ชนิดของเครื่องมือ

ชนิดของเครื่องมือ (วิเชียร เกตุสิงห์, 2524 ; 8)
เป็นรายการที่จะระบุให้ชัดเจนลงไปว่าเครื่องมือที่ใช้วัดดังกล่าวมีมากมายหลายอย่าง ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะเครื่องมือที่ใช้วัดเพื่อประโยชน์ในการวิจัยทางการศึกษาหรือทางสังคมศาสตร์ ซึ่งมักจะวัดพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านใดด้านหนึ่ง
1. แบบทดสอบ (พิสณุ ฟองศรี, 2549; 125 – 126)
แบบทดสอบ (Test) เป็นชุดคำถามที่ชักนำให้ผู้รับการทดสอบแสดงพฤติกรรมตอบสนอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความรู้ด้านสมอง แบบทดสอบจะใช้มากในการวิจัยทางการศึกษาโดยเฉพาะการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ซึ่งจะใช้คะแนนจากการสอบเป็นตัวสะท้อนถึงการสอนหรือกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียน แบบทดสอบแบ่งย่อยได้ 3 แบบ ได้แก่
1.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test) แบบทดสอบชนิดนี้ใช้กันมากที่สุดในทางการศึกษา ไม่ว่าจะเพื่อการวิจัยหรือเพื่อการเรียนการสอน การคัดเลือก ฯลฯ ใช้เพื่อวัดระดับความรู้ของนักเรียนว่าอยู่ในระดับใด แบบทดสอบชนิดนี้แบ่งย่อยได้ 2 แบบ คือ
1.1.1 แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardize Test) เป็นแบบทดสอบที่ผ่านการทดลองใช้และพัฒนาจนมีคุณสมบัติต่างๆ ตามมาตรฐาน ส่วนใหญ่เป็นแบบทดสอบที่ใช้ในระดับชาติของหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง และต้องใช้สอบกับคนจำนวนมาก เช่น กระทรวงศึกษา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น
1.1.2 แบบทดสอบที่ครูสร้าง (Teach – Made Test) เป็นแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น สอบตามรายวิชาที่สอนตามสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยทั่วไปแล้วมักจะสอบด้วยแบบทดสอบที่ครูสร้าง ซึ่งจะพัฒนาให้เป็นแบบทดสอบมาตรฐานก็ได้
1.2 แบบทดสอบความถนัด (Aptitude Test) แบบทดสอบชนิดนี้ใช้วัดความสามารถนอกเหนือจากวิชาการ แบ่งย่อยออกเป็น 2 แบบ คือ
1.2.1 แบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน (Scholastic Aptityde Test) ใช้วัดความสามารถทางสติปัญญา หรือเรียกว่า วัดแวว เช่น วัดเกี่ยวกับความสามารถในการจำแนกคำ อุปมาอุปไมย สรุปความ มิติสัมพันธ์ ภาษา และจำนวน เป็นต้น
1.2.2 แบบทดสอบวัดความถนัดเฉพาะ (Specific Aptityde Test) ใช้วัดความสามารถเฉพาะด้านต่างๆ เช่น กลไก เสมียน ดนตรี และ ศิลป์ เป็นต้น
1.3 แบบทดสอบวัดบุคคลและสังคม (Personal – social Test) ใช้ทดสอบความรู้สึกต่างๆ ของบุคคล แบ่งย่อยออกเป็น 2 แบบ คือ
1.3.1 แบบทดสอบวัดความสนใจ (Interesting Test) ใช้ทดสอบวัดความสนใจกิจกรรมต่างๆ หรือ อาชีพ เป็นต้น
1.3.2 แบบทดสอบวัดบุคลิกภาพ (Personality Test) ใช้ทดสอบวัดลักษณะนิสัย การปรับปรุงตัวของบุคคล
สำหรับข้อดีของแบบทดสอบ คือ ใช้สะดวก เก็บข้อมูลได้มากและรวดเร็ว ผู้ตอบมีความตั้งใจเพราะต้องการคะแนนและอยากทราบสมรรถภาพของตน
