เรียนดี เรียนสนุก ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองที่นี่จ้า!!!
Group Blog
 
All Blogs
 
วิชาการขายเบื้องต้น :คำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์รายวิชา และเนื้อหาบทที่ 1 ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด

วิชาการขายเบื้องต้น
รหัส 3200-0004
เวลาเรียน 3 คาบต่อสัปดาห์/18 สัปดาห์


คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของการขายและการตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย ประเภทและลักษณะของการขาย ความรู้พื้นฐานของพนักงานขาย โอกาสและความก้าวหน้าของพนักงานขาย ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการขาย คุณสมบัติและจรรยาบรรณของพนักงานขาย
จุดประสงค์รายวิชา1. รู้และเข้าใจหลักและวิธีการขายเบื้องต้น
2. มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพขาย
3. มีทักษะเกี่ยวกับการปฏิบัติการขายและนำไปประกอบอาชีพได้
************************************
หน่วยการเรียนที่ 1
ความหมาย ความสำคัญ แนวความคิดของการขายและการตลาด


คำนิยามของการขาย
สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (The American MarKeting Association) ให้คำจำกัดความไว้ว่า "การขาย คือ กระบวนการทางตรงและทางอ้อมของการช่วยเหลือหรือชักจูงใจ ผู้เป็นลูกค้าในอนาคตให้ซื้อสินค้าหรือบริการหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างน่าพอใจที่เป็นผลสำคัญทางการค้าแก่ผู้ขาย

ความหมายของการขาย
การขาย หมายถึง การติดต่อสื่อสาร ( Communication) ซึ่งมีพนักงานขายเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารโดยนำข้อมูล เกี่ยวกับสินค้า นโยบายของบริษัท เสนอให้กับลูกค้า ในขณะเดียวกันพนักงานขายทำหน้าที่รับฟังข้อมูลจากลูกค้าในเรื่องของสินค้า ราคา อื่น กลับสู่บริษัท ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท

การขาย หมายถึง การแก้ปัญหา (Problem) ในการที่พนักงานขายได้มีการเข้าพบลูกค้าและมีการนำเสนอสินค้าให้ลูกค้านั้น บางครั้งลูกค้าอาจจะมีข้อสงสัย หรือปัญหาในเรื่อง ต่าง ๆ เช่น นโยบายคุณภาพราคาเงื่อนไข การส่งมอบ ฯลฯ ดังนั้น พนักงานจะต้องเป็นผู้เข้าไปช่วยเหลือขจัดปัญหาต่าง ๆจนทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่น และยอมรับสินค้านั้น ๆ

การขาย หมายถึง การให้ความช่วยเหลือ (Assistance) โดยให้ความช่วยเหลือลูกค้าซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ราคา เหมาะสมกับลูกค้า

การขาย หมายถึง การชักจูงลูกค้า การจูงใจลูกค้า ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่สำคัญของพนักงานขาย ถ้าเป็นสินค้าใหม่พนักงานขายจะต้องให้ความรู้ในเรื่องคุณภาพ เรื่องราคา ซึ่งเป็นศิลปะในการจูงใจและการพูดโดยใช้หลักด้านจิตวิทยาเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

ความหมายและความสำคัญของการตลาด
การตลาดคือกิจกรรมของธุรกิจที่สร้างขึ้นมาเพื่อจะอำนวยความสะดวก และก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ผลิตหรือผู้ขายกับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ โดยจะต้องมุ่งสนองความพึงพอใจของผู้ซื้อเป็นสำคัญ

องค์ประกอบที่สำคัญของการตลาดประกอบด้วย
1. การโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า (Goods) หรือบริการ(service)
2. มีสินค้า และตลาด(Market) ที่จะทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ

แนวความคิดของการตลาดและการขาย
1.แนวความคิดมุ่งการผลิต (The Production Concept)
เป็นแนวความคิดทางการตลาดที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งการผลิตยุคนั้นเป็นการผลิตที่เป็นเพียงอุตสาหกรรมในครัวเรือนเพื่อการบริโภค ถ้าจะมีการค้าขายก็น้อยยังมีคู่แข่งขัน หรือถ้ามีคู่แข่งขันจะมีเพียงน้อยราย แนวความคิดนี้จะเน้นการผลิตเป็นสำคัญ โดยไม่คำนึงถึงผลผลิตจำนวนมากเพื่อลดต้นทุนให้ต่ำลงและหาวิธีที่จะเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายให้เกิดประสิทธิผลให้ดีที่สุด

