บล๊อกเคมี

ทีวีสี
Location :
นครนายก Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ทีวีสี's blog to your web]
Links
 

 
หลักการของอุปกรณ์ตรวจจับวัตถุระเบิด


หลักการตรวจจับวัตถุระเบิดโดยวิธีการวิเคราะห์สาร (Substance analysis) โดยทั่วไปมีอยู่ 2 วิธีคือ
1. การวิเคราะห์สารที่มีคุณสมบัติระเหยได้ (แก๊สระเหย) ในวัตถุระเบิด
แก๊สระเหยดังกล่าวจะระเหยออกมาจากวัตถุระเบิดทำให้ตรวจจับได้ ซึ่งวัตถุระเบิดแต่ละชนิดจะมีองค์ประกอบของแก๊สระเหยแตกต่างกันดังนี้
1.1 วัตถุระเบิดจำพวกเอสเตอร์ไนเตรตเช่น ไนโตรเซลลูโลส (NC) ไนโตรกลีเซอรีน (NG) จะมีองค์ประกอบของแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
1.2 วัตถุระเบิดของผสมจำพวกดินดำ หรือ ANFO จะมีองค์ประกอบของแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
1.3 สารจำพวกเปอร์คลอเรต เช่น คาลิท (Carlit) จะมีองค์ประกอบของแก๊สไฮโดรคลอริก (HCl)
1.4 วัตถุระเบิดที่ผู้ผลิตจำเป็นต้องผสมสารที่ก่อให้เกิดแก๊สระเหยได้ตามที่กฎหมายกำหนด (เรียกว่า Taggant)

จุดอ่อนของหลักการตรวจจับวัตถุระเบิดด้วยการดูสารระเหยนี้คือ วัตถุอื่นๆที่ไม่ใช่วัตถุระเบิดแต่ก็มีองค์ประกอบของแก๊สระเหยเหล่านี้อยู่ด้วย ทำให้การตรวจจับมีความผิดพลาดได้ อีกทั้งไม่สามารถตรวจจับวัตถุระเบิดที่ไม่มีองค์ประกอบของแก๊สระเหยอยู่ได้ ในปัจจุบันจึงมีข้อกำหนดให้ผู้ผลิตวัตถุระเบิดทั้งหมดจะต้องผสมสาร Taggant ที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ไนโตรไกลคอล (Ng), ไนโตรโทลูอีน, DMNB เพื่อให้สามารถตรวจจับด้วยหลักการนี้ได้
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้หลักการวิเคราะห์สารระเหยในวัตถุระเบิด เช่น
- อุปกรณ์วิเคราะห์สารระเหยในวัตถุระเบิดโดยใช้ปฏิกิริยาเคมี
- อุปกรณ์ตรวจจับอิเลคตรอน (Electron Capture Detector, ECD)
- อุปกรณ์ตรวจจับเสปคตรัมของไอออนที่เคลื่อนที่ (Ion Mobility Spectrometer, IMS)
- ใช้สุนัขดมกลิ่น (ฝึกสุนัขให้จำกลิ่นของสารระเหยที่อยู่ในวัตถุระเบิด)

2.การวิเคราะห์หาธาตุและโครงสร้างวัตถุระเบิด
เป็นวิธีการตรวจจับวัตถุระเบิดที่ให้ความแม่นยำมาก แต่มีค่าใช้จ่ายสูงและวิธีการค่อยข้างยุ่งยากซับซ้อน
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้หลักการวิเคราะห์หาธาตุและโครงสร้างวัตถุระเบิด เช่น
- อุปกรณ์ตรวจจับเสปคตรัมที่กระเจิงออกหลังยิงนิวตรอน (Neutron backscattering, NBS)
- อุปกรณ์วิเคราะห์อนุภาคด้วยรังสีอิเลคตรอน (Electron Probe Micro-analyzer, EPMA)

อุปกรณ์ตรวจจับวัตถุระเบิดแบบพกพาโดยทั่วไปจะใช้หลักการในข้อ 1 (วิเคราะห์สารระเหยในวัตถุระเบิด) ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะตรวจได้ผลบ้าง แต่ก็สามารถตรวจผิดพลาดได้เนื่องจากจุดอ่อนที่กล่าวไปข้างต้น

*** อุปกรณ์ตรวจจับวัตถุระเบิดเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้การค้นหาวัตถุระเบิดมีความแม่นยำขึ้น แต่จากประสบการณ์จริงของผู้ปฏิบัติงานแล้ว “งานข่าวกรอง” ถือเป็นข้อมูลที่ช่วยใ้ห้การค้นหามีความชัดเจนมากเป็นอันดับหนึ่ง



Create Date : 30 มกราคม 2553
Last Update : 30 มกราคม 2553 22:43:34 น. 0 comments
Counter : 1392 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.