If you tremble with indignation at every injustice.Then you are a comrade of mine.
Group Blog
 
All Blogs
 

เทศกาลมหาพรต(Lent)


"เทศกาลมหาพรต" หรือเทศกาลถือศีลอดของชาวคาทอลิกนั้นคืออะไร  หากเราศึกษาตามรากศัพท์ภาษาลาตินจะใช้คำว่า "Quadragesima" ซึ่งแปลว่าวันอาทิตย์แรกของฤดูถือศีลบวชในศาสนา ส่วนในภาษาอังกฤษเรียกเทศกาลมหาพรตคือ "Lent" ซึ่งแปลว่าเทศกาลถือศีลอด ฤดูเข้าพรรษา,ฤดูกินเจ,ฤดูถือบวช  เทศกาลมหาพรต เริ่มตั้งแต่ วันพุธรับเถ้า(Ash Wednesday)  ไปจนถึงช่วงบ่ายของวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ซึ่งกินเวลาประมาณ 6 สัปดาห์ หรือ ประมาณ 7 สัปดาห์ในพระศาสนจักรตะวันออกหรือ 42 วัน โดยจะหักวันอาทิตย์ออกเนื่องจากทุกวันอาทิตย์ถือว่าเป็นวันปัสกาเสมอทำให้เหลือ 36 วัน ดังนั้น จึงต้องบวกวันให้ครบ 40 วัน เทศกาลมหาพรต จึงต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันพุธรับเถ้า ซึ่งจะบวกถึงวันเสาร์ อีก 4 วัน อันเป็นช่วงเวลาแห่งการเตรียมตัวเข้าสู่เทศกาลมหาพรต รวมเป็น 40 วันพอดี เทศกาลมหาพรตมีขึ้นเพื่อเตรียมสมโภชปัสกาหรือวันอีสเตอร์ ซึ่งเป็นวันฉลองที่ยิ่งใหญ่ และสำคัญที่สุดในรอบปีของพระศาสนจักร  ปัสกา เป็นวันฉลองที่พระเยซูฟื้นคืนชีพจากการถูกตรึงบนไม้กางเขน  ส่วนการถือศีล 40 วันของชาวคาทอลิกนั้น ตัวเลข 40 มีความหมาย ตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์ คือ การอดอาหารของพระเยซูเจ้าในทะเลทรายก่อนที่ปฏิบัติภารกิจของพระองค์ ตลอดจนเรื่องราวอื่นๆในประวัติศาสตร์ของชนชาติอิสราเอล ก็มีคือเรื่องของเรือโนอาห์ โดยมีฝนตกติดต่อกัน 40 วัน 40 คืน  หรือ 40 วัน 40 คืน ที่โมเสสจำศีลอดอาหารบนภูเขาซีนาย หรือ 40 วัน ที่ประกาศกเอลียาห์เดินทางไปยังภูเขาโฮเร็บ 40 ปี (เอลียาห์เป็นประกาศกองค์แรก ส่วนโมเสสเป็นเสมือนผู้ก่อตั้งชาติอิสราเอลและเป็นผู้นำทาสอิยิปต์อบพยบสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญาซึ่งคืออิสราเอลในปัจจุบัน)ของการเดินทางของประชากรอิสราเอลในทะเลทรายก่อนเข้าสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญา และ 40 วัน ของการที่ประกาศกโยนาห์ประกาศการกลับใจแก่ชาวนินะเวห์ ดังนั้น เมื่อมีพัฒนาการเกี่ยวกับการจำศีลในเทศกาลมหาพรต พระศาสนจักรจึงให้ความสำคัญกับเลข 40 เพื่อให้คริสตชนได้ดำเนินชีวิตร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูเจ้าในพระทรมาน และกลับคืนชีพพร้อมกับพระองค์ ส่วนทางอิสลาม เดือนรอมดอนเป็นเดือนศีลอดซึ่งมีระยะเวลา 29-30 วัน ชาวมุสลิมจะงดกินและดื่มตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน




 

Create Date : 15 มีนาคม 2552    
Last Update : 15 มีนาคม 2552 11:38:36 น.
Counter : 1971 Pageviews.  

