สมาคมครูหนุ่มหล่อแห่งประเทศไทย
Group Blog
 
All Blogs
 

Thai Education Law(กฏหมายการศึกษา)

Thai Education Law(กฏหมายการศึกษา)




 

Create Date : 15 เมษายน 2554    
Last Update : 15 เมษายน 2554 10:27:13 น.
Counter : 1290 Pageviews.  

สอบบรรจุครูผู้ช่วย ปี2554 แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย ปี2554

Your Report
Correct

Q.1) โครงการจัดสร้างและให้เช่าวัตถุมงคลพระพุทธโสธรที่มีปัญหาเป็นคดีความของ สก.สค. คือพระพุทธโสธร รุ่นใด

A. รุ่นเจริญสุข (your answer)
B. รุ่นเจริญขวัญ
C. รุ่นเจริญเถอะ
D. รุ่นเจริญเทอญ
Correct

Q.2) การแข่งขันเอเชียนอินดอร์เกม จัดขึ้นที่ประเทศใด

A. ไทย
B. เวียตนาม (your answer)
C. จีน
D. เกาหลีใต้
Correct

Q.3) การแข่งขันคณิตศาสตร์นานาชาติระดับประถมศึกษา นักเรียนไทยได้ 32 เหรียญรางวัล จัดที่ประเทศใด

A. ไทย
B. จีน
C. อินเดีย (your answer)
D. เวียตนาม
Correct

Q.4) ตำแหน่งผู้นำอัฟกานิสถานคนใหม่คือใคร

A. มูจาฟ
B. นาจานิดีน
C. มูซาราฟ
D. คาร์ไซ (your answer)
Correct

Q.5) โรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ท่านสังกัดอยู่มีกี่โรงเรียน

A. 1 โรงเรียน
B. 3 โรงเรียน (your answer)
C. 555 โรงเรียน
D. แล้วแต่เขตจะกำหนด
Wrong

Q.6) ผลที่ควรเกิดขึ้นกับโรงเรียนห้องสมุด 3 ดี คือข้อใด

A. นักเรียนดี (missed)
B. บรรยากาศดี
C. บรรณารักษ์ดี
D. หนังสือดี (your answer)
Correct

Q.7) ใครเป็นผู้เซ็นต์ประกาศการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

A. รัฐมนตรีว่าการฯ
B. รักษาการเลขาธิการ กพฐ.
C. เลขาธิการ สพฐ.
D. ปลัดกระทรวง (your answer)
Correct

Q.8) ใครเป็นเจ้าของแนวคิดการประเมินแบบ BSC

A. D.Norton & kaplan (your answer)
B. Deming
C. Fullan
D. bass & avolio
Correct

Q.9)
ทั้งหมดต่อไปนี้คือโรงเรียนที่เป็นต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 3 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาของท่าน ข้อใดไม่ใช่

A. โรงเรียนอนุบาล-ประถมศึกษา (your answer)
B. โรงเรียนประถมศึกษา
C. โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
D. โรงเรียนมัธยม
Correct

Q.10) ใครคือพ่อมดการเงิน

A. ทักษิณ ชินวัตร
B. ราเกซ สักเสนา (your answer)
C. เกริกเกียรติ พิทักษ์เสรีธรรม
D. กรณ์ จิตกวนิช
Correct

Q.11) ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงผู้ที่มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีลักษณะอย่างไร

A. มีภาวะผู้นำ
B. มีวิสัยทัศน์ (your answer)
C. มีการสร้างทีมงาน
D. มีการวางแผน
Correct

Q.12) โรงเรียนในข้อใดต่างจากพวก

A. โรงเรียนสองภาษา
B. โรงเรียนส่งเสริม ICT
C. โรงเรียนในกำกับของรัฐ
D. โรงเรียนในฝัน (your answer)
Correct

Q.13) แผนงบประมาณตามโครงการ SP2 ของ สพฐ. ตั้งแต่ปีแรกจนกระทั่งสิ้นสุดโครงการได้รับงบประมาณดังข้อใด

A. งบคงที่
B. งบเพิ่มขึ้น
C. งบขึ้นๆลงๆ
D. งบลดลง
(your answer)
Correct

Q.14) โรงเรียน Spirit of ASIAN School มีกี่โรงเรียน

A. 4 โรงเรียน
B. 10 โรงเรียน
C. 14 โรงเรียน
D. 54 โรงเรียน (your answer)
Correct

Q.15) สถานีโทรทัศน์ช่องใดที่ทำการถ่ายทอดสดการประกวดนางสาวไทยปี 2552

A. ช่อง 9 (your answer)
B. ช่อง 7
C. ช่อง 5
D. ช่อง 3




 

Create Date : 15 เมษายน 2554    
Last Update : 15 เมษายน 2554 10:21:23 น.
Counter : 1250 Pageviews.  

พุทธพยากรณ์ภัยพิบัติโลก‏

ผมเห็นน่าสนดีเลยส่งต่อๆมาลองอ่านกันนะคับ ประเทศไทยคงเจริญ ขึ้นเยอะคับขอบคุนคับ

เรื่องนี้ผมพิมพ์จากหนังสือ พุทธพยากรณ์ภัยพิบัติโลก คัมภีร์กัปป์สุดท้าย หนังสือนี้ผมได้รับจากวัด จำไม่ได้ว่าวัดอรุณ หรือวัดบวร
ซึ่งผมเห็นว่าโอกาสเกิดขึ้นจริงเป็นไปได้สูงมาก จึงอยากให้ทุกคนได้อ่านครับ




ภัยพิบัติโลกfficeffice" />

“อานนทะ ดูก่อนอานนท์ ก่อนกึ่งพุทธกาล 15 ปี จะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง จะมีการรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกัน ฝนเหล็กจะตกจากอากาศ ไฟจะลงมาจากอากาศ จะเผาผลาญประชาชนให้พินาศ จะมีการล้มตายซึ่งกันและกันเป็นอันมาก แต่ว่า ดูก่อนอานนท์ ก่อนกึ่งพุทธกาล 15 ปี จะถือว่าเป็นเหตุการณ์ร้ายแรงหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะว่าหลังกึ่งพุทธกาลไปแล้ว
อานนทะ ดูก่อนอานนท์ จะมีความร้ายแรงมากกว่าก่อนกึ่งพุทธกาล ยักษ์นอกพุทธศาสนาจะรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกัน ต่างฝ่ายจะล้มตายกันฝ่ายละมาก ๆ สมณะ ชี พราหมณ์ จะล้มตาย จะตายไปฝ่ายละครึ่ง จึงจะเลิกรากัน สำหรับประเทศไทยที่นับถือพุทธศาสนาจะมีภัยเหมือนกัน แต่ไม่ร้ายแรงนัก
พระพุทธเจ้าบอกว่า ค.ศ. 2000 กว่าปี โลกจะไม่สลาย พระพุทธศาสนาจะทรงอยู่ได้ตลอด 5000 ปี ทรงตรัสชี้ว่า เขตประเทศต่อไปนี้จะเป็นประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก จะสามารถทรงพระพุทธศาสนาครบ 5000 ปี
นี่หมายถึง ประเทศไทย...
ถ้าสงครามใหญ่เกิดขึ้น คนไทยจะมีความมั่นคงในพุทธศาสนามากขึ้น ในเมื่อเห็นการสูญเสียความตายเกิดขึ้น ความทุกข์ก็เกิดขึ้น จิตใจก็เริ่มเป็นกุศล เวลานั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนก็จะมีความมั่นคงในพุทธศาสนามากขึ้น เพราะกลัวตาย...
สำหรับท่านนักปฏิบัติที่เจริญสมาธิจิตก็จะเร่งรัดตัวเอง กำลังใจก็จะมีสมาธิ ในที่สุดอภิญญาก็จะเกิดในเมื่ออภิญญาเกิดก็จะใช้ผลของอภิญญาและญาณต่าง ๆ ที่ได้จากสมาธิและวิปัสสนาญาณเอามาช่วยบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ให้มีความสุข ปลอดภัย ขอให้ทุกท่านยอมรับนับถือความดีของพรุพุทธเจ้าที่ให้ไว้คือ

