ตัวอย่างเครื่องมือวิจัยทางการศึกษาโดยใช้เครื่องมือแบบสอบ

การทดสอบด้วยข้อสอบเป็นวิธีการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนมาเป็นเวลานานและยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ข้อสอบหรือรูปแบบการประเมินผลมีรูปแบบต่างๆ เช่น แบบเลือกตอบ แบบถูกผิด แบบจับคู่ แบบเติมคำ แบบเขียนตอบและแบบผสาน ซึ่งมีรายละเอียดของข้อสอบในแต่ละแบบ ดังนี้
1. ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ ปัญหาหรือคำถามและคำตอบที่มีลักษณะเป็นตัวเลือกทั้งที่เป็นคำตอบถูกต้องและคำตอบผิด ลักษณะของข้อสอบที่นิยมใช้ประกอบด้วย ข้อสอบแบบเลือกตอบที่เป็นคำถามเดี่ยว ข้อสอบแบบเลือกตอบที่ใช้ข้อมูลชุดเดียวกันเพื่อการถามด้วยคำถามหลายข้อ เป็นต้น
แนวทางการสร้างข้อสอบแบบเลือกตอบ
1. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดว่าจะได้ จากการวัดผลประเมินผล ทั้งด้านความรู้ความคิด กระบวนการเรียนรู้และเจตคติ
2. สร้างข้อสอบที่สอดคล้องกับคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ ประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ ระดับพฤติกรรมที่ต้องการวัด
3. พิจารณาคุณภาพของข้อสอบอย่างคลอบคลุมทั้งปัญหาหรือคำถาม ตัวเลือกและเหตุผลการสร้างตัวเลือก รวมทั้งคำตอบที่ถูกต้องและบันทึกเกี่ยวกับคำตอบ
4. ตรวจสอบความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น ความเป็นปรนัยความยากง่ายและอำนาจการจำแนกของข้อสอบ
ลักษณะของคำถามและตัวเลือกของข้อสอบแบบเลือกตอบ
คำถาม ควรมีลักษณะ ดังนี้
1. สั้น ชัดเจน และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
2. เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ถ้าจำเป็นต้องใช้ประโยคปฏิเสธก็ควรเน้นข้อความหรือขีดเส้นใต้ข้อความที่แสดงการปฏิเสธ
3. คำถามแต่ละข้อจะต้องเป็นอิสระแก่กันโดยไม่ให้การตอบคำถามของข้อหนึ่งชี้นำหรือขึ้นอยู่กับอีกข้อหนึ่ง
4. หลีกเลี่ยงการใช้ภาษที่ชี้นำหรือสื่อความไปถึงคำตอบถูกหรือคำตองผิด
5.แต่ละคำถามจะต้องมีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว(ยกเว้นข้อสอบเพื่อวินิจฉัยหรือวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเรียนรู้ หรือข้อสอบเลือกตอบที่ใช้วิเคราะห์แนวคิดหลักที่คลาดเคลื่อน ซึ่งอาจมีได้หลายคำตอบ)
ตัวเลือก ควรมีลักษณะดังนี้
1. ตัวเลือกควรเป็นเรื่องหรือประเด็นเดียวกัน มีความยาวใกล้เคียงกัน
2. ต้องกระจายคำตอบของข้อสอบทั้งฉบับให้มีสัดส่วนของแต่ละตัวเลือกใกล้เคียงกัน
3. ใช้คำให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ และหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์หรือข้อความที่เข้าใจยาก
4. ไม่ควรใช้ตัวเลือก “ถูกทุกข้อ” หรือ “ไม่มีข้อใดถูก”
2. ข้อสอบแบบถูกผิด
เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะเป็นการนำเสนอข้อความเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในแนวคิดหลัก หลักการ ทฤษฎี การแปลความหมายหรือการกำหนดตัวแปร โดยให้ผู้เรียนพิจารณาตัดสินเลือกตอบ โดยมีตัวเลือกถูกหรือผิด ซึ่งมีหลักเกณฑ์การสร้าง ดังนี้
1. ข้อความที่ต้องการให้พิจารณาว่าถูกหรือผิดต้องเป็นแนวความคิดเดียวหรืออาจรวมแนวความคิดย่อยที่เป็นเรื่องเดียวกัน
2. ศัพท์และคำที่นำมาใช้ต้องเหมาะกับระดับของผู้เรียน ใช้ภาษาถูกต้อง เข้าใจง่าย และไม่ทำให้เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิด
3. ไม่ใช้คำหรือข้อความที่เป็นการชี้นำคำตองทั้งที่อยู่ในข้อเดียวกันหรือในข้ออื่น
4. ไม่ใช้คำปฏิเสธหรือใช้คำปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ
3. ข้อสอบแบบจับคู่
เป็นข้อสอบที่มีลักษณะการนำเสนอคำหรือข้อความ 2 ส่วน ให้เลือกเพื่อจับคู่กัน ส่วนที่ 1 คือ ปัญหาที่เขียนเป็นคำหรือข้อความซึ่งเป็นแนวคิดหลักเรียงไว้เป็นแนวตั้ง 1 แถวส่วนที่ 2 คือคำตอบซึ่งเป็นคำหรือข้อความสัมพันธ์หรือเกี่ยงข้องกับปัญหา เขียนเรียงเป็นแนวตั้งอีก 1 แถว โดยทั่วไปจำนวนข้อของปัญหามีประมาณ 6-12 ข้อ และจำนวนจ้อของคำตอบมีมากกว่าคำถาม
กรณีที่ใช้ข้อสอบจับคู่กับผู้เรียนระดับประถมศึกษา จำนวนของข้อสอบอาจเท่ากับจำนวนข้อของคำถาม และใช้วิธีลากเส้นเชื่อมโยงคำตอบแทนการนำตัวเลขมาใส่ในช่องว่างก็ได้ รวมทั้งอาจใช้ภาพประกอบเพื่อความเข้าใจง่าย และน่าสนใจ สื่อความหมายของเรื่องนั้นได้อย่างชัดเจน เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
4. ข้อสอบแบบเติมคำ
ข้อสอบแบบเติมคำมีลักษณะเป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระที่ยังไม่สมบูรณ์ โดยมีส่วนที่เว้นว่างให้ผู้เรียนเติมคำให้สมบูรณ์ มีแนวทางกาสร้างข้อสอบ ดังนี้
1. ไม่ควรสร้างคำถามโดยลอกสถานการณ์ตามที่มีอยู่ในหนังสือเรียน
