แค่เปลี่ยนความคิด ชีวิตก็เปลี่ยนแล้ว

ผู้เฒ่าสายลม
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เป็นข้าราชการคนหนึ่งในรัฐบาลไทย มีความสนใจในศาสตร์หลากหลาย สนใจเรื่องวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจ การลงทุน ฯลฯ
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ผู้เฒ่าสายลม's blog to your web]
Links
 

 

งานพื้นคอนกรีต

บล็อกนี้นำมาจาก //planban.net โดยคุณวินัย อยู่นาน
ขออนุญาตนำมาลงเนื่องจากเห็นว่าน่าสนใจ

พื้นอาคารทั่วไปใช้พื้นสำเร็จรูปชนิดท้องเรียบ รับน้ำหนักปลอดภัยได้ 200 กิโลกรัม / ตารางเมตร ซึ่งโดยปกติกฎหมายกำหนดไว้ 150 กิโลกรัม / ตารางเมตร ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงแข็งแรง และมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น สำหรับการเลือกใช้พื้นสำเร็จรูปชนิด 3 ขา ของบริษัทผู้ผลิตแผ่นพื้น PCM แทนการใช้แผ่นพื้นชนิดท้องเรียบ(แบบเดิม) ทั้งนี้เพราะจุดเด่นของแผ่นพื้นชนิด 3 ขา คือเมื่อติดตั้งแผ่นพื้นไม่ต้องทำการค้ำยันกลาง เนื่องจากแผ่นพื้นถูกออกแบบมาเป็นคานรับน้ำหนักในตัวอยู่แล้ว ทำให้แผ่นพื้นไม่แอ่นกลางขณะติดตั้งและเทคอนกรีตทับหน้า



ข้อพึงปฏิบัติ
1. พื้นสำเร็จรูปควรใช้ชนิด 3 ขา เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดจากการแอ่นตัวของพื้น ขณะที่ทำการเทคอนกรีตทับหน้า
2. การค้ำยันถ้าความยาวแผ่นพื้นเกินกว่า 4.00 เมตร ควรมีค้ำยันชั่วคราวตามแนวกึ่งกลางของความยาวแผ่นพื้น
3. หลีกเลี่ยงการสกัดหลังคาน ค.ส.ล. เพื่อปรับระดับการวางแผ่นพื้น
4. การเทคอนกรีตทับหน้า(Topping) ให้ใช้ตระแกรงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. ระยะห่าง 20 เซ็นติเมตร ความหนาคอนกรีตทับหน้า 4 เซ็นติเมตร หรือตะแกรง Wire Mesh ขนาด 4 มม. @ 20 เซนติเมตร ควรหลีกเลี่ยงการเทคอนกรีตทับหน้าหนากว่าที่กำหนด เพราะจะทำให้เพิ่มการรับน้ำหนักของพื้นและโครงสร้างอาคาร
5. คอนกรีตพื้นชั้นล่างควรผสมน้ำยากันซึม เพื่อป้องกันความชื้นจากพื้นดินที่อาจส่งผลกระทบต่อวัสดุปูผิวพื้น เช่น กระเบื้อง ไม้ปาร์เกต์ เป็นต้น โดยได้รับความเห็นชอบจากวิศวกร




 

Create Date : 09 ธันวาคม 2551    
Last Update : 9 ธันวาคม 2551 21:29:06 น.
Counter : 1028 Pageviews.  

งานเสาเข็มฐานราก

บล็อกนี้ ได้นำเนื้อหามาจาก //planban.net เนื่องจากเห็นว่าน่าสนใจ

ขั้นตอนการก่อสร้างเริ่มตั้งแต่งานฐานรากจนเสร็จสิ้น ล้วนต้องใช้ทักษะ ความรู้ความสามารถ เงินทุน การประสานของทุกฝ่าย จนได้เนื้องานที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามข้อกำหนด มีดังนี้ งานเสาเข็มฐานราก



เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงรูปตัว I ขนาด 22 ยาว 18.00 เมตร (2 ท่อน)ต่อกันด้วยวิธีการเชื่อมด้วยไฟฟ้าโดยรอบ เพื่อให้ได้มาตรฐานความมั่นคงแข็งแรงในการสร้างบ้าน ป้องกันข้อผิดพลาดในระหว่างทำการตอกเสาเข็มและเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ในขณะทำการตอกเสาเข็ม บริเวณปลายเสาเข็มจะถูกแรงกระแทกจากน้ำหนักลูกตุ้มเหล็ก ทำให้เนื้อคอนกรีตเสาเข็มบริเวณดังกล่าวอาจจะเสียหาย ดังนั้นเมื่อทำการตอกเสาเข็มแล้วเสร็จ จึงควรตัดปลายเสาเข็มทิ้งประมาณ 50 เซ็นติเมตร ก่อนทำการหล่อคอนกรีตฐานราก
ข้อพึงปฏิบัติ
1. ควรตัดปลายเสาเข็มออกความยาวประมาณ 50 เซ็นติเมตร เนื่องจากบริเวณปลายเสาเข็มได้รับความกระทบกระเทือนจากตุ้มเหล็กในขณะที่ทำการตอก จึงทำให้ปลายเสาเข็มบริเวณนั้นเสียกำลังในการรับน้ำหนัก
2. ทำการปรับระดับก้นหลุมด้วยทรายหยาบ และเทคอนกรีตหยาบรองพื้น(1 : 3 : 5) ความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อให้เทคอนกรีตฐานรากได้ระดับเสมอกัน และป้องกันมิให้น้ำปูนไหลออกจากแบบหล่อคอนกรีต
3. เมื่อตัดเสาเข็มแล้วควรโผล่ปลายเสาเข็มไว้ สูงกว่าระดับคอนกรีตหยาบรองพื้น ประมาณ 15 - 20 เซ็นติเมตร เพื่อให้เสาเข็มฝังเข้าไปในคอนกรีตฐานรากที่เท ทำให้ยึดเหนี่ยวกันมั่นคงยิ่งขึ้น
4. เหล็กเสริมควรมีระยะห่างจากแบบหล่อคอนกรีต หรือผิวคอนกรีตอย่างน้อย 5 เซนติเมตร เพื่อหลีกเลี่ยงความชื้นจากใต้ดินกับเนื้อคอนกรีตที่เทหุ้มเหล็กเสริมไว้




 

Create Date : 09 ธันวาคม 2551    
Last Update : 9 ธันวาคม 2551 21:22:12 น.
Counter : 683 Pageviews.  

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.