เผ่าพันธ์ของชาว อ.คำชะอี
(ข้อมูลจาก วารสารที่ระลึก พิธีเปิด ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร วันอังคารที่ 16 มิถุนายน 2552)

เผ่าพันธุ์ของราษฎรอำเภอคำชะอี



การแต่งกายของชนกลุ่มภูไทในอดีต และปัจจุบันก็ยังพอมีให้เห็น

ราษฎรของอำเภอคำชะอี แบ่งออกเป็น 2 เชื้อสายใหญ่ ๆ คือ เชื้อสายไทยลาวและเชื้อสายภูไท สำหรับชาวภูไทภูมิลำเนาเดิมนั้นอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน บริเวณหัวพันทั้งห้า หัวพันทั้งหก อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 3 ได้พากันอพยพลงมาทางตอนใต้ตามลำน้ำโขง มาอยู่เมืองวัง (ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเป็นเมืองหนึ่งของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) จึงถึง พ.ศ. 2369 พระเจ้าอนุยุทธกุมารกษัตริย์นครเวียงจันทร์เป็นกบฏ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ยกพวกกวาดต้อนผู้คน ช้าง ม้า วัว ควาย ถึงเมืองโคราช (นครราชสีมา) