เกลียดจริง ๆ คนไม่จริงใจ
 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

เมื่อศึกษาบทที่ 4 แล้ว ผู้เรียนสามารถ
1. อธิบายความหมายของการสื่อสารข้อมูลได้
2. อธิบายลักษระของสัญญาณข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารได้
3. อธิบายวิธีการรับ - ส่งข้อมูลได้
4. อธิบายรูปแบบของการสื่อสารข้อมูลได้
5. อธิบายองค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลได้
6. อธิบายอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลชนิดต่าง ๆ ได้




 

Create Date : 11 มิถุนายน 2552    
Last Update : 11 มิถุนายน 2552 15:20:44 น.
Counter : 2586 Pageviews.  

1. การสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน



องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล


1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น


ทิศทางการสื่อสารข้อมูล

ในการติดต่อสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่งโดยผ่านตัวกลางนั้น สามารถแบ่งทิศทางการสื่อสารของข้อมูลได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. แบบทิศทางเดียว (Simplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทาง โดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้
2. แบบกึ่งสองทิศทาง (Half duplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ 2 ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น
3. แบบสองทิศทาง (Full duplex) เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบโทรศัพท์ทั่ว ๆ ไป



แบบฝึกหัด
1.1. การสื่อสารข้อมูล คอมพิวเตอร์ คืออะไร
1.2. Protocal คืออะไร




 

Create Date : 11 มิถุนายน 2552    
Last Update : 12 มิถุนายน 2552 10:18:54 น.
Counter : 2060 Pageviews.  

2. สัญญาณข้อมูล

1. ชนิดของสัญญาณข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

สัญญาณอนาลอก (Analog Signal)

หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuouse Data) มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป กล่าวคือต้องแปรผันตามเวลา โดยทั่วไปคือสัญญาณที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ เช่น แรงดันของน้ำ ค่าของอุณหภูมิ หรือความเร็วของรถยนต์ เป็นต้น



สัญญาณดิจิตัล (Digital Signal)

หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) มีขนาดของสัญญาณคงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณเป็นแบบทันที ทันใด กล่าวคือ ไม่แปรผันตามเวลา โดยทั่วไปคือสัญญาณที่มนุษย์ไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น สัญญาณไฟฟ้า เป็นต้น





2. การส่งสัญญาณข้อมูล

การส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การส่งแบบขนาน และการส่งแบบอนุกรม

การส่งแบบขนาน (parallel transmission)
คือการส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา โดยการส่งจะรวมบิต 0 และ 1 หลาย ๆ บิตเข้าเป็นกลุ่มจำนวน n บิต ผู้ส่งส่งครั้งละ n บิต ผู้รับจะรับครั้งละ n บิตเช่นกัน ซึ่งจะคล้ายกับเวลาที่เราพูดคุยเราจะพูดเป็นคำ ๆ ไม่พูดทีละตัวอักษร
กลไกการส่งข้อมูลแบบขนานใช้หลักการง่าย ๆ เมื่อส่งครั้งละ n บิต ต้องใ้ช้สาย n เส้น แต่ละบิตมีสายของตนเอง ในการส่งแต่ละครั้งทุกเส้นต้องใช้สัญญาณนาฬิกาอันเดียวกัน ทำให้สามารถส่งออกไปยังอุปกรณ์อื่นพร้อมกันได้





รูปแสดงการส่งข้อมูลแบบขนาน โดยให้ n=8 โดยทั่วไปแล้วปลายของสายทั้ง 2 ข้างจะถูกต่อด้วยคอนเน็กเตอร์ด้านละ 1 ตัว ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบขนานคือ ความเร็ว เพราะส่งข้อมูลได้ครั้งละ n บิต ดังนั้น ความเร็วจึงเป็น n เท่าของการส่งแบบอนุกรม แต่ข้อเสียที่สำคัญคือ ค่าใช้จ่าย ทั้งนี้เพราะต้องใช้สายจำนวน n เส้น
ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบขนาน เช่น การส่งข้อมูลภายในระบบบัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ (printer) เป็นต้น


การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (serial transmission)

จะใช้วิธีการส่งทีละ 1 บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้ดูเหมือนว่าบิตต่าง ๆ เรียงต่อเนื่องกันไป จากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง ดังรูป




ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม คือการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียง 1 ช่อง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลง แต่ข้อเสียคือ ความเร็วของการส่งที่ต่ำ ตัวอย่างของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม เช่น โมเด็มจะใช้การส่งแบบอนุกรมเนื่องจากในสัญญาณโทรศัพท์มีสายสัญญาณเส้นเดียว และอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน
การส่งข้อมูลแบบอนุกรม แบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
1. การส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส (asynchronous transmission) เป็นการส่งข้อมูลที่ผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกัน แต่ข้อมูลที่รับต้องถูกแปลตามรูปแบบที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน เนื่องจากไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันทำให้ผู้รับไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อใดจะมีข้อมูลส่งมาให้ ดังนั้นผู้ส่งจึงจำเป็นต้องแจ้งผู้รับให้ทราบว่าจะมีการส่งข้อมูลมาให้โดยการเพิ่มบิตพิเศษเข้ามาอีกหนึ่งบิต เอาไว้ก่อนหน้าบิตข้อมูล เรียกว่า บิตเริ่ม (start bit) โดยทั่วไปมักใช้บิต 0 และเพื่อให้ผู้รับทราบจุดสิ้นสุดของข้อมูลจึงต้องมีการเพิ่มบิตพิเศษอีกหนึ่งบิตเรียกว่าบิตจบ (stop bit) มักใช้บิต 1 นอกจากนี้แล้วการส่งข้อมูลแต่ละกลุ่มต้องมีช่องว่างระหว่างกลุ่ม โดยช่องว่างระหว่างไบต์อาจใช้วิธีปล่อยให้ช่องสัญญาณว่าง หรืออาจใช้กลุ่มของบิตพิเศษที่มีบิตจบก็ได้ รูปต่อไปนี้แสดงการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส ให้บิตเริ่มเป็นบิต 0 บิตจบเป็นบิต 1 และให้ช่องว่างแทนไม่มีการส่งข้อมูล (สายว่าง)


ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส มี 2 ประการ คือ ค่าใช้จ่ายถูกและมีประสิทธิภาพ การส่งข้อมูลแบบนี้จะนำไปใช้ในการสื่อสารที่ต้องการใช้ความเร็วไม่สูงนัก ตัวอย่างเช่น การติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องปลายทาง (terminal) ที่โดยธรรมชาติแล้วเป็นการสื่อสารแบบอะซิงโครนัส เพราะผู้ใช้จะพิมพ์ทีละ 1 ตัวอักษรจากเครื่องปลายทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่ต้องใช้ความเร็วสูงในการติดต่อสื่อสาร
2. การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission) เป็นการส่งบิต 0 และ 1 ที่ต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีการแบ่งแยก ผู้รับต้องแยกบิตเหล่านี้ออกมาเป็นไบต์ หรือเป็นตัวอักษรเอง

จากภาพแสดงการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส ผู้ส่งทำการส่งบิตติดต่อกันยาว ๆ ถ้าผู้ส่งต้องการแบ่งช่วงกลุ่มข้อมูลก็ส่งกลุ่มบิต 0 หรือ 1 เพื่อแสดงสถานะว่าง เมื่อแต่บิตมาถึงผู้รับ ผู้ัรับจะนับจำนวนบิตแล้วจับกลุ่มของบิตให้เป็นไบต์ที่มี 8 บิต
การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบอะซิงโครนัสมาก และทำให้มีการใช้ความสามารถของสายสื่อสารได้เกือบทั้งหมด ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส คือความเร็วในการส่งข้อมูล ทั้งนี้เพราะไม่มีบิตพิเศษหรือช่องว่างที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้เมื่อถึงผู้รับ จึงทำให้ความเร็วของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสเร็วกว่าแบบอะซิงโครนัส ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำไปใช้งานที่ต้องการความเร็วสูง เช่น การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์

ที่มา //www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer(10)/network/net_datacom3.htm



แบบฝึกหัด
2.1. อธิบายวิธีการส่งข้อมูลแบบขนาน และแบบอนุกรม มาพอเข้าใจ
2.2. อธิบายลักษณะของสัญญาญดิจิทัลและอนาล๊อก




 

Create Date : 11 มิถุนายน 2552    
Last Update : 12 มิถุนายน 2552 10:20:29 น.
Counter : 7347 Pageviews.  

3. สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล

เป็นตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และอุปกรณ์ที่ยอมให้ข่าวสารข้อมูลเดินทางผ่านจากผู้ส่งไปสู่ผู้รับ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในด้านของปริมาณข้อมูลที่สื่อกลางนั้นๆ สามารถนำผ่านไปได้ในเวลาขณะใดขณะหนึ่ง การวัดปริมาณหรือความจุในการนำข้อมูลหรือที่เรียกกันว่า แบนด์วิดธ์ (bandwidth) มีหน่วยเป็นจำนวน บิต ข้อมูลต่อวินาที (bits per second : bps) ลักษณะของตัวกลางต่างๆ มีดังต่อไปนี้

1. สื่อกลางประเภทมีสาย
- สายคู่บิดเกลียว (twisted pair)
- สายโคแอกเชียล (coaxial)
- เส้นใยนำแสง (fiber optic)
2. สื่อกลางประเภทไร้สาย
- ไมโครเวฟ (micro wave)
- ดาวเทียม (satellite)


สัญญาณทางสาย


1. สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว ทั้งนี้เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับความหนาของสายด้วย กล่าวคือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึงร้อยเมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี จึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น

(ก) สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP)
เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยลวดถักชั้นนอกที่หนาอีกชั้นเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (นิยมนำมาใช้เป็นสายโทรศัพท์)


(ข) สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP)
เป็นสายคู่บิดเกลียวมีฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้นทำให้สะดวกในการโค้งงอแต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก แต่ก็มีราคาต่ำกว่า จึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย ตัวอย่างของสายสายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวนที่เห็นในชีวิตประจำวันคือ สายโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ในบ้าน

2. สายโคแอกเชียล (coaxial) เป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อจากเสาอากาศ สายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทัล และชนิด 75 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อก สายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปีย เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก ลวดทองแดงที่ถักเป็นเปียนี้เองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมาก และนิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณแอนะล็อกเชื่องโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน (นิยมนำมาใช้เป็นสายเสาอากาศโทรทัศน์)


3. เส้นใยนำแสง (fiber optic) มีแกนกลางของสายซึ่งประกอบด้วยเส้นใยแก้ว หรือพลาสติกขนาดเล็กหลายๆ เส้นอยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็ดเท่าเส้นผม และภายในกลวง และเส้นใยเหล่านั้นได้รับการห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่ง ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวน การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าในการส่ง แต่การทำงานของสื่อกลางชนิดนี้จะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้น และอาศัยหลักการหักเหของแสง โดยใช้ใยแก้วชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง การให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้ว สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสง กับระบบอีเธอร์เน็ตจะใช้ได้ด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิต และเนื่องจากความสามรถในการส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นสูง ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร เสียง ภาพกราฟิก หรือวิดีทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังมีความปลอดภัยในการส่งสูง แต่อย่างไรก็มีข้อเสียเนื่องจากการบิดงอสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหัก จึงไม่สามาถใช้สื่อกลางนี้ในการเดินทางตามมุมตึกได้ เส้นใยนำแสงมีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด ดังนั้น จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคาร หรือระหว่างเมืองกับเมือง เส้นใยนำแสงจึงถูกนำไปใช้เป็นสายแกนหลัก




สื่อสัญญาณไร้สาย


สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง ส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟ ซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และจะต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรง ไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามขอบโลกที่มีความโค้งได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับ - ส่งข้อมูลเป็นระยะๆ และส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอดๆ ระหว่างสถานีต่อสถานีจนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้าตึกสูงหรือยอดดอย เพื่อหลีกเลี่ยงการชนหากมีสิ่งกีดขวาง เนื่องจากแนวการเดินทางที่เป็นเส้นตรงของสัญญาณ ดังที่กล่าวมาแล้ว การส่งข้อมูลด้วยสื่อกลางชนิดนี้เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลมากๆ และทุรกันดาร


2.ดาวเทียม (satilite) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับ - ส่งไมโครเวฟบนผิวโลก วัตถุประสงค์ในการสร้างดาวเทียมเพื่อเป็นสถานีรับ - ส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ และทวนสัญญาณในแนวโคจรของโลก ในการส่งสัญญาณดาวเทียมจะต้องมีสถานีภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับ และส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้นโลก 22,300 ไมล์ โดยดาวเทียมเหล่านั้น จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก จึงเสมือนกับดาวเทียมนั้นอยู่นิ่งอยู่กับที่ ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียมและการกระจายสัญญาณจากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่างๆ บนผิวโลกเป็นไปอย่างแม่นยำ ดาวเทียมสามารถโคจรอยู่ได้ โดยอาศัยพลังงานที่ได้มาจากการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย ด้วย แผงโซลาร์ (solar panel)


