เรียนรู้เกียร์อัตโนมัติ เพื่อความปลอดภัย





ปัจจุบันเทคโนโลยีของรถยนต์ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยหนึ่งในอุปกรณ์ที่ถูกคิดค้นขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ขับรถ ก็คือ “ระบบเกียร์อัตโนมัติ” หรือที่มักเรียกกันสั้นๆ ว่า “เกียร์ออโต้” ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า เกียร์ออโต้ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อความสะดวกมากกว่าที่จะมุ่งเน้นด้านความปลอดภัย

ดังนั้น หลายครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ จึงพบว่า มีสาเหตุมาจากการขาดความระมัดระวัง อาจจะด้วยผู้ขับขี่ไม่เข้าใจการทำงานของเกียร์ออโต้ หรือจะด้วยความพลั้งเผลอของผู้ขับขี่ก็ตาม

ดังนั้น จึงมีคำถามว่า ผู้ขับขี่รถที่ใช้ระบบเกียร์ออโต้ มีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ และการทำงานของเกียร์ออโต้ มากน้อยเพียงใด

ในวันนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะพาท่านผู้ฟังไปเรียนรู้เทคนิคในการใช้เกียร์อัตโนมัติ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

1. ตำแหน่ง R ถือเป็นตำแหน่งที่อันตรายมากที่สุด โดยตำแหน่ง R ก็คือ ตำแหน่ง การถอย เหตุที่กล่าวว่าอันตรายที่สุด เนื่องจากหลายครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่มักเกิดจากความพลั้งเผลอและความเคยชินของผู้ขับขี่ เช่น เมื่อสตาร์ทแล้วลืมปลดคันเกียร์จากตำแหน่ง R ทำให้รถไหลไปชนกับสิ่งที่อยู่ด้านหลัง โดยที่ผู้ขับขี่ยังไม่ทันได้ระวังตัว เป็นต้น


2. การคร่อมตำแหน่งเกียร์ ถือเป็นเรื่องอันตราย เพราะก่อนสตาร์ทหากคันเกียร์ คร่อมตำแหน่งอยู่ เช่น ระหว่าง P – R เมื่อสตาร์ทเครื่อง แรงสะเทือนอาจทำให้คันเกียร์ดีดไปเข้าเกียร์ใด เกียร์หนึ่ง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงก่อนสตาร์ทหรือจอดอยู่เฉยๆ ผู้ขับควรตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่า เกียร์อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย


3. การกดปุ่มที่หัวเกียร์ ผู้ขับขี่ควรศึกษาระบบการล็อคคันเกียร์ก่อนใช้รถเสมอว่า การเลื่อนจากตำแหน่งหนึ่งไปอีกตำแหน่งหนึ่ง ต้องกดล็อกที่หัวเกียร์หรือไม่ เพราะวิธีนี้นอกจากจะช่วยเตือนให้ผู้ขับขี่เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่มีเด็กนั่งอยู่ใกล้คันเกียร์แล้ว ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบเกียร์ได้อีกด้วย


4. อย่าไว้ใจเบรกมือ การดึงเบรกมือจะห้ามล้อได้เพียงแค่ 2 ล้อเท่านั้น แต่หลายคนมักเข้าใจว่า เบรกมือสามารถหยุดการเคลื่นที่ของรถได้ ดังนั้น เมื่อจอดรถก็เลยไม่ได้ใส่ใจที่จะเข้าเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย คือ ตำแหน่ง P หรือ ตำแหน่ง N การกระทำเช่นนี้ถือว่าอันตรายมาก เพราะเบรกมือจะ ทำให้รถเคลื่อนที่เมื่อใดก็ได้ หากคอมเพรสเซอร์แอร์ตัดขณะทำงาน เพราะแรงกดของเบรกมือจะน้อยกว่าการใช้เบรกเท้ามาก


5. การจอดรถขณะที่การจราจรติดขัด เช่น ติดไฟแดง หรือการจราจรคับคั่ง การหยุดในลักษณะนี้ส่วนใหญ่มักใช้เวลาไม่นานนัก ดังนั้น ควรแตะเบรกและค้างคันเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง D เพื่อป้องกันการสึกหรอจากการสลับตำแหน่งไปมาของเกียร์