เทศกาลฉลองพระเยซูดำ ที่ประเทศฟิลิปปินส์(Black Nazarene Procession Philippine)

งานในวันที่ 9 มกราคม 2552  เทศการร่วมขบวนแห่พระเยซูดำ(Black Nazarene Procession)  เป็นเทศกาลที่เก่าแก่และเป็นข่าวโด่งดังทั่วโลกโดยจัดที่สนามกีฬาตรงข้ามสวนสาธารณะ Rizal Park ทุกปี  ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 402 แล้ว  ประวัติพระเยซูดำโดยละเอียดท่านสามารถหาอ่านได้จากข้อมูลเก่า ๆครับเพราะเขียนเรื่ององค์พระเยซูดำทุกปี และตามที่ผมได้เรียนรับใช้ท่านผู้อ่านไปว่า 2 สิ่งเท่านั้นในโลกที่จะทำให้ผู้คนออกมาเดินทางบนท้องถนนอย่างมืดฟ้ามั่วดิน คือ 1. ศาสนา 2.การเมือง  มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่ยังมีอีกสิ่งหนึ่ง  นั่นคือพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะสามารถทำให้ประสกนิกรมากมายออกสู่ท้องถนนเพื่อชื่นชมพระบารมีของพระองค์ท่าน


ชาวฟิลิปปินส์ที่นับถือศาสนาคาทอลิกผู้มีจิตศรัทธาหลายพันคนร่วมพิธีมิซาก่อนวันเฉลิมฉลองในขบวนแห่พระรูปพระเยซูดำ(Black Nazarene) ซึ่งมีการฉลองทุกปีในวันที่ 9 ม.ค. ประชาชนล้นหลามไปทั่วเมืองเกียโป(Quiapo)ในกรุงมะนิลาประเทศฟิลิปปินส์ และจะมีพิธีเฝ้าศีลมหาสนิทตลอดคืน(เป็นการสวด)

พระรูปพระเยซูดำที่ประดิษฐานภายในโบสถ์เมืองเกียโป ซึ่งเข้ามาและผ่านการเฉลิมฉลองมาเป็นปีที่ 402 ทุกปีจะมีคนมาร่วมพิธีฉลองเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่าแสนคน เนื่องจากชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพส่วนตัวแบบเล็ก ๆ น้อย ๆ และส่วนใหญ่คนรวยกระจุก คนจนกระจาย ผู้คนมีจิตศรัธทาในศาสนาอย่างเป็นชีวิตจิตใจ

โบสถ์เกียโป(Quiapo) อังกฤษสำเนียงภาษาฟิลิปินส์แปลกครับ Quiapo น่าจะอ่าน คุยอาโปแต่กับอ่านเกียโป คือ ตัว Q จะออกเสียงเป็น ก.ไก่ ครับสงสัยจะมาจากสำเนียงสเปน โบสถ์เกียโปเก่าแก่พอ ๆ กับพระเยซูดำครับ

ด้านซ้ายมือของโบสถ์เกียโปจะพบรูปปั้นพระหัตถ์ของพระเยซู ซึ่งชาวคริสต์เรียกว่ารอยแผลศักดิ์สิทธิ์แห่งพระเยซูเจ้า (The Sacred Stigmata of Our Lord Jesus Christ) ซึ่งครั้งหนึ่งนักบุญโทมัธ ศิษย์ของพระเยซูได้กล่าวต่อหน้าสาวกของพระเยซูว่า "ข้าจะไม่เชื่อว่าพระเยซูจะพื้นคืนชีพจนกว่าจะได้เอานิ้วแยงรอยแผลที่พระหัตถ์" พระเยซูจึงปรากฎตัวต่อหน้านักบุญโทมัธและยื่นพระหัตถ์ให้นักบุญโทมัธ

