จิตไม่เคยดับตายหายสูญ

♥ จิตไม่เคยดับตายหายสูญ



ธรรมบรรยาย โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์ ผู้เรียบเรียงหนังสือธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ






Create Date : 23 สิงหาคม 2553
Last Update : 23 สิงหาคม 2553 8:58:04 น. 10 comments
Counter : 608 Pageviews.  

 
มาสาธุครับ


โดย: panwat วันที่: 23 สิงหาคม 2553 เวลา:11:28:21 น.  

 
จิตเกิดดับอยู่เนื่องๆ เป็นธรรมดา.

จากคำกล่าวของพระอรหันต์

[๓] ครั้งนั้น ท่านพระโสณะบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้คิดว่า ถ้ากระไรเราพึงพยากรณ์
อรหัตผลในสำนักพระผู้มีพระภาค แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคมนั่งเฝ้าอยู่ ครั้นแล้ว
ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาค ว่าดังนี้:-
พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ของตนได้ถึงแล้วโดยลำดับ มีกิเลส
เครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ ภิกษุนั้นย่อมน้อมใจ ไปสู่
เหตุ ๖ สถาน คือ
๑. น้อมใจไปสู่บรรพชา
๒. น้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด
๓. น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน
๔. น้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน
๕. น้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา และ
๖. น้อมใจไปสู่ความไม่หลงไหล
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้อาศัย
คุณแต่เพียงศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่ จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา ดังนี้พระพุทธเจ้าข้า ก็ข้อนี้ไม่พึง
เห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่า
ตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึงน้อมใจสู่บรรพชา โดยที่ตน
ปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ
จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้
ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นแน่ จึงน้อมใจไปในความเงียบสงัด ดังนี้ พระพุทธ-
*เจ้าข้า ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้
ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึง
น้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความ
เงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด โดยที่ตน
ปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้
เชื่อถือสีลัพพตปรามาส โดยความเป็นแก่นสารเป็นแน่ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน ดังนี้
พระพุทธเจ้าข้า ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควร
ทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว
จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความ
ไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน
โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
... จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจ
ไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน
โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
... จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจ
ไปสู่ความสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา
โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
... จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจ
ไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล
โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ
พระพุทธเจ้าข้า แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ ผ่านมาสู่คลองจักษุ
ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้น
อันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็น
ความเกิดและความดับของจิตนั้น

แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ....
แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ ....
แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา ....
แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย ....
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มี
จิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์
ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิด
และความดับของจิตนั้น
พระพุทธเจ้าข้า ภูเขาล้วนแล้วด้วยศิลา ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบอันเดียวกัน
แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันออก ก็ยังภูเขานั้นให้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน
ไม่ได้เลย
แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันตก ....
แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศเหนือ ....
แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศใต้ ก็ยังภูเขานั้นให้หวั่นไหว สะเทือนสะท้าน
ไม่ได้เลย แม้ฉันใด.
พระพุทธเจ้าข้า แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ ผ่านมาสู่คลองจักษุ
ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ย่อมไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของ
ภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อม
พิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น.
แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ....
แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบด้วยฆานะ ....
แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบด้วยชิวหา ....
แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย ....
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์
ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิด
และความดับของจิตนั้น ฉันนั้นเหมือนกันแล.


//www.84000.org...p?B=5&A=1&Z=223


โดย: vvvv IP: 58.10.167.178 วันที่: 23 สิงหาคม 2553 เวลา:13:53:22 น.  

 
โมทนา สาธุธรรม...


โดย: เสขะ บุคคล IP: 112.142.60.226 วันที่: 23 สิงหาคม 2553 เวลา:22:18:43 น.  

 
จิตปุถุชน มักถูกอารมณ์ครอบงำ ปรุงแต่งไปตามอารมณ์
เกิดความหวั่นไหว ฟุ้งซ่าน ทำให้เกิดจิตสังขาร เกิดดับๆๆๆเนืองๆเป็นธรรมดา

จิตพระอรหันต์ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
อารมณ์ไม่อาจครอบงำจิตได้ จิตไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์
จิตไม่หวั่นไหว ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดจิตสังขารขึ้น จิตไม่เกิดดับไปตามอารมณ์แล้ว

พระสูตรที่ยกมาแสดงนี้ จะได้นำเสนอโดยละเอียดต่อไป
เนื่องจากช่วงนี้งานเยอะ ยังไม่มีเวลาแจกแจง
จึงขอกล่าวโดยย่อไว้เป็นธรรมทานสำหรับผู้เข้ามาอ่าน

โปรดสังเกตในพระสูตร แสดงไว้ชัดเจนว่า
แม้ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์
ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ผ่านมาสู่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้
ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย
จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว


ณ ตรงนี้แสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า
จิตของพระอรหันต์ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
อารมณ์ (รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์) ที่เข้ามากระทบ
ไม่ว่าจะผ่านเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ ก็ตาม
ไม่อาจครอบงำจิตของท่านให้หวั่นไหวได้เลย

เหมือนภูเขาหินแท่งทึบ ไม่ว่าลมจะพัดมาจากทิศทางใด
ก็ทำให้ภูเขาหินนั้นโยกคลอนไม่ได้ ฉันใดฉันนั้น

ส่วนตอนท้ายพระสูตร ที่แสดงไว้ว่า

จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น
ฉันนั้นเหมือนกันแล


ณ ตรงนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า
จิตที่สงบตั้งมั่นแล้ว ไม่เกิดดับตามอารมณ์
และย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นจิตสังขารเกิดดับ


โดย: หนูเล็กนิดเดียว วันที่: 23 สิงหาคม 2553 เวลา:22:23:56 น.  