6. การติดตั้งสัญญาณเมื่อเข้าเกียร์ถอยหลัง (R) ผู้ขับรถสามารถเพิ่มความปลอดภัย ได้ด้วยการติดตั้งสัญญาณไฟถอย เพราะเมื่อผู้ขับเข้าเกียร์ในตำแหน่ง R สัญญาณจะดังขึ้น ซึ่งจะช่วยป้องกัน มิให้ผู้ขับขี่ที่มักเผอเรอดึงคันเกียร์ลงมา แล้วทำให้รถถอยไปโดนสิ่งที่อยู่ด้านหลัง

เทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า อาจจะส่งผลดีกับมนุษย์ แต่หากมนุษย์ไม่สนใจที่จะเรียนรู้เทคโนโลยี ก็อาจก่อให้เกิดความสูญเสียได้ ดังนั้น ท่านเจ้าของรถควรเรียนรู้การใช้เกียร์อัตโนมัติที่ถูกวิธีจากคู่มือการใช้รถ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน


ด้วยความปราถนาดีจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย



Create Date : 18 เมษายน 2550
Last Update : 18 เมษายน 2550 23:41:29 น. 6 comments
Counter : 2252 Pageviews.  
 
 
 
 
การใช้งานเกียร์อัตโนมัติทั่วๆไป มีลักษณะการใช้งานพื้นฐานที่เหมือนกัน คือ



ตำแหน่ง P ใช้สำหรับจอดรถไว้นานๆ

ตำแหน่ง R ใช้ถอยหลัง

ตำแหน่ง N ใช้เป็นเกียร์ว่าง

ส่วนตำแหน่ง D , 3 , 2 , 1 เป็นเกียร์ขับเคลื่อนไปด้านหน้า


การจอดรถเพื่อรอสัญญาณไฟตามสี่แยก ไม่ควรเข้าเกียร์ตำแหน่ง P เพราะหากรถคันที่ตามมา
พุ่งเข้าชนด้านหลัง หรือมีแรงกระแทกจากด้านหลัง จะทำให้ตัวรถเคลื่อนไปด้านหน้า

ทำให้สลักล๊อกตำแหน่งเกียร์ P แตกหัก อาจทำความเสียหายให้กับชุดเกียร์ทั้งระบบ จนรถไม่อาจแล่นต่อไปได้

ดังนั้นหากรอสัญญาณไฟแดงในระยะไม่นานนัก ควรเข้าเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง D แล้วเหยียบเบรก หรือดึงเบรกมือให้แน่นหนา แต่หากรอเป็นเวลานาน เกิน 3 นาที ควรเปลี่ยนเกียร์ไปตำแหน่ง N แล้วจึงถอนเท้าเบรก หากอยู่บนที่ลาดเอียงก็ดึงเบรกมือไว้เพื่อป้องกันการไหลของรถ


ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 8 ตุลาคม 2548
 
 

โดย: อั๋น ทรงวุฒิ วันที่: 18 เมษายน 2550 เวลา:23:48:18 น.  

 
 
 
ใช้เกียร์อัตโนมัติให้เป็น

จะว่าไปแล้วเกียร์อัตโนมัติกำลังได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับนักขับในปัจจุบันและในอนาคต ทั้งนี้เพราะมีความสะดวกสบาย ไม่อืดหรือสิ้นเปลืองน้ำมันเหมือนเกียร์อัตโนมัติรุ่นเก่า และมีอายุการใช้งานยาวนานหากใช้และดูแลรักษาอย่างถูกวิธี เริ่มจาก ตำแหน่งของเกียร์อัตโนมัติและการใช้งาน

