ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

สิ่งควรรู้ ก่อนสร้างบ้านต้นไม้

บ้านต้นไม้ ดูจะเป็นความฝันในวัยเด็ก ที่ยังหลงเหลืออยู่ของผู้ใหญ่หลายคน การมีบ้านเล็กๆ อยู่สูงขึ้นไปบนต้นไม้ เป็นส่วนตัว เงียบสงบ และเป็นที่แอบซ่อนตัวจากความวุ่ยวายได้เป็นอย่างดี แต่คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าการสร้างบ้านต้นไม้มีหลักการอย่างไรบ้าง และมีอะไรที่ต้องคำนึงถึง ทั้งในเรื่องของความปลอดภัยและการก่อสร้าง คอลัมน์ “สถาปัตยกรรม” ฉบับนี้ ขอสรุป สิ่งควรรู้ก่อนสร้างบ้านต้นไม้ 10 ข้อ มาดูกันครับว่ามีอะไรบ้าง

สิ่งควรรู้ ก่อนสร้างบ้านต้นไม้

10 สิ่งควรรู้ ก่อนสร้างบ้านต้นไม้

1. เลือกต้นไม้ที่เหมาะสม
การเลือกต้นไม้ที่เหมาะสม ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างแรกที่ต้องคิดถึง ควรเป็นต้นที่มีความทนทาน เติบโตเต็มที่ ไร้โรค มีรากแก้วที่แข็งแรง นอกจากนี้ต้องไม่มีขน หนาม ยาง หรือผลที่เป็นที่อยู่อาศัยของแมลง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน รวมทั้งกิ่งไม่เปราะหรือหักง่าย ไม่ควรเลือกต้นไม้ที่แก่หรืออ่อนเกินไป และไม่ควรนำต้นไม้ที่ล้อมจากที่อื่นมาปลูกมาทำบ้านต้นไม้ด้วย เพราะรากจะยึดติดกับดินได้ไม่ดีเท่าที่ควร หากเป็นไปได้ควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านต้นไม้เข้ามาตรวจสภาพต้นไม้นั้นก่อนก็จะดีที่สุด
ขนาดกำลังดีของบ้านต้นไม้คือ 2.40 x 2.40 เมตร ซึ่งไม่เล็กและไม่ใหญ่เกินไป โดยต้นไม้ที่จะใช้ต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นไม่ต่ำกว่า 30 เซนติเมตร (วัดจากตำแหน่งของลำต้นที่ต้องการจะสร้างบ้านต้นไม้) ส่วนวิธีการวัดก็ทำได้โดยการนำเชือกหรือสายวัดมาวัดรอบลำต้นในตำแหน่งที่ต้องการ และนำตัวเลขที่ได้หารด้วย 3.14 ก็จะได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น

2. ต้นไม้อะไรไม่ควรสร้างบ้านต้นไม้
สนอินเดีย ยางอินเดีย รักหลวง ต้นไม้เหล่านี้มียาง เปลือกของลำต้นก็มีพิษระคายเคืองผิวหนังคน ซึ่งหากยางเข้าตาก็อาจทำให้ตาบอดได้ จึงมีความอันตรายอยู่พอสมควร นอกจากไม่ควรนำมาสร้างบ้านต้นไม้แล้ว ต้นไม้เหล่านี้ก็ไม่ควรอยู่ภายในพื้นที่ของบ้านด้วย เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในบ้าน

3. บ้านต้นไม้ต้องขออนุญาตก่อสร้าง หากต้องการขอติดตั้งระบบน้ำและไฟฟ้า
หากต้องการขอติดตั้งระบบน้ำและไฟฟ้าภายในบ้านต้นไม้ การขออนุญาตก่อสร้างกับพื้นที่เขตที่สร้างเป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่หากไม่ต้องการใช้น้ำและไฟฟ้า ก็จะเป็นเหมือนบ้านหลังเล็กที่ให้ลูกๆ ขึ้นไปเล่นได้ จึงไม่ต้องขออนุญาต แต่สิ่งที่ควรพิจารณาเองคือบ้านต้นไม้นั้นไม่ควรยื่นเลยเขตที่ดินของเราออกไปยังพื้นที่ของเพื่อนบ้าน และการสร้างนั้นไม่ได้ทำเพื่อการพาณิชย์

4. แจ้งเพื่อนบ้านให้ทราบก่อน
หากบ้านต้นไม้นั้นอยู่ใกล้เขตรั้วที่ติดกับเพื่อนบ้าน สิ่งที่ควรทำก่อนการออกแบบและก่อสร้างคือการแจ้งเพื่อนบ้านให้ทราบถึงแผนของเรา นอกจากจะแจ้งเชิงขออนุญาตกับเพื่อนบ้านแล้ว เราควรจะแจ้งกำหนดการและระยะเวลาที่จะสร้างด้วย เป็นการเคารพและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อไป

treehouse25. คิดถึงโครงสร้างก่อน
สิ่งสำคัญของบ้านต้นไม้คือโครงสร้างที่แข็งแรง เมื่อเลือกต้นไม้ที่มีความแข็งแรงได้แล้ว ลำดับต่อมาคือการออกแบบโครงสร้างที่จะรับตัวบ้าน ซึ่งหลักๆ มี 3 รูปแบบ คือ