1. สังคหวัตถุ 4 ได้แก่
1.1 ทาน การให้มีการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน สร้างความรักเข้าไว้ อย่าได้สร้างศัตรู
1.2 ปิยวาจา พูดดี พูดให้คนที่รับฟังมีความสุข เขาจะรักเรา เราก็มีความสุข
1.3 อัตถจริยา ช่วยเหลือการงานซึ่งกันและกัน
1.4 สมานัตตตา ไม่ถือตัว ไม่ถือตน
2. พรหมวิหาร 4 ได้แก่
2.1 เมตตา ความรัก
2.2 กรุณาความสงสาร
2.3 มุทิตา มีจิตอ่อนโยน เห็นใครได้ดีก็ยินดีด้วย
2.4 อุเบกขา วางเฉยเมื่อเหตุร้ายเกิดขึ้นไม่ดิ้นรน ยอมรับตามความเป็นจริง
จงอย่าประมาทในชีวิต จงทรงจิตของท่านให้มีความมั่นคงในคุณพระรัตนตรัย 3 ประการ คือคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีจิตยึดพระพุทธคุณให้ภาวนาว่า “พุทโธ”
ก่อนจะหลับให้กำหนดการเข้าออกของลมหายใจ หายใจเข้านึก “พุทธ” หายใจออกนึกว่า ”โธ” และเวลาตื่นนอนใหม่ ๆ ทำแบบนี้เป็นปกติเวลาที่ยังตื่นอยุ่ถ้าคิดขึ้นมาได้เมื่อไร ก้ทำใจให้นึกถึงความดีขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาวนาว่า “พุทโธ” เป็นปกติ อย่างนี้ ได้ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงไตรสรณคมน์ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ทั้ง 3 ประการ จิตของท่านจะทรงสมาธิ อำนาจบารมีของพระพุทธเจ้า จะทำให้จิตใจของท่านได้เยือกเย็น มีความสุข อันตรายที่จะเกิดขึ้นกับท่านทั้งหลายก็จะพ้นภัยด้วยอำนาจของพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ
ถ้าจิตของเราไม่นิยมในขันธ์ 5 หรือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา จิตเราเกาะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพระองค์อยู่ที่ไหน เราจะไปที่นั่น ท่านจะพ้นจากกิเลส เจ้าเข้าถึง่พระนิพพานได้...

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
( 3 จบ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง

การเตรียมตัวรับมือภัยธรรมชาติครั้งใหญ่
1. ก่อนการเกิดภัยะรรมชาติครั้งใหญ่ 15 วัน โลกจะเอียงก้มหัวให้ดวงอาทิตย์มากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้น้ำแข็งจากขั้วโลกเหนือละลาย จะนำไปสู่คลื่นยักษ์ถาโถมเข้าสู่แผ่นดิน (ปัจจุบันเริ่มเกิดขึ้นแล้ว)
2. เกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่เป็นเวลา 49 วันในระหว่างเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน
3. ฝนตกครั้งใหญ่ทั่วโลก (ระยะชำระล้างเป็นเวลา 7 วัน)
- ระยะเวลาการเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงของโลก รวมแล้วมีระยะเวลาทั้งสิ้น 56 วัน
- ใน 3 วันแรกจะเกิดสงครามนิวเคลียร์ที่ทวีปเอเชียในประเทศที่เป็นอริต่อกัน

ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
1. เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่
2. พายุถล่มในทุก ๆ ส่วนของโลก
3. แผ่นดินแยกและแผ่นดินไหวตามที่ต่าง ๆ
4. ภูเขาไฟระเบิด (จังหวัดทางภาคกลาง 2 ลูก ภายเหนือตอนล่าง 3 ลูก อีกทั้งที่จังหวัดราชบุรี น่าน แพร่ อำเภอร้องกวาง)
5. คลื่นยักษ์จากทะเล
6. โรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุดจะเยียวยา ได้แก้แก่ VIRUSTERIA อหิวาตกโรคสายพันธุ์ใหม่ ผู้ได้รับเชื้อจะเสียชีวิตทันที ภายใน 6 วัน
7. คลื่นเสียงที่รุนแรง ตั้งแต่เกิดมาในชีวิตยังไม่เคยได้ยินเสียงที่ดังขนาดนั้นมาก่อน
8. อดอยากขาดแคลนอาหาร ในหลายประเทศ

การเตรียมตัวและปัจจัยเพื่อตนและครอบครัว
1. เตรียมอาหารและน้ำดื่มไว้ที่บ้านอย่างน้อยให้พอใช้ในระยะเวลา 3-6 เดือน
2. เครื่องนุ่งห่มเพื่อความอบอุ่นของร่างกายได้แก่ เสื้อ ผ้า กระเป๋าน้ำร้อน ผ้าห่ม ฯลฯ เพราะในช่วงเวลานั้นอากาศจะหนาวเย็นยะเยือกจับขั้วหัวใจ
3. เครื่องใช้ที่จำเป็น ฯลฯ
4. ที่อยู่อาศัย
5. ยารักษาโรค
6. ด่างทับทิมและคาราไมล์ (จำนวนมาก) ห้ามกินอาหารที่ไม่ได้ล้างด้วยด่างทับทิม เพราะจะมีทั้งเชื้อโรค และสารกัมมันตภาพรังสี ส่วนคาราไมล์จะมีไว้รักษาโรคทางผิวหนังที่ดูเหมือนจะยากต่อการรักษาแต่เมื่อทาคาราไมล์แล้ว จะหายได้อย่างน่าอัศจรรย์
7. ยานพาหนะ เช่น เรือ เสื้อชูชีพ
8. อุปกรณ์เครื่องช่วยชีวิตต่าง ๆ
9. แสงสว่าง เช่น เทียน ตะเกียง ไฟฉาย (เพราะเวลานั้นท้องฟ้าจะมือมิด 7 วัน เท่ากับ 1 ราตรี และจะมืดมิดรวม 7 ราตรี หรือ 49 วัน ไฟฟ้าจะดับทั่วโลก
10. เตรียมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

การดูแลตัวเองในช่วงเวลาเกิดวิกฤติการณ์
1. ห้ามออกนอกบ้านโดยเด็ดขาด ใครมาเคาะประตูบ้านก็ห้ามเปิด ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นญาติสนิทหรือคนที่เรารู้จักก็ตาม
2. ห้ามตากฝน เพราะในฝนจะมีพิษทั้งเชื้อโรคและสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้น
3. ห้ามลุยน้ำหรือแช่น้ำนาน ๆ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องใช้ด่างทับทิมล้างทุกครั้ง
4. ห้ามเปิดประตูต้อนรับผู้อื่น เพราะช่วงเวลานั้นประตูมิติของโลกทั้งสามภพจะถูกเปิดเป็นครั้งแรกผู้ไม่เชื่อเรื่องผีสาง จิตวิญญาณ ก็จะได้เห็นคนที่มาเยือน อาจเป็นผีเปรต ผีโขมด ที่เป็นเจ้ากรรมนายเวรของเราจำแลงมาเป็นได้ และห้ามอยากรู้อยากเห็นโดยเด็ดขาด
5. ห้ามกินเนื้อสัตว์ทุกชนิด
6. ห้ามกินผักที่ไม่ได้แช่ด่างทับทิม
7. ฝึกการกินน้อย ถ่ายน้อย
8. ระวังอากาศที่หนาวเย็น
9. ระวังสัตว์ร้าย สัตว์มีพิษเช่น งูพิษ จระเข้
10. ห้ามอยู่ตึกสูงเกิน 3 ชั้น เพราะตึกสูงเกิด 3 ชั้น จะพังทลายราบเป็นหน้ากลอง

การเตรียมจิตวิญญาณ
1. ชำระกรรมให้เบาบางโดย หยุดโลภ โกรธ หลง ทำจิตใจให้สงบ เบิกบาน เพราะวันนั้นจะมีผู้ที่เส้นโลหิตในสมองแตก เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เพราะเสียงที่ดังกึกก้อง ไปกระตุ้นเส้นเลือดในสมองให้แตก ดังนั้นต้องปล่อยวาง ทำจิตให้เป็นบวก จะช่วยได้มาก
2. มีสำนึกทางจิตวิญญาณ
3. ฝึกการละวาง
4. มีสติรู้ตัวตลอดเวลา
5. ฝึกการทำโฆษกรรม ขออภัยต่อเจ้ากรรมนายเวร หรือผู้ที่เราเคยล่วงละเมิด