ใช้สนามฟุตบอลตรงข้ามรีซัลพาร์คเป็นสถานที่ทำมิซาในช่วงเช้า ผู้คนเริ่มทยอยมาบางคนใช้วิธีการกางเต้นท์ตั้งแต่กลางคืนเพื่อจะได้ชื่นชมและได้พื้นที่ ๆ สามารถเห็นและสัมผัสพระเยซูดำ(Black Nazarene) สักครั้งหนึ่งในชีวิต คนออกมามืดฟ้ามัวดิน ใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจและอาสาสมัครในการรักษาความปลอดภัยไม่ต่ำกว่า 2,000 คนทุกปี

อย่างที่เคยเรียนท่านผู้อ่านว่า การที่จะให้คนเป็นแสนคนออกมาทำกิจกรรมอะไรร่วมกันบางอย่างนั้นหากไม่ใช่กิจกรรมทางศาสนา การเมือง ก็มีเพียงในหลวงของชาวไทยเท่านั้นที่เป็นศูนย์รวมของคนไทยทั้งชาติ และประชากรเรือนแสนออกมาเพื่อชื่นชมพระบารมี

คริสตสานิกชนชาวมะนิลา ต่างสร้างรูปเหมือนพระเยซูดำเข้าร่วมขบวนแห่กันอย่างคึกคักและให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้อย่างมาก ทุกคน ทุกชุมชน หมู่บ้านต่างมาด้วยความศรัทธา ผู้คนมากันมากมายจริง ๆ ทำให้เห็นถึงความเชื่อในพระเจ้าของชาวฟิลิปปินส์

ชาวบ้านย่านต่าง ๆ ได้ตกแต่งและจัดทำรูปพระเยซูดำของแต่ละเขตมาเพื่อร่วมขบวนแห่พระเยซูดำโดยแบ่งเป็นย่าน ๆ ดูได้จากเสื้อที่จัดทำมาและสกีนด้านหลังถึงถิ่นที่มา ทุกคนจะใส่เสื้อสีเดียวกับเสื้อคลุมของพระเยซูที่ถูกกลุ่มทหารโรมันถอดเพื่อนำพระเยซูไปตรึงกางเขน

หน่วยพยาบาลเตรียมพร้อมสำหรับคนที่เป็นลม หรือเพื่อรองรับเหตการณ์ที่จะเป็นอุบัติเหตุต่าง ๆ ซึ่งหากท่านใดได้อ่านข่าวจะพบว่าเทศกาลดังกล่าวมีข่าวเหยียบกันเสียชีวิตทุกปี แต่ผมกลับไม่กลัวเหยียบกันแต่กลัวการก่อการร้ายมากกว่า

สื่อมวลชนฟิลิปปินส์และทั่วโลกให้ความสนใจเทศกาลสำคัญนี้อย่างมากสถานีโทรทัศน์แทบทุกช่องของฟิลิปปินส์ สถานีวิทยุรายงานสดไปทั่วประเทศ ตามที่สอบถามเพื่อนชาวฟิลิปปินส์บอกว่าเนื่องจากรองประเทศนาธิบดีเป็นคนรุ่นใหม่จึงนำสื่อมวลชนมาถ่ายทอดสร้างชื่อเสียงให้กับเทศกาล Black Nazarene ไปทั่วโลก

เทศกาลนี้เป็นที่สนใจของประชาชนทุกหมู่เหล่า ขนาดมีถ่ายทอดสด รายงานสดจากสถานที่ และถ่ายทอดทางวิทยุ ขนาดนั่ง Taxi ยังเปิดฟังและรู้ความเคลื่อนไหวของขบวนแห่ตลอดว่าถึงไหนแล้ว(ขบวนแห่เดินทางได้ช้ามากเพราะผู้คนเยอะ)

พิธีมิซาเริ่มแล้วผู้คนเรือนหมื่นร่วมพิธีมิซา องค์ประธานในพิธีน่าจะเป็นบิชอฟแห่งมะนิลา เทียบเท่าพระสังฆราชอัครสังคมณฑลของบ้านเรา