P-PARK ใช้สำหรับการจอดนิ่ง ควบคุมไม่ให้รถยนต์ไหล ต้องเข้าเกียร์นี้เมื่อหยุดสนิทและเหยียบเบรกหรือดึงเบรกมือไว้แล้วเท่านั้น เพราะต้องเลื่อนผ่านเกียร์ถอยหลังก่อน หากไม่เหยียบเบรกไว้ รถยนต์อาจกระตุกถอยไปชนอะไรได้ เมื่อเข้าเกียร์ในตำแหน่งนี้ รถยนต์จะไม่สามารถขยับได้เพราะมีสลักล็อกในเรือนเกียร์ และต้องระวัง เพราะหากมีอะไรมากระแทกรถยนต์ภายหลังการเข้าเกียร์นี้จะทำให้สลักล็อกหักได้ ถ้าไม่แน่ใจให้ใช้วิธีเข้าเกียร์ว่างและดึงเบรกมือแทน หากจอดขวางรถยนต์คันอื่น ไม่ควรเข้าเกียร์ P เพราะเป็นการเสียมารยาท อาจทำให้ถูกกรีดหรือขูดสีรถยนต์ได้

R-REVERSE เกียร์ถอยหลัง ควรเข้าเกียร์นี้เมื่อรถยนต์หยุดสนิทแล้ว และเหยียบเบรกไว้ทุก ครั้ง จากนั้นค่อย ๆ ปล่อยเท้าจากเบรกมาเหยียบคันเร่ง ไม่ควรเข้าเกียร์ถอยหลังขณะที่รถยนต์ยังไหลไปข้างหน้าเด็ดขาด เพราะเกียร์อาจพังได้

N-NEUTRAL เกียร์ว่าง ไม่มีการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ เมื่อจอดแล้วสามารถเข็นได้ เหมาะสำหรับการจอดซ้อนคันหรือจอดในที่สาธารณะ

D-DRIVE เกียร์เดินหน้า ต้องเข้าเกียร์นี้เมื่อรถยนต์หยุดสนิทแล้วและเหยียบเบรกไว้ทุกครั้ง จากนั้นค่อย ๆ ปล่อยเท้าจากเบรกมาเหยียบคันเร่ง เมื่อใช้เกียร์ในตำแหน่งนี้ ระบบควบคุมจะเลือกเปลี่ยน จังหวะเกียร์ขึ้น - ลงตามความเหมาะสม โดยผู้ขับไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์เอง นอกจากนี้ยังอาจมีเกียร์ตำแหน่งอื่น เช่น 2,L2, 1,L1 ถัดมาจากตำแหน่ง D มีไว้ใช้สำหรับลากรอบ สูง ๆ เพื่อความจัดจ้านในอัตราเร่ง, ใช้ในการขึ้น-ลงทางลาดชัน หรือการลดเกียร์ต่ำใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก คล้ายกับระบบเกียร์ธรรมดา ก่อนเข้าเกียร์ต่ำกว่าตำแหน่ง D ต้องแน่ใจว่าความเร็วและรอบเครื่องยนต์ไม่เกินขีดสูงสุดของแต่ ละเกียร์ คล้ายกับเกียร์ธรรมดา การใช้เกียร์อัตโนมัติควรศึกษาความเร็วสูงสุด ของแต่ละเกียร์ไว้ด้วย โดยเริ่มจากเกียร์ต่ำสุด ซึ่งมักจะเป็นเกียร์ L หรือเกียร์ 1 กดคันเร่งไล่รอบขึ้นไป ดูว่าเกียร์ 1 ทำความเร็วสูงสุดได้เท่าไรที่รอบเท่าไร จากนั้นผลักคันเกียร์ไล่ขึ้นไปเป็นเกียร์ 2,3 และ 4 เพื่อให้ผู้ขับเปลี่ยนเกียร์เองได้ คล้ายกับเกียร์ธรรมดา ในบางกรณี โดยไม่เกิดความเสียหาย เพราะรถยนต์ แต่ละรุ่นมีความเร็วสูงสุดในแต่ละเกียร์ไม่เท่ากัน 2 หรือ L2 หมายถึงมี เกียร์ 1 และ 2 ให้ใช้ โดยระบบจะสลับขึ้น - ลงให้เอง 1 หรือ L1 หมายถึงมี เกียร์ 1 ให้ใช้เท่านั้น

