ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

สร้างบ้านป้องกันแผ่นดินไหว…..ทำอย่างไร

วันนี้ Decor.Mthai จะพาเพื่อนๆ ไปเนื้ัอหาเกี่ยวกับการ สร้างบ้านป้องกันแผ่นดินไหว กันค่ะ ประวัติการออกแบบอาคารป้องกันแผ่นดินไหวจากการเก็บข้อมูลกว่า 30 ปี ในช่วงปี 1963-1993 พบว่าอาคารที่ใช้ระบบผนังแรงเฉือนต้านแรงด้านข้าง สามารถรับมือกับแผ่นดินไหวได้ดี และยืนอยู่ได้แม้อาคารอื่นๆ จะพังลง เราได้ดูข้อมูลเพิ่มเติมกันเลยค่ะ

สร้างบ้านป้องกันแผ่นดินไหว….ทำอย่างไร

สร้างบ้านป้องกันแผ่นดินไหว

อาคารรูปแบบนี้สามารถรับมือได้ดีกว่าอาคารอื่นอย่างเห็นได้ชัด วิศวกรก็เลยสนใจในจุดนี้ และประเทศที่เกิดแผ่นดินไหวก็ฟื้นฟูและสร้างอาคารใหม่ให้รองรับแรงได้มากยิ่งขึ้นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือในประเทศชิลี นอกจากนี้แล้วอาคารทั่วไปที่ไม่ได้รับการออกแบบอย่างมีมาตรฐานและตามหลักการก็มักจะเป็นสิ่งก่อสร้างแรกๆ ที่พังทลายลงมาก่อนแม้จะมีแผ่นดินไหวไม่แรงมาก แม้จะมีขนาดแผ่นดินไหวเพียง 4-5 เท่านั้น การออกแบบให้มีมาตรฐานและแข็งแรง ตัวอย่างเช่น ยึดรั้งชิ้นส่วน อย่าง เสากับฐานราก เสากับคาน ออกแบบเสาให้แข็งแรงมีขนาดโตพอ ยึดโยงส่วนอาคารกันโย้ และข้อต่อต่างๆให้แข็งแรง รวมถึงมีวิศวกรควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐาน

บ้านป้องกันแผ่นดินไหวขอบคุณภาพ : คิวเทค โปรดักส์

  • ก่อนการสร้างบ้านให้ป้องกันแผ่นดินไหว วิศวกรจะต้องพิจารณาพื้นที่สภาพดินในเขตนั้น รวมถึงรูปแบบของอาคารเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิบัติในรูปแบบต่างๆ นั่นเอง โครงสร้างที่ดีควรจะวางตำแหน่งเสาให้มีความสมมาตรในแกนหลักทั้งตามยาวและตามขวางของอาคาร หากเป็นอาคารสูง ควรมีกำแพงรับแรงเฉือนหลายชิ้น วางในตำแหน่งที่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอตลอดผังอาคาร โดยไม่กระจุกตัวอยู่ในบริเวณเดียว
  • ทิศทางการวางแนวผนังควรหันด้านยาวของผนังให้สามารถรับแรงด้านข้างจากแผ่นดินไหวได้ทั้งสองทิศทาง ทั้งตามยาวและตามขวางของอาคาร ดังตัว อย่างอาคารที่มีการจัดวางตำหน่งเสาและกำแพงรับแรงเฉือนที่ดี
  • นอกจากรูปแบบของอาคารที่เหมาะสมแล้วความแข็งแรงของโครงสร้างก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเสานอกจากจะรับน้ำหนักบรรทุกปกติ ซึ่งเป็นน้ำหนักของอาคารและน้ำหนักบรรทุกจรตามการออกแบบทั่วไปแล้ว เสาจะต้องมีกำลังรับน้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มขึ้นในขณะเกิดแผ่นดินไหว เมื่อเปรียบเทียบขนาดเสากับอาคารทั่วไปแล้ว เสาอาคารต้านทานแผ่นดินไหว จะมีขนาดใหญ่กว่าและมีปริมาณเหล็กเสริมตามยาวของเสามากกว่า เพื่อรับน้ำหนักบรรทุกและการดัดตัวที่เพิ่มมากขึ้นรวมทั้งต้านการเคลื่อนที่ทางด้านข้างด้วย และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือการเสริมเหล็กให้โครงสร้างมีความเหนียวพอเพียงในการต้านทานแรงแผ่นดินไหว โดยการจัดปริมาณการเสริมเหล็กตามยาวและเหล็กปลอกที่โอบรัดรอบเหล็กเสริมตาม ยาวของเสาและคานให้พอเพียง

ส่วนการสร้างบ้านป้องกันแผ่นดินไหวในประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้รับเหมาหลายรายที่นำเสนอบ้านป้องกันแผ่นดินไหวมาเป็นตัวเลือกของคนที่มีงบประมาณสูงขึ้นมาเล็กน้อย และอยากจะได้ความปลอดภัยพร้อมกับความสบายใจในการอยู่อาศัย ซึ่งสามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนได้สูงถึงระดับ 7 เพราะฉะนั้นเราก็คงจะมั่นใจได้ระดับหนึ่ง

ขอบคุณข้อมูล : dailynews




Create Date : 08 พฤษภาคม 2557
Last Update : 8 พฤษภาคม 2557 21:24:06 น. 0 comments
Counter : 1378 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]