การดูแลแก่นแท้ยามมีภัย
1. ได้ยินเสียงใด ให้ละวางเสียงนั้น รู้เห็นสิ่งใดให้ละวางสิ่งนั้น ต้องไม่รับรู้ ไม่รับเห็น ไม่รู้ ไม่ชี้ ไม่ว่าจะได้ยินเสียงคนข้างบ้านร้องเพราะกำลังจะตาย หรือได้ยินเสียงใดที่น่าหวาดกลัว ต้องได้ยินแล้วผ่านเลยไปหากละวางไม่ได้ จะเกิดอาการ “ตายก่อนตาย” (รู้ว่าตนเองจะต้องตายแน่ ๆ หรือการตายทั้งเป็น)
2. ยอมรับให้ได้ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องมีสติตลอดเวลา
3. อย่าอยู่นิ่งเฉย เพราะจะทำให้กลัวมากขึ้นควรหากิจกรรมทำ เช่น อ่านหนังสือธรรมะ เพื่อให้จิตเป็นบวก เกิดความอิ่มเอิบ
4. สังเกตธรรมชาติก่อนนาทีวิกฤติเกิดขึ้น

ลางบอกเหตุก่อนเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่(ระยะ 2)
ท้องฟ้ามืดมิดผิดปกติ ใบไม้จะพลิกคว่ำพลิกหงายและดูหดหู่ สัตว์ทั้งหลายไม่ปรากฏกายให้เห็น แต่ถ้ามีสัตว์เลี้ยงอยู่ในบ้านจะเห็นมันวิ่งลุกลี้ลุกลนผิดปกติหรือบางตัวจะนอนนิ่งน้ำตาซึม
เรื่องเวลาที่แน่นอนนั้นขอบอกตามตรงว่าไม่ทราบ เพราะจริง ๆ แล้วน่าจะเกิดตั้งแต่ คศ.1999 ตามที่นอสตราดามุสทำนายเอาไว้ แต่เมื่อดูจากเหตุการณ์ในปัจจุบันแล้ว ภัยธรรมชาติที่รุนแรงอย่างไม่เคยพบเห็นมาก่อนในชีวิตนี้ และจากคำบอกเล่าของครูบาอาจารย์ต่าง ๆ คิดว่าจะเกิดภายใน 1-3 ปีนี้...
เป็นกรรมของสัตว์โลกนะ ครูบาอาจารย์ท่านเคยบอกว่าระบบจะเริ่มล้างมนุษย์ปลายปี 47 (ทีแรกคิดว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นแล้ว จิตเกือบเผลอปรามาสครูบาอาจารย์) และจะมีเหตุอื่นมาล้างเรื่อย ๆ ด้วยระบบภัยพิบัติทางดิน น้ำ ลม ไฟ โรคระบาดและอุบัติภัยสงครามและจะหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนพระจักรพรรดิลงมา ภัยพิบัติจึงจะสงบ
ต่อไปที่จะวิบัติหนัก ๆ ก็คือ ประเทศจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อเมริกา ฯลฯ เคยถามครูบาอาจารย์ว่าไม่เคยมีใครเปลี่ยนได้เลยหรือ ท่านบอกว่า “ไม่ได้” ท่าว่า “ปูยีเว้า ก็ปานพระเจ้าเว้านั่นแหละ ในโลกนี้ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้ เพราะกรรมของมนุษย์เป็นแบบนั้น
สำหรับเมืองไทย ต่อไปกรุงเทพฯ ก็มิใช่จะปลอดภัยเพราะฝ่ายรักษาภายในของ กทม. เริ่มถอนระบบออกไปมากแล้ว และต่อไปภาคใต้แทบจะไม่เหลือ จะเป็นเกาะ เป็นแก่งทั้งหมด เราเข้าใจว่าภัยพิบัติในภาคใต้เป็นสัญญาณของยุคจักรพรรดิที่กำลังจะเริ่มต้น ที่จริงมีสัญญาณอย่างอื่นด้วย แต่เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล เช่น เรื่องธาตุแก้วเจ็ดประการที่เริ่มเข้ามาสู่ระบบแล้ว และมีสิ่งของอื่น ๆ อีกหลายประการที่กระจัดกระจายกันอยู่ในหลายประเทศ เป็นต้น
ผู้ที่ไม่มีหน้าที่และเข้าไม่ถึงระบบธาตุเหล่านี้ก็จะไม่สมารถเข้าใจได้ ถ้าใครมีจิตที่เอกซเรย์ธาตุได้ก็จะเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร อย่างแก้วมังกรและแก้ววิเศษของเทวดาก็อาจเป็นของไรค่าในโลกมนุษย์ เพราะความไม่รู้
ครูบาอาจารย์เคยเล่าว่า แค่นาคโก่งหลังขึ้นมารมามนุษย์ก็ตายเป็นเบือแล้ว ต่อไปบางทีก็จะหายไปทั้งเกาะนี้ยังไม่นับภัยพิบัติจาก ท้าวกกนาค แถวลพบุรีที่ในไม่ช้า (ช่วงท้าย ๆ ของภัยพิบัติ)จะลุกขึ้นมา (ภายใน) เพื่อไปรอรับพระจักรพรรดิ ขณะที่ทหารลิง 18 กองพลที่เคยเฝ้ายักษ์ตนนี้อยู่ที่อื่น ครูบาอาจารย์ท่านว่า ยักษ์กกนาค ตนนี้มีพิษมาก แค่พลิกตัวพิษของยักษ์ก็จะทำให้เกิดโรคระบาดร้ายแรงได้ มนุษย์จะตายไปครึ่งโลก แต่คนที่มีศีลก็ไม่เป็นไร
เราค่อนข้างมั่นใจว่า ภายในปี 2560 ประเทศไทยจะได้เป็นมหาอำนาจ และไทยกับลาวจะรวมกันเป็นหนึ่ง (ประเทศเดียว) ท่านไหนที่ขยันหมั่นเพียรรักษาศีล ภาวนา ก็จะได้มีโอกาสอยู่ในยุคใหม่ต่อไป ส่วนท่านที่ยังไม่มีศีลธรรมพอก็คงจะต้องไปตามวิถีกรรมของตนเอง
ศาสนาอื่นนั้นไม่มีเหลือ เมื่อถึงเวลาแล้วจะหนีตายมาพึ่งศาสนาพุทธกันหมด เท่าที่ทราบต่อไปมหาอำนาจอย่างเช่น อเมริกา อังกฤษ ฯลฯ จะต้องมาพึ่งพาไทย ศูนย์กลางโลก ศูนย์กลางศาสนา อยู่ในประเทศไทย ซึ่งต่อไป ที่แห่งหนึ่งในประเทศไทย จะเป็นใจกลางโลก ใจกลางศาสนา
ในยุคจักรพรรดิ ทั้งโลกจะถูกปกครองโดย 3 ร่มโพธิ์ ศรีอัญญาสิทธิ์และอัญญาธรรม พระจักรพรรดิ จะเป็นพระมหากษัตริย์ของโลก อย่างที่พวกยิวเขาคิดจะครองโลกกันนั้น ไปไม่ถึงดวงดาวหรอก เพราะวิทยาศาสตร์ถึงทางตันแล้ว