ที่มา //images.google.co.th/imgres?imgurl=//it.benchama.ac.th/ebook/files/picture1/p3.gif&imgrefurl=//it.benchama.ac.th/ebook/files/menu/ls7.htm


แบบฝึกหัด
3.1. สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูลมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
3.2. อธิบายลักษณะของสื่อกลางแบบมีสายว่ามีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง




 

Create Date : 11 มิถุนายน 2552    
Last Update : 12 มิถุนายน 2552 10:21:51 น.
Counter : 32768 Pageviews.  

4. อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย



อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Equipment)

ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์พื้นฐานนอกจากคอมพิวเตอร์ 2 ตัวขึ้นไป แล้วยังต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


เน็ตเวิร์คการ์ด (Network Card)

การ์ดเน็ตเวิร์ก หมายถึง แผงวงจรสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย จะติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ด คือ แปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้
NIC (Network Interface Card) การ์ดเน็ตเวิร์ก หรือการ์ดแลนด์ มีการนำมาใช้งานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ IBM PC นานร่วม 15 ปี มีหน้าที่ติดต่อสื่อสารและรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องเมนเฟรม และ เครื่องไมโคคอมพิวเตอร์ ในอดีตการ์ดเน็ตเวิร์กจะเป็นแบบบัส ISA ซึ่งใช้เสียบลงไปบนสลอต ISA บนเครื่องคอมพิวเตอร์และต้องมานั่งเซตจั๊มเปอร์ของ IRQ. Address เพื่อไม่ให้ไปชนกับอุปกรณ์อื่น ๆ อีกด้วย



บัส ISA ซึ่งปัจจุบันไม่นิยมใช้งานแล้ว จะเห็นว่าที่ด้านหลังมีขั้วเชื่อมต่อแบบ RJ-4,BNC และ Au ขั้วเชื่อมต่อแบบ RJ-4 จะต้องทำงานร่วมกับกล่องฮับ ส่วนขั้วเชื่อมต่อ แบบ BNC ไม่ต้องใช้ฮับร่วมทำงาน เพราะใช้ T-Connector และ Terminator (ตัวปิดหัวท้าย) แทน การ์ดเน็ตเวิร์กจะมีหลายแบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับสลอตบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ISA, PCI, PCMCIA USB Port หรือ Compact Flash



PCI (Peripheral Component Interconnect) เป็นระบบบัสที่ได้รับความนิยมสูงมาก ซึ่งได้เข้า มาแทนบัสแบบ ISA PCI บัสมีอัตราการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 133 เมกกะไบต์ต่อวินาที นอกจากนี้ยังสามารถ กำหนดค่า IRQ,DMA, Memory Address ให้อุปกรณ์และการ์อินเทอร์เฟซอัตโนมัติ เมื่อเสียบการ์ดเน็ตเวิร์ก แบบ PCI ลงไปบนเครื่องแล้ว ส่วนมากจะมองเห็นและใช้งานได้ทันที



PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Association) เป็นการ์ดเสียบขนาดเล็ก เท่ากับบัตรเครดิต เป็นอุปกรณ์ขยายระบบให้คอมพิวเตอร์ Notebook เช่น การ์ดหน่วยความจำ แฟกซ์ โมเด็ม การ์ดเน็ตเวิร์ก หรือ ฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็ก



USB Port (Universal Serial Bus) เป็นพอร์ตเชื่อมต่อแบบใหม่ที่สามารถจะนำอุปกรณ์เข้ามาเชื่อมต่อได้ จำนวนมากถึง 100 กว่าตัว




โมเด็ม (Modem)


โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

Modem มี 3 ชนิดคือ
1. Internal Modem เป็น Card Adapter ที่เสียบเข้าไปใน slot ของคอมพิวเตอร์ โดยมีวงจรพอร์ต อนุกรมของตัวเอง(COM3,COM4) และใช้พลังงานร่วมกับคอมพิวเตอร์