ส่วนข้อเสียที่สำคัญ คือ สร้างให้เป็นมาตรฐานได้ยาก
2. แบบสอบถาม (พิสณุ ฟองศรี, 2549; 126 – 128)
แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นชุดข้อคำถามเช่นเดียวกับแบบทดสอบ แต่จะใช้วัดความรู้สึก ความคิดเห็นเรื่องต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องจิตใจ ใช้กันมากสำหรับการวิจัยทางการศึกษาโดยเฉพาะการวิจัยเชิงบรรยาย ส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างสำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นคำชี้แจง ข้อมูลผู้ตอบ และส่วนที่เป็นเนื้อหา แบ่งย่อยออกเป็น 3 แบบ คือ
2.1 แบบปลายเปิด (Opened Form) เป็นแบบที่ไม่กำหนดตายตัว ผู้ตอบตอบได้อย่างเสรีโดยจะเว้นช่องว่างมาให้ ข้อดีคืออาจได้มุมมองใหม่ๆ ข้อเสียคือ ในทางปฏิบัติ ผู้ตอบจะไม่ค่อยตอบหรือตอบไม่เข้าประเด็น วิเคราะห์ได้ยาก
2.2 แบบปลายปิด (Closed Form) เป็นแบบที่เลือกตอบหรือเติมคำสั้นๆ หรือให้เรียงลำดับความสำคัญ เป็นต้น ข้อดีคือ ได้ข้อมูลเป็นระบบ วิเคราะห์ง่าย แต่จะไม่ได้มุมมองใหม่ๆ จากกรอบที่กำหนด แบ่งย่อยเป็น 5 แบบ ได้แก่
2.2.1 แบบเลือกตอบตำตอบเดียว แบบนี้คำถามมีหลายคำตอบให้เลือกแต่เพียงคำตอบเดียว โดยทำกรอบหรือช่วงสำหรับทำเครื่องหมายมาให้ เช่น เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง วุฒิ ( ) ปริญญาตรี ( ) ปริญญาโท ( ) ปริญญาเอก เป็นต้น ถ้าเกรงว่าตัวเลือกอาจไม่ครอบคลุมอาจเพิ่ม ( ) อื่นๆ...... ให้เลือกด้วยโดยให้ระบุข้อความลงไป ในทางปฏิบัติถ้าผู้ออกแบบสอบถามทราบลักษณะของกลุ่มผู้ตอบ ก็จะออกแบบสอบถามได้สอดคล้องกัน
2.2.2 แบบเลือกตอบหลายคำตอบ แบบนี้คำถามจะมีหลายคำตอบให้เลือกได้มากกว่า 1 คำตอบ เช่น งานอดิเรกของท่าคืออะไร ( ) ปลูกต้นไม้ ( ) ฟังเพลง ( ) อ่านหนังสือ ( ) สะสมแสตมป์ ( ) อื่นๆ ระบุ........... เป็นต้น
2.2.3 แบบตรวจสอบรายการ แบบนี้จะมีข้อความให้หลายข้อ และให้ทำเครื่องหมายลงในช่องที่เว้นไว้ให้ เช่น พฤติกรรมของนักเรียนในการเรียน
2.2.4 แบบมาตรประมาณค่า แบบนี้ใช้กันมากที่สุดในการวิจัยเชิงบรรยาย โดยใช้ตั้งแต่ 3 ระดับขึ้นไป ที่นิยมกันมาก คือ มาตรประมาณค่า 5 ระดับ ของลิงเกิร์ต (Linkert) คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด โดยกำหนดระดับคะแนนเป็น 5 4 3 2 1 ตามลำดับ ซึ่งพบเห็นกันได้ทั่วไป ถ้าต้องการให้คะแนนละเอียดมากขึ้นอาจใช้มากกว่า 5 ระดับได้ ตาไม่ควรเกิน 11 ระดับ ปัญหาที่สำคัญคือ ส่วนใหญ่มักจะมีผู้ตอบปานกลาง นอกจากนี้อาจใช้แบบเสกล
2.2.5 แบบจัดอันดับความสำคัญ แบบนี้จะมีข้อคำถามและตัวเลือกหลายตัวให้เลือก โดยจัดอันดับความสำคัญ เช่น สถานีโทรทัศน์ที่ชอบเรียงตามลำดับ โดนใช้หมายเลข 1 หมายถึง ชอบมากที่สุด
2.3 แบบผสม (Mixed opened – Closed Form) เป็นการนำแบบปลายเปิดและปลายปิดมารวมกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่กว้างขวางขึ้น แม้จะมีผู้ตอบแบบปลายเปิดน้อยก็ใช้ข้อมูลจากการตอบปลายปิดเป็นหลักและใช้ข้อมูลจากแบบปลายเปิดช่วยเสริม
