หมากรุกไทย thai chess

xyzzyx
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 20 คน [?]




"เก่งไม่มีในโลก เพียงแต่เขารู้วิธีมากกว่าเราเท่านั้น"

วิธีเรียนรู้และการสอน(สำหรับอย่างอื่นด้วยครับ)
1.เรียนรู้สิ่งที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ก่อน ข้อกำหนด การปฏิบัติเบื้องต้น โดยเลียนแบบและทำตามไปก่อน
2.เรียนรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นๆ โดยเน้นเรื่องที่จำเป็นก่อน
3เรียนรู้และทำความเข้าใจเพิ่ม สามารถจัดหมวดหมู่ และอธิบายได้
4.สะสมความรู้และประสพการณ์ สามารถสร้างแนวทางใหม่เพิ่มเติม โดยมีแนวทางหลักตามที่เรียนมา สอนผู้อื่นตามหลักการ หวังระดับคาดหวังได้ค่อนข้างแน่นอน
5.สูงสุดคืนสามัญ เรียนรู้แนวทางอื่น ปรับใช้ แก้ปัญหาได้ตลอด ไม่ยึดติดแนวใดแนวหนึ่ง สอนผู้อื่นตามความเหมาะสมกับวิถีและระดับการเข้าใจของผู้เรียน
กรอบและแกนการเล่น
1.เริ่มเกม 2.ดำเนินเกม 3.หาทางให้มีเปรียบมากกว่า 4.ทำให้มีโครงสร้างการถูกรุกจน 5.การรุกให้จน 6.การหาทางเสมอ 7.การพลิกสถานการณ์

การแบ่งเพื่อระยะเข้าใจ
...1.ระยะเตรียมพร้อม 2.ระยะดำเนินการและเฝ้าระวัง 3.ระยะแตกหัก 4.และระยะทำลายขั้นสุดท้าย
หรือ
...1.ระยะเปิดหมาก 2.แปรรูป แปรทาง 3.ขยายตัว พันตู 4.เบียด 5.ไล่และรุกจน

สิ่งควรจำและระลึกในใจ และประกอบการคิดหาตัวเดิน


การเล่นแบบไว
-อย่าหลับหูหลับตาเดินตามที่ตั้งใจ
-ดูตัวที่เขาเดินมา และที่เดินก่อนหน้า
-ดูตัวใกล้ ดูตัวไกล จะให้ดี ดูครบ8แนวตั้งและ8แนวนอน
-หาทางให้ได้เปรียบ อย่างน้อยหนึ่งอย่าง อย่าให้เขามีช่องบุก โดยเฉพาะการบุกแบบสายฟ้าแลบ
-ไม่ว่าจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ให้ระลึกว่า มักมีสิ่งที่ตรงข้ามอยู่ด้วยเสมอ อาจแฝงอยู่หรือแสดงออกชัดเจน และผลกระทบอาจมากน้อยต่างกัน
-หาทางขยายความได้เปรียบหรือทำให้ชัดขึ้น แต่อย่าให้ความเสียเปียบที่แฝงอยู่แสดงฤทธิ์ได้ นั่นคือหาหมากเด็ด
-หาทางลดการเสียเปรียบ หรือให้พลิกกลับข้าง และพยายามขยายความได้เปรียบที่มีบ้างให้ชัดเจน แต่หาให้เจอ นั่นคือหาตัวพลิกสถานการณ์
-พยายามอย่าให้พลาด เบี้ย 1ตัว อาจเสียหายทั้งกระดานได้
-อย่าท้อ ปาฏิหารย์มีเสมอ
-อดทนจนกว่ามีการพลาด

ถ้าเล่นแบบเดินช้า
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add xyzzyx's blog to your web]
Links
 

 

เรียนรู้ในแนวลึกเชิงทฤษฎีของหมาก รุกไทย 2

ภาพรวมกว้างๆแนวทางแบ่งระยะของเกม

1.ระยะเปิดหมาก 2.แปรรูป แปรทาง 3.ขยายตัว พันตู 4.เบียด 5.ไล่และรุกจน

  1. ระยะเปิดหมาก อาจมีความเห็นแตกต่างกัน แต่ผมกำหนดให้อยู่ในช่วง ตั้งแต่เดินตัวแรก ไปจนถึง การได้ตั้งตำแหน่งม้า หรือตัวใหญ่อื่นเป็นเบื้องต้น มักจะเป็น1-4ตัวแรก