2. คำหรือข้อความที่ขาดหายไปหรือเว้นไว้ให้เติม จะต้องมีความเฉพาะเจาะจง เป็นข้อความสั้นๆและชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจตรงกันและไม่ควรให้เติมหลายคำในข้อเดียวกัน
3. คำหรือข้อความที่ขาดหายไปหรือเว้นไว้ให้เติม ควรมีความหมายหรือความสำคัญและควรอยู่ท้ายประโยค แต่ถ้าต้องการให้เติมในประโยค ก็ต้องเว้นช่องว่างไว้ให้มีความกว้างใกล้เคียงกันทุกข้อและเพียงพอที่จะตอบได้อย่างครบถ้วน
5. ข้อสอบแบบเขียนตอบ
เป็นข้อสอบที่เคยเรียกว่าข้อสอบอัตนัย รูปแบบของข้อสอบมีลักษณะเป็นแบบเขียนตอบอย่างสั้น เขียนบรรยายที่มีแผนภูมิ กราฟ ตาราง เขียนผังมโนทัศน์ เขียนผังแนวคิดรูปตัววี หรือเขียนภาพการ์ตูนบรรยายเรื่องราว ปัญหาหรือคำถามของข้อสอบแบบเขียนตอบ จะต้องสร้างขึ้นด้วยความรู้ความข้าใจเนื้อหาสาระ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระนั้นเป็นอย่างดีซึ่งมีแนวการสร้างและการให้คะแนนดังนี้
5.1 ข้อสอบแบบเขียนตอบอย่างสั้น
มีลักษณะสำคัญที่ผู้เรียนมีโอกาสได้แสดงความรู้ ความสามารถได้มากกว่าการทำข้อสอบแบบเลือกตอบถูกผิด จับคู่และเติมคำ แต่ยังคงกำหนดกรอบในการเขียนตอบอย่างสั้น เหมาะสำหรับการวัดความรู้ ความเข้าใจมากกว่าความสามารถด้านการประยุกต์ การวิเคราะห์การสังเคราะห์และการประเมินค่า เนื่องจากผู้เรียนไม่สามารถสื่อสารการเรียนรู้ด้วยการเขียนแสดงความรู้ ความคิด อย่างเต็มที่ ลักษณะของข้อสอบแบบเขียนตอบอย่างสั้นที่ตอบได้หลายแนวทาง มีข้อดีเพิ่มขึ้น คือใช้ประเมินผลแนวการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน
5.2 ข้อสอบเขียนตอบแบบบรรยาย
เป็นการเขียนในลักษณะความเรียงซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้ความสามารรถและความคิดระดับสูง ในลักษณะของการสรุปความ การเปรียบเทียบ การประยุกต์หลักวิชาหรือการความรู้ไปใช้ มีประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียน การจัดระเบียบความรู้ การเชื่อมโยงความคิดการแสดงความคิดเห็น การวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาและเนื้อหาสาระ ขั้นตอนสำคัญในการสร้างข้อสอบเขียนตอบแบบบรรยาย มีดังนี้
1. กำหนดเนื้อหาสาระเพื่อใช้เป็นปัญหาหรือคำถาม สาระสำคัญประกอบด้วย แนวคิดหลัก หรือความรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ และระดับพฤติกรรมที่ต้องการวัด
2. การตั้งปัญหาหรือคำถามควรหลีกเลี่ยงคำถามที่ใช้เขียนสิ่งที่จดจำได้แต่ควรเป็นคำถามที่ให้ผู้เขียนสามารถแสดงออกได้ตามจุดประสงค์และพฤติกรรมที่ต้องการจะวัด ประเด็นสำคัญที่อยู่ในคำถาม ประกอบด้วย
2.1 การเปรียบเทียบด้วยการบอกความเหมือนกันหรือต่างกัน
2.2 การให้นิยาม การอธิบาย การบรรยาย
2.3 การทำนาย การแสดงความคิดเห็น การวิพากษ์วิจารณ์
2.4 การพิสูจน์ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์
2.5 การแสดงภาพประกอบ การแสดงแบบจำลอง
2.6 การบอกลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
3. การกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน ข้อสอบแบบเขียนตอบทุกข้อควรมีแนวการตอบเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดเกณฑ์การประเมิน หรือการให้คะแนนความรู้ความสามารถ โดยอาจกำหนดสัดส่วนหรือความสำคัญเป็นตอนๆ เพื่อสะดวกในการตรวจ
5.3 ข้อสอบแบบเขียนตอบโดยการสร้างผังมโนทัศน์
การสร้างผังมโนทัศน์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้โอกาสผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิด การสร้างความรู้ การสรุปผลและการนำเสนอแนวคิดหลักได้ด้วยตนเอง โดยใช้ประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนั้นมาใช้เป็นมโนทัศน์หลักและขยายความที่เป็นรายละเอียดประกอบด้วยมโนทัศน์ย่อย ซึ่งพฤติกรรมที่สำคัญซึ่งต้องการวัดผลประเมินผลจากการสร้างผังมโนทัศน์คือกระบวนการคิด
การสร้างผังมโนทัศน์มีกระบวนการที่สำคัญ คือ
1. กำหนดปัญหาหรือหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อสร้างเป็นมโนทัศน์หลักแล้วจึงรวบรวมมโนทัศน์ของเรื่องนั้นและทำความเข้าใจกับมโนทัศน์เพื่อนำมาเรียบเรียงและจัดให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
2. จัดลำดับมโนทัศน์ต่างๆให้สัมพันธ์กันอย่างเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากมโนทัศน์หลักไปยังมโนทัศน์รองและมโนทัศน์ย่อย ให้ลดหลั่นกันอย่างมีความหมาย พร้อมทั้งแสดงตัวอย่างประกอบในแต่ละมโนทัศน์ด้วย
3.แสดงความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ด้วยเส้นหรือสัญลักษณ์ที่เหมาะสม พร้อมทั้งอาจมีคำที่บอกแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์กำกับไว้ด้วยการเชื่อมโยงมโนทัศน์อาจเป็นไปตามลำดับหรือมีการเชื่อมโยงข้ามสายกันก็ได้

