Group Blog
 
All Blogs
 

QR Code คืออะไร

บางคนคงนึกสงสัยว่าสัญลักษณ์นี้คืออะไร? มีความหมายอย่างไร? สัญลักษณ์นี้มีชื่อเรียกว่า “QR Code” ครับ ซึ่งเราจะพบสัญลักษณ์นี้ได้บ่อยๆ บนพวกสินค้า ป้ายโฆษณา หนังสือ หรือสื่อโฆษณาต่างๆ ของประเทศญี่ปุ่น และปัจจุบันจะเริ่มพบเห็นได้แพร่หลายมากขึ้นทั่วโลกซึ่งรวมถึงบ้านเราครับ และสำหรับความหมาย วิธีการใช้งาน และประโยชน์ต่างๆ ของ QR Code เป็นอย่างไรนั้น ทั้งหมดอยู่ในบทความเราแล้วครับ


QR Code คืออะไร
ทุกท่านคงรู้จักกับ Bar Code กันแล้ว เพราะทุกสินค้า และห้างร้านบ้านเรา ก็มักจะใช้ตัว Bar Code เพื่อกำกับสินค้า ว่าสินค้าตัวนั้น มีชื่อว่าอะไร ราคาเท่าไหร่ เป็นต้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้อ่าน และประมวลได้อย่างรวดเร็ว แต่คุณ Bar Code ครับ คุณยังดีไม่พอสำหรับเกมอัจฉริยะข้ามคืน !! เอ่อ ไม่ใช่สิ คือมีมนุษย์เรา พยายามคิดสิ่งที่จะสามารถอ่านค่า ได้เร็วกว่า Bar Code ขึ้นมาอีก สิ่งนั้นคือ QR Code

QR Code ก็คือรหัสชนิดหนึ่ง หรือที่เรียกกันว่า two-dimensional bar code หรือใครจะเรียกว่า 2D bar code ก็แล้วแต่ โดยหลายชื่อนี้ ก็คือ QR Code เหมือนกันครับ ซึ่ง QR Code นี้ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1994 โดยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ที่ชื่อ Denso-Wave และได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ชื่อ QR Code ไปแล้วทั้งในญี่ปุ่น และทั่วโลก ทำให้เรามักจะเรียกว่า 2D Bar Code กันแทนเพื่อเลี่ยงปัญหาลิขสิทธิ์ แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า QR Code นั้น ได้ถูกนิยามความหมายว่าเป็น Quick Response หรือการตอบสนองที่รวดเร็ว ซึ่งมาจากความตั้งใจของผู้คิดค้น ที่จะให้ QR Code นี้สามารถถูกอ่านได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง ซึ่งตัวสัญลักษณ์ QR Code นี้ได้รับความนิยม จนกลายเป็นของธรรมดาในญี่ปุ่นไปแล้ว

ทุกวันนี้ QR Code นอกจากจะเอาไว้ใช้ในวงการค้าขายสินค้า หรือขนส่งแล้ว ยังเป็นที่นิยมนำเอามาใช้ในการตลาดด้วย เราจะเป็น QR Code ไปโผล่อยู่ตามโฆษณา ในแมกกาซีน หรือป้ายโฆษณา Bill Board เป็นต้น ซึ่งเราสามารถให้ QR Code นี้ เก็บข้อมูล url ของเราได้ และด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เราสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์สำหรับอ่าน QR Code หรือ 2D Bar Code นี้ไว้ในโทรศัพท์มือถือได้ง่าย ๆ แล้ว เมื่อพบ QR Code ในแมกกาซีน หรือป้ายโฆษณา Bill Board ก็สามารถเอามือถือไป scan เพื่อรับข้อมูลนั้นมาได้ โดยสะดวกง่ายดายครับ สำหรับ QR Code ตัวอย่างที่เห็นอยู่นี้ มีความหมายว่าเป็น //keng.com หรือเป็น url ของเว็บไซต์ของผมนั่นเองครับ ซึ่งตัว QR Code นี้สามารถเก็บข้อมูลได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่ wap url , web url หรือไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น




 

Create Date : 30 สิงหาคม 2553    
Last Update : 30 สิงหาคม 2553 15:13:31 น.
Counter : 256 Pageviews.  