2.แนวความคิดมุ่งผลิตภัณฑ์ (The Product Concept)
ซึ่งแนวความคิดนี้ผู้ผลิตจะเน้นปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีที่สุด เนื่องจากในตลาดได้มีคู่แข่งขันเพิ่มมากขึ้น แนวความคิดนี้เกิดขึ้นในขณะที่ตลาดได้มีการแข่งขันกันมากขึ้น ทำให้ลูกค้ามีโอกาสได้พิจารณาและเปรียบเทียบสินค้าในด้านต่าง ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ

3.แนวความคิดมุ่งการขาย (The Selling Concept)
แนวความคิดนี้ได้มุ่งความสำคัญกับพนักงานขาย (Salesman) ได้มีส่วนช่วยกระตุ้นผู้บริโภคให้มีความสนใจในสินค้าและบริการ สภาวะทางการตลาดจึงกลายเป็นตลาดผู้ซื้อ (Buyer’s Market)

4.แนวความคิดมุ่งการตลาด (The Marketing Concept) เป็นแนวความคิดที่ผู้ทำธุรกิจในตลาดสมัยใหม่จะต้องทำการวิเคราะห์ (Analysis) แล้วนำผลการวิเคราะห์มาวางแผน (Planning) แล้วทำการผลิตตามแบบที่วางไว้ เมื่อพบข้อผิดพลาดเกิดขึ้นก็จะทำการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นโดยได้ตอบสนองความต้องการของตลาดได้ โดยคำนึงถึงส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) หรือ 4’P ได้แก่
1. Product (ผลิตภัณฑ์)
2. Price (ราคา)
3. Place (สถานที่หรือช่องทางการจัดจำหน่าย)
4. Promotion (การส่งเสริมการตลาด)

5.แนวความคิดทางการตลาดเพื่อสังคม (The Marketing for Social Oriented) เป็นการตลาดที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า การประกอบการที่ดีนั้นจะต้องคำนึงถึงสวัสดิภาพของสังคม รับผิดชอบต่อสังคมและลูกค้าให้มากที่สุด ในการผลิตสินค้านั้นไม่ทำให้สภาพแวดล้อมของสังคมเสีย เช่น ไม่ปล่อยน้ำเสีย ปล่อยมลพิษ ฯลฯ ที่จะเป็นอันตรายต่อประชาชนและผู้บริโภค หรือด้านการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพไม่ปลอมปนสินค้า หรือกักตุนสินค้า การใช้สื่อโฆษณาโดยใช้ข้อความอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงไม่ทำการโฆษณาชวนเชื่อ ดังนั้น การตลาดที่เน้นสังคมจะมีผลทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกที่ดีต่อกิจการ

ความสัมพันธ์ระหว่างการขายกับการตลาด
การตลาดมีความสัมพันธ์กับการขาย เพราะ การขายเป็นหน้าที่หรือกิจกรรมทางธุรกิจอย่างหนึ่งของการตลาด เพราะการขายทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ในสินค้า หรือบริการหรือเปลี่ยนความเป็นเจ้าของสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งในการที่สินค้าจะมีการซื้อขายกันได้นั้นก็จะต้องอาศัยกิจกรรมทางการตลาดอื่น ๆ เข้ามาช่วยสนับสนุน ดังนั้นการตลาดจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้หากไม่มีการตกลงซื้อขายสินค้าและบริการ การตลาดและการขายจะต้องใช้วิธีการที่เสนอแนะและกระตุ้นให้ลูกค้าได้เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าที่จะได้รับความสะดวกรวดเร็วที่ทันกับความต้องการ การตลาดและการขายจึงต้องเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการสอดคล้องประสานกันอย่างเป็นระบบ

จบบทที่ 1 ครับสาธุ


Create Date : 31 ตุลาคม 2549
Last Update : 4 ตุลาคม 2551 6:35:43 น. 1 comments
Counter : 9063 Pageviews.

 

HaPPY Birth Day... 7 August,2007 NaKa ^ ^





ขอให้มีความสุขตลอดไป สมหวังในทุกๆ สิ่งนะค๊ะ



โดย: nui_kiku วันที่: 7 สิงหาคม 2550 เวลา:15:11:19 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ยอดชายนายตุ้มเม้ง
Location :
พิษณุโลก Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




สวัสดีพี่ ๆ เพื่อน ๆ ลูกศิษย์ทุกคนที่เข้ามาดูน่ะจ๊ะ
Friends' blogs
[Add ยอดชายนายตุ้มเม้ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.