5.4 ข้อสอบเขียนตอบโดยการสร้างผังแนวคิดรูปตัววี
เป็นกิจกรรมการเรียนรู้มีโอกาสได้เขียนสรุปเพื่อนำเสนอความรู้ กระบวนการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ โดยมีองค์ประกอบหลัก 4 ส่วน คือ
1. หัวข้อปัญหาหรือคำถามนำ อยู่ตรงส่วนกลางของแนวคิดรูปตัววี ซึ่งหัวข้อปัญหาผู้สอนอาจเป็นผู้กำหนด หรือให้ผู้เรียนกำหนดเองก็ได้
2. ความรู้ความคิด อยู่ทางด้านซ้ายมือ ประกอบด้วยสาระสำคัญ ทฤษฏี หลักการ ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง
3. กระบวนการเรียนรู้ อยู่ทางด้านขวามือ ประกอบด้วยการลงมือปฏิบัติจริงที่แสดงออกได้ทั้งทักษะเชาว์ปัญญาและทักษะปฏิบัติ
4. ผลการเรียนรู้ อยู่ด้านล่างสุดของผังโครงสร้างเป็นการสรุปผลว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างจากหัวข้อปัญหาที่กำหนด




 

Create Date : 21 พฤศจิกายน 2552    
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2552 10:51:05 น.
Counter : 1382 Pageviews.  