โอเวอร์ไดร์ฟ
โอเวอร์ไดร์ฟ คือ เกียร์ที่มีอัตราทดต่ำ เพื่อให้ เครื่องยนต์หมุนรอบต่ำลงโดยความเร็วไม่ลดลง และให้ความประหยัดเมื่อใช้ความเร็วคงที่และต่อเนื่อง โอเวอร์ไดร์ฟแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แยกจากเกียร์ D ออกมาเป็นสวิตช์เปิด - ปิด ( OVERDRIVE ON/OFF) ใกล้กับหัวเกียร์และอีกแบบ คือ รวมอยู่ ในตำแหน่ง D เช่น เกียร์อัตโนมัติ มีทั้งหมด 4 จังหวะ โอเวอร์ไดร์ฟแบบแยก ถ้าปิดสวิตช์โอเวอร์ ไดร์ฟจะมีเกียร์ให้ใช้งาน 3 จังหวะ เมื่อเปิดสวิตช์โอเวอร์ไดร์ฟจะมีเกียร์ให้ใช้ครบ 4 จังหวะ โอเวอร์ไดร์ฟแบบรวม ถ้าเข้าเกียร์ D จะมีเกียร์ให้ใช้งานครบ 4 จังหวะ ถ้าไม่อยากใช้โอเวอร์ ไดร์ฟ ก็เลื่อนคันเกียร์มาที่ 3
_________________
 
 

โดย: อั๋น ทรงวุฒิ วันที่: 18 เมษายน 2550 เวลา:23:56:41 น.  

 
 
 
ก่อนใช้งาน
ควรศึกษาการล็อกตำแหน่งต่าง ๆ ของแต่ ละเกียร์ ว่ามีการควบคุมด้วยปุ่มบนหัวเกียร์อย่างไร เช่น การเลื่อนคันเกียร์สลับไปมาระหว่าง N และ D มักไม่ต้องกดปุ่ม เป็นการออกแบบเพื่อความสะดวก หากกดปุ่ม นอกจากเปล่าประโยชน์แล้วยังอาจเลื่อน เลยมาทางเกียร์ต่ำกว่าได้ หรือในการปลดเป็นเกียร์ว่าง อาจผลักเลยไปยังเกียร์ถอยหลังได้ รถยนต์บางรุ่น สามารถดึงคันเกียร์ลงมาสุดที่ตำแหน่ง D2 หรือ 2 โดยไม่ต้องกดปุ่ม ถ้าผลักไป ข้างหน้าจะสุดที่ N ดังนั้นไม่ควรกดปุ่ม เพราะถ้าผลักคันเกียร์เลยขึ้นไปก็จะสุดที่เกียร์ว่างเท่านั้น ไม่มีทางเลยไปถึงเกียร์ถอยหลังได้

ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์
ต้องอยู่ในตำแหน่ง P หรือ N เท่านั้น ถ้าอยู่ในตำแหน่งอื่นจะสตาร์ทเครื่องยนต์ไม่ติด การเข้าเกียร์ P แล้วสตาร์ทเครื่องยนต์สามารถ ทำได้แต่ถ้าต้องการเดินหน้าก็ต้องเลื่อนคันเกียร์ไปที่ D ซึ่งต้องผ่านเกียร์ R ก่อน ดังนั้นก่อนสตาร์ทควรเลื่อนคันเกียร์ไปที่ N ดึงเบรกมือให้สุด แล้วจึงสตาร์ทเครื่องยนต์ จากนั้นจึงเข้าเกียร์เดินหน้าหรือถอยหลังตามปกติ

การออกตัว
เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ติดแล้ว ควรรอประมาณ 1-2 นาที เพื่อให้น้ำมันเกียร์ไหลเวียนเต็มที่ จากนั้นให้เหยียบเบรกจนสุด เลื่อนคันเกียร์ไปที่ D แล้วรอประมาณ 1-2 วินาที เพื่อให้คลัตช์จับตัวเต็มที่ จากนั้นจึงปล่อยเบรกและเหยียบคันเร่ง การใช้งาน เมื่อเข้าเกียร์ D ในการใช้งาน ไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนเกียร์เอง ในการเปลี่ยนมาสู่เกียร์ขับเคลื่อนทั้งเดินหน้าถอยหลัง ควรให้รถยนต์จอดสนิทและเหยียบเบรกควบคู่กัน เพื่อความปลอดภัยและยืดอายุการใช้งานของเกียร์ การขับแบบเคลื่อนที่ตามกันไปช้าๆ อาจดึงคันเกียร์ลงมาที่ 2 หรือ 1 เพื่อให้เกียร์หน่วงความเร็วของรถยนต์ ทำให้ไม่ ต้องแตะเบรกบ่อย ๆ ลดความเมื่อยล้าและป้องกันไฟเบรกไปสร้างความรำคาญให้ผู้ขับด้านหลัง
 