กลยุทธ์การตั้ง ราคาสินค้า Online

ปัญหาที่ผู้ประกอบการ SME ถามเข้ามาบ่อยในเว็บนี้ ก็คือ เรื่องการตั้งราคาสินค้า เนื่องจากการขายของผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น แม้ว่าจะไม่มีพรมแดน เรื่องการสั่งซื้อ แต่ก็จะมีปัญหาค่าขนส่งซึ่งเมื่อบวกค่าสินค้าเข้าไปแล้ว ลูกค้าบางคนอาจจะรู้สึกว่า “ซื้อแพง” ?  เมื่อย้อนไปดูพื้นฐานของการตั้งราคาสินค้าในช่องทางการขายปกตินั้น เราคำนึงถึง 3 ปัจจัยต่อไปนี้


1. ต้นทุนการผลิตสินค้า ตั้งแต่วัตถุดิบ การขนส่งวัตถุดิบมาเพื่อแปรรูป พัฒนาคุณภาพ บรรจุภัณฑ์ที่พร้อมจำหน่าย


2. ราคาของคู่แข่งขัน หากสินค้าเราไม่ใช่สินค้าใหม่ถอดด้ามก็ต้องคำนึงถึงราคาของสินค้าคู่แข่งที่วางตลาดไว้ หากเทียบคุณภาพแล้ว ใกล้เคียงกัน เราก็ไม่สามารถที่จะตั้งราคาสูงกว่าเขาได้ แต่ถ้ามั่นใจว่าสินค้าเรามีคุณภาพดีกว่า เราก็สามารถที่จะทำราคาเหนือคู่แข่งด้วย ที่สำคัญต้องให้ลูกค้า หรือผู้ซื้อรู้สึกเช่นนั้นด้วย เขาจึงจะยอมจ่ายแพงกว่า


3. ค่าดำเนินการต่างๆ ราคาสินค้าที่ผู้บริโภคคนสุดท้ายจ่ายในปัจจุบันนั้น ได้รวมถึงค่าโฆษณา ค่าฝากขาย และค่าดำเนินการต่างๆ อย่างมากมาย แม้แต่ในอินเทอร์เน็ตเอง การที่ลูกค้าใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าของเราบนเว็บไซต์ ธนาคารก็คิดค่าธรรมเนียม 3-5% ของราคาขายด้วย


ปัจจัยดังกล่าวนี้ ล้วนมีผลในการตั้งราคาขายสินค้าทั้งสิ้น


แต่การขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ตนั้น สามารถลดต้นทุนในค่าดำเนินการต่างๆ ไปได้มาก เช่น ค่าเช่าสถานที่ ค่าพนักงานขาย ค่าน้ำ ค่าไฟ ดังนั้นจึงทำให้ต้นทุนส่วนนี้ สินค้าหลายประเภทจึงสามารถตั้งราคาขายได้ต่ำกว่าช่องทางการค้าปกติอีกประการหนึ่งการขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ตนั้น ผู้ประกอบการ SMEs ไม่จำเป็นต้อง สต๊อกสินค้าเป็นจำนวนมาก เพราะลองทำ สินค้าตัวอย่างขึ้นมา แล้วประชาสัมพันธ์ให้คนเข้ามาดู หากสนใจจึงค่อยผลิต โดยวิธีการเหล่านี้ก็ช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบได้มาก และเมื่อผลิตแล้วก็สามารถสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดอย่างไรก็ตาม หากจำหน่ายสินค้าที่จับต้องได้ (ไม่ใช่ซอฟต์แวร์ ซึ่งเมื่อผู้ซื้อชำระเงินเสร็จแล้วก็สามารถดาวน์โหลดได้ทันที-ไม่ต้องมีค่าขนส่ง) ผู้ซื้อก็ต้องจ่ายค่าขนส่งอยู่ดี ผู้ประกอบการบางรายที่คิดจะทำการค้าขายในต่างประเทศ จึงเกรงว่าหากตั้งราคาสินค้า 10 เหรียญ แต่เมื่อรวมค่าส่ง 20 เหรียญแล้ว ผู้ซื้ออาจจะลังเลไม่ซื้อสินค้านั้นก็ได้