พิธีมิซาเริ่ม เป็นสหบูชามิซาที่มีคนร่วมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เทียบเท่ากับพระสันตปาปาทำมิซาที่กรุงวาติกัน กรุงโรมเลยก็ว่าได้ พิธีมิซามีการรับศีลตามปกติใช้คุณพ่อ(บาทหลวง) ทำมิซาและแจกศีลไม่ต่ำกว่า 20 องค์ ชาวฟิลิปปินส์นี่ศรัทธาจริง ๆ ในรูปขบวนแห่จะเริ่มหลังมิซาเสร็จสิ้น

ภายหลังมิซาเสร็จสิ้น ขบวนแห่ก็เริ่มแห่ไปตามจุดต่าง ๆ รอบเมือง ขบวนเดินทางได้ช้ามากเพราะคนเยอะ และแต่ละคนมุ่งเข้าไปให้ถึงพระรูป Black Nazarene เพื่อนำผ้าไปสัมผัสกับพระรูป ต้องมีคณะกรรมการโบสถ์(หากเป็นที่เมืองไทยเรียกสภาวัด) คอยป้องกันไม่ให้คนใดคนหนึ่งห้อยโหนกางเขนนานเกินไป

ผู้คนแน่นไปหมดในย่ายริซัลปาร์ก เต็มไปทุกถนนหนทางจนต้องปิดถนนทุกคนมีจิตใจเดียวกันเมื่อมีคนจำนวนมาก ๆ ย่อมต้องมี 2 สิ่ง คือ นักการเมืองหาเสียง กับ ธุรกิจหากิน ซึ่งก็ไม่เว้นแม้แต่งานแห่พระเยซูดำ ที่เห็นตึกสูง ๆ นั้นคือมินิลาโฮเตลโรงแรมชื่อดังและเก่าแก่ของกรุงมะนิลา

ผู้คนจำนวนแสนเริ่มออกมาร่วมขบวนแห่ และพยายามที่จะเบียดเสียดเข้าไปเพื่อให้ได้สัมผัสพระรูปพระเยซูดำ โดยการใช้ผ้าไปสัมผัสพระรูปโดยเชื่อกันว่าเป็นสิริมงคล ศรัทธาจริงต้องถอดรองเท้าด้วย ดังนั้นจะเห็นผู้ร่วมขบวนแบบใกล้ชิดจะเป็นหนุ่ม ๆ ส่วนสาว ๆ กับแม่บ้านก็เชียร์อยู่ข้าง ๆทาง

ลูกเล็กเด็กแดงก็มาร่วมงาน ชาวคาทอลิกส่วนใหญ่จะปลูกฝังให้เด็กมีความเชื่อทางศาสนาเชื่อในพระเจ้า เรียนคำสอน(หลักศาสนา) หัดร้องเพลงขับถวายพระเจ้าตั้งแต่เด็ก ๆ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่พ่อแม่มักจะพาลูกเด็กเล็กแดงไปร่วมเทศกาลสำคัญดังกล่าว มองอีกแง่หนึ่งก็อาจจะอันตรายแต่อย่างว่าการเมืองอย่าง ศาสนาอย่าง เค้าว่าต้องละไว้แบบว่าเข้าเส้นเลือด

เป็นเรื่องปกติสำหรับเทศกาลแห่พระเยซูดำที่จะเห็นคนเป็นลม ขนาดหนุ่ม ๆ ยังแย่ เนื่องจากทุกคนมุ่งมั่นที่จะเข้าสัมผัสพระรูปพระเยซูดำ เมื่อคนเบียดเสียดกันอ๊อกซิเจนก็น้อย โอกาสเป็นลมก็ค่อนข้างสูง จะสังเกตได้ว่าทุกคนถอดรองเท้าเหลือแต่เท้าเปล่าเข้าร่วมงาน ลอยขูดขีดที่เกิดจากเชื่อกที่ใช้ลากพระรูป หรือเล็บมือของคนข้างเคียงเป็นเรื่องปกติ

วันรุ่งขึ้นหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ TV รายการวิทยุ ยังคงมีข่าวเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ ในรูปเป็นหนังสือพิมพ์ Manila Bulletin หนังสือพิมพ์เก่าแก่ 108 ปี เป็นหนังสือพิมพ์ชื่อดังของฟิลิปปินส์