ทฤษฎีแรงจูงใจ

ทฤษฎีแรงจูงใจความหมายของแรงจูงใจ
แรงจูงใจเป็นคำที่ใช้กันมากแต่บางครั้งก็ใช้กันไม่ค่อยถูกต้องความจริงแล้วแรงจูงใจใช้เพื่ออธิบายว่าทำไมอินทรีย์จึงการกระทำอย่างนั้นและทำให้เกิดอะไรขึ้นมาบ้าง
คำว่า “แรงจูงใจ” มาจากคำกริยาในภาษาละตินว่า “Movere”(Kidd, 1973:101) ซึ่งมีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “to move” อันมีความหมายว่า “เป็นสิ่งที่โน้มน้าวหรือมักชักนำบุคคลเกิดการกระทำหรือปฏิบัติการ (To move a person to a course of action) ดังนั้นแรงจูงใจจึงได้รับความสนใจมากในทุกๆวงการ
สำหรับโลเวลล์(Lovell, 1980:109) ให้ความหมายของแรงจูงใจว่า”เป็นกระบวนการที่ชักนำโน้มน้าวให้บุคคลเกิดความ มานะพยายามเพื่อที่จะสนองตอบความต้องการบางประการให้บรรลุผลสำเร็จ”
ไมเคิล คอมแจน (Domjan 1996:199) อธิบายว่าการจูงใจเป็นภาวะในการเพิ่มพฤติกรรมการกระทำกิจกรรมของบุคคลโดยบุคคลจงใจกระทำพฤติกรรมนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
สรุปได้ว่าการจูงใจเป็นกระบวน การที่บุคคลถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าโดยจงใจให้กระทำหรือดิ้นรนเพื่อให้บรรลุ จุดประสงค์บางอย่างซึ่งจะเห็นได้พฤติกรรมที่เกิดจากการจูงใจเป็นพฤติกรรมที่ มิใช่เป็นเพียงการตอบสนองสิ่งเร้าปกติธรรมดา ยกตัวอย่างลักษณะของการตอบสนองสิ่งเร้าปกติคือ การขานรับเมื่อได้ยินเสียงเรียก แต่การตอบสนองสิ่งเร้าจัดว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการจูงใจเช่น พนักงานตั้งใจทำงานเพื่อหวังความดีความชองเป็นกรณีพิเศษ
ลักษณะของแรงจูงใจ
แรงจูงใจมี 2 ลักษณะดังนี้
1.แรงจูงใจภายใน (Intrinsic motives)
แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันจาก ภายในตัวบุคคลซึ่งอาจจะเป็นเจตคติ ความคิด ความสนใจ ความตั้งใจ การมองเห็นคุณค่า ความพอใจ ความต้องการฯลฯสิ่งต่างๆดังกล่าวนี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมค่อนข้างถาวรเช่นคน งานที่เห็นองค์การคือสถานที่ให้ชีวิตแก่เขาและครอบครัวเขาก็จะจงรักภักดีต่อ องค์การ และองค์การบางแห่งขาดทุนในการดำเนินการก็ไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนที่ดีแต่ด้วย ความผูกพันพนักงานก็ร่วมกันลดค่าใช้จ่ายและช่วยกันทำงานอย่างเต็มที่
2.แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic motives)
แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันภายนอกตัวบุคคลที่มากระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมอาจจะเป็นการได้รับรางวัล เกียรติยศชื่อเสียง คำชม หรือยกย่อง แรงจูงใจนี้ไม่คงทนถาวร บุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อตอบสนองสิ่งจูงใจดังกล่าวเฉพาะกรณีที่ต้องการสิ่งตอบแทนเท่านั้น





 

Create Date : 13 สิงหาคม 2552    
Last Update : 13 สิงหาคม 2552 17:49:29 น.
Counter : 2462 Pageviews.  

ความหมายการวิจัย

ความหมายของการวิจัย
การวิจัย หมายถึง กระบวนการค้นคว้าความรู้ ความจริง อย่างเป็นระบบและวิเคราะห์และตีความ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ( รศ. ดร. พะยอม วงศ์สารศรี )
การวิจัย คือ การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา (พจนานุกรม. 2525)
การวิจัย คือ กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้จากปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบ โดยมีการทดสอบสมมติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในเรื่องนั้น ๆ เพื่อนำไปพยากรณ์หรือสังเกตการเปลี่ยนแปลง เมื่อควบคุมสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้คงที่ (อนันต์ ศรีโสภา)
การวิจัย คือ การค้นคว้าความรู้อย่างมีระบบและแบบแผน เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการหรือเกิดประโยชน์แก่มนุษย์ โดยอาศัยวิธีการที่เป็นที่ยอมรับ ในแต่ละสาขาวิชา (จริยา เสถียรบุตร)
การวิจัย คือ กระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่เชื่อถือได้มีลักษณะดังนี้
1. เป็นกระบวนการที่มีระบบ
2. มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนและชัดเจน
3. ดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างรอบคอบ ไม่ลำเอียง
4. มีหลักเหตุผล
5.บันทึกและรายงานออกมาอย่างระมัดระวัง
(บุญชม ศรีสะอาด)
สรุปความหมายการวิจัย
การวิจัย คือ กระบวนการหาความรู้ ความจริงใหม่ ที่มีระบบแบบแผนตามหลักวิชา อาศัยหลักเหตุผล ที่รอบคอบ รัดกุม ละเอียดและเชื่อถือได้ และความรู้ความจริงนั้นจะนำไปเป็นหลักการ ทฤษฎี หรือ ข้อปฏิบัติที่ทำให้มนุษย์ได้รับรู้และนำไปใช้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตด้วยความสงบสุข




 

Create Date : 13 สิงหาคม 2552    
Last Update : 13 สิงหาคม 2552 17:38:21 น.
Counter : 1123 Pageviews.  

คุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล

ลักษณะของเครื่องมือที่ดี
ในการใช้เครื่องมือเพื่อวัดสิ่งที่เราต้องการในการวิจัยแต่ละเรื่อง (หรือเรียกว่าตัวแปร) นั้น ถ้าหากเครื่องมือวัดมีคุณภาพไม่ดี วัดไม่ได้สมจริง เชื่อถือไม่ได้ หรือวัดแล้วไม่สามารถจำแนกลักษณะที่วัดได้ เครื่องมือนั้นก็จะไม่มีประโยชน์ ถ้านำผลการวิจัยที่สรุปจากการวัดที่ได้จากเครื่องมือเหล่านั้น ผลการวิจัยก็จะเชื่อถือไม่ได้ ดังนั้น ผลการวิจัยหรือการประเมินจะถูกต้องมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสำคัญ หากเครื่องมือมีคุณภาพดี ผลการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือการวัดที่ใช้เพื่อประเมินก็จะถูกต้องเชื่อถือได้ ซึ่งจะทำให้การประเมินเรื่องนั้นๆ มีโอกาสถูกต้องสูง เชื่อถือได้มากขึ้น (วิเชียร เกตุสิงห์, 2524; 9)
คุณลักษณะของเครื่องมือ
1. ความเที่ยงตรง (Validity) (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ, 2543; 246-265) มีลักษณะที่เรียนว่า “measure what to measure” ซึ่งหมายความว่า เป็นเครื่องมือวัดในสิ่งที่ต้องการวัด ไม่ใช่ต้องการวัดอย่างหนึ่งแล้วได้สิ่งอื่นมาแทน หรืออาจกล่าวได้ว่าความเที่ยงตรงของการวัดใดๆ จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการวัดให้ตรงกับจุดของการวัดให้เที่ยงตรงที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ อย่างไรก็ตาม กรณีของความเที่ยงตรงนั้นไม่ใช่กรณีทั่วไป แต่เป็นกรณีเฉพาะ กล่าวคือ ต้องมีเกณฑ์สำหรับพิจารณาว่ามีความเที่ยงตรงต่ออะไร เครื่องมือชนิดหนึ่งซึ่งมีความเที่ยงตรงมากต่อเกณฑ์อย่างหนึ่ง อาจจะไม่มีความเที่ยงตรงเลยก็ได้เมื่อใช้เกณฑ์อีกอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างให้เห็นได้ง่ายๆ ก็คือ ไม้บรรทัดที่มีความเที่ยงตรงในการวัดความยาว แต่ไม่มีความเที่ยงตรงในการวัดน้ำหนัก แบบสอบถามวัดทัศนคติของประชาชนต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย จะไม่เที่ยงตรงถ้านำไปวัดทัศนคติของคนกลุ่มเดียวกันที่มีต่อการปกครองระบอบเผด็จการ ดังนี้เป็นต้น ปัญหาประการแรกของการพิจารณาความเที่ยงตรง คือ การจำกัดขอบเขตหรือคำจำกัดความของสิ่งที่วัดหรือการหาสิ่งที่จะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ (วิเชียร เกตุสิงห์, 2524; 9)
2.ความเชื่อมั่น (Reliability) (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2543; 209-245)
ความคงที่ของคะแนนที่ได้จากการสอบนักเรียนคนเดียวกันหลายครั้งในแบบทดสอบชุดเดิม เช่น นำแบบทดสอบวิชาวัดผลไปสอบกับนายสมคิด ครั้งแรกนายสมคิดทำคะแนนได้ 25 คะแนน เว้นไปประมาณ 1 สัปดาห์ นำแบบทดสอบฉบับเดิมสอบกับนายสมคิดอีกครั้งหนึ่งก็ยังคงได้คะแนน 25 คะแนนเหมือนเดิม แสดงว่าแบบทดสอบชุดนั้นมีความเชื่อมั่นได้ แต่ถ้าปรากฏว่านำแบบทดสอบชุดเดิมไปสอบกับนายสมคิดซ้ำอีกครั้งหนึ่งแล้วนายสมคิดได้คะแนนเปลี่ยนไปจากเดิม แสดงว่าแบบทดสอบขาดความเชื่อมั่น ทำให้ผลการสอบมีความคลาดเคลื่อนไปจากคะแนนความรู้จริงของนักเรียน ความคลาดเคลื่อนชนิดนี้เรียกว่า ความคลาดเคลื่อนในการวัด (Error of measurement) และในการวัดผลนั้นจะต้องสร้างเครื่องมือที่ต้องการนำไปวัดผลให้มีคุณภาพที่เชื่อมั่นได้ เพื่อผลการวัดที่ออกมาจะได้เป็นคะแนนความรู้จริงของนักเรียนที่ปราศจากความคลาดเคลื่อนในการวัด และค่าความเชื่อมั่นจะมีค่าอยู่ระหว่า -1 ถึง +1 และพิจารณาเฉพาะค่าที่เป็นบวกเท่านั้น ซึ่งควรจะมีค่ามากกว่า 0.70 จึงเป็นแบบทดสอบที่มีความเชื่อมั่นได้