แนวคิดการตั้งราคาบนอินเทอร์เน็ตของผู้ประกอบการในเว็บปัจจุบัน จึงแยกออกเป็น 2 แนวทาง


1. คิดราคาค่าขนส่งรวมกับราคาสินค้า โดยหาค่าเฉลี่ยของค่าขนส่งกลุ่มเป้าหมายปลายทาง แล้วบวกรวมกับค่าสินค้า โดยแง่นี้ลูกค้าก็จะไม่รู้ค่าขนส่ง เมื่อประมาณราคาสินค้าว่าเหมาะสมกับมูลค่าที่ตนยินยอมจ่ายแล้ว เขาก็จะตัดสินใจซื้อ


2. คิดราคาค่าขนส่งแยกกับราคาสินค้า โดยวิธีนี้ก็จะเป็นธรรมกับผู้ซื้อ เพราะหากผู้ซื้ออยู่ ทวีปเอเชียแต่ต้องจ่ายค่าขนส่ง ที่รวมกับค่าสินค้าเท่ากับ ผู้ซื้อปลายทางที่อเมริกาแล้ว เขาก็รู้สึกว่าแพงเกินไป ในกรณีเช่นนี้ผู้ขายเองก็ต้องพยายามจัดสินค้า ให้เหมาะสมกับ น้ำหนักขั้นต่ำที่บริษัทฯ ขนส่งคิด เพื่อที่ลูกค้าจะ ได้ไม่รู้สึกว่า ตนต้องรับภาระค่าขนส่ง มากเกินไป เช่น ถ้วยกาแฟเปล่าๆ น้ำหนัก 200 กรัม ราคา 3 เหรียญ แต่เสียค่าส่ง 10 เหรียญ ผู้ซื้อก็ต้องจ่ายเงินค่าสินค้า แค่ถ้วยกาแฟเปล่า ทั้งหมด 13 เหรียญ แต่หากผู้ขายจัดจานรองถ้วยกาแฟ พร้อมช้อนคน ขายเป็นชุด แม้น้ำหนักจะเพิ่มเป็น 500 กรัม ค่าสินค้าจะเพิ่มเป็น 4 เหรียญ แต่ค่าขนส่งยังคงเท่าเดิม ลูกค้าที่ซื้อชุดถ้วยกาแฟ+จานรอง+ช้อนในราคา 14 เหรียญ ก็จะรู้สึกคุ้มค่ากว่า เรื่องเหล่านี้จึงเป็นแนวคิด ให้ผู้ประกอบการพิจารณา เพื่อตั้งราคาสินค้า แต่อย่าลืมว่า “สินค้า” บนอินเทอร์เน็ตนั้น มีอยู่มากมาย ผู้ซื้อมี โอกาสเปรียบเทียบราคาได้ตลอดเวลา บางเว็บที่มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก แต่ไม่เคยขายสินค้าได้เลย บางทีต้องหันมาพิจารณาเรื่องของ “ราคาขาย” ที่ตนตั้งเหมือนกันว่า “น่าซื้อหรือเปล่า?”


 


ทิปจาก:  www.itforsme.com   


 






Free TextEditor




 

Create Date : 30 สิงหาคม 2553    
Last Update : 30 สิงหาคม 2553 14:34:54 น.
Counter : 244 Pageviews.  

โดเมนเนมคืออะไร??