2. External Modem เป็นกล่องที่บรรจุวงจร modem มีแหล่งพลังงานของตัวเอง และจะต่อกับพอร์ต อนุกรม(COM1,COM2)ของคอมพิวเตอร์

3. wireless modemหรือโมเด็มไร้สาย มีลักษณะคล้ายกับโมเด็มภายนอก โดยโมเด็มภายนอกจะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ทาง serial port โดยใช้สายทางโทรศัพท์ ในขณะที่โมเด็มไร้สายจะไม่ใช้สายโทรศัพท์เพื่อเชื่อมต่อ แต่จะสื่อสารโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อ



ฮับ (Hub)




ฮับ หรือตัวย้ำสัญญาณ เป็นอุปกรณ์ง่ายๆ ที่เชื่อมกลุ่มผู้ใช้ไว้ด้วยกัน ฮับจะส่งต่อทุกๆ ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ เอกสาร รูปภาพ คำสั่งพิมพ์งานจากผู้ใช้ที่ส่งมาไปยังผู้ใช้อื่นๆ ทุกคนที่ต่อร่วมกันบนฮับเดียวกัน ผู้ใช้ที่ต่ออยู่บนฮับตัวเดียว หรือต่อเชื่อมต่อผ่านฮับหลายตัวก็ตาม จะแบ่งกันใช้ความจุของสายร่วมกัน นั่นหมายถึง ยิ่งมีผู้ใช้เชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้นเท่าไร ก็ต้องแบ่งความจุ ของสายในการรับส่งข้อมูลมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้แต่ละคนจะส่งได้ช้าลง เมื่อมีผู้ใช้เพิ่มในฮับมากขึ้น




เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้นว่า ฮับช่วยระบบเครือข่าย ทางธุรกิจคุณได้อย่างไร ให้คุณนึกถึงโรงเรียน ที่มีสายโทรศัพท์เพียงสายเดียว สำหรับห้องพักครูทุกห้อง เมื่อครูในห้องพักครู ต้องการโทรไปยังอีกห้องพักครูหนึ่ง โทรศัพท์จะดังไปทุกๆ ห้อง ครูที่พักอยู่ในแต่ละห้องทุกห้อง ต้องรับโทรศัพท์แล้วฟังว่าเป็นสายของใคร และในขณะที่มีคนใช้โทรศัพท์อยู่ คนอื่นๆ จะไม่สามารถใช้โทรศัพท์ได้ในเวลานั้น ถ้าครูมาพักน้อย การวางระบบเช่นนี้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ในช่วงเวลาที่มีการใช้โทรศัพท์บ่อย การติดต่อก็จะทำให้ยาก เพราะโทรศัพท์สายไม่ว่างตลอด



บริดจ์ (ฺBridge)



เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระบบ LAN เข้าด้วยกัน โดยออกแบบมาเพื่อใช้ติดต่อระหว่างเครือข่ายท้องถิ่น LAN จำนวน 2 เครือข่าย ที่มีโปรโตคอลเหมือนกันหรือต่างกัน เพื่อให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้ โดยประสิทธิภาพในทางรวมลดลงไม่มาก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องอยู่ในเซกเมนด์เดียวกัน จะไม่มีการส่งผ่านต่างเซกเมนด์ (Segment)




สวิตช์ (Switch)


สวิตช์เป็นอุปกรณ์ที่ฉลาดกว่าฮับ และทำให้ได้ความจุ ในการรับส่งข้อมูลแก่ผู้ใช้แต่ละคน ได้มากกว่าฮับ สวิตช์จะส่งต่อข้อมูลไปยังเป้าหมายที่เหมาะสม ที่สามารถไปต่อยังผู้รับได้โดยตรง โดยตัดสินใจส่งจากส่วนหัว (Header) ของข้อมูล (Packet) โดยสร้างการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว ระหว่างต้นทางและปลายทาง และปิดการเชื่อมต่อชั่วคราวนั้นทิ้ง เมื่อการติดต่อได้เสร็จสิ้นลง


สวิตช์เปรียบได้กับโทรศัพท์ ของโรงเรียนที่มีโอเปอเรเตอร์คอยต่อสายให้ เมื่อครูสมชาย ต้องการโทรไปหาครูสมบัติ อีกห้องหนึ่ง โอเปอเรเตอร์รับคำสั่งจากครูสมชาย แล้วต่อสายไปยังครูสมบัติโดยตรง การต่อแบบนี้ทำให้ใช้โทรศัพท์ จากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่งได้มากกว่า 1 สาย