    เป้าหมายระยะนี้คือจัดกระบวนทัพเบื้องต้น ให้เหมาะกับการได้เปรียบต่อรูปขบวนฝ่ายตรงข้าม แต่พยายามทำให้เขาจัดทัพแล้วเสียเปรียบเรา
  2. แปรรูป แปรทาง คือการปรับตำแหน่งม้าและตัวใหญ่อื่น รวมทั้งตำแหน่งของกองกำลังสนับสนุนเช่นตำแหน่งโคน เรือกดตัวหมาก เรือคุ้มกัน รวมไปถึงการปรับโครงสร้าง และการเดินโจมตีเบื้องต้นเพื่อจัดขบวนทัพ(ยังไม่ใช่การเข้าทำโดยตรง) ส่วนใหญ่จะประมาณตาเดินที่ 4-10 ของแต่ละฝ่าย
    เป้าหมายระยะนี้คือปรับปรุงรูปขบวนทัพ โดยให้มีผลในแง่ ความเหมาะสมกับแนวทางการเดินในเวลาสืบไป เช่นการขึ้นตัว ส่งตัว การหาตำแหน่งที่อยู่ของขุน รวมทั้งปรับตำแหน่งหมากสนับสนุน หมากคุ้มกัน ให้เหมาะกับแผนการโจมตีที่วางไว้เป็นขั้นๆ อาจมีการต่อสู้ประปรายเพื่อแย่งชิงตำแหน่งซึ่งกันและกัน ดังนั้นอาจต้องแปรรูปแปรทางซ้ำอีก เพื่อให้เหมาะกับตำแหน่งที่ยึดได้ หรือที่ที่เสียไปไม่อาจยึดครองได้
    ขยายตัว พันตู เป็นระยะที่มีการขยายหมาก มีการขึ้นตัวกินแดนและกินตัว เพื่อรุกรานให้มากขึ้น หรืออาจเพื่อโจมตีกันตรงๆ ระยะนี้จะมีการต่อต้าน ต่อสู้กันเสมอ ความหลากหลายของเกมมักจะมาอยู่ในระยะน หมากเด็ดที่คุยกันบ่อยๆก็เกิดในระยะนี้

    แต่โดยรวมของระยะนี้ มีผลต่อมาจากความเป็นไปได้ของตำแหน่งหมาก หลังผ่านระยะแปรรูปแปรทาง

    เป้าหมายระยะนี้คือเอาเปรียบให้ได้ ทำความได้เปรียบให้ได้ หรือถ้าในทางตรงข้ามก็ต้องแก้ไขการเสียเปรียบพลิกกลับมาเสมอตัวให้ได้ ทั้งนี้จะใช้เทคนิคกลยุทธการต่อสู้ รวมไปถึงการพิจารณาอย่างรอบคอบ ใช้ประโยชน์จากความพลั้งเผลอ ไม่รอบคอบ ความใจร้อน ความกลัวของอีกฝ่ายเข้าช่วย

    แต่ถ้าฝีมือไม่ต่างกัน การแปรรูปแปรทางไม่ดี ผู้ดูอาจอึดอัดเพราะเกมยืดเยื้อต้องอาศัยสมาธิ ความอึดเป็นหลัก รวมทั้งการเตรียมตัวล่วงหน้า ใครเตรียมมาดี หาแนวทางมาเนิ่นๆจะได้เปรียบกว่า (มือระดับสูงจะใช้วิธีถอดหมากมาก่อน มือระดับล่างก็ใช้วิธีอ่านจากตำรา และฝึกถอดหมากจากนั้นนำไปใช้ จะค่อยๆพัฒนาฝีมือขึ้นเอง)
  3. 4.เบียด 5.ไล่ รุกจน ระยะนี้ก็ง่ายๆ คือทำให้เพี่ยงพร้ำและเข้าสู่ตำแหน่งการจน จากนั้นก็รุกจน

    การเบียด จะอยู่ในลักษณะที่ทั้งสองฝ่ายมีตัวมากอยู่

    การไล่จะอยู่ในลักษณะมีตัวฝ่ายหนึ่งน้อยกว่า หรือมีแต่ขุน ซึ่งบางครั้งอาจซับซ้อน เพราะมีกำหนดจำนวนการเดินไว้ในการเล่นด้วย (การไล่ในกรณีพิเศษ หรืออาจเป็นรูปหมากกลไปเลย )

3.รูปแบบสถานการณ์ในการต่อสู้ ตั้งแต่ต้นจนถึงแตกหักทำลายล้าง(มีสถานการณ์ดังนี้)