Domain Name  คือชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อที่ใช้ต้องเป็นชื่อที่ไม่มีใครในโลกใช้เพราะถ้ามีคนใช้ชื่อใดแล้วเราจะไปจดชื่อซ้ำไม่ได้


  


ชื่อ Domain Name จะเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก ไม่แตกต่างกันเพราะ ระบบอินเตอร์เน็ตจะรับรู้ตัวอักษรเป็นตัวเล็กทั้งหมด เช่น ITTradefair.com และ ittradefair.com ถือว่าเป็นชื่อเดียวกัน ส่วนประกอบใหญ่ๆ สามส่วนคือ ชื่อเครื่อง. เช่น DomainAtCost.com ,ThaiCompany.net ฯลฯ



ในปัจจุบันได้มีการจดชื่อโดเมนถึงกว่า 30 ล้านชื่อทั่วโลกและ ชื่อโดเมนก็มักจะถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายการค้าของ Website ต่างๆ ด้วยโดยชื่อโดเมนจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ..........


 ส่วนของชื่อ
ซึ่งอาจเป็นชื่อของบุคคล นิติบุคคล องค์กร เครื่องหมายการค้า หรืออื่นๆ ที่ต้องการจะสื่อให้เป็นตัวแทนของ Website นั้นๆ เช่น DomainAtCost, ThaiCompany ฯลฯ


 ลักษณะการประกอบการของ Website นั้นๆ
เช่น .com, .net ฯลฯ (คล้ายๆ กับคำแสดงนิติฐานะของนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด กระทรวง สมาคม องค์การ ฯลฯ)


เนื่องจากชื่อโดเมนจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการชี้ไปยัง Website ดังนั้นจึงไม่สามารถตั้งชื่อซ้ำกันได้ (ThaiCompany.net และ ThaiCompany.com ถือว่าเป็นคนละชื่อกัน เนื่องจากจดอยู่ภายใต้ลักษณะการประกอบการที่ต่างกัน แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจประกอบการในลักษณะเดียวกัน เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับใดๆ ควบคุม)



Domain Name ทำงานอย่างไร ..


ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะใช้กลุ่มตัวเลข 4 กลุ่มที่คั่นด้วยจุด (ตัวเลขในแต่ละกลุ่ม   จะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255) เช่น 203.33.192.255 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ IP Address ในการระบุตำแหน่งของ Website ต่างๆ เพื่อให้รู้ว่าอยู่บนเครื่องใดและอยู่ในเครือข่ายใด แต่เนื่องจาก IP Address อยู่ในรูปของตัวเลขซึ่งยากแก่การจดจำดังนั้นจึงเป็นการสะดวกกว่าที่จะใช้ชื่อหรือกลุ่มของตัวอักษร ซึ่งก็คือ Domain Name ในการอ้างอิงแทน โดยจะอาศัย DNS Server มาช่วยจับคู่ IP Address และ Domain name เข้าด้วยกัน ดังนั้นเมื่อมีผู้ต้องการที่จะเรียกดู Website ของท่าน ไม่ว่าจะทราบ IP Address หรือ Domain name เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ผิดพลาด


Domain Name ที่ลงท้ายด้วย .com และ .net หรือ .net และ .net.th แตกต่างกันอย่างไร


ระบบของ Domain Name จะมีการจัดแบ่งออกเป็นหลาย Level โดยเริ่มตั้งแต่ Top Level
ซึ่งประกอบด้วย Generic Domain (gTLD) ซึ่งได้แก่ Domain Name ที่ลงท้ายด้วย .com (Commercial), .net (Networking), .org (Non-Commercial Organization), .edu (Education), .gov (Government), .int (International), .mil (Military)


.com   จะใช้กับองค์กรที่แสวงหาผลกำไร


.org    จะใช้กับองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร
 
.net    จะใช้กับบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Internet


Country Code Domain (ccTLD) ซึ่งเป็น Domain Name ที่กันไว้สำหรับการใช้งานของประเทศต่างๆ ได้แก่ .th (ประเทศไทย), -.us (สหรัฐอเมริกา), .uk (อังกฤษ) และอื่นๆ


.co.th   จะใช้กับองค์กรที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่แสวงหาผลกำไร


.or.th   จะใช้กับองค์กรที่จดทะเบียนในประทศไทยที่ไม่แสวงหาผลกำไร


.net.th จะใช้กับองค์กรที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Internet