เราท์เตอร์ (Router)


เปรียบเทียบระหว่างฮับ และสวิตช์แล้ว เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ฉลาดกว่า เราเตอร์ใช้เพื่อ การส่งต่อข้อมูลที่จุดหมายซับซ้อนกว่ามาก โดยตัดสินใจส่งต่อข้อมูลจาก "ตารางสำหรับการเราต์" อุปกรณ์เราเตอร์ จะทำให้การส่งต่อข้อมูลไปตามเส้นทาง ที่มีประสิทธิภาพที่สุด ไม่ว่าจะส่งต่อจากเราเตอร์ ไปยังเครื่องต่างๆ หรือส่งจากเราเตอร์ ไปยังเราเตอร์อีกตัว และถ้าการเชื่อมระหว่างเราเตอร์ 2 ตัวที่จะส่งไปขาด มันยังสามารถตัดสินใจ เปลี่ยนเส้นทางที่เหมาะสมเอง ได้อีกด้วย เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่ขาดตอน


เราเตอร์อาจใช้เพื่อเชื่อมเข้ากับ ระบบเครือข่ายอื่นๆ ที่มีวิธีในการรับส่งข้อมูล ที่ต่างไปจากระบบเครือข่ายที่เราใช้งานอยู่ได้ โดยแต่ละระบบเครือข่าย อาจพูดต่างภาษากัน หรือในศัพท์ทางคอมพิวเตอร์คือ แต่ละระบบเครือข่ายใช่ต่าง "โพรโตคอล (Protocol)" ตัวอย่างของโพรโตคอล เช่น อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (ไอพี), อินเทอร์เน็ตแพ็กเก็ตเอ็กซ์เชนจ์ (ไอพีเอ็กซ์) หรือแอปเปิลทอล์ก นอกจากนั้น เราเตอร์ยังไม่ใช่ เพียงสามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายต่างๆ ในอาคารไว้ด้วยกันเท่านั้น แต่มีจุดเชื่อมต่อไปยังภายนอก (หรือเรียกว่า ซ็อกเก็ต (Socket) เชื่อมออกไปสู่บริการแบบ ระบบเครือข่ายพื้นที่กว้าง (Wide area Network-WAN) ได้อีกด้วย บริการแวนจะทำให้คุณสามารถ ติดต่อสื่อสารกระจายออกไปสู่ระบบเครือข่ายอื่นๆ ทั่วโลกได้



เพื่อเข้าใจความหมายการทำงานของเราเตอร์ (เรียกว่า เราติง) ให้เปรียบไปถึงโรงเรียน A และโรงเรียนอื่นๆ ทั้งหมดที่ได้ฝึกโอเปอเรเตอร์ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อครูที่ชื่อสมชายโทรศัพท์จากโรงเรียน A โทรไปครูชื่อสมบัติที่สอนอยู่อีกโรงเรียนที่ชื่อ B โอเปอเรเตอร์ที่โรงเรียน A จะรู้ทันทีว่าจะต้องต่อสายไปอย่างไรถึงดีที่สุด โดยต่อสายไปยังโอเปอเรเตอร์ชื่อสมศรีที่ทำงานอยู่ที่โรงเรียน B เพื่อให้สมศรีโอนสายไปครูสมบัติ และหากเกิดปัญหาในการต่อสายไปยังสมศรี โอเปอเรเตอร์ที่โรงเรียน A จะสามารถเลือกเส้นทางอื่น เช่น ต่อไปยังโอเปอเรเตอร์คนอื่นที่ประจำอยู่ที่โรงเรียน B เพื่อให้การติดต่อครั้งนี้สำเร็จ




เกตเวย์ (Gateway)


เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ที่มีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน เปรียบเสมือนเป็นประตูทางผ่านในการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน เช่น ระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปกับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรม ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็น Gateway นั้นอาจจะใช้คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งทำหน้าที่ก็ได้





แบบฝึกหัด
4.1. HUB , BRIDGE , ROUTER , GATEWAY ต่างกันอย่างไร




 

Create Date : 10 มิถุนายน 2552    
Last Update : 12 มิถุนายน 2552 10:22:13 น.
Counter : 24346 Pageviews.  

1  2  3  4  
 
 

neaup
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]




มาเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้กันนะคะ
[Add neaup's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com