ขบวนแห่เริ่มตั้งแต่เช้าตรู่และแห่กันข้ามวันข้ามคืน อย่างกับฉลองสงกานต์บ้านเรายังไงยังงั้น หากไม่อยากร่วมขบวนจนเย็นก็ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวให้เที่ยวชมในมะนิลาอีกมากมาก เช่น ริซัล พาร์ค,มะนิลาเบย์,อินทรามูรอส,หรือวังมะพร้าว(ติดตามอ่านได้ใน Group เที่ยวโลกเพื่อพัฒนาไทย)




 

Create Date : 08 มีนาคม 2552    
Last Update : 12 มีนาคม 2552 1:38:04 น.
Counter : 6715 Pageviews.  

โบสถ์ประจำเมืองมะนิลา(Manila Custodian Church)


โบสถ์แห่งเมืองมะนิลาอยู่ย่านอินทรามูรอส กลางกรุงมะนิลา(Intramuros)  สร้างตั้งแต่สมัยที่ฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมของสเปนเมื่อปี ค.ศ. 1579 โดยพระประสงค์ของ พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13  ในการสร้างครั้งแรกใช้ไม้ ไม้ไผ่และจากเป็นวัสดุ  คล้าย ๆ กับการสร้างวัดแพร่หนามแดงในบ้านเรายุคแรก ๆ โบสถ์แห่งเมืองมะนิลานี้มีอายุเก่าแก่กว่า 400 ปีผ่านอะไรมามากมายกว่าจะมาตั้งตระหง่านเช่นปัจจุบันทั้งถูกเผา ไฟไหม้ แผ่นดินไหว และการทิ้งระเบิดช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โบสถ์ในที่ต่าง ๆ ของแต่ละที่เหมือนประวัติของเมือง  โบสถ์ผ่านอะไรมาเยอะก็เปรียบเหมือนเมืองผ่านอะไรมาเยอะ  แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ชาวมะนิลาอุ่นใจคือพระผู้เป็นเจ้าทรงประทานพรแด่ชาวมะนิลาให้ผ่านเรื่องร้าย ๆ มาได้จนปัจจุบัน  เพราะชาวมะนิลามีความเชื่อที่มั่นคงและมองความเจ็บปวดเป็นสิ่งที่พระเจ้าทดลองใจ  ดั่งจะเห็นความศรัทธาได้ในงานเทศการต่าง ๆ ทางศาสนาเช่น เทศกาลแห่พระเยซูดำ(Black Nazarene) เป็นต้น

 