ข้อดีและข้อจำกัดของการใช้แบบสอบถาม
ข้อดี
1. ประหยัดเวลาและเข้าใจง่าย
2. สะดวกในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก
3. ผู้ตอบมีอิสระในการตอบ ลดการเผชิญหน้า
4. ผู้ตอบมีเวลาในการคิด ไตร่ตรอง คำตอบจึงมีความน่าเชื่อถือ
5. ไม่มีการลำเอียงในการสรุปข้อมูล
6. ข้อมูลมีลักษณะเดียวกันทำให้จัดการง่าย วิเคราะห์สะดวก
ข้อจำกัด
1. ใช้ได้กับกลุ่มตัวอย่างที่สามารถอ่านหรือเขียนได้เท่านั้น
2. ขาดความยืดหยุ่นในคำถาม
3. คำตอบที่กำหนดให้อาจไม่ครอบคลุมประเด็นที่ผู้ตอบอยากตอบ
4. ผู้ถามไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ตอบ
3. แบบสำรวจ (//socialscience.igetweb.com/index.php?mo=3&art=91157)
แบบสำรวจ (Checklisits)หรือแบบตรวจสอบรายการ เป็นเครื่องมือที่ใช้กันมากอีกชนิดหนึ่ง โดยปกติจะประกอบด้วยบัญชีรายการสิ่งของหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะให้ผู้ตอบ ตอบในลักษณะให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างที่กำหนดให้ เช่น มี – ไม่มี, ชอบ – ไม่ชอบ
แบบสำรวจนี้ จะช่วยให้ทราบว่ามีสิ่งต่าง ๆ หรือมีการกระทำหรือพฤติกรรมต่างๆ เกิดขึ้นตามรายการที่กำหนดไว้หรือไม่เท่านั้น แต่ไม่ได้ช่วยในการพิจารณาคุณภาพ หรือจำนวนครั้งของการะทำที่เกิดขึ้น
แบบสำรวจมีอยู่หลายลักษณะ (อำนวย เลิศชยันตี, 2533; 137 – 140) ดังเช่น
3.1 แบบสำรวจการกระทำของนักเรียน (Activity Checklist) ในระหว่างการเรียนการสอนนักเรียนย่อมมีกิจกรรมต่างๆในโรงเรียน เช่น กิจกรรมดนตรี กิจกรรมศิลปะ การพักผ่อนหย่อนใจ การอ่านหนังสือในห้องสมุด การเล่นกีฬา และการมีส่วนร่วมในกิจกรรม แสดงถึงการพัฒนาการเกี่ยวกับความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ การพัฒนาความถนัดตามธรรมชาติ ครูผู้สอนอาจวิจัยนักเรียน โดยการสร้างข้อคำถาม เพื่อสำรวจการกระทำของนักเรียน
3.2 แบบสำรวจปัญหา (Problem Checklist) นักเรียนที่มีวัยย่างเข้าวัยรุ่น มักจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพ การเรียน ทางเศรษฐกิจ อาชีพ ดังนั้นการใช้แบบสำรวจปัญหาในแต่ละเรื่อง ก็ย่อมจะให้ประโยชน์ในการแนะแนวเป็นอย่างมาก แบบสำรวจปัญหาจะประกอบด้วยข้อคำถาม ให้นักเรียนขีดข้อความที่ตรงกับปัญหาในตนเอง
3.3 แบบสำรวจบุคลิกภาพ (Personality Inventories) เป็นแบบสำรวจทางด้านการปรับตัวของนักเรียน ข้อคำถามที่เขียนจะเป็นการถามทำนองจิตแพทย์สัมภาษณ์คนไข้ที่เป็นโรคจิต
3.4 แบบวัดการสร้างจินตภาพ (Projective Techniques) เป็นการวัดทางอ้อม โดยที่นักเรียนมีเสรีภาพที่จะตอบตามที่จิตใจของตนเองได้นึกคิด อย่างมีเสรีภาพ การตอบคำถามของนักเรียนเป็นการระบายความรู้สึกนึกคิดในจิตใจของตนเองออกมาเมื่อได้พบสิ่งเร้า ที่เป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกนึกคิดในจิตใจของนักเรียนที่มีปัญหาทางจิตใจ นักเรียนเมื่อได้พบสิ่งเร้าที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมา นักเรียนจะพูดระบายความรู้สึก แล้วผู้วิจัยก็จะตีความหมายจากข้อความที่นักเรียนได้กล่าวออกมา เหตุการณ์ที่กล่าวออกมาคล้ายๆ กับสิ่งที่นักเรียนเคยพบเห็นมาแล้วในอดีต ดังนั้น ตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้าจะเป็นสิ่งไม่ชัดเจน