3.ประสิทธิภาพ (Efficiency) (วิเชียร เกตุสิงห์, 2524; 12)
คำว่าประสิทธิภาพเป็นคำที่กว้างและกินความหมายมากเพราะอาจรวมลักษณะอื่นๆ เข้าไว้ด้วย ในการพิจารณาจึงควรพิจารณาในรูปแบบของการเปรียบเทียบจะสะดวกกว่า นั่นคือ การเลือกใช้เครื่องมือวัดนั้นควรพิจารณาว่าจะเลือกแบบใด หรือข้อคำถามอย่างไรจึงจะวัดได้ดีกว่า ถ้าสามารถใช้เครื่องมือที่มีจำนวนข้อคำถามน้อยๆ ได้โดยวัดได้เหมือนๆ กับการใช้จำนวนข้อมาก เราก็ถือว่าการใช้น้อยข้อ มีประสิทธิภาพดีกว่า หรือการใช้เครื่องมือที่ใช้เวลาในการวัดน้อย แต่ได้ผลเช่นเดียวกับการใช้เวลามากๆ เราก็ควรเลือกอย่างที่ใช้เวลาน้อยๆ ดีกว่า นอกจากนี้ในเรื่องของการลงทุนในการจัดหาหรือสร้างเครื่องมือก็ควรนำมาพิจารณาด้วย เช่น ถ้าใช้เครื่องมือที่วัดได้ดีแต่ลิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากก็ถือว่าเครื่องมือนั้นไม่มีประสิทธาภาพสู้เครื่องมือที่ใช้ได้ดีเหมือนๆ กันแต่ประหยัดกว่าไม่ได้
4. อำนาจจำแนก(Discrimination) (วิเชียร เกตุสิงห์, 2524; 12 - 13)
ลักษณะที่เครื่องมือนั้นๆ สามารถแบ่ง หรือแยก หรือชี้ได้ว่าผู้ตอบหรือผู้ที่ถูกวัดคนใดเก่งกว่ากัน หรือมีทัศนคติที่ดี – ไม่ดีกว่ากัน หรือมีลักษณะที่ต้องการมาก – น้อยกว่ากันอย่างไร ยกตัวอย่างให้เห็นได้ง่ายๆ ว่า ถ้าเราถามเด็กนักเรียนคนหนึ่งว่า 1 + 1 ได้ผลลัพธ์เท่าไร เด็กทุกคนก็จะตอบถูกหมด ลักษณะเช่นนี้คือลักษณะที่ไม่มีอำนาจจำแนก เพราะถามแล้วทุกคนตอบได้หมดเลย ไม่รู้ว่าใครเก่งใครอ่อน หรือถ้าถามว่าประชากรทั้งโลกมีทั้งหมดกี่คน คำถามนี้ก็ไม่มีใครตอบถูกเลยก็ถือว่าไม่มีอำนาจำแนกเช่นเดียวกัน ดังนั้นเครื่องมือที่มีอำนาจจำแนกต้องบอกได้ว่าใครเป็นอย่างไร ตามลักษณะที่ถาม และต้องเป็นไปตามสภาพความเป็นจริงด้วย นั่นคือลักษณะของสิ่งที่ถูกวัดจะต้องมีความแตกต่างในลักษณะที่วัดด้วยเช่นกัน
5.ความยุติธรรม (Fair)
เครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการวัดเพื่อประเมินทางการศึกษานั้นจำเป็นต้องมีความยุติธรรม กล่าวคือ จะต้องไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบหรือเสียเปรียบในหมู่ผู้เข้าทำการวัดด้วยกันคุณลักษณะข้อนี้มีความจำเป็นมากเมื่อต้องการนำผลการวัดมาเปรียบเทียบกัน โดยเฉพาะในการวัดเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมักจะเอาผลการวัดของนักเรียนแต่ละคนมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งสาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความไม่ยุตธรรมของเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีหลายประการ ได้แก่ (สมบูรณ์ ตันยะและคณะ//socialscience.igetweb.com/index.php?mo=3&art=91157)
ก. เครื่องมือที่ใช้กับนักเรียนแต่ละคนแตกต่างกัน หรือเครื่องมือชนิดเดียวดัน แต่ข้อคำถามแตกต่างกัน
ข. เวลาที่ใช้ในการทำข้อสอบของนักเรียนแต่ละคนแตกต่างกัน
ค. เวลาสอบของนักเรียนแต่ละคนแตกต่างกัน เช่น บางคนสอบก่อน บางคนสอบทีหลัง
ง. โอกาสในการเตรียมตัวสำหรับการทดสอบแตกต่างกัน เช่น บางคนรู้ตัวล่วงหน้าแต่บางคนไม่รู้
6.ความสะดวกในการใช้
เครื่องมือที่ดีจะต้องใช้ง่าย สะดวก มีคำชี้แจงชัดเจน การใช้เครื่องมือไม่ต้องอาศัย อุปกรณ์อื่นๆ ที่ยุ่งยากมากมาย ผู้ที่ใช้เครื่องมือก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญก็สามารถก็สามารถใช้ได้(สมบูรณ์ ตันยะ และคณะ//socialscience.igetweb.com/index.php?mo=3&art=91157)