The First Cathedral
1581 - 1583
As Spain firmly established herself in the new colony through the succeeding years, so did the Church which witnessed the creation of the Diocese of Manila. On February 6, 1579 , Pope Gregory XIII issued in Rome the Papal Bull establishing the Bishopric or the Diocese of Manila, suffragan to the Archbishopric of Mexico. (A copy of this Bull is kept at the Archdiocesan Archives of Manila). The discrepancy as to the exact year of creation of the diocese—whether 1578, as indicated in the copy of the bull, or 1579—arose because in he late 15 th century, the Julian system of reckoning days within the calendar was questioned until the Gregorian calendar was adopted. The church of Manila was raised to the rank of cathedral under the title of “Immaculate Conception of the Blessed Virgin Mary.” The cathedral was to be under a bishop who would look after the appropriate enlargement of its building and restoration into a cathedral church.
In the same year, Fray Domingo de Salazar, a Dominican religious from the Convent of San Esteban in Salamanca , Spain , was presented by King Philip II of Spain to the Pope for the position of Bishop of the Diocese of Manila. A year after, in May of 1580, he left for his new assignment by way of Mexico , bringing with him thirty fellow Dominicans, many of whom died or fell ill during and after the voyage to Mexico . Only one co-religious and six other secular priests were able to accompany him to Manila where he would reign as first bishop of the diocese.
Meanwhile, the Spanish monarchy was making preparations for the construction of the new cathedral in Manila . On May 13, 1579 , a Royal Cedula from the Spanish king mandated the governor general of the Philippines to construct a moderately ample cathedral on a convenient site, the expenses of which were to be divided among the natives, Royal Treasury, and the encomenderos. Another Royal Cedula of the same date ordered the Casa de Contratacion or Office of Contracts and Agreements to give the city of Manila 15 ducats, worth 187,000 maravedis, intended for ornaments, chalices, and other essentials which the cathedral would require. On May 22, 1579 , part of the tithes belonging to the king during a period of ten years was given for the construction of the Manila Cathedral. With such amount and support, the construction of the cathedral began. This support from the monarchy continued until the 18 th century when the cathedral, a victim of natural disasters and time, underwent repairs and reconstructions.
Bishop Domingo de Salazar and his surviving companions, the Dominican Fray Cristobal de Salvatierra and six secular priests—Diego Vasquez de Mercado, Martin de Ribera, Francisco de Morales, Geronimo Vasquez, Santiago de Castro, and Francisco de Pareja—left Acapulco on March 29, 1581 aboard the galleon San Martin. They were accompanied by six Franciscan friars under Fr. Antonio de Villanueva, a good number of Augustinians under Fr. Juan Pimentel, and three Jesuits with their rector Fr. Antonio Sedeño. In August of 1581, they finally reached the Ladrones islands, and days after reached Samar and then the Bicol peninsula where the San Martin took refuge in the bay of Ibalon due to very bad weather. From there, Salazar went by land crossing the Bicol area and reached Laguna de Bay after trekking the Sierra Madre mountains. By boat, he finally reached Manila by way of the river Pasig on September 17, 1581 .
On September 21, 1581 , with full pontifical and royal authority, Bishop Salazar created the act to erect and found the new Cathedral of Manila under the advocation of the Immaculate Conception, the original titular patroness of the old parochial church. He then proceeded to build a cathedral to replace the old parish church.
The first Cathedral of Manila was constructed by Fray Bishop Domingo de Salazar out of wood, bamboo, and nipa—materials which were used in all houses and other basic community services in the city. It was on December 21, 1581 that the parish church of Manila was raised formally into a cathedral.




 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 11 มีนาคม 2552 20:58:38 น.
Counter : 2556 Pageviews.  

โบสถ์เซนต์ดอมินิค (Sao Domingos Church)


อีกโบสถ์หนึ่งที่ประทับใจผมและค่อนข้างสวยงามคือโบสถ์เซนต์ดอมินิค ที่มาเก๊าตั้งอยู่ย่านการค้าเซนาโด้สแควร์ถนนซึ่งปูกระเบื้องสวยงาม โบสถ์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1590 และได้รับการยกย่องว่าเป็นโบสถ์ที่มีศิลปกรรมทางศาสนาที่งดงามที่สุด คือมีลักษณะการผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลและบารอค    พูดให้ดูเป็นหลักวิชาการหน่อยคำว่าโคโลเนียลสไตล์ (Colonial Style) นั้นเป็นสไตล์ของชาติมหาอำนาจสมัยก่อนเช่น  อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส ฮอลันดา ผสมผสานกับประเทศที่ตนเข้าไปยึดครอง(เช่น ที่มาเก๊า ฮ่องกง อินเดีย มะละกา และที่ลาว เวียดนาม เป็นต้น) ส่วน บารอค (Baroque Art)นั้นเป็นสไตล์อิตาลี   คนสมัยก่อนมีความละเมียด ละไมนักรู้จักผสมผสานศิลปะในการสร้างโบสถ์ วิหาร  

 


สายรถเมล์มาเก๊าที่ผ่านย่านเซนาโด้: 2, 5, 7, 8, 9, 9A, 12, 16, 22, 25

 



 