.in.th    จะใช้กับบุคคลหรือองค์กรใดๆก็ได้ในประเทศไทย
 


ดังนั้น .com และ .net จึงถือได้ว่าเป็น Domain Name ที่อยู่ในระดับเดียวกัน แต่จะต่างกันที่ลักษณะการประกอบการ


กล่าวคือ .com เป็น Website ที่ประกอบการเชิงพาณิชย์ เช่น การขายสินค้าหรือให้บริการ ในขณะที่ .net จะเป็น Website ที่ให้บริการทางด้านอินเตอร์เน็ต เช่น การเชื่อมต่อหรือการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย ส่วน .net.th จะถือเป็น Domain Name ในระดับ Secondary Level (SLD) ที่แยกมาจาก Top Level (TLD) หรือ .th อีกทีหนึ่ง ซึ่งจะหมายถึง Website ที่ให้บริการทางด้านอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย อนึ่ง การแบ่ง Level ของ Domain Name สามารถแบ่งย่อยลงมาได้เรื่อยๆ ตามหลักการของ DNS (Domain Name System) เช่น Ngo.ThaiCompany.net ก็จะหมายถึงกลุ่ม NGO ที่จด Domain Name อยู่ภายใต้ ThaiCompany.net เป็นต้น



แหล่งจดทะเบียน


ท่านสามารถที่จะจด Domain Name กับผู้ให้บริการรับจดรายใดก็ได้ทั่วโลก ทั้งนี้การจะจดอย่างไรจะขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน เช่น หากต้องการให้ Website มีภาพลักษณ์ที่เป็นสากล ก็ควรจดในลักษณะ .com, .net หรือ .org แต่หากว่าต้องการสื่อว่าเป็น Website ที่ให้บริการในประเทศไทย ก็ควรจดเป็น .co.th, .net.th, .or.th หรืออื่นๆ ซึ่งกรณีนี้จะต้องทำการจดกับ THNIC ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลการจด Domain Name เพียงแห่งเดียวในประเทศไทยเท่านั้น นอกจากนี้โดเมนเนมของบางประเทศ เช่น
.at (Austria), .cc (Cocos Islands), .to (Tonga), .tv (Tuvalu) และอื่นๆ ก็เป็นที่นิยม เนื่องจากสามารถใช้สื่อความหมายเฉพาะอย่างได้ แต่เนื่องจากเป็นของประเทศ ดังนั้นการจดก็จะต้องขึ้นกับเงื่อนไขที่กำหนดโดย Registry ของประเทศนั้นๆท่านสามารถจะจดโดเมนเองได้ที่ //www.we.co.th ในกรณีที่ต้องการจดโดเมนของอเมริกา หรือ //www.thnic.net/ ในกรณีที่ต้องการจดโดเมนของไทย



ระยะเวลาในการเป็นเจ้าของ Domain Name


เนื่องจาก Domain Name ถือเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ดังนั้นกรรมสิทธิ์ หรือความเป็นเจ้าของจะคงอยู่ตราบเท่าระยะเวลาของสัญญาที่ทำไว้กับผู้ให้บริการรับจดแต่ละราย โดยสามารถทำการต่ออายุสัญญาเป็นงวดๆ ไป (สิทธิ์ความเป็นเจ้าของ Domain Name จะเป็นของท่าน โดยข้อมูลทั้งหมดที่ลงทะเบียนไว้จะถูกเก็บอยู่ในระบบฐานข้อมูลของ NSI ซึ่งเป็นผู้ดูแลระบบฐานข้อมูลหลักในปัจจุบัน



