตรายกับลูก เช่น พูดว่า “ลูกครับ ช่วยกันเก็บของเล่นใส่กล่องดีกว่า” แทนที่จะพูดว่า “อย่าปาของเล่นลงพื้นสิลูก”

3. พยายามให้ลูกกิน นอนอย่างเป็นเวลา เพราะถ้าลูกหิว หรือง่วงนอน เขามักจะดื้อและงอแง

4. เวลาจะให้ลูกทำกิจกรรมอะไร พยายามหาวิธีให้เขาสนุกด้วยการเปลี่ยนกิจกรรมนั้นๆให้เป็นเกมส์ หรือการแข่งขัน เช่น “พ่อว่า…พ่อใส่รองเท้าได้ไวกว่าลูกนะ ถ้าไม่เชื่อเรามาแข่งกันสิ”

5. ในช่วงที่ลูกเริ่มงอแง ให้พยายามหากิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจมาหลอกล่อ อาทิ การร้องเพลงโปรด หาของเล่นใหม่ๆมาเล่น

6. พยายามเสนอทางเลือกง่ายๆให้ลูกได้ตัดสินใจเอง เช่น “วันนี้ลูกจะใส่รองเท้าสีแดง หรือสีขาว” หรือ “คืนนี้ลูกจะกินส้มหรือแตงโม”

7. สอนลูกให้รู้จักการพูดสื่อสารถึงอารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง เช่น ชอบ ไม่ชอบ เศร้า หงุดหงิด โกรธ ง่วงนอน หิว โดยอาจจะใช้เกมส์หรือหนังสือเป็นสื่อสอนลูก

8. พยายามอย่าสนใจ อย่าดุด่า เวลาลูกตัวน้อยต่อต้านด้วยคำว่า “ไม่” แต่พ่อแม่ควรจะชื่นชมเวลาลูกทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม

9. พยายามอธิบายเหตุผลง่ายๆแก่ลูก เช่น “เล่นกับแมวจะต้องระวังนะ เล่นเบาๆ ถ้าเล่นแรง เดี๋ยวมันกัดหรือข่วนเอา แล้วลูกจะเจ็บ”

10. อย่าเถียงเพื่อเอาชนะกับลูกน้อยวัยตะเต๊าะ


........................................................................................................
ขอบคุณที่มานิตยสาร Mother & Care ฉบับที่ 21 เดือน กันยายน 2549




 

Create Date : 23 มกราคม 2551    
Last Update : 23 มกราคม 2551 13:22:58 น.
Counter : 294 Pageviews.  

1  2  

sumanthana
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





ภรรยา ที่ดวงเป็นยักษ์ผู้ชาย ความร้ายก็ประมาณนึง
สามี ที่ดวงเป็นยักษ์ผู้หญิง ความสุขุม นุ่มลึก ก็ประมาณนึง
แล้วถ้ามีลูกสาว จะ ก๋ากั๋น เหมือนแม่ มั้ย ?
ถ้ามีลูกชาย จะ เรียบร้อย เป็นคุณชาย เหมือนพ่อ มั้ย ?
ไม่รู้ ลุ้นเอา! แต่ที่แน่ๆ เรากำลังเริ่มปฏิบัติการทำลูก คริๆๆ

************************************
นามแฝง : น้ำผึ้งเดือนอ้าย
************************************
Friends' blogs
[Add sumanthana's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.