เหตุที่เกิดในภาคใต้ ซึ่งเป็นเขตพระพุทธศาสนายังรุนแรงมากขนาดนี้ ต่อไปเหตุที่เกิดในเขตศาสนาอื่น ๆ นั้นจะรุนแรงกว่านี้มาก และความหายนะที่เกิดขึ้นนั้นก็จะมากด้วย
ถ้าหากศึกษาถึงเชื้อของจิตวิญญาณของการมาเกิดก็จะเข้าใจว่า อย่างอิสลาดและคริสต์นั้น เชื้อจิตวิญญาณเดิมหรือต้นธาตุของจิตวิญญาณของพวกนี้เป็นยักษ์ตระกูลต่าง ๆ ดังนั้นที่ครูบาอาจารย์ท่านว่าพวกยักษ์นอกศาสนาเขาตีกันนั้น ก็พวกยักษ์เหล่านี้แหละที่มีปัญหา และพวกยักษ์เหล่านี้ก็มาเกิดมากในยุคนี้ ส่วนใหญ่ในเขตประเทศไทย และประเทศใกล้เคียงจะเป็นเชื้อนาค เชื้อเทวดา เชื้อครุฑ คนในเขตประเทศไทยส่วนใหญ่ก็วนเวียนอยู่กับการเกิดเป็นเชื้อชาติต่าง ๆ เหล่านี้ ขึ้นอยู่กับชาติที่ทำบารมีมาเด่น ๆ ว่าเคยทำบารมีในภพภูมิไหนมามาก ก็จะมีความเกี่ยวพันกันกับภพภูมิเหล่านั้น และเมื่อถึงเวลาก็จะเป็นการทำบารมีร่วมกันระหว่างภพภูมิ และบางครั้งการทำงานจากภายในก็จะส่งผลออกมาสู่ภายนอก แต่คนไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นภายใน ที่เห็นก็คือผลที่แสดงออกมาภายนอก และพยายามอธิบายกันด้วยเหตุและผลทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นการรู้นอกแต่ไม่รู้ใน คล้าย ๆ กับวิทยาศาสตร์ พยายามอธิบายเหตุผลภายนอก แต่ไม่เข้าใจถึงกฎแห่งกรรมซึ่งเป็นเหตุอยู่ภายใน เป็นต้น นี่คือรู้ไม่แจ้งในเรื่องนั้น ๆ ก็เลยเกิดความ “ประมาท” ต่อไปจะมีพระจักรพรรดิเป็นผู้ปกครองโลก พระยาธรรมิกราชจะคล้ายพระสังฆราช และจะมีพระโพธิสัตว์อีกองค์หนึ่ง จะทำหน้าที่คล้ายกับนายกรัฐมนตรี ซึ่งสามร่มโพธิ์ศรีก็คือ สามโพธิสัตว์ ที่ลงมาทำหน้าที่ดูแลพระพุทธศาสนานั่นเอง และก็มีเหล่าอัญญาสิทธิ์ อัญญาะรรม ที่ตามลงมาทำหน้าที่อีกจำนวนหนึ่ง บางคนก็รู้ตัวแล้ว บางคนก็อาจยังไม่รู้ตัวเอง ถึงเวลาแล้วก็คงจะได้เห็นว่าของจริงนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งบางท่านจะมีชื่อเสียงในหมู่เทพ เทวดา นาค ครุฑ กุมภัณฑ์ ฤาษี มุนี ดาบส ฯลฯ พวกเขาเหล่านั้นก็รอยุคพระยาธรรมิกราช แต่พวกมนุษย์ไม่รู้จัก เพราะท่านเหล่านี้จะอยู่อย่างเงียบ ๆ และลี้ลับ ครูบาอาจารย์ท่านเคยเปรย ๆ ให้ฟังว่า สำหรับผู้ทำบารมีเข้มข้นแล้วนั้น “ดังบ่ดี ดีบ่ดัง”
จากที่ครุบาอาจารย์ท่านเล่าสู่กันฟัง สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่มีใครที่จะสามารถหลีกเลี่ยงเพราะกรรมเป็นตัวกำหนดและยุคพระยาธรรมิกราช ก็เป็นพุทธประเพณี เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในกึ่งกลางพุทธศาสนา ในยุคของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์อย่างในยุคพระเวสสันดร (ซึ่งเป็นช่วงประมาณกึ่งกลางศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง) หลังจากพระเวสสันดรได้พรแปดประการจากพระอินทร์แล้วหลังจากนั้นไม่นาน ก็เกิดยุคพระยาธรรมิกราชหรือยุคพระจักรพรรดิขึ้น ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกว่าลูกชายพระเวสสันดรจะเป็นพระจักรพรรดิในสมัยนั้น ในยุคร่วมสมัยในปัจจุบันนี้มีบุคคลผู้หนึ่งทำทานบารมี จนได้พรแปดประการจากพระอินทร์แล้วเช่นกัน ก็พอจะอนุมานได้ว่ายุคพระยาธรรมิกราชนั้นเข้ามาใกล้ถึงปลายจมูกแล้ว
ใครที่คิดจะทำบุญกุศลอะไร ก็ให้รีบเร่งทำ หากเมื่อใดที่เขาได้พรพระอินทร์ เขาทำอธิษฐานบารมีเพื่อดูแลพระศาสนา (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปรารถนาพุทธภูมิ) ระบบที่เขาทำหน้าที่ภายในเขาก็จะทำงานตามลำดับ เมื่อถึงตอนนั้นจะเห็นคุณค่าของศีลธรรมของศีลห้า ศีลแปด ของบุญบารมีที่แต่ละท่านทำเพ็ญเพรียรสั่งสมมา
ให้ลองนึกถึงเหตุการณ์คลื่นยักษ์ในภาคใต้ดูว่าคลื่นยักษ์ขนาดไหนที่จะทำให้ด้ามขวานไทยเหลือเป็นเกาะเป็นแก่ง และคลื่นยักษ์ขนาดไหนที่จะสามารถทำให้เกาะขนาดประเทศไต้หวันหายวับไปได้ในพริบตา เมื่อไหร่ก็ตามที่นาคใหญ่ทำงาน จะสั่นสะเทือนไปทั้งโลกหากจะเทียบเหตุการณ์ในภาคใต้ที่ผ่านมา เป็นแค่นาคใหญ่โก่งหลังหรือสะดุ้งเพียงเล็กน้อย ลองจินตนาการดูว่า หากพวกนาคบางพวกมีหน้าที่ทำฤทธิ์ เพื่อล้างพวกผู้มีศีลธรรมไม่เพียงพอ สำหรับอยู่ในยุคพระธรรมบนโลกนี้ก็จะเหลือคนไม่มากอย่างที่พระสูตรบอกไว้