ประวัติ นักบุญดอมินิก ซาวีโอ หรือ ดอมินิโก ซาวีโอ

ชีวิตของดอมินิกเป็นชีวิตที่สั้น และเรียบง่ายด้วยอายุเพียง 15 ปี ซึ่งเปี่ยมไปด้วยพระพรแห่งพระหรรษทานที่ทำให้พระศาสนจักรมีนักบุญองค์หนึ่ง และให้เยาวชนคริสตชนในปัจจุบันมีตัวอย่างที่ดี เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตเพียงพอแล้วที่จะทำหน้าที่ประจำวันตามสภาพของตนเองอุทิศตนด้วยความรักต่อผู้อื่น ดอมินิกได้รับการแต่งตั้งเป็นนักบุญ ในปีค.ศ. 1957 โดยพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ท่านเป็นบุตรของคนธรรมดา บิดาเป็นช่างตีเหล็ก มารดาเป็นคนเย็บผ้า ท่านเกิดที่รีวาแห่งกิเอรี  ในปี ค.ศ. 1842 ท่านได้รับศีลมหาสนิทครั้งแรกเมื่ออายุ 7 ปี และได้วางแผนชีวิตคริสตชนของท่านว่า “ยอมตายดีกว่าทำบาป” และท่านได้ซื่อสัตย์ต่อความตั้งใจนี้จนตลอดชีวิต

นักบุญยอห์น บอสโก ผู้เขียนชีวประวัติของท่าน เป็นครูของท่านอยู่ 3 ปี นักบุญยอห์น บอสโกได้เล่าถึงดอมินิกว่า เมื่ออายุ 10 ปี ท่านได้รับสิ่งที่ท่านไม่ได้กระทำ และเมื่อครูถามว่าทำไมจึงทำเช่นนั้น ดอมินิกตอบว่า “เพื่อนของผมที่ได้ทำผิด เพราะความผิดนั้นควรถูกไล่ออกจากโรงเรียน ผม ไม่เคยทำผิดคงได้รับการอภัยได้ง่าย”

เมื่ออายุ 12 ปี ดอมินิกได้ขอท่านนักบุญยอห์น บอสโก ไปอยู่ที่ตุริน ร่วมกับเด็กคนอื่น ที่อยู่กับท่าน นักบุญยอห์น บอกสโก พูดว่า “ รู้สึกว่าเธอเป็นเป็นผ้าที่ดีเพื่อที่จะตัดชุดสำหรับพระเจ้า” ดอมินิกตอบว่า “ผมเป็นผ้าก็ขอให้คุณพ่อเป็นช่างเย็บ” ดอมินิกำเคยคุยว่า ถ้าไม่กลายเป็นนักบุญ ชีวิตของผมก็ไม่สำเร็จอะไรเลย แต่จะต้องทำอะไรเพื่อที่จะเป็นนักบุญ นักบุญยอห์นบอกสโก ตอบว่า “ต้องมีความกล้าหาญ มากว่าอายุ” วันหนึ่งท่านยืนอยู่ระหว่าง 2 คน ที่ทะเลาะขว้างหินใส่กัน ดอมินิกบอกว่า หินก้นแรกขว้างใส่ผมก่อน ท่านมีความตั้งใจอยากเป็นพระสงฆ์ แม้ว่าจะรู้ว่าต้องตายในเร็ว ๆ นี้  ดอมินิกเป็นเด็กที่ร่างกายอ่อนแอ ต้องออกจากบ้านของนักบุญ ยอห์น บอสโกกลับไปยังบ้านเกิดของท่านที่รีวาแห่งกีเอรี เมื่อท่านกล่าวลาเพื่อน ๆ ท่านบอกพวกเขาว่า “พบกันใหม่ในสวรรค์กับพระเจ้า” ท่านนักบุญ ยอห์น บอสโก ได้เห็นภาพนิมิตถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในภายหน้า วันหนึ่งหมอบอกว่า “ดอมินิกหายแล้วไม่ต้องกลัว” เมื่อหมอออกจากห้อง ดอมินิกได้ชวนพ่อของตนให้สวดภาวนาเตรียมตัวตายอย่างดีร่วมกัน หลังจากนั้นท่านได้กล่าวลาพ่อโดยพูดว่า “ลาก่อนพ่อที่รัก คุณพ่อเจ้าวัดมีอะไรอย่างอื่นที่จะบอกผม ผมจำไม่ได้ “คำสุดท้ายที่ท่านกล่าวในวันที่ 9 มีนาคม 1857 คือ โอช่างสวยงามเหลือเกิน ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นมาก่อน
 