  • แบบแขวนจากกิ่งกานลำต้นด้านบน แบบนี้ต้องมีกิ่งก้านด้านบนที่แข็งแรง ไม่เหมาะกับบ้านต้นไม้ที่ใช้งานบ่อยและรองรับน้ำหนักมากๆ
  • แบบค้ำยันจากลำต้น แบบนี้แข็งแรงและมีความซับซ้อนในการก่อสร้างน้อยที่สุด สามารถเสริมตัวค้ำยันได้มากเท่าที่ต้องการ แต่ก็สร้างความเสียหายแก่ต้นไม้มากเช่นกัน
  • แบบตั้งเสาขึ้นมาจากพื้น วิธีนี้จะยึดติดกับต้นไม้น้อยที่สุด เพราะมีเสาที่ตั้งขึ้นไปจากพื้นรองรับน้ำหนักแทน สุดท้ายแล้วเราจะเลือกวิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของต้นไม้นั้นๆ ว่าเหมาะสมกับโครงสร้างแบบใดที่สุด

6. ออกแบบบันไดขึ้นให้เหมาะสม
การจะขึ้นไปบนบ้านต้นไม้นั้นมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นบันไดที่เดินขึ้นแบบปกติ หรือจะเป็นบันไดลิงที่นำมาพาดเฉพาะตอนที่มีการใช้งานก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าเป็นใคร ต้องการความสะดวกสบายในการเข้าถึงมากแค่ไหน

7. ความปลอดภัยสำคัญที่สุด
บ้านต้นไม้ต้องอยู่บนต้นไม้ในตำแหน่งที่ไม่สูงมากนัก มีราวกันตกที่แข็งแรง หากผู้ใช้งานเป็นเด็ก ความสูงจากพื้นดินจนถึงพื้นบ้านต้นไม้ไม่ควรเกิน 180 เซนติเมตร ราวกันตกรอบบ้านและบันไดสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร หากเป็นไปได้พื้นด้านล่างควรโรยทราย หรือทำบ่อทราย เผื่อเวลาที่พลัดตกลงมาจะได้ไม่บาดเจ็บมาก

8. เริ่มด้วยโครงสร้างพื้น
เมื่อเริ่มสร้างบ้านต้นไม้ สิ่งแรกที่ต้องทำคือพื้นของบ้าน และควรสร้างอย่างใจเย็น เพราะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของบ้าน ต้องรับน้ำหนักได้ดี แข็งแรง วัสดุพื้นอาจเป็นแผ่นไม้อัดที่ติดตั้งอยู่บนตงไม้เช่นกัน ความห่างของตงประมาณ 40 – 60 เซนติเมตร และเมื่อทำพื้นเสร็จ เราก็สามารถขึ้นไปยืนบนพื้นเพื่อก่อสร้างส่วนต่างๆ ของบ้านได้อย่างสะดวกอีกด้วย

9. วัสดุที่ใช้ต้องเป็นวัสดุเบา
บ้านต้นไม้ต้องการโครงสร้างและวัสดุต่างๆ ที่มีน้ำหนักเบาที่สุด โครงสร้างที่เหมาะสมที่สุดจึงเป็นโครงสร้างไม้ ผนังของตัวบ้านเป็นโครงคร่าวที่ติดวัสดุปิดผิวอย่างไม้อัดหรือแผ่นไม้สังเคราะห์ที่มีความหนาน้อยที่สุด องค์ประกอบต่างๆ อาจไม่ต้องเหมือนบ้านที่อยู่อาศัยจริงทั้งหมด เราอาจตัดวงกบประตูหน้าต่างทิ้ง และใช้แผ่นไม้อัดที่ติดตั้งบานพับเหมือนบานพับตู้เป็นส่วนของประตูและหน้าต่างแทน ส่วนหลังคาอาจไม่ต้องการโครงสร้างหลังคาเลยก็ได้ เป็นเพียงแผ่นไม้อัดวางพาดผนังเพื่อให้เกิดรูปทรงของหลังคาก็เพียงพอ

10. มีบ้านต้นไม้ต้องดูแลมากกว่าปกติ
ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บ้านที่อยู่ใกล้ชิดต้นไม้ขนาดนี้จึงต้องการการดูแลอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความแข็งแรง พื้นไม้ โครงสร้าง หรือหลังคา ควรตรวจสอบว่ามีการชำรุดเสียหายจากการไหวตัวของต้นไม้หรือไม่ รวมถึงสัตว์มีพิษต่างๆ ที่อาจเข้าไปอยู่ภายในบ้านโดยที่เราไม่รู้ตัว

ข้อมูลจาก //www.baanlaesuan.com/
ภาพจาก //treehouselove.com/




Create Date : 03 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2557 21:21:28 น. 0 comments
Counter : 981 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

zulander
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 77 คน [?]




หวยซอง เลขเด็ด
หวยซอง เลขเด็ด หวยซองแม่นๆ หวยซองดัง รวมหวยซอง






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add zulander's blog to your web]