 

Create Date : 14 เมษายน 2554    
Last Update : 14 เมษายน 2554 23:39:41 น.
Counter : 1352 Pageviews.  

ความรู้เรื่องสมรรถนะ

 ความรู้เรื่องสมรรถนะ 

* ที่มา คู่มือสมรรถนะราชการพลเรือนไทย (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1)
โดยสำนักงาน ก.พ.*

 ประวัติความเป็นมา และความสำคัญ ของสมรรถนะ 
เมื่อพูดถึงสมรรถนะ ก็มักจะอ้างถึง David C.McClelland ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัย Harvard กับบทความที่มีชื่อเสียงของเขาที่ตีพิมพ์ในวารสารนักจิตวิทยาอเมริกัน เรื่อง Testing for Competence Rather than for Intelligence ในปี 1973
การศึกษาทางด้านจิตวิทยามักเป็นการศึกษาต่อมาจากแนวคิดที่เคยมีผู้เสนอไว้แล้วในอดีต แนวคิดของ McClelland ก็เช่นกัน กล่าวกันว่าแนวคิดของ McClelland ไม่ใช่แนวคิดใหม่เสียทีเดียว เพราะในปี 1920 Frederick Taylor บิดาของวิทยาศาสตร์การจัดการได้กล่าวถึงสิ่งที่คล้ายกันกับสมรรถนะมาก่อน (Raelin & Cooledge,1996) อย่างไรก็ดี McClelland ได้นำสมรรถนะมาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
ในบทความเรื่อง Testing for Competence Rather than for Intelligence นั้น McClelland แสดงความเห็นต่อต้านการทดสอบความถนัด การทดสอบความรู้ในงาน หรือผลการเรียนว่าไม่สามารถทำนายผลการปฏิบัติงาน หรือความสำเร็จในชีวิตได้ เขาจึงหาทางวิจัยเพื่อศึกษาตัวแปรด้านสมรรถนะที่เขากล่าวว่าสามารถทำนายผลการปฏิบัติงานได้ และในขณะเดียวกันก็ยังมีข้อดีที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ตัวแปรสมรรถนะมักไม่แสดงผลการทดสอบที่ลำเอียงต่อเชื้อชาติ เพศ หรือ เศรษฐฐานะทางสังคม เหมือนกับแบบวัดความถนัด หรือแบบวัดอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกัน
ประเด็นเรื่องการไม่แสดงผลการทดสอบที่ลำเอียงต่อเชื้อชาติ เพศ หรือเศรษฐฐานะนี้เป็นประเด็นสำคัญในอเมริกา เพราะอเมริกาเป็นสังคมที่มีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคมด้านการจ้างงาน จึงมีการตรากฎหมายเพื่อส่งเสริมโอกาสของการจ้างงานที่เท่าเทียมกัน (Equal Employment Opportunity) ดังนั้น แบบทดสอบที่แสดงผลการทดสอบของกลุ่มต่างๆ ที่แตกต่างกันมักถูกตัดสินว่าผิดกฎหมาย
วิธีการวิจัยของ McClelland ใช้การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มของผู้ที่ประสบความสำเร็จในงาน และกลุ่มของผู้ที่ประสบความสำเร็จน้อยกว่า (กลุ่มปานกลาง) เพื่อดูว่าสองกลุ่มนี้แตกต่างกันในเรื่องใด (หรือที่เขาเรียกว่าสมรรถนะใด) วิธีการเก็บข้อมูลของเขาเน้นที่ความคิด และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กันกับผลลัพธ์ของงานที่ประสบความสำเร็จ
ในครั้งแรก McClelland คิดจะใช้การสังเกตการณ์ทำงานประจำวันของผู้ที่ประสบความสำเร็จ กับผู้ที่มีผลงานในระดับปานกลาง แต่ว่าวีธีการนี้ใช้เวลามากเกินไป และไม่สะดวกในทางปฏิบัติ เขาจึงพัฒนาเทคนิคที่เรียกว่า Behavioral Event Interview (BEI) ซึ่งเป็นวิธีการที่พัฒนามาจากการผสมผสานวิธีวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญในงานของ Flanagan (1954) และวิธีการของแบบทดสอบ Thematic Apperception Test (TAT) BEI เป็นการสัมภาษณ์ที่ให้ผู้ให้ข้อมูลเล่าเหตุการณ์ที่เขารู้สึกว่าประสบความสำเร็จสูงสุด 3 เหตุการณ์ และเหตุการณ์ที่เขารู้สึกว่าล้มเหลว 3 เหตุการณ์ จากนั้นผู้สัมภาษณ์ก็ถามคำถามติดตามว่า อะไรทำให้เกิดสถานการณ์นั้นๆ มีใครที่เกี่ยวข้องบ้าง เขาคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร และต้องการอะไรในการจัดการกับสถานการณ์ แล้วเขาทำอย่างไร และเกิดอะไรขึ้นจากพฤติกรรมการทำงานนั้นของเขา
การวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญในงาน (Critical Incident) เป็นวิธีการที่ John Flanagan พัฒนาขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นวิธีการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาคุณลักษณะที่สำคัญ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานที่ประสบความสำเร็จ โดยวิธีการเป็นการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ในสถานการณ์การทำงาน หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จุดมุ่งหมายหลักคือ พฤติกรรมที่ผู้อื่นสังเกตได้ แต่จุดมุ่งหมายของ BEI นอกเหนือจากพฤติกรรมการทำงานที่สังเกตได้แล้ว คือการเน้นที่ความรู้สึกนึกคิดของบุคคล (คล้ายกับที่ได้จากการทดสอบการเล่าเรื่องจากภาพ (Thematic Apperception Test (TAT))
เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อศึกษาว่าลักษณะของผู้ที่ประสบความสำเร็จมีอะไรบ้างที่ไม่เหมือนกับผู้ที่ประสบความสำเร็จปานกลาง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาถอดรหัสด้วยวิธีการที่เรียกว่าการวิเคราะห์เนื้อหาจากคำพูด (Content Analysis of Verbal Expression) แล้วนำข้อมูลที่ถอดรหัสแล้วมาวิเคราะห์ความแตกต่างทางสถิติ เพื่อศึกษาลักษณะที่แตกต่างระหว่างผู้ที่ประสบความสำเร็จในงาน (มีผลงานในระดับสูง) กับผู้ที่ผลงานระดับปานกลาง
McClelland และเพื่อนร่วมงานได้ก่อตั้งบริษัท McBer and Company ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1970 และในช่วงนั้นพวกเขาได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ของ The U.S State Department Foreign Service Information ให้ช่วยเหลือในการคัดเลือกนักการทูตระดับต้น McClelland ใช้เทคนิค BEI ในการศึกษา และพบว่านักการฑูตระดับต้นที่มีผลการปฏิบัติงานดีมีสมรรถนะที่แตกต่างจากนักการทูตระดับต้นที่มีผลการปฏิบัติงานระดับปานกลางในเรื่อง ความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านวัฒนธรรม (Cross-cultural Interpersonal Sensitivity) ความคาดหวังทางบวกกับผู้อื่น (Positive Expectations of Others) และความรวดเร็วในการเรียนรู้เครือข่ายด้านการเมือง (Speed in Learning Political Networks)
ในปี 1991 Barrett & Depinet ได้เขียนบทความเรื่อง A Reconsideration of Testing for Competence Rather than for Intelligence เนื้อหาในบทความเป็นการอ้างถึงงานวิจัยใหม่ๆ ที่ลบล้างข้อเสนอของ McClelland เกี่ยวกับการทดสอบความถนัด หรือการทดสอบเชาวน์ปัญญาว่าแบบทดสอบดังกล่าวสามารถทำนายผลการปฏิบัติได้ในเกือบทุกอาชีพ ประเด็นนี้ McClelland ได้ตอบว่า ถ้าเขาจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างในบทความ Testing for Competence Rather than for Intelligence เขาคงจะอธิบายเชาวน์ปัญญาอย่างระมัดระวังมากขึ้นว่า เชาวน์ปัญญาเป็นสมรรถนะพื้นฐาน (Threshold Competency) ที่บุคคลที่ปฏิบัติงานต้องมีแต่เมื่อบุคคลมีเชาวน์ปัญญาในระดับหนึ่งแล้ว ผลการปฏิบัติของเขาก็ไม่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาอีกต่อไป (อธิบายได้ว่า ผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องเป็นคนฉลาดทุกคน แต่คนที่ฉลาดทุกคนอาจไม่ได้มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นทุกคน สิ่งที่แยกระหว่างผู้ที่ฉลาดและมีผลการปฏิบัติงานดี กับผู้ที่ฉลาดและมีผลการปฏิบัติงานในระดับปานกลางคือ สมรรถนะ)
สมรรถนะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท เมื่อพิจารณาโดยยึดผลการปฏิบัติงานเป็นเกณฑ์ สมรรถนะ 2 ประเภทนี้ได้แก่ สมรรถนะพื้นฐาน (Threshold Competencies) และสมรรถนะที่แยกความแตกต่าง (Differentiating Competencies)
สมรรถนะพื้นฐาน (Threshold Competencies) ได้แก่ ความรู้ ทักษะพื้นฐานที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนจำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ แต่ไม่สามารถแยกผู้ที่ปฏิบัติงานดี ออกจากผู้ที่ปฏิบัติงานในระดับปานกลาง
สมรรถนะที่แยกความแตกต่าง (Differentiating Competencies) ได้แก่ปัจจัยต่างๆ ที่ผู้ปฏิบัติงานที่ดีมีแต่ผู้ที่ปฏิบัติงานในระดับปานกลางไม่มี สมรรถนะกลุ่มนี้จึงเป็นสิ่งที่บอกความแตกต่างระหว่างผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานดี และผู้ที่มีผลงานในระดับปานกลาง
แนวคิดเรื่องสมรรถนะมักมีการอธิบายด้วยโมเดลภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg Model) ดังภาพที่แสดงด้านล่างซึ่งอธิบายว่า ความแตกต่างระหว่างบุคคลเปรียบเทียบได้กับภูเขาน้ำแข็ง โดยมีส่วนที่เห็นได้ง่าย และพัฒนาได้ง่าย คือส่วนที่ลอยอยู่เหนือน้ำ นั่นคือองค์ความรู้ และทักษะต่างๆ ที่บุคคลมีอยู่ และส่วนใหญ่ที่มองเห็นได้ยากอยู่ใต้ผิวน้ำได้แก่ แรงจูงใจ อุปนิสัย ภาพลักษณ์ภายใน และบทบาทที่แสดงออกต่อสังคม ส่วนที่อยู่ใต้น้ำนี้มีผลต่อพฤติกรรมในการทำงานของบุคคลอย่างมาก และเป็นส่วนที่พัฒนาได้ยาก













ที่มาของ Competency

องค์ความรู้และทักษะต่างๆ


บทบาทที่แสดงออกต่อสังคม
(Social Role)


ภาพลักษณ์ภายใน (Self-Image)
อุปนิสัย (Traits)
แรงผลักดันเบื้องลึก (Motives)