อ้างอิง : คู่มือวัดผลประเมินผล วิทยาสาสตร์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ, 2546.





 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552    
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 22:25:40 น.
Counter : 6145 Pageviews.  

การสร้างเครื่องมือทางการศึกษา

การสร้างเครื่องมือวิจัยทางการศึกษา (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546)
การสร้างเครื่องมือวิจัยทางการศึกษามีความจำเป็นเพราะยังขาดเครื่องมือที่เป็นมาตรฐาน จึงจำเป็นที่ผู้วิจัยทางการศึกษา ต้องทราบถึงหลักการสำคัญในการสร้างเครื่องมือ ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุด
1. หลักการสร้างเครื่องมือ
1.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยการพิจารณารายละเอียดของตัวแปรว่ามีองค์ประกอบ คุณลักษณะ หรือพฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อพิจารณาถึงเครื่องมือที่จะใช้วัด
1.2 นิยามตัวแปรหรือประเด็นที่จะศึกษาทั้งนิยามเชิงทฤษฏีและเชิงปฏิบัติ การ เพื่อให้สามารถวัดได้จากผลสรุปการทบทวนเอกสาร โดยเฉพาะตัวแปรที่เป็นนามธรรมต้องนิยามให้ถูกต้อง ทั้งนี้พึงจำไว้เสมอว่า รายการข้อคำถามของเครื่องมือทุกประเภทต้องมีที่มาอย่างชัดเจน
1.3 ร่างรายการข้อคำถาม โดยมีที่มาจากนิยามตัวแปรหรือประเด็นหรือตัวชี้วัดที่กำหนดให้ การร่างรายการที่ไม่มีทฤษฏี แนวคิด หลักสูตร ฯลฯ รองรับ ยอมไม่ได้รับการยอมรับ
1.4 พัฒนาปรับปรุงเครื่องมือตามขั้นตอน โดยใช้วิธีที่ไม่ใช้สถิติและใช้สถิติ
2. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
สามารถแบ่งขั้นตอนการสร้างเครื่องมือตามประเภทของเครื่องมือได้ดังนี้
2.1 แบบสอบ มีขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน ดังนี้
2.1.1 ระบุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เช่น ถ้าจะวัดความสามารถทางสมอง ระดับความจำ ก็ใช้คำกริยาว่า บอก นิยาม ฯลฯ ระดับการวิเคราะห์ เช่น ระบุความแตกต่างหรือแนวโน้ม เป็นต้น
2.1.2 กำหนดเนื้อหา เช่น ถ้าเป็นเรื่องการวิจัยชั้นเรียนก็มีเนื้อหาด้านความรู้เบื้องต้นเกี่ยงกับการวิจัยชั้นเรียน การสำรวจปัญหา การกำหนดวัตถุประสงค์ การค้นคว้าเอกสาร เป็นต้น
2.1.3 ทำตารางวิเคราะห์หลักสูตร
2.1.4 สร้างข้อคำถามตามที่กำหนดไว้ในข้อ 2.1.3
ในการสร้างแบบสอบจะชัดเจนกว่าการสร้างแบบวัดด้านจิตพิสัย โดยนำหลักสูตร เนื้อหา จุดประสงค์ หรือคุณลักษณะที่จะวัดมาเป็นแนวทางในการสร้าง แต่อย่างไรก็ตามพบว่าการสร้างแบบสอบมักจะวัดได้ในระดับความจำเป็นส่วนใหญ่ แต่เนื่องจากการสร้างข้อสอบระดับสูงกว่าความจำเป็นเรื่องยาก จึงสร้างได้เฉพาะที่วัดความจำ ทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยวิธีการท่องจำและได้รับคะแนนสูงแต่ขาดความเข้าใจ วิเคราะห์ไม่ได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว ในการจะสร้างแบบสอบควรจะสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร เนื้อหา ออกเป็นสัดส่วนตามความสำคัญหรือเวลาที่ใช้สอนและจำนวนข้อตามพฤติกรรมต่างๆ
2.2แบบสอบถาม มีขั้นตอนการสร้างที่สำคัญ 9 ขั้นตอน ดังนี้
2.2.1นิยามตัวแปรในเชิงทฤษฏี
2.2.2นำนิยามมาแยกเป็นองค์ประกอบ (ถ้ามี) ตามทฤษฏีหรือแนวคิด หลักการ
2.2.3นำองค์ประกอบมาแยกเป็นตัวชี้วัดหรือคำสำคัญ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ในข้อ 2.2.2 และ ข้อ 2.2.3 นี้ อาจเป็นนิยามเชิงปฏิบัติการได้
2.2.4สร้างข้อคำถาม
2.2.5กำหนดว่าเป็นแบบสอบถามปลายปิดหรือปลายเปิด
2.2.6กำหนดระดับที่จะวัดว่าเป็นชนิด 2 ระดับ หรือมากกว่า
2.2.7กำหนดรายละเอียดประกอบเกี่ยวกับการดำเนินการและคำชี้แจง ฯลฯ
2.2.8พิจารณาเบื้องต้นและทดลองใช้กับกลุ่มเล็ก ปรับปรุง
2.2.9ททดลองใช้กับกลุ่มใหญ่ เพื่อหาค่าทางสถิติ(ถ้าทำได้)
2.3แบบสังเกต การสร้างแบบสังเกต มี 6 ขั้นตอนสำคัญ คือ
2.3.1ศึกษาโครงสร้าง ทฤษฎีของพฤติกรรมที่จะสังเกต
2.3.2นิยามพฤติกรรมที่จะสังเกตจนถึงขั้นวัดได้
2.3.3ยกร่างรายการพฤติกรรมที่จะสังเกต
2.3.4เลือกแบบที่จะบันทึกการสังเกต
2.3.5นำแบบสังเกตไปทดลองใช้
2.3.6ทดลองใช้ หาค่าทางสถิติ และปรับปรุง
2.4แบบสัมภาษณ์ การสร้างแบบสัมภาษณ์มีขั้นตอนน้อยกว่าประเภทอื่นๆ เพราะ มักเป็นคำถามกว้างๆให้ผู้ตอบ ตอบโดยเสรี มี 3 ขั้นตอนสำคัญ คือ
2.4.1ศึกษาทฤษฎี หลักการ ตัวแปร หรือประเด็นสำคัญที่จะถาม
2.4.2สร้างข้อคำถามให้สัมพันธ์กับประเด็นหรือคำสำคัญ โดยยึดหลัก ดังนี้
1)ไม่ใช้คำถามนำ
2)ไม่ใช้คำถามที่ทำให้ผู้ตอบรู้สึกต่อต้าน
3)ไม่ใช้คำถามที่เป็นความขัดแย้งค่านิยมของสังคม เพราะผู้ตอบจะตอบตามค่านิยมทำให้ไม่ได้รับความจริง
2.4.3ทดลองใช้กับผู้ที่มีลักษณะใกล้เคียง