ข้อดีของการจดทะเบียนหลายปี


ในการจดชื่อโดเมน ระยะเวลาของสัญญาจะขึ้นกับดุลยพินิจและความพร้อมของท่าน สำหรับการจดแบบหลายปี (ท่านสามารถเลือกจดได้ตั้งแต่ 1-10 ปี) เป็นการรองรับความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาค่าบริการและอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินในอนาคต เนื่องจากค่าบริการของท่านจะถูกจ่ายครั้งเดียวในตอนเริ่มต้นด้วยอัตราค่าบริการในขณะนั้น ดังนั้นจึงเหมือนกับว่าในปีต่อๆ ไปท่านก็ยังคงสามารถจ่ายค่าบริการด้วยอัตราเดิมแม้ว่าค่าบริการจะปรับตัวสูงขึ้น (เรายังคงคาดหมายว่าแนวโน้มราคาค่าบริการของตลาดโดยรวมในอนาคตจะปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดีเนื่องจากในอนาคตการออกกฎหมายมาควบคุมการจดทะเบียนชื่อโดเมนคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ชื่อโดเมนก็ยังถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด) ดังนั้นการจดชื่อโดเมนแบบหลายปีก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่น่าจะมองข้าม เพราะนอกจากจะช่วยท่านประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วยังช่วยให้ท่านไม่ต้องเสียเวลาในการต่ออายุสัญญาทุกๆ ปีอีกด้วย (หากท่านจดชื่อโดเมนกับเราไม่ว่าจะกี่ปีก็ตาม อายุสัญญาของชื่อโดเมนของท่านก็จะเป็นไปตามนั้น จะไม่มีการนำเงินมาหมุนใช้ก่อนแล้วนำไปจดใหม่เป็นรายปีในภายหลัง


การเตรียมการเพื่อจดชื่อโดเมน


ชื่อโดเมนที่ต้องการจดทะเบียน เลือกไว้สัก 3 - 4 ชื่อ ป้องกันชื่อไปซ้ำกับชื่อที่ถูกจดไว้แล้ว
ผู้ให้บริการจดโดเมน ที่ต้องการไปจะจดกี่ปี ค่าบริการเท่าไร


เจ้าของชื่อโดเมน (Registrant) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ถ้าหากเป็นองค์กร ให้ใส่ชื่อองค์กร


ผู้ดูแลชื่อโดเมน (Administrative contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์


ผู้ติดต่อทางเทคนิคโดเมน (Technical contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์


ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจดโดเมน (Billing contact) ชื่อ พร้อมที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์


การจดชื่อโดเมนไม่ใช่เรื่องยาก หลังจากเลือกได้แล้วว่า จะจดทะเบียนกับผู้รับจดทะเบียนรายไหน ก็เปิดเว็บไซต์ไปจดได้เลย อย่างไรก็ตาม อยากแนะนำให้ใช้วิธีการเตรียมการหลายๆอย่างไว้ก่อน เพื่อให้การจดทะเบียนทำได้รวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ พร้อมทั้งสอดคล้องกับความต้องการมากขึ้น



อ้างอิงข้อมูลจาก : tradepointthailand.com






Free TextEditor




 

Create Date : 30 สิงหาคม 2553    
Last Update : 30 สิงหาคม 2553 14:25:07 น.
Counter : 421 Pageviews.  

Browser คืออะไร?!?

Browser คือเครื่องมือที่ช่วยให้คุณสามารถท่องเที่ยวไปในโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร้ขีดกั้นทางด้านพรมแดน นอกจากนี้ Browser ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งในขณะนี้บริษัทผลิตซอฟแวร์ค่ายต่างๆ นับวันจะทวีการแข่งขันกันในการผลิต Browser เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่นักท่องเว็บให้มากที่สุด หน้าตาของ browser แตกต่างกันไปตามแต่การออกแบบการใช้งานของแต่ละค่ายโปรแกรม โปรแกรม Browser ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer, Mozilla FireFox, Google Chrome เป็นต้น ในที่นี้จะอธิบายถึง Browser ที่นิยมใช้งานในปัจจุบันอย่างคร่าวๆ


Internet Explorer
เป็น Browser ที่มีสัญลักษณ์ไอคอนเป็นตัว e สีน้ำเงิน ซึ่งหลายท่านอาจจะรู้จักหรือคุ้นเคย  Browser ตัวนี้มากกว่าตัวอื่นๆ เนื่องจาก Browser ตัวนี้ผลิตโดยบริษัท Microsoft ผู้ผลิตโอเอส DOS, Windows ฯลฯ ดังนั้น Browser จะมีติดไปกับWindows จึงทำ Browser ตัวนี้เป็นที่นิยมมากกว่าตัวอื่นๆ
                                                                                                                           
