ยิ่งลักษณ์ พ้นสภาพ ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินแล้ววันนี้


นางสาวยิ่งลักษณ์ กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจริงหรือ ?

การที่มีผู้ร้องว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้โยกย้ายตำแหน่งนายถวิล เปลี่ยนสี อันมีลักษณะกระทำการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญและต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวอยู่นั้น การกระทำการต้องห้ามเช่นว่านั้นจะเกิดขึ้นได้ ต้องครบเงื่อนไข 2 ประการ คือ

(1) นายกฯ ยิ่งลักษณ์ กระทำการย้ายนายถวิลโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย และ
(2) นายกฯ ยิ่งลักษณ์ กระทำการย้ายนายถวิลเพื่อตักตวงผลประโยชน์ส่วนตนที่ขัดต่อส่วนรวม ให้กับตนเอง หรือผู้อื่น

อย่างไรก็ดี ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาถึงที่สุดแล้วว่า นายกฯ ยิ่งลักษณ์ มีอำนาจชัดเจนที่จะย้ายนายถวิลได้ เพียงแต่ได้ใช้อำนาจผิดพลาดในเชิงดุลพินิจ กล่าวคือ ได้ทำการย้ายไปโดยไม่ได้อธิบายเหตุผลชัดเจนเพียงพอ ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาให้การย้ายที่มีอำนาจนั้นเป็นการใช้อำนาจในส่วนดุลพินิจที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งย่อมต่างไปจากการย้ายที่ไม่มีอำนาจ นอกจากนี้ ศาลปกครองสูงสุดยังไม่ได้พิพากษาตามคำกล่าวอ้างว่ามีการกระทำที่ส่อการทุจริตตักตวงหรือเอื้อประโยชน์ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจากการย้ายตำแหน่งที่ว่านั้นแต่อย่างใด

แม้คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวจะไม่ผูกพันศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง แต่ศาลรัฐธรรมนูญพึงต้องเคารพความเป็นที่สิ้นสุดของคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในส่วนที่เป็นประเด็นกฎหมายปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญจึงควรระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะไม่เข้าไปวินิจฉัยคดีใดให้ขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด อันจะเป็นการก้าวล่วงอำนาจระหว่างศาลอันจะทำลายระบบกฎหมายในที่สุด

ดังนั้น เมื่อศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงในทางปกครองเป็นที่ยุติแล้วว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ มีอำนาจที่จะย้ายนายถวิล เพียงแต่ใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องเพราะอธิบายเหตุผลไม่ชัดเจน อีกทั้งไม่ได้มีหลักฐานการทุจริตตักตวงผลประโยชน์ การกระทำของนางสาวยิ่งลักษณ์ จึงไม่ครบองค์ประกอบการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ และไม่มีเหตุให้นางสาวยิ่งลักษณ์ต้องพ้นจากตำแหน่งแต่อย่างใด

- ศาลมีอำนาจวินิจฉัยให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ พ้นจากตำแหน่งซ้ำซ้อนได้หรือไม่ ?

การยุบสภาเมื่อเดือนธันวาคม 2556 ได้ส่งผลให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่รัฐธรรมนูญได้บังคับให้ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปชั่วคราว จนกว่าจะมีการเลือกตั้งและมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ จึงทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ณ วันนี้ ศาลจะยังสามารถวินิจฉัยให้นางสาวยิ่งลักษณ์พ้นจากตำแหน่งซ้ำซ้อนได้อีกหลังยุบสภาไปแล้วหรือไม่

ประเด็นนี้มีความเห็นทางกฎหมายเป็นสองทาง ทางหนึ่งเห็นว่า เมื่อนางสาวยิ่งลักษณ์พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว จึงไม่มีตำแหน่งที่จะวินิจฉัยให้พ้นได้ซ้ำอีก ดังนั้น ศาลจึงไม่มีวัตถุแห่งคดีให้พิจารณา และไม่อาจรับคดีไว้วินิจฉัยได้ ในขณะที่อีกฝ่ายเห็นว่า หากนางสาวยิ่งลักษณ์ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อไป หากมีการกระทำการที่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ศาลก็ตรวจสอบได้ เพราะยังคงมีการใช้อำนาจอยู่

เรื่องนี้ ยังตีความถกเถียงกันได้ทั้งสองทาง เพราะในทางหนึ่งชัดเจนว่านางสาวยิ่งลักษณ์ได้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปแล้ว แต่ควรสังเกตว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ที่มีผลบังคับให้นางสาวยิ่งลักษณ์ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปนั้น แท้จริงแล้วเป็นบทบัญญัติที่กล่าวถึง “คณะรัฐมนตรี” ทั้งคณะ โดยไม่ได้เจาะจงถึงรัฐมนตรีรายบุคคล ดังนั้น จึงอาจพิจารณาได้ว่า หากผู้ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีรายหนึ่งรายใดกระทำการต้องห้ามขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว และได้ส่งผลให้เกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์อันไม่อาจถูกระงับการที่ต้องห้ามนั้นได้ ศาลก็อาจตีความกฎหมายอย่างแยบยลและลึกซึ้งเพื่อวินิจฉัยกรณีต้องห้ามมิให้นางสาวยิ่งลักษณ์ปฏิบัติหน้าที่ต่อได้เช่นกัน กล่าวคือ มิได้วินิจฉัยให้พ้นตำแหน่งซ้ำซ้อน แต่เป็นการวินิจฉัยไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวเป็นรายบุคคล แต่หลักการสำคัญที่ศาลจะล่วงละเมิดมิได้ก็คือ บรรดารัฐมนตรีที่เหลือยังคงถูกบังคับให้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ในนาม “คณะรัฐมนตรี” ต่อไป และอาจเลือกรัฐมนตรีรายหนึ่งปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งและได้ “คณะรัฐมนตรี” ใหม่มาแทน

- คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญจะส่งผลต่อการเมืองไทยอย่างไร ?

ณ เวลานี้ วิธีการเดียวที่จะหลีกเลี่ยงการนองเลือดและทำให้ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันได้นั้น ศาลจะต้องไม่ใช้อำนาจในทางที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และต้องปล่อยให้ปัญหาการเมืองแก้ไขด้วยการเมือง ซึ่งก็คือการที่ทุกฝ่ายต้องตกลงร่วมใจให้การปฏิรูปและการเลือกตั้งสามารถเดินหน้าควบคู่ไปพร้อมกัน โดยไม่ยึดถือเรื่องใดให้อยู่เหนือกว่าอีกเรื่องหนึ่ง

หากสุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญตัดสินขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญให้คณะรัฐมนตรีที่ปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวในปัจจุบันไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ก็อาจนำไปสู่สภาวะที่กติกาบ้านเมืองตกอยู่ในสภาพไร้ความหมาย มีการแก่งแย่งชิงอำนาจของกลุ่มการเมืองและมวลชนที่ขัดแย้งขยายตัวรุนแรง จนอาจเกิดกรณีที่มีผู้เปรียบเปรยไว้ว่าเป็นการ “ยกปัตตานี มาไว้ที่กรุงเทพฯ” กล่าวคือ แม้อาจมีทหารยืนอยู่ตามท้องถนน แต่ก็จะมีความรุนแรงทั้งบนดินและใต้ดิน ฆ่ากันตายรายวัน จนอาจเป็นยุคมืดของแผ่นดินไทยในที่สุด.


ข้อมูลจาก Mthai



Create Date : 07 พฤษภาคม 2557
Last Update : 7 พฤษภาคม 2557 14:49:37 น. 0 comments
Counter : 767 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

สมาชิกหมายเลข 1220072
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 377 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 1220072's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com