3.5 แบบสำรวจทัศนคติ (Attitude Scale) เป็นการวัดความรู้สึกนึกคิดในตัวนักเรียนที่จะแสดงพฤติกรรมออกมาถึงท่าทีชอบหรือไม่ชอบต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ลักษณะการวัดอย่างหนึ่งได้แก่ การวัดเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้ตัวผู้วิจัยเข้าไปใกล้ชิดคลุกคลีกับนักเรียนเป็นระยะเวลายาวนาน ก็ย่อมทราบทัศนคติของนักเรียน หรือ อาจใช้แบบวัดที่ประกอบด้วย ข้อคำถามที่เป็นการถามคล้ายๆ กับแบบสำรวจความสนใจ แต่แตกต่างกันตรงที่กำหนดให้ผู้ตอบ ตอบทำนองว่าชอบหรือไม่ชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังเช่น ทัศนคติที่มีต่อบุคคล จะหมายถึงความรู้สึกที่ดีหรือไม่ดีต่อบุคคลนั้น ทัศนคติที่มีต่อสถาบันหมายถึงความรู้สึกที่ชอบหรือไม่ชอบสถาบันนั้น
4. แบบสังเกต (พิสณุ ฟองศรี, 2549; 128 – 130)
ธรรมชาติของข้อมูล (//socialscience.igetweb.com/index.php?mo=3&art=91157)
ข้อมูลที่ได้การสังเกต แบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ คือ
1. เป็นรูปธรรม ข้อมูลเช่นนี้สามารถสังเกตได้โดยตรง เช่น สังเกตจำนวนคนที่เข้าประชุมว่า มีมากน้อยเพียงใด
2. เป็นนามธรรม เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง เช่น ความซื่อสัตย์ ความเมตตากรุณา ความขยัน ฯลฯ
ลักษณะของการสังเกตที่ดี (//socialscience.igetweb.com/index.php?mo=3&art=91157)
การสังเกตที่ดี ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายของการสังเกตให้แน่นอนว่า จะสังเกตอะไร สังเกตใคร ที่ไหน เวลาใด เพื่ออะไร
2. วางแผนการสังเกตไว้ล่วงหน้าและวิเคราะห์สิ่งที่จะสังเกตออกมาเป็นพฤติกรรมหรือองค์ประกอบย่อยๆ ที่สามารถสังเกตได้ง่าย
3. ควรสังเกตโดยที่ผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัว ทั้งนี้ เพราะถ้าผู้ถูกสังเกตรู้ตัวล่วงหน้าว่าจะถูกสังเกตในเรื่องใดก็จะระมัดระวังตัวทำให้การแสดงพฤติกรรมจะไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
4. ควรระวังอย่าให้เกิดการลำเอียงในขณะที่สังเกต เช่นความประทับใจต่อบุคคลที่สังเกต
5. ควรสังเกตซ้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อเป็นการตรวจสอบความแน่ใจ
6. ควรมีการบันทึกการสังเกตทุกครั้ง เพื่อป้องกันการลืม
การสังเกตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (ประวัติ เอราวรรณ์, 2545; 86)
1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) เป็นการสังเกตที่ผู้ที่สังเกตเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือสถานการณ์ที่จะสังเกต ซึ่งเหมาะสำหรับการวิจัยชั้นเรียน เช่น การสังเกตพฤติกรรมการเรียนขณะที่ครูกำลังสอน พฤติกรรมการทำงาน เป็นต้น
2. การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non – Participant Observation) เป็นการสังเกตโดยผู้สังเกตไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ หรืออยู่ภายนอก เช่น การสังเกตพฤติกรรมนักเรียนขณะที่นักเรียนกำลังเล่นอยู่ในสนามเด็กเล่น เป็นต้น
5. แบบสัมภาษณ์ (Interview) (ประวัติ เอราวรรณ์, 2545; 74 - 77)
เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวางในงานวิจัยโดยทั่วไปที่ต้องการให้ข้อมูลในลักษณะเจาะลึกเป็นรายกรณี เพราะการสัมภาษณ์เป็นการสื่อสารสองทางระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ให้สัมภาษณ์ ซึ่งสามารถซักถามเพื่อขยายความในรายละเอียดได้อย่างลึกซึ้งและชัดเจน ในการวิจัยชั้นเรียนเหมาะที่ใช้การสัมภาษณ์กับนักเรียนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติ ความคิดเห็น หรือประเด็นอื่นๆ ที่ครูต้องการข้อมูลที่มีรายละเอียดมากๆ และมีเวลาเพียงพอที่จะดำเนินการได้
ข้อดีของการสัมภาษณ์
1. สามารถเก็บข้อมูลได้กันคนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
2. เป็นการสื่อสารสองทาง ทำให้ผู้วิจัยเข้าใจและตีความข้อมูลได้ง่านขึ้น
3. สามารถซักถามขยายความเพิ่มเติมจนได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ
4. สามารถสร้างความคุ้นเคย ความไว้วางใจและการตะล่อมถามได้ ทั้งนี้จะทำให้ได้ข้อมูลในเชิงลึก
5. ผู้สัมภาษณ์สามารถใช้การสังเกตพฤติกรรมผู้ให้ข้อมูลประกอบการสัมภาษณ์ได้
6. สังคมมิติ (Sociometry) (พิจิตร ทองชั้น, 2544; 16)
การวัดแบบนี้ เป็นการวัดดูความเจริญงอกงามทางสังคมโดยเฉพาะ มีหลายวิธีการ เช่น แบบทายบุคลิกลักษณะ (Guess Who) หรือ แบบสร้างภาพสังคม (Sociogram)
เทคนิคสังคมมิติ เป็นเทคนิคที่ใช้เมื่อต้องการทราบความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนๆ นักเรียนด้วยกันเองในชั้นเรียน ครูจะสร้างสถานการณ์ใดๆขึ้นมาอย่างหนึ่งแล้วให้นักเรียนเป็นผู้ตัดสินว่า ควรจะเลือกใคร, ไปกับใคร, การสร้างแบบสังคมมิติ ครูต้องพยายามให้มีความชัดเจนในเรื่องของการถาม จำนวนคนที่จะเลือก และนักเรียนทุกๆ คนจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมของข้อคำถาม (อำนวย เลิศชยันตี, 2533; 133)
7. การศึกษารายบุคคล (Case Study) (//cddweb.cdd.go.th/tr_di/documentary/tr_dihrddoc009.html)
กรณี เรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งได้มีการรวบรวมมาเสนอให้ทราบข้อเท็จจริงพร้อมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อจะได้ศึกษาอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวิเคราะห์เรื่องราวที่เกิดขึ้น แล้วสรุปแนวทางการตัดสินใจ หรือวิธีแก้ปัญหาที่เห็นว่าดีที่สุด เหมาะสมที่สุดและอำนวยประโยชน์มากกว่าแนวทางหรือวิธีแก้ปัญหาอื่น ๆ