Mozilla FireFox
Mozilla FireFox หรือที่รู้จักกันในชื่อ FireFox พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัทมอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 2 รองจากอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์
 
Google Chrome
เป็น Browser แบบโอเพนซอร์ซ ที่พัฒนาโดยกูเกิล โครมมีให้ดาวน์โหลดเพื่อทดสอบใช้งานสำหรับวินโดวส์ และมีภาษาที่ให้ใช้ได้มากกว่า 50 ภาษารวมถึงภาษาไทย รุ่นสำหรับ แมคโอเอส และ ลินุกซ์ นั้นกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งจะเปิดให้ทดสอบในอนาคต
 
Browser แต่ละตัวจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปตามนโยบายของผู้ผลิต ด้วยเหตุนี้การท่องอินเตอร์เนตเข้าไปในเว็บไซต์แต่ละเว็บอาจมีการแสดงผลของรูปแบบเว็บไซต์ที่แตกต่างกันไปน้อยจนถึงมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเว็บไซต์นั้นๆ มีการเขียนขึ้นมาเพื่อรองรับ Browser แต่ละตัวนั้นได้มากน้อยแค่ไหน ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลใจว่าทำไมบางทีเว็บไซต์เว็บเดียวกันแต่เปิดคนละ Browser อาจจะมีการแสดงผลหรือการรองรับการใช้งาน Browser ที่ไม่เหมือนกัน การจะเลือกใช้งาน Browser ตัวไหนนั้น ในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ใช้งานเป็นหลัก 



Free TextEditor




 

Create Date : 30 สิงหาคม 2553    
Last Update : 30 สิงหาคม 2553 10:06:58 น.
Counter : 238 Pageviews.  

ประเภทเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมาย(แบบอ่านง่ายๆ)

พรบ. คอมพิวเตอร์ พ . ศ . 2550 ซึ่งได้ประกาศ และบังคับใช้แล้วนั้น ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 นี้ พวกเราเลยต้องมารับรู้กันซะหน่อย ว่าทำอะไรผิด บ้างถึงจะถูกกฎหมายนี้ลงโทษเอาได้ พวกเราจะได้ระวังตัวกัน ไม่เผลอไผลให้อารมณ์ พาไปจนทำผิดเน้อะ!!!

ผมจะถอดความโดยสรุปเลยก็แล้วกันนะครับ ว่าทำอะไรผิดแล้วจะโดนลงโทษบ้าง

1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป ... เจอ คุก 6 เดือน
2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้าน แล้วเที่ยวไปโพนทะนาให้คน อื่นรู้ ... เจอคุกไม่เกินปี
3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของ เขา ... เจอคุกไม่เกิน 2 ปี
4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วเรา ทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา ... เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ เราดันมือบอนไปโมมันซะ งั้น ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
6. ระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้านทำงานอยู่ดี ๆ เราดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ worm หรือ (โอ๊ยเยอะ ) เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ย ง ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
7. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเล้ย เราก็ทำตัวเป็นอีแอบเซ้าซี้ ส่งให้เขาซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ ... เจอปรับไม่ เกินหนึ่งแสนบาท
8. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วมันสร้างความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า งานนี้มีซวยแน่ เจอคุกสิบปีขึ้น
9. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใคร ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ในข้อข้างบน ๆ ได้ ... เจอคุกไม่เกินปีนึง เหมือนกัน
10. โป๊ก็โดน, โกหกก็โดน, เบนโลก็โดน, ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน ... เจอคุกไม่ เกิน 5 ปี

ที่มา จาก FW mail





 

Create Date : 22 กรกฎาคม 2553    
Last Update : 22 กรกฎาคม 2553 18:59:18 น.
Counter : 205 Pageviews.  

1  2  3  4  

prettysummer
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add prettysummer's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.