การที่บุคคลจะมีพฤติกรรมในการทำงานอย่างไรขึ้นอยู่กับคุณลักษณะที่บุคคลมีอยู่ ซึ่งอธิบายในตัวแบบภูเขาน้ำแข็ง คือทั้งความรู้ ทักษะ/ความสามารถ (ส่วนที่อยู่เหนือน้ำ) และคุณลักษณะอื่นๆ (ส่วนที่อยู่ใต้น้ำ) ของบุคคลนั้นๆ เช่น บุคคลที่แสดงพฤติกรรมของการทำงานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เพราะเขามีความรู้ทักษะที่จะทำเช่นนั้นได้ และมีคุณลักษณะของความมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จเป็นสิ่งผลักดันให้มีพฤติกรรมเช่นที่ว่านั้น บุคคลที่ขาดความรู้ และทักษะจะไม่สามารถทำงานได้ แต่บุคคลที่มีความรู้ และทักษะแต่ขาดคุณลักษณะความมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จก็อาจไม่แสดงพฤติกรรมของการทำงานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เป็นต้น

 ความหมายของสมรรถนะ 
สมรรถนะเป็นคำที่มีผู้ให้นิยามไว้แตกต่างกัน คนทั่วไปแม้จะอยู่ในแวดวงของการบริหารงานบุคคลไม่ได้เรียกสมรรถนะด้วยความหมายเดียวกัน และนี่ก็เป็นปัญหาที่ท้าทายของผู้ใช้สมรรถนะในอนาคต (Rothwell & Lindholm, 1999) โดยทั่วไปคงไม่สามารถกล่าวได้ว่าความหมายใดผิดหรือถูก แต่ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ สำนักงาน ก.พ. ศึกษาสมรรถนะมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่เป็นการศึกษาในระดับย่อย (โครงการ) ได้แก่ โครงการพัฒนาหลักสูตรการประเมินบุคคลเข้าสู่ตำแหน่งแรกบรรจุ ระดับ 3 โครงการวิจัยความสามารถของข้าราชการพลเรือนสามัญ (ระดับ 4-8) โครงการความสามารถของผู้บริหารระดับกลาง โครงการสมรรถนะผู้บริหารระดับสูง โครงการการบริหารระบบพนักงานราชการ และล่าสุดโครงการพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ที่จัดทำเพื่อใช้ขับเคลื่อนการบริหารงานบุคคลในราชการพลเรือนทั้งระบบ
สำหรับความหมายของสมรรถนะในแต่ละโครงการย่อยของสำนักงาน ก.พ. แม้จะไม่เหมือนกันทีเดียวแต่มีลักษณะร่วมกัน คือ เป็นพฤติกรรมในการทำงาน เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จของงาน และเกี่ยวข้องกับความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ ของบุคคลโดยตรง แต่เป็นกลุ่มของคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมในการทำงาน อธิบายอีกอย่างหนึ่งก็คือ ลักษณะพฤติกรรมการทำงานของบุคคลที่ทำให้เกิดผลงานที่โดดเด่นนั้น บุคคลต้องมี ความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะอื่นๆ จึงจะทำงานได้ แต่การที่บุคคลจะมีผลการปฏิบัติงานที่โดดเด่นนั้นจะต้องมีสมรรถนะหรือคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมอีกด้วย ยกตัวอย่างกรณีของนักการทูตในการศึกษาของ McClelland แน่นอนว่าผู้ที่จะทำหน้าที่นักการทูตได้จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม การเมือง ภาษา และอื่นๆ (ส่วนของความรู้ ทักษะ ความสามารถ) แต่นักการทูตที่มีผลการปฏิบัติงานโดดเด่นพบว่ามีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านวัฒนธรรม (Cross-cultural Interpersonal Sensitivity) ความคาดหวังทางบวกกับผู้อื่น (Positive Expectations of Others) และความรวดเร็วในการเรียนรู้เครือข่ายด้านการเมือง (Speed in Learning Political Networks) ซึ่งเป็นคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่นักการทูตที่มีผลการปฏิบัติงานปานกลางไม่มี
ดังนั้นความรู้ ทักษะ และความสามารถ เป็นพื้นฐานที่จะทำให้บุคคลปฏิบัติงานได้ และสมรรถนะเป็นส่วนที่ต่อยอดเพิ่มเติมขึ้นมาให้บุคคลปฏิบัติงานได้ผลงานที่โดดเด่น
ในเรื่องคำกำจัดความของสมรรถนะ สำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดนิยามของสมรรถนะว่าเป็น “คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ ที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นในองค์กร” กล่าวคือ การที่บุคคลจะแสดงสมรรถนะใดสมรรถนะหนึ่งได้ มักจะต้องมีองค์ประกอบทั้งความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ ตัวอย่างเช่น สมรรถนะการบริการที่ดีซึ่งอธิบายว่า “สามารถให้บริการที่ผู้รับบริการต้องการได้” นั้น หากขาดองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ ความรู้ในงานหรือทักษะที่เกี่ยวข้อง เช่นอาจต้องหาข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ และคุณลักษณะของบุคคลที่เป็นคนใจเย็น อดทน ชอบช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว บุคคลก็ไม่อาจจะแสดงสมรรถนะของการบริการที่ดีด้วยการให้บริการที่ผู้รับบริการต้องการได้
กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ สมรรถนะเป็นกลุ่มพฤติกรรมที่องค์การต้องการจากข้าราชการ เพราะเชื่อว่าหากข้าราชการมีพฤติกรรมการทำงานในแบบที่องค์การกำหนดแล้ว จะส่งผลให้ข้าราชการผู้นั้นมีผลการปฏิบัติงานดี และส่งผลให้องค์กรบรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการไว้ ตัวอย่างเช่น การกำหนดสมรรถนะการบริการที่ดี เพราะหน้าที่หลักของข้าราชการคือการให้บริการแก่ประชาชน ทำให้หน่วยงานของรัฐบรรลุวัตถุประสงค์คือการทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน

 สมรรถนะกับผลการปฏิบัติงาน 
เมื่อมองจากแนวคิดของโมเดลการคัดเลือกบุคลากร สมรรถนะสามารถใช้เป็นสิ่งที่วัดเพื่อทำนายผลการปฏิบัติงาน หรือเป็นส่วนหนึ่งของผลการปฏิบัติงานก็ได้ (สำหรับคำจำกัดความของระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนที่ปรับปรุงใหม่ สมรรถนะเป็นส่วนหนึ่งของผลการปฏิบัติงาน) โมเดลการคัดเลือกบุคลากรอย่างง่ายแสดงดังต่อไปนี้


ภาพที่ 6 กรอบแนวคิดในการคัดเลือกบุคลากร (ดัดแปลงจาก Binning & Barrett, 1989)