Create Date : 12 สิงหาคม 2552
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 22:31:07 น. 4 comments
Counter : 7040 Pageviews.

 
ให้ประโยชน์กับผมมาก


โดย: เท็น IP: 119.31.107.237 วันที่: 24 มกราคม 2553 เวลา:11:59:20 น.  

 
เคยเป็นลูกศิษย์อาจาร วิเชียร เกตุสิงห์ ตอนเรียนป.โท ที่นิเทศ จุฬา วันนี้หนูนั่งทำการบ้านของป. เอก อยู่ค่ะ จริงๆต้องการ search for
พิจารณาเครื่องมือวิจัย 5 ประเภท (PACIS) คือ
1) เครื่องมือที่เป็นต้นแบบงานวิจัย (Prototype)
2) เครื่องมือวัดลักษณะกลุ่มตัวอย่าง (Attributes of Samples)
3) เครื่องมือประเมินสถานการณ์และบริบท (Context)
4) เครื่องมือประเมินผลกระทบ (Impacts)
5) เครื่องมือทางสถิติ (Statistic)
อาจารย์มีคำอธิบายไหมคะ 1) เครื่องมือที่เป็นต้นแบบงานวิจัย (Prototype) คืออะไร......
ขอบคุณค่ะ


โดย: นภัสสมน นันทปราชญ์ IP: 203.144.144.164 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:31:02 น.  

 
ค่ะ


โดย: กาย IP: 49.48.186.76 วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:17:15:15 น.  

 
ไม่มีเนื้อหาเลย


โดย: แอมมี่ IP: 110.170.202.178 วันที่: 6 กรกฎาคม 2557 เวลา:8:12:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ontny-flint
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




คนเรา..มีตาไว้ดู มึหูไว้ฟัง สมองไว้คิด
มีชีวิตเพื่อเรียนรู้อยู่เพื่อก้าวหน้า ... เพราะไม่ช้าก้อสิ้นสลาย ชีวิตคนเราเกิด มาเพื่อความสำเร็จ มิใช่..เพื่อความล้มเหลว
.......เพราะฝนที่ตกอยู่ทางโน้น หนาวถึงคนทางนี้...ยังอยากได้ยินทุกเรื่องราว....ยังนอนดึกอยู่ใช่ไหม.....ยังสู้ไหวหรือเปล่า......อย่าลืมเล่าสู่กันฟัง
lozocat
บางสิ่งในชีวิตของเรามันผ่านไปอย่างรวดเร็ว ถ้าเราไม่ฉกฉวยช่วงเวลานั้นไว้ มันก็จะผ่านไป โดยที่เราไม่รู้ตัว และถ้าเราไม่เลือกจะเก็บมันไว้ในความทรงจำ สิ่งเหล่านั้นก็คงเลือนหายไป เหมือนกับไม่เคยเกิดขึ้นเลย
เมื่อรักได้ก้าวเข้ามาในชีวิต ทุกคนก็ต้องหวังว่าเราจะต้องอยู่กันแก่เฒ่า... แต่มีหลายคนเคยบอกไว้ว่ารักที่ดีไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันก็ได้ รัก และ ปราถนาดีต่อกันก็เพียงพอแล้ว มันพอจริงหรือเปล่าอันนี้อาจจะไม่ใช่ทุกคน..เพราะเมื่อเรารักแล้วเราก็หวังอยากจะได้รักนั้นตอบ แต่ถ้าไม่ได้หล่ะ...ก็ไม่เป็นไร อย่างน้อย เราก็ได้รู้จักกับคำว่ารัก..ใช่หรือเปล่า??
lozocat
ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา... จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
lozocatความสุขไม่ยั่งยืน...ความรักไม่ยืนยาว
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ontny-flint's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.