  1. เตรียมความพร้อมทั่วไป
    หมายถึง สถานการณ์ทั่วไป ยังไม่มีแนวโน้ม แนวทางชัดเจน การเดินตัวก็เพือถ่วงเวลา ดึงกำลังหนุน รอจังหวะ และมองหาโอกาสหรือแก้ไขการเสียโอกาส
    ถ้าพูดถึงระยะการเล่น มักอยู่ในช่วง ต้นๆของเกม แต่ในบางโอกาสก็พบได้ตลอดเกม เป็นลักษณะ ไม่รู้จะทำอะไรต่อไปดี กับตำแหน่งหมากขณะนั้น
  2. ตั้งรับการโจมตี หรือเตรียมความพร้อมเพื่อรับการโจมตี
    หมายถึงสถานการณ์ที่ รูปหมาก ตำแหน่งหมาก และจังหวะเดิน เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายบุกเข้ารุกรานกินตัว กินแดนโดยตรง บางทีสถานการณ์นี้ก็แอบแฝงอยู่ จึงต้องสังเกตุให้ดี ๆ บางครั้งเราเดินพลาดตัวเอง จนอีกฝ่ายรุกรานตั้งแต่เริ่มเกมเลยก็มี (เช่นจนเพราะม้าขโมยในตาที่ 3-4 ของเกม)
    บางท่านแนะนำให้เล่นแบบปลอดภัยไว้ก่อน เน้นเล่นหมากรับ กันตาขึ้น มีตาหลบ ตาถอย รอการพลาดของอีกฝ่าย หรือบางท่านแนะให้เล่นแบบขุนอยู่ในวัง(ฝ่ายตัวเองปลอดภัยอยู่เสมอ) แล้วเดินตัวหลอกหล่อ บังคับอีกฝ่ายต้องระวังตัวตลอดเวลา
  3. โจมตี หรือเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าโจมตี
    หมายถึงหมายถึงสถานการณ์ที่ รูปหมาก ตำแหน่งหมาก และจังหวะเดิน สามารถบุกเข้ารุกราน และโจมตีอีกฝ่าย บางครั้งอาจเกิดได้ทันที จากการเดินตัวพลาดของอีกฝ่าย และบางครั้งสถานการณ์หรือโอกาสนี้ก็แฝงอยู่ในตำแหน่งหมากบนกระดาน เพียงแต่อาจต้องปรับตำแหน่งตัว หรือปรับจังหวะการเดิน หรือยอมสูญเสียตัว(ให้กินตัว บังคับให้กิน หรือบางทีเดินเสนอแกมบังคับให้กินก็มี ตือการเซ่นนั่นเอง) เพื่อแลกกับการได้เข้าทำต่อเนื่อง และท้ายสุดมีการได้เปรียบกลับคืน หรืออีกฝ่ายพ่ายแพ้ไป (หมากเด็ด)

5.แนวทางการเลือกตัวเดินในการคิดแต้มเลือกตัวเดินหนึ่งครั้ง สามารถมีแนวทางได้หลายแนวทาง มีตัวเดินได้หลายตัว การจะเลือกตัวไหนขึ้นอยู่กับ การตัดสินใจของผู้เล่นเองโดยตัวหมากที่จะเลือกเปรียบเทียบแต่ละตัว ได้มาจากแนวคิดหลายๆทางดังนี้