กรอบแนวคิดในการคัดเลือกบุคลากรของ Binning & Barrett (1989) อธิบายว่า ในกระบวนการคัดเลือกพนักงานมีการทดสอบ หรือประเมินผู้สมัครว่าเหมาะสมกับตำแหน่งที่ทำงานหรือไม่ ซึ่งการวัดการประเมินในกระบวนการคัดเลือก เน้นที่ความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ ของ ผู้สมัครว่าสอดคล้องกับคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งหรือไม่ ตัวอย่างเช่น กระบวนการคัดเลือกข้าราชการมีการทดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ซึ่งเป็นการวัดความสามารถในการเรียนรู้ของผู้สมัครว่าอยู่ในระดับที่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่จะใช้ในการทำงานได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ ทั้งนี้เพราะในการทำงานต่างๆ นั้นต้องมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ถ้าข้าราชการไม่มีความสามารถในการเรียนรู้อยู่ในระดับที่ดีแล้วจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานในอนาคต การทดสอบภาคความรู้เฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข) เป็นการทดสอบว่าผู้สมัครมีความรู้ในสาขาที่กำหนดไว้สำหรับการทำงานหรือไม่ ความรู้ในสาขาที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้นๆ และการทดสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค) เป็นการทดสอบว่าผู้สมัครมีความเหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่ในแง่ของสมรรถนะ (คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม) เช่น เป็นคนที่มุ่งผลสัมฤทธิ์หรือไม่ เป็นต้น
เมื่อมีการวัดเพื่อการคัดเลือกแล้วควรต้องมีการประเมินว่าการวัดนั้นๆ มีประโยชน์ในการทำนายผลการปฏิบัติงานจริงหรือไม่ วิธีการประเมินแบบทดสอบเพื่อการคัดเลือกทำได้โดยการนำคะแนนของการสอบคัดเลือกมาหาค่าสหสัมพันธ์กับคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงาน ถ้าค่าสหสัมพันธ์สูงเช่น ถ้าคะแนนการสอบคัดเลือกสูงและคะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานก็สูงด้วย (สหสัมพันธ์ตรง) หรืออีกลักษณะหนึ่งถ้าคะแนนการสอบคัดเลือกสูงแต่คะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานต่ำ (สหสัมพันธ์ผกผัน) เช่นนี้เป็นการแสดงว่าการสอบคัดเลือกสามารถใช้ทำนายผลการปฏิบัติงานได้
คะแนนการประเมินผลการปฏิบัติงานมีความสำคัญมากต่อการบริหารงานบุคคล เพราะใช้ตัดสินใจเกี่ยวกับการทดสอบเพื่อการคัดเลือก การวางแผนพัฒนา และที่สำคัญยังใช้เพื่อการกำหนดค่าตอบแทนให้กับพนักงานอีกด้วย ถ้าการประเมินผลการปฏิบัติงานล้มเหลว กล่าวคือไม่สามารถบอกได้ว่าพนักงานคนใดเป็นผู้มีผลการปฏิบัติงานที่ดีหรือไม่ และดีมากแค่ไหนแล้ว การบริหารงานอื่นๆ มีโอกาสที่จะล้มเหลวไปด้วยอย่างมาก
เมื่อมีการนำสมรรถนะมาใช้ในการบริหารงานบุคคล โดยกำหนดว่าสมรรถนะเป็นคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ ที่ส่งผลให้บุคคลสร้างผลงานที่โดดเด่นในองค์กร ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับกรอบแนวคิดในการคัดเลือกบุคลากรแล้วคำถามคือสมรรถนะคือส่วนที่ใช้ทำนายผลการปฏิบัติงาน หรือส่วนที่เป็นผลการปฏิบัติงาน คำตอบคือ แล้วแต่คำจำกัดความสมรรถนะที่ใช้ถ้ากำหนดว่าสมรรถนะเป็นความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ สมรรถนะก็จะเป็นส่วนที่ใช้ทำนายผลการปฏิบัติงาน แต่สำหรับสมรรถนะของภาคราชการพลเรือนไทยกำหนดความหมายว่าเป็นคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม....ที่ทำให้บุคคลสร้างผลงานได้โดดเด่นในองค์กร ดังนั้นด้วยคำจำกัดความนี้สมรรถนะจึงเป็นผลการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติไม่ได้มีการแยกอย่างชัดเจนว่าสมรรถนะเป็นสิ่งที่ใช้ทำนายผลการปฏิบัติงาน หรือเป็นผลการปฏิบัติงาน แต่จะใช้รวมๆ กันไป โดยถ้าเป็นการคัดเลือก หรือ การฝึกอบรมมักเน้นที่ความรู้ ทักษะ ความสามารถ แต่ถ้าจะวัดผลการปฏิบัติงานก็เน้นที่คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม
ในส่วนของการประเมินผลการปฏิบัติงานที่แบ่งการประเมินเป็นสองส่วนคือ ส่วนของงานที่มอบหมายและส่วนของพฤติกรรมในการทำงาน สมรรถนะ(คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม) เป็นส่วนหนึ่งของผลการปฏิบัติงานสำหรับความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ เป็นส่วนตั้งต้นที่ทำให้บุคคลแสดงผลงานในงานที่มอบหมาย ดังนั้นในการวัดผลการปฏิบัติงานจึงมักเน้นไปที่งานที่มอบหมาย แต่ไม่วัดความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ โดยตรง
อย่างไรก็ดีการวัดความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ ที่สำคัญต่อการทำงานนั้นเป็นส่วนที่เน้นในกระบวนการคัดเลือก และกระบวนการฝึกอบรมพัฒนา นอกจากนี้แล้วยังมีการนำคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมมาใช้ประโยชน์ในการคัดเลือกอีกด้วย โดยใช้หลักการที่ว่า “พฤติกรรมในอดีตทำนายพฤติกรรมในอนาคตได้ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่คล้ายกัน และในเวลาที่ไม่ห่างกันจนเกินไป” ประโยชน์ที่นำมาใช้ เช่น การสัมภาษณ์เพื่อค้นหาว่าผู้สมัครมีพฤติกรรมในอดีตคล้ายกับพฤติกรรมที่ตำแหน่งต้องการหรือไม่ กล่าวโดยละเอียดคือ ถ้าต้องการค้นหาว่าผู้สมัครเป็นผู้ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ในการทำงานหรือไม่ ก็สัมภาษณ์ประวัติเพื่อดูว่าผู้สมัครมีลักษณะของความขยันขันแข็ง รับผิดชอบ เอาใจใส่ (ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่แสดงการมุ่งผลสัมฤทธิ์) มาในอดีตหรือไม่ เป็นต้น
โดยสรุปสมรรถนะจะใช้ในการทำนายผลการปฏิบัติงาน หรือเป็นส่วนหนึ่งของผลการปฏิบัติงานก็แล้วแต่คำจำกัดความ และการนำไปใช้ ผู้ใช้ควรต้องมีความเข้าใจ เพราะวิธีการประเมินและจุดประสงค์ของการใช้สมรรถนะจะแตกต่างกันไป รายละเอียดเพิ่มเติมอธิบายในส่วนของการนำสมรรถนะไปใช้ในระบบการบริหารงานบุคคลด้านต่างๆ

สมรรถนะของงานหรือสมรรถนะของคน 
Kierstead (1998) กล่าวว่าความไม่ชัดเจนระหว่างสมรรถนะของงาน กับสมรรถนะของคนทำให้เกิดความสับสนในการทำความเข้าใจสมรรถนะ สมรรถนะของงาน (Job-based Competency or Area of Competence) หมายถึงสิ่งที่บุคคลต้องทำในการทำงาน ในขณะที่สมรรถนะของคน (Person-based Competencies) หมายถึงคุณลักษณะที่ทำให้บุคคลสามารถทำงานได้ดี ตัวอย่างเช่น วิสัยทัศน์ น่าจะจัดเป็นสมรรถนะของงาน เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ครองตำแหน่งต้องแสดงวิสัยทัศน์ที่ดี แต่ถ้ามองในแง่ของคนแล้วจะมองว่าแล้วคนต้องมีลักษณะอย่างไรจึงจะมีวิสัยทัศน์ที่ดีได้ เช่นอาจต้องเป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เป็นคนมีความคิดวิเคราะห์ที่ดี เป็นต้น
ดังนั้น เมื่อพิจารณาสมรรถนะของราชการพลเรือนไทยแล้วน่าจะเป็นส่วนของงาน คือเป็นคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่กำหนดให้บุคคลแสดงในการทำงาน
จากประสบการณ์การดำเนินงานสมรรถนะในส่วนราชการก็พบเช่นเดียวกันว่ามีความสับสนระหว่างสมรรถนะของงาน (สิ่งที่บุคคลต้องทำในงาน/หน้าที่ในงาน) และสมรรถนะของคน (คุณลักษณะที่ทำให้บุคคลทำงานได้ดี) ความสำคัญของการทำความเข้าใจในส่วนนี้อยู่ที่การนำไปใช้เพื่อบริหารผลงาน เพราะหน้าที่ในงานจะถูกประเมินแยกจากสมรรถนะ และมีการให้น้ำหนักกับสองส่วนนี้แตกต่างกัน






 

Create Date : 11 เมษายน 2554    
Last Update : 11 เมษายน 2554 12:56:00 น.
Counter : 1191 Pageviews.  

สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

บุคลากรทางการศึกษา
สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1. การบังคับใช้
1) ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู ยกเว้นข้าราชการทหารและข้าราชการท้องถิ่น
2) ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาระเบียบนี้
3) กรณีที่ไปช่วยราชการหากต้องการลาก็ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่ไปช่วยราชการแล้วให้ หน่วยงานนั้นแจ้งให้ต้นสังกัดทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2. การนับวันลา
1) ให้นับตามปีงบประมาณ
ข้อสอบ 2) การนับวันลาที่นับเฉพาะวันทำการคือ
- การลาป่วย ( ธรรมดา )
- การลากิจส่วนตัว
- การลาพักผ่อน
3) ข้าราชการที่ถูกเรียกกลับระหว่างลาให้ถือการลาหมดเขตเพียงวันก่อนเดินทางกลับและวันราชการ เริ่มนับตั้งแต่วันเดินทางกลับ

3. การลาครึ่งวัน
ในการลาครึ่งวันในตอนเช้า หรือตอนบ่ายให้นับการลาเป็นครึ่งวัน
การลาให้ใช้ใบลาตามแบบ แต่กรณีจำเป็นหรือรีบด่วนจะใช้ใบลาตามวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องส่งใบลาตามแบบวันในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
- ข้าราชการที่ประสงค์จะไปต่างประเทศระหว่างลา หรือวันหยุดราชการให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. )
- ข้าราชการส่วนภูมิภาค ขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน หรือนายอำเภอไม่เกิน 3 วัน
- ข้าราชการผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติงานราชการได้ เนื่องจากพฤติกรรมพิเศษ เช่น ฝนตกหนัก ถนนขาด ถูกจับเรียกค่าไถ่ โดยเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับบุคคลนั้นไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุขัดขวางไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. ) หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ( สำหรับข้าราชการส่วนภูมิภาค)ทันทีที่มาปฏิบัติราชการได้ ถ้าอธิบดี พิจารณาว่าเป็นจริง ไม่นับเป็นวันลา ถ้าไม่จริงให้นับเป็นลากิจส่วนตัว
********** ข้าราชการครูสังกัด สพฐ. เป็นข้าราชการส่วนกลาง***********

4. ประเภท ของการลามี 9 ประเภท ดังนี้
1. ลาป่วย
2. ลาคลอดบุตร
3. ลากิจส่วนตัว
4. ลาพักผ่อนประจำปี
5. ลาไปอุปสมบทหรือประกอบพิธีฮัทย์
6. ลาตรวจเลือกหือเข้ารับการเตรียมพล
7. ลาศึกษาต่อ ศึกษาอบรมดูงาน หรือปฏิบัติงานวิจัย
8. ลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ
9. ลาติดตามคู่สมรสไปต่างประเทศ

การลาป่วย
ข้อสอบ ให้เสนอจัดส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา เว้นกรณีจำเป็นเสนอส่งใบลาในวันที่ปฏิบัติการได้ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้ ให้ผู้ยื่นลงชื่อแทนได้ แต่ถ้าสามารถเขียนได้ให้ส่งใบลาโดยเร็ว การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์

การลาคลอดบุตร
ให้ส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา ลงชื่อไม่ได้ให้ผู้อื่นลงแทนได้ ลงชื่อได้จัดส่งใบลาโดยเร็ว สิทธิในการลาคลอดบุตรได้ 90 วัน โดยได้รับเงินเดือนโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ อัตราจ้างสามารถลาได้ 45 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน อีก 45 วันให้รับการประกันสังคม
ข้าราชการที่ลาเลี้ยงดูบุตร มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจาการลาคลอดบุตร ไม่เกิน 30 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน ถ้าประสงค์จะลาต่ออีกลาได้อีกไม่เกิน 150 ทำการโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน
ลากิจส่วนตัว + เลี้ยงดูบุตรได้ปีละไม่เกิน 45 วันทำการ
การลากิจส่วนตัวแม้ยังไม่ครบกำหนด ผู้บังคับบัญชาสามารถเรียกมาปฏิบัติราชการก็ได้
การลาคลอดบุตร คาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลงและนับเป็นการลาคลอดบุตรต่อ
การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถเรียกมาปฏิบัติราชการได้

การลากิจส่วนตัว
การลากิจส่วนตัว ต้องส่งใบลาก่อนเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงหยุดราชการได้เว้นแต่เหตุจำเป็นให้หยุดราชการไปก่อนและชี้แจ้งเหตุผลให้ทราบโดยเร็ว ถ้ามีเหตุพิเศษไม่อาจปฏิบัติได้ตามที่กล่าวมาให้เสนอจัดส่งใบลาพร้อมชี้แจงเหตุผลในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
ลากิจไม่เกิน 45 วันทำการ/ปี

การลาพักผ่อนประจำปี ( ไม่ใช่ลาพักร้อน )
ข้าราชการปีหนึ่งลาพักผ่อนได้ 10 วันทำการ เว้นแต่ข้าราชการต่อไปนี้ รับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน
- ในกรณีบรรจุครั้งแรก
- ลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว
- ลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเลือกตั้ง
ในปีใดที่ข้าราชการไม่ได้ลาพักผ่อนลาไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมวันลาที่ยังไม่ลาในปีนั้นรวมกับปีต่อไปได้ แต่ไม่เกิน 20 วันทำการ
รับราชการมาแล้วติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี สามารถลาพักผ่อนสะสมไม่เกิน30 วันทำการ
ข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในโรงเรียน มีวันหยุดภาคเรียน หากได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกิดกว่าลาพักผ่อน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนได้

การลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัทย์
ให้ส่งใบลาขออนุญาตต่อเลขา กพฐ. ( ส่งใบลาให้ผอ.ร.ร.ก่อนไม่น้อยกว่า 60 วัน )
ได้รับอนุญาตแล้วต้องอุปสมบทหรือออกเดินทาง ภายใน 10 วัน
กลับมารายงานตัวภายใน 5 วัน นับตั้งแต่ลาสิขา หรือเดินทางกลับถึงเมืองไทย
ลาบวชได้ไม่เกิน 120 วัน

การลาตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล
คำว่าตรวจเลือก เรียกว่าคัดทหาร การลาตรวจเลือก ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง นับแต่ได้รับหมายเรียกโดยไม่ต้องรอคำสั่งอนุญาต ถ้าพ้นจากการตรวจเลือกจะต้องปฏิบัติราชการภายใน 7 วัน
เตรียมพล เมื่อได้รับใบแดงจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบภายใน 48 ชั่วโมง
ออกจากทหาร ขอเข้ารับราชการภายใน 180 วัน

การลาศึกษา ฝึกอบรม ศึกษาปฏิบัติงานวิจัย
ผู้มีอำนาจอนุญาต คือ เลขา กพฐ. ( ในประเทศ มอบให้ ผอ.สพท. ต่างประเทศ เลขา กพฐ. )

การลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ
ผู้มีอำนาจอนุญาตคือ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด โดยไม่ได้รับเงินเดือน มี 2 ประเภท
1. ประเภทที่ 1 ไม่เกิน 4 ปี
- ประเทศไทยเป็นสมาชิก
- รัฐบาลมีข้อผูกพัน ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
- ส่งไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ
2. ประเภทที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี
- รับราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี ยกเว้น สหประชาชาติไม่น้อยกว่า 2 ปี
- อายุไม่เกิน 52 ปี และไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย

การลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติงานต่างประเทศ
ผู้อนุญาต คือ เลขา กพฐ. ลาได้ไม่เกิน 2 ปี ถ้าจำเป็นลาต่ออีกได้ 2 ปี รวมเวลา 4 ปี ถ้าเกินให้ลาออก

ผู้มีอำนาจอนุญาตในการลา

ผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจอนุญาตการลาของผู้ใต้บังคับบัญชาดังนี้
- ลาป่วย ครั้งหนึ่งไม่เกิน 60 วันทำการ
- ลาคลอด ครั้งหนึ่งไม่เกิน 90 วันทำการ
- ลากิจส่วนตัว ครั้งหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำการ

กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน 2544
ปีงบประมาณ เลื่อนขั้นเงินเดือน 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ( ครึ่งปีแรก ) 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ให้เลื่อนขั้นในวันที่ 1 เมษายน
ครั้งที่ 2 ( ครั้งปี หลัง) 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม

หลักเกณฑ์การลาบ่อยครั้งและมาทำงานสาย
1. การลาบ่อยครั้ง
- ข้าราชการปฏิบัติงานตามโรงเรียน ลาเกิน 6 ครั้ง
- ข้าราชการปฏิบัติงานตามสำนักงาน ลาเกิน 8 ครั้ง




 

Create Date : 04 เมษายน 2554    
Last Update : 4 เมษายน 2554 21:30:34 น.
Counter : 4000 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  

hangclub
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 29 คน [?]




Friends' blogs
[Add hangclub's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.