 


ดังนั้นในประเทศไทยเราจึงเห็น ร.ร.เซนต์ดอมินิก อยู่ใกล้กับ ร.ร.ดอนบอสโก  พออ่านประวัติของนักบุญดอมินิกแล้วหลายท่านคงถึงบ้างอ้อ

 



ด้านหน้าโบสถ์บรรยากาศโรแมนติกมากครับ การให้แสงไฟสวยงามมากผนวกกับย่านเซนาโด้สแควร์ แค่ยืนอยู่หน้าโบสถ์ก็รู้สึกใกล้ชิดพระเจ้ายิ่งหากคนที่ยืนอยู่ข้าง ๆ มีใจไปในทางเดียวกันด้วยแล้ว โอ้! สวรรค์กลางดิน

ภายในโบสถ์ถึงแม้จะไม่ใหญ่โตเท่ากับ โบสถ์ชื่อดังในสถานที่ต่าง ๆ ของโลก แต่หากมีความเชื่อและความศรัทธาแล้ว โบสถ์เล็กหรือใหญ่นั้นไม่สำคัญ สำคัญที่เรามีใจใกล้ชิดพระองค์หรือไม่เท่านั้น




 

Create Date : 03 มกราคม 2552    
Last Update : 3 มกราคม 2552 15:52:48 น.
Counter : 2067 Pageviews.  

เกิดก็คาทอลิก ตายก็เป็นคาทอลิก

Free TextEditor

ผมเกิดในครอบครัวคาทอลิก ทั้งบิดา มารดาเป็นคาทอลิก  ปู่ ย่า ตา ยาย หรือสูงไปกว่านั้นเท่าที่ทราบก็เป็นคาทอลิก  พูดง่าย ๆ คือบรรพบุรุษเป็นคาทอลิก   ตั้งแต่วัยเด็กชาวคาทอลิกจะต้องให้ลูกหลานเรียนคำสอน(บทเรียนทางศาสนา)  พอโตขึ้นมาก็ศึกษาด้านศาสนา  ค้นคว้าขอมูลทั้งของไทย และต่างประเทศ  พยายามเดินทางในทุกที่ทั่วโลกที่มีสถานที่สำคัญทางศาสนา  ยิ่งเดินทางยิ่งค้นคว้ายิ่งสนุก และรู้สึกใกล้ชิดพระเจ้ายิ่งขึ้น  จึงนำเรื่องราวต่าง ๆ ที่มาจากการค้นคว้า  ศึกษาหรือเดินทางไปพบเห็นมาบันทึกไว้เพื่อเป็นวิทยาทาน


“จงระวังไว้ให้ดี อย่าปล่อยใจของท่านให้หมกมุ่นอยู่ในความสนุกสนานรื่นเริง  ความเมามายและความกังวลถึงชีวิตนี้ มิฉะนั้น วันนั้นจะมาถึงท่านอย่างฉับพลัน เหมือนบ่วงแร้ว เพราะวันนั้นจะลงมาเหนือทุกคนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน ท่านทั้งหลายจงตื่นเฝ้าอธิฐานภาวนาอยู่ตลอดเวลาเถิด  เพื่อท่านจะมีกำลังหนีพ้นเหตุการณ์ทั้งปวงที่เกิดขึ้นนี้ไปยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์บุตรแห่งมนุษย์ได้”


(ลูกา 21:34)





 

Create Date : 01 มกราคม 2552    
Last Update : 1 มกราคม 2552 3:29:44 น.
Counter : 645 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

People_Trip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




 


If you tremble with indignation at every injustice, then you are a comrade of mine. "ถ้าคุณตัวสั่นเทาด้วยความเดือดดาลทุกครั้งที่เห็นความอยุติธรรม ถ้าเช่นนั้นคุณคือสหายของเรา"






Free TextEditor
Friends' blogs
[Add People_Trip's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.