วันนี้ขี่รถไปกลับลำปาง-แพร่ ใช้น้ำมันไป 3.2 ลิตร

Honda wave 125 เครื่องเก่าโทรมๆ วิ่งไม่ค่อยมีแรง

วิ่งแวะบ้าง ระยะทาง 227 กิโลเมตร

เติมน้ำมันเต็มถังไปก่อน ถึงลำปาง ก็เติมอีก 1.6 ลิตร (50 บาท)

กลับมาถึงแพร่ เติมอีก 1.6 ลิตร (50 บาท)


อัตราสิ้นเปลือง = 227/3.2 = 70.9 กิโลลิตร



ประหยัดเว่อร์จริงๆ




 

Create Date : 25 ตุลาคม 2553   
Last Update : 25 ตุลาคม 2553 17:14:34 น.   
Counter : 596 Pageviews.  


เรียนรู้เกียร์อัตโนมัติ เพื่อความปลอดภัย





ปัจจุบันเทคโนโลยีของรถยนต์ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยหนึ่งในอุปกรณ์ที่ถูกคิดค้นขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ขับรถ ก็คือ “ระบบเกียร์อัตโนมัติ” หรือที่มักเรียกกันสั้นๆ ว่า “เกียร์ออโต้” ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า เกียร์ออโต้ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อความสะดวกมากกว่าที่จะมุ่งเน้นด้านความปลอดภัย

ดังนั้น หลายครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ จึงพบว่า มีสาเหตุมาจากการขาดความระมัดระวัง อาจจะด้วยผู้ขับขี่ไม่เข้าใจการทำงานของเกียร์ออโต้ หรือจะด้วยความพลั้งเผลอของผู้ขับขี่ก็ตาม

ดังนั้น จึงมีคำถามว่า ผู้ขับขี่รถที่ใช้ระบบเกียร์ออโต้ มีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ และการทำงานของเกียร์ออโต้ มากน้อยเพียงใด

ในวันนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะพาท่านผู้ฟังไปเรียนรู้เทคนิคในการใช้เกียร์อัตโนมัติ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

1. ตำแหน่ง R ถือเป็นตำแหน่งที่อันตรายมากที่สุด โดยตำแหน่ง R ก็คือ ตำแหน่ง การถอย เหตุที่กล่าวว่าอันตรายที่สุด เนื่องจากหลายครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่มักเกิดจากความพลั้งเผลอและความเคยชินของผู้ขับขี่ เช่น เมื่อสตาร์ทแล้วลืมปลดคันเกียร์จากตำแหน่ง R ทำให้รถไหลไปชนกับสิ่งที่อยู่ด้านหลัง โดยที่ผู้ขับขี่ยังไม่ทันได้ระวังตัว เป็นต้น


2. การคร่อมตำแหน่งเกียร์ ถือเป็นเรื่องอันตราย เพราะก่อนสตาร์ทหากคันเกียร์ คร่อมตำแหน่งอยู่ เช่น ระหว่าง P – R เมื่อสตาร์ทเครื่อง แรงสะเทือนอาจทำให้คันเกียร์ดีดไปเข้าเกียร์ใด เกียร์หนึ่ง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงก่อนสตาร์ทหรือจอดอยู่เฉยๆ ผู้ขับควรตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่า เกียร์อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย


3. การกดปุ่มที่หัวเกียร์ ผู้ขับขี่ควรศึกษาระบบการล็อคคันเกียร์ก่อนใช้รถเสมอว่า การเลื่อนจากตำแหน่งหนึ่งไปอีกตำแหน่งหนึ่ง ต้องกดล็อกที่หัวเกียร์หรือไม่ เพราะวิธีนี้นอกจากจะช่วยเตือนให้ผู้ขับขี่เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่มีเด็กนั่งอยู่ใกล้คันเกียร์แล้ว ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบเกียร์ได้อีกด้วย


4. อย่าไว้ใจเบรกมือ การดึงเบรกมือจะห้ามล้อได้เพียงแค่ 2 ล้อเท่านั้น แต่หลายคนมักเข้าใจว่า เบรกมือสามารถหยุดการเคลื่นที่ของรถได้ ดังนั้น เมื่อจอดรถก็เลยไม่ได้ใส่ใจที่จะเข้าเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย คือ ตำแหน่ง P หรือ ตำแหน่ง N การกระทำเช่นนี้ถือว่าอันตรายมาก เพราะเบรกมือจะ ทำให้รถเคลื่อนที่เมื่อใดก็ได้ หากคอมเพรสเซอร์แอร์ตัดขณะทำงาน เพราะแรงกดของเบรกมือจะน้อยกว่าการใช้เบรกเท้ามาก


5. การจอดรถขณะที่การจราจรติดขัด เช่น ติดไฟแดง หรือการจราจรคับคั่ง การหยุดในลักษณะนี้ส่วนใหญ่มักใช้เวลาไม่นานนัก ดังนั้น ควรแตะเบรกและค้างคันเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง D เพื่อป้องกันการสึกหรอจากการสลับตำแหน่งไปมาของเกียร์


6. การติดตั้งสัญญาณเมื่อเข้าเกียร์ถอยหลัง (R) ผู้ขับรถสามารถเพิ่มความปลอดภัย ได้ด้วยการติดตั้งสัญญาณไฟถอย เพราะเมื่อผู้ขับเข้าเกียร์ในตำแหน่ง R สัญญาณจะดังขึ้น ซึ่งจะช่วยป้องกัน มิให้ผู้ขับขี่ที่มักเผอเรอดึงคันเกียร์ลงมา แล้วทำให้รถถอยไปโดนสิ่งที่อยู่ด้านหลัง

เทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า อาจจะส่งผลดีกับมนุษย์ แต่หากมนุษย์ไม่สนใจที่จะเรียนรู้เทคโนโลยี ก็อาจก่อให้เกิดความสูญเสียได้ ดังนั้น ท่านเจ้าของรถควรเรียนรู้การใช้เกียร์อัตโนมัติที่ถูกวิธีจากคู่มือการใช้รถ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน


ด้วยความปราถนาดีจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย




 

Create Date : 18 เมษายน 2550   
Last Update : 18 เมษายน 2550 23:41:29 น.   
Counter : 2249 Pageviews.  



อั๋น ทรงวุฒิ
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ทรงวุฒิ กาญจนโกศัย
[Add อั๋น ทรงวุฒิ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com