 

....สวัสดี วันกินไก่ค่ะ~*..

.. สาธุ ..


โดย: ป้าโบราณ วันที่: 24 สิงหาคม 2553 เวลา:9:23:21 น.  

 

แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ....
แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ ....
แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา ....
แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วกาย ....
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน
ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้
ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย
จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้
เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และ
ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น
....................................
^
^
คุณvvvv IP: 58.10.167.178 23ครับ

พระสูตรชัดเจนในตัวเองอยู่แล้วนะครับ

คุณเองตากหากที่อ่านพระสูตรไม่เข้าใจเอง

หรือเชื่อตามๆกันมาโดยที่ไม่เคยพิจารณาให้ถ่องแท้เสียก่อนเลย

พระอรหันต์ย่อมไม่กล่าวขัดแย้งกันเองนะครับ

จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวแล้ว อันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้

คุณยังจะให้จิตนั้นเกิด-ดับอีกหรือครับ???

ตามความเป็นจริงแล้วควรเป็นอารมณ์ใช่มั้ยครับที่เกิด-ดับ???
เพราะอารมณ์เจือติดจิตไม่ได้ ครอบงำจิตไม่ได้

ที่เกิด-ดับควรเป็นอารมณ์ต่างๆเหล่านั้นใช่มั้ยครับ???

จิตของภิกษุนั้น
ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ(อารมณ์)ของจิตนั้นใช่มั้ยครับ???

อ่านพระสูตรหัดพิจารณาด้วยใจที่เป็นธรรม อย่าเอนเอียงสิครับ

พระสูตรพูดถึงอารมณ์ เช่นสัททารมณ์ คันธารมณ์ฯลฯ
ที่ไม่สามารถครอบงำจิต หรือเจือติดที่จิตไม่ได้

แต่เวลาเกิด-ดับกลับเมโมว่าจิตเกิด-ดับ
ทั้งที่เห็นๆอยู่ว่าที่เกิด-ดับนั้น ล้วนเป็นอารมณ์ที่กล่าวมาข้างต้นใช่มั้ยครับ???

ยังมีพระสูตรยืนยันอีกนะครับว่า เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วจิตยังดำรงค์อยู่ครับ

ธรรมภูต






โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 24 สิงหาคม 2553 เวลา:9:57:09 น.  

 
๔. อนิจจสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕

พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
เวทนาไม่เที่ยง ...
สัญญาไม่เที่ยง ...
สังขารไม่เที่ยง ...
วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้
ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้น (อดีต) ย่อมไม่มี
เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องต้นไม่มี ทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลาย (อนาคต) ย่อมไม่มี
เมื่อทิฏฐิเป็นไปตามส่วนเบื้องปลายไม่มี ความยึดมั่นอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี.

เมื่อความยึดมั่นอย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมคลายกำหนัดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
เพราะหลุดพ้น [b]จิตจึงดำรงอยู่[/b] เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม
เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง
ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=1025&Z=1041&pagebreak=0


โดย: ในความฝันของใครสักคน วันที่: 24 สิงหาคม 2553 เวลา:10:02:24 น.  

 
สวัสดีดึกๆครับ



โดย: panwat วันที่: 25 สิงหาคม 2553 เวลา:1:27:50 น.  

 

สวัสดีดึกๆครับ...ขอให้มีแต่ความสุขกันนะครับ....อย่าได้มีเศร้าปะปนให้หม่นหมองเลยครับ


โดย: panwat วันที่: 30 สิงหาคม 2553 เวลา:23:09:51 น.  

 
สวัสดีค่ำๆครับ
กลับจากสัมมนา
แวะมาทักทายครับ


โดย: panwat วันที่: 3 กันยายน 2553 เวลา:20:27:29 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนูเล็กนิดเดียว
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




พระพุทธศาสนา
มีหลักการที่ตั้งอยู่บนเหตุ-ผล

อริยสัจ ๔
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


เหตุ-จิตชอบแส่ส่ายออกไปหาเรื่อง
(สมุทัย)
ผล-ทุกข์โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ
(ทุกข์)

เหตุ-ปฏิบัติสัมมาสมาธิตามหลักมรรค ๘
ให้จิตระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ
ไม่แส่ส่ายออกไปหาเรื่อง

(มรรค)
ผล-จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ทุกข์ไม่โหมกระหน่ำทับถมจิตใจ

(นิโรธ)

เหตุ-รู้อยู่ที่เรื่อง (สมุทัย)
ผล-เป็นทุกข์ (ทุกข์)

เหตุ-รู้อยู่ที่รู้ (มรรค)
ผล-ไม่ทุกข์ (นิโรธ)



ธรรมบรรยาย โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์


[Add หนูเล็กนิดเดียว's blog to your web]