 

โดย: อั๋น ทรงวุฒิ วันที่: 18 เมษายน 2550 เวลา:23:56:54 น.  

 
 
 
การเร่งแซง
มี 2 วิธี คือ กด-คันเร่งจนสุด-KICK DOWN เกียร์จะเปลี่ยนลงให้ 1-2 จังหวะ ขึ้นอยู่กับความเร็วขณะนั้นและน้ำ หนักในการกดคันเร่ง อีกวิธีเมื่อความเร็วไต่ไปถึงเกียร์สูงสุด คือ ปิดสวิตช์โอเวอร์ไดรฟ์ เกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์ 4 เป็นเกียร์ 3

การขึ้น-ลงทางลาดชัน
ทางขึ้น ให้กดคันเร่งมิด-KICK DOWN ก่อนว่าไปไหวไหม หากกำลังไม่พอให้ลดเกียร์มา 1 จังหวะ แล้วกดคันเร่งหนัก ๆ ไม่จำเป็นต้องลดลงมาเกียร์ต่ำที่สุดในทันที เพราะยังขึ้นอยู่กับความลาดชัน ทางลง ควรเบรกให้หยุดนิ่งแล้วเปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำสุดแล้วค่อยออกตัว หากขับแล้วช้าเกินไปหรือทางไม่ชันมากค่อยเลื่อนขึ้นสู่เกียร์สูงครั้งละ 1 จังหวะ การเข้าเกียร์ D แล้วปล่อยไหล เกียร์จะเลื่อนเปลี่ยนขึ้นสู่เกียร์สูงเอง ความเร็วจะเพิ่มขึ้น เบรกทำงานหนัก จึงไม่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง

การถอยหลัง
ควรเหยียบแป้นเบรกก่อนเลื่อนคันเกียร์มาที่ตำแหน่ง R รอจนคลัตช์จับตัวให้สนิท ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 วินาทีแล้วจึงค่อยปล่อยเบรกพร้อมกับแตะคันเร่งเบา ๆ เพื่อถอยหลัง

การเบรกและจอด
ในการเบรก อย่าปลดไปที่เกียร์ว่าง-N ในขณะที่รถยนต์ ยังไม่หยุดสนิท เพราะจะทำให้เกิดแรงเฉื่อยของตัวรถยนต์มาก ขึ้น เบรกทำงานหนักและระยะเบรกอาจยาวขึ้น รวมถึงอาจเกิด ความเสียหายกับชุดเกียร์ เมื่อจอดติดไฟแดงควรประเมินสถานการณ์ก่อน ถ้าติด ไม่นานให้เหยียบเบรกค้างไว้ ขณะที่เกียร์ยังอยู่ในตำแหน่ง D ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ เพราะการตัดต่อการส่งกำลังของระบบเกียร์อัตโนมัติ สามารถหมุนฟรีได้ โดยไม่มีการสึกหรอ และการเปลี่ยนเกียร์สลับไปมาระหว่าง N และ D บ่อยเกินไป จะทำให้ชุดเกียร์มีความสึกหรอมากขึ้น ถ้ากังวลว่าไฟเบรกจะสร้างความรำคาญให้ผู้ขับคันหลังโดยเฉพาะเวลากลางคืน อาจใช้วิธีดึงเบรกมือแทนการเหยียบเบรก โดยเกียร์ยังอยู่ที่ตำแหน่ง D เหมือนเดิม หากติดนานเกิน 5-10 นาที อาจปลดเป็นเกียร์ว่างเพราะ การจอด โดยการเหยียบเบรกค้างไว้ และเกียร์อยู่ในจังหวะขับ เคลื่อนเป็นเวลานานเกินไป ทำให้เครื่องยนต์มีภาระและสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงขึ้นเล็กน้อย ไม่ควรเข้าเกียร์ P เพราะต้องเลื่อนคันเกียร์ผ่านเกียร์ถอยหลัง จนเกิดความสับสนต่อผู้ขับรถยนต์ และหากถูกชนสลักเกียร์อาจหักได้ แม้ค่าซ่อมไม่แพง แต่ยุ่งยากเพราะต้องรื้อเกียร์เพื่อเปลี่ยนสลัก เมื่อจะต้องออกตัวครั้งต่อไปก็ต้องเลื่อน คันเกียร์จาก P ผ่าน R และ N มายัง D ทำให้ขาดความฉับไวใน การออกตัว
 