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552    
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 22:28:20 น.
Counter : 2489 Pageviews.  

1  2  

ontny-flint
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




คนเรา..มีตาไว้ดู มึหูไว้ฟัง สมองไว้คิด
มีชีวิตเพื่อเรียนรู้อยู่เพื่อก้าวหน้า ... เพราะไม่ช้าก้อสิ้นสลาย ชีวิตคนเราเกิด มาเพื่อความสำเร็จ มิใช่..เพื่อความล้มเหลว
.......เพราะฝนที่ตกอยู่ทางโน้น หนาวถึงคนทางนี้...ยังอยากได้ยินทุกเรื่องราว....ยังนอนดึกอยู่ใช่ไหม.....ยังสู้ไหวหรือเปล่า......อย่าลืมเล่าสู่กันฟัง
lozocat
บางสิ่งในชีวิตของเรามันผ่านไปอย่างรวดเร็ว ถ้าเราไม่ฉกฉวยช่วงเวลานั้นไว้ มันก็จะผ่านไป โดยที่เราไม่รู้ตัว และถ้าเราไม่เลือกจะเก็บมันไว้ในความทรงจำ สิ่งเหล่านั้นก็คงเลือนหายไป เหมือนกับไม่เคยเกิดขึ้นเลย
เมื่อรักได้ก้าวเข้ามาในชีวิต ทุกคนก็ต้องหวังว่าเราจะต้องอยู่กันแก่เฒ่า... แต่มีหลายคนเคยบอกไว้ว่ารักที่ดีไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันก็ได้ รัก และ ปราถนาดีต่อกันก็เพียงพอแล้ว มันพอจริงหรือเปล่าอันนี้อาจจะไม่ใช่ทุกคน..เพราะเมื่อเรารักแล้วเราก็หวังอยากจะได้รักนั้นตอบ แต่ถ้าไม่ได้หล่ะ...ก็ไม่เป็นไร อย่างน้อย เราก็ได้รู้จักกับคำว่ารัก..ใช่หรือเปล่า??
lozocat
ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา... จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
lozocatความสุขไม่ยั่งยืน...ความรักไม่ยืนยาว
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ontny-flint's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.