  1. ตัวที่เป็นความอยากเดินของเราเอง ไม่ว่าจากเหตุผลใดก็ตาม (ลองหมาก ลองทาง ลองดูการแก้ไข หลอกล่อ ลวงการเดิน หรืออยากหาแนวทางใหม่ๆ) ซึ่งก็ไม่ควรเดินสะเปะสะปะ โดยไม่มีจุดมุ่งหมายการเดินในใจ (ที่เคยเห็นเช่นเดินรุก โดยไม่มีความหมายต่อเกม เพียงแต่ได้รุกเท่านั้น)
  2. ตัวที่คิดเห็นจากเป้าหมายการเดินในใจเราขณะนั้นๆ ว่าคืออะไร ซึ่งเป้าหมายนั้นอยู่ที่ระยะของเกม สถานการณ์ในเกม และการรู้เขา คือเขาเดินแต่ละตัวมาทำไม มีแผนจะทำอะไร เขาตั้งรับ หรือเตรียมบุก หรือหาบ้านให้ขุนปลอดภัย เคยได้กล่าวไว้ถึงเป้าหมายแล้วครับ ซึ่งขอเรียกว่าเป็นการเดินตามสถานการณ์(แต่มีเป้าหมายอยู่ลึกๆ)
  3. ตัวที่มองได้จาก โอกาสที่เกิดขึ้น เพราะการเดินผิดพลาดของคู่ต่อสู้ ขอเรียกว่าเป็นการฉวยโอกาส ซึ่งอาจเป็นแค่ฉวยโอกาสเล็กๆ หรืออาจได้จังหวะเปลี่ยนแผนการจากเดิมที่วางไว้ไปเลยก็ได้
  4. ตัวที่มีประสพการณ์ผ่านมา จากลักษณะหมากบนกระดาน และเคยเดินแล้วต่อมาเราได้เปรียบมากกว่า (ประสพการณ์คือเคยเดิน เคยเห็น รู้วิธีเดินต่อไป และรู้วิธีแก้ไขหากผิดพลาด โดยได้นำเกมทั้งของเรา และของผู้เล่นชั้นสูง นำมาทบทวนแก้ไข หาแนวคิดที่ดีกว่าในการเดินอยู่เสมอๆ เป็นการเดินตามความเคยชิน
  5. ตัวเดินที่อยู่ในแผนการเดิน แผนการโจมตีเข้าทำ ที่วางไว้ตั้งแต่ต้น ซึ่งถ้าคู่ต่อสู้เดินไปตามแผน เราก็อาจจะเดินตัวต่อไป ตามลำดับตัวที่เหมาะสมในแผน(แต่ถ้าเขาไม่เดินตามแผนที่เราวางไว้ ต้องมีวิธีแก้ไข ซึ่งจำให้ขึ้นใจเลยว่า ผู้ที่เก่งกว่า มักเดินตัวเพื่อบุก หรือเพื่อแก้ไข ในรูปแบบ หรือในตัวหมากที่เราคาดไม่ถึงเสมอ)
    อักอย่างหนึ่งก็คือหมั่นทบทวนแผนที่กำหนดไว้อยู่บ่อยๆ เพราะแผนของเราอาจมีจุดบกพร่องแฝงอยู่ แล้วเพิ่งพบเจอตอนหลัง
    (ข้อ 3-5 อาจเรียก "3.แผนการใหม่ 4.แผนการเดิม 5.แผนการเดิมที่ปรับปรุงให้เหมาะสมขึ้น" ก็ได้)
  6. ตัวที่ต้องเดินเพื่อแก้ไขการเสียเปรียบที่เกิดแล้ว หรือป้องกันการเสียเปรียบจากวิธีการเดินตัวของคู่ต่อสู้
  7. ตัวที่ในตำราเขียนไว้ หรือผู้ใหญ่เคยบอกไว้

ทั้งหมดนี้ต้องนำมาประกอบการตัดสินการเลือกตัวเดินเสมอ

5.แนวทางวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อประกอบการวางแผนและการเลือกตัวเดิน


6.การเปรียบเทียบตัวหมาก หมายถึงการเปรียบเทียบการได้เปรียบเสียเปรียบ หลังการเดินตัว โดยให้คำนึงถึง ผลทันที ผลในเวลาอันใกล้ และผลต่อข้อสรุปของเกมในท้ายสุด
ซึ่งคงไม่สามารถตอบได้ว่าตัวไหนถูกต้องที่สุด ขึ้นกับ ระยะและช่วงของเกม ตำแหน่งหมากในขณะนั้นๆ และขึ้นอยู่กับตัวผู้เล่นเองด้วย ดังนั้นผู้เล่นต้องตัดสินใจเลือกเอง และจะไม่มีคำว่าผิดหรือถูก ถ้าเดินแล้วไม่ได้ผลอย่างคิดไว้ ก็จำเป็นแนวทางต่อไปว่าไม่ได้ผล แต่ถ้าได้ผลดีอย่างที่คิดก็จำว่ามีประโยชน์
อย่างไรก็ตาม การได้เล่น การได้คิดบ่อยๆ การได้วางแผนและการได้เปรียบเทียบบ่อยๆ (ต้องกลับไปทบทวนจากบันทึกหมาก ที่ได้เดินไปแล้วด้วย) จะทำให้การเปรียบเทียบ และการเลือกตัว ทำได้ถูกต้องยิ่งขึ้นในการเดินครั้งต่อๆมา




 

Create Date : 24 มีนาคม 2553    
Last Update : 24 มีนาคม 2553 8:58:17 น.
Counter : 1451 Pageviews.  

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.