 

โดย: อั๋น ทรงวุฒิ วันที่: 18 เมษายน 2550 เวลา:23:57:10 น.  

 
 
 
การโยกรถยนต์เมื่อตกหล่ม
ควรเหยียบเบรก พร้อมดันคันเกียร์มาที่จังหวะต่ำสุดของเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งบางรุ่นแตกต่างกัน อาจจะเป็นเกียร์ L1 (เกียร์ 1) หรือเกียร์ L2 ที่รวมจังหวะ 1-2 ไว้ด้วยกัน ขณะโยกรถยนต์เพื่อให้รถยนต์ที่ตกหล่มสามารถขึ้นมาได้ ต้องมั่นใจว่าทางข้างหน้าไม่มีสิ่งกีดขวางหรือคน เพราะขณะที่เหยียบคันเร่งส่ง รถยนต์อาจจะพุ่งไปข้างหน้าได้

การลาก
สามารถทำได้ แต่ไม่ควรลากระยะทางยาวหรือใช้ความ เร็วสูง เพราะเมื่อเครื่องยนต์ไม่ทำงาน ปั๊มน้ำมันเกียร์และระบบ เกียร์จะไม่ทำงาน น้ำมันเกียร์ไม่มีการหมุนเวียนไม่มีการระบาย ความร้อนตามปกติ เมื่อลากนานๆ น้ำมันเกียร์จะร้อนและทำให้เกียร์เสียหาย การลากรถยนต์เกียร์อัตโนมัติที่ถูกต้อง ควรใช้ความ เร็วไม่เกิน 30-40 กิโลเมตร/ชั่วโมง และไม่ควรลากไกลเกิน 40-50 กิโลเมตร ( ต้องดูคู่มือประจำรถยนต์ ) ถ้าจำเป็นต้องลากไกลมากๆ ควรจอดพักเป็นระยะเพื่อให้น้ำมันเกียร์คลายความร้อน หรือถอดเพลาขับเคลื่อนที่ต่อเนื่องไปยังชุดเกียร์ออก ถ้าไม่สะดวกต้องยกล้อขับเคลื่อนขึ้น

การเปลี่ยนน้ำมันเกียร์
การส่งกำลังของระบบเกียร์อัตโนมัติใช้น้ำมันเกียร์ตลอด การทำงาน การเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะทางที่กำหนดเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง และถ้ารถยนต์ถูกใช้งานบนการจราจรที่ติดขัดหรือหลังลุยน้ำ ควรเปลี่ยนน้ำมันเกียร์เร็วขึ้นบ้าง เพราะค่าซ่อมเกียร์หลายเท่าตัว

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์ ---วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2545
 
 

โดย: อั๋น ทรงวุฒิ วันที่: 18 เมษายน 2550 เวลา:23:57:47 น.  

 
 
 
เกียร์อัตโนมัติแต่ละตำแหน่ง มีดังนี้


P
หมายถึง PARKING
เป็นตำแหน่งที่ใช้สำหรับจอดรถ และไม่ต้องการให้รถเคลื่อน โดยล้อรถจะถูกล็อกไว้ไม่สามารถเข็นได้ เช่น ในการจอดบนทางลาดชัน เมื่อต้องการจอดรถทิ้งไว้ หลังจากเหยียบเบรกจนรถหยุดสนิทแล้ว อย่าเพิ่งปล่อยเบรก จับคันเกียร์กดปุ่มปลดล็อก แล้วโยกคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง P จากนั้นปล่อยเบรก แล้วดับเครื่องยนต์


R
หมายถึง REVERSE
เป็นเกียร์สำหรับการถอยหลัง เมื่อต้องการเข้าเกียร์ R จะต้องเหยียบเบรกให้รถหยุดสนิท แตะเท้าขวาก่อน จากนั้นจับคันเกียร์กดปุ่มล็อก แล้วโยกคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง R แล้วจึงปล่อยเบรค เหยียบคันเร่งให้รถเคลื่อนตัวถอยหลัง


N
หมายถึง NEUTRAL
เป็นตำแหน่งเกียร์ว่างใช้เมื่อสตาร์ตเครื่องยนต์หรือต้องการจอด รถทิ้งไว้ โดยที่ยังสามารถเข็นได้ หรือเมื่อจอดรถอยู่กับที่ ในขณะเครื่องยนต์ ยังคงทำงานอยู่ เช่น การจอดรถในสภาพการจราจรติดขัด หรือเมื่อติดไฟแดง


D4
หมายถึง เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด
ใช้ในการขับรถเดินหน้าในสภาพการขับขี่ทั่วไป เช่น การขับรถในตัวเมือง รวมทั้งการขับรถด้วยความเร็วสูง ซึ่งการทำงานของเกียร์ D4 จะเป็นไปในลักษณะ 4 สปีด คือ เกียร์จะเปลี่ยนขึ้นตามลำดับจากเกียร์ 1 ไปเกียร์ 2 หรือจากเกียร์ 2 ไปเกียร์ 3 หรือจากเกียร์ 3 ไปเกียร์ 4 โดยอัตโนมัติตามสภาพการทำงาน ของเครื่องยนต์และความเร็วของรถ ยิ่งผู้ขับเหยียบคันเร่งมาก เกียร์ก็จะเปลี่ยนที่ความสูง ขึ้นตามไปด้วย


ในทางกลับกัน เมื่อลดความเร็ว เกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์ 4 ไปเกียร์ 3 หรือจากเกียร์ 3 ไปเกียร์ 2 หรือจากเกียร์ 2 ไปเกียร์ 1


D3
หมายถึง เกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด
ใช้สำหรับขับรถขึ้นหรือลงเนินเพื่อป้องกันมิให้เกียร์เปลี่ยนกล ับไปกลับมา บ่อย ๆ ระหว่างเกียร์ 3 และเกียร์ 4 นอกจากนี้ยังใช้สำหรับ กรณีที่ต้องการ ให้เครื่องยนต์ช่วยเพิ่มกำลังเบรกมากขึ้น

ในตำแหน่ง D4 และ D3 หากต้องการเร่งความเร็วอย่างทันทีทันใด เช่น ในเวลาที่ต้องเร่งแซงรถที่อยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่สามารถใช้การ KICK DOWN เหยียบคันเร่งจมติดพื้น เกียร์จะเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ และทำให้รถพุ่งไปข้างหน้าเร็วขึ้น


2
หมายถึง เกียร์ 2
ใช้สำหรับการขับรถลงเขาเพื่อให้เครื่องยนต์ช่วยเพิ่มกำลังเบรกม ากขึ้น หรือการขับรถขึ้นเขาเพื่อกำลังขับเคลื่อน รวมทั้งการขับบนถนนลื่น และการขับขี่จากหล่มโคลนหรือทราย


1
หมายถึง เกียร์ 1
ใช้สำหรับการขับรถขึ้น-ลงเขาสูงชันมาก ๆ


การเลือกใช้งานของเกียร์อัตโนมัติแต่ละเกียร์ได้อย่างถูกต้อง นอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อระบบขั บเคลื่อนแล้ว ยังให้การขับขี่ที่นุ่มนวลอีกด้วย
 
 

โดย: อั๋น ทรงวุฒิ วันที่: 19 เมษายน 2550 เวลา:0:01:33 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

อั๋น ทรงวุฒิ
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ทรงวุฒิ กาญจนโกศัย
[Add อั๋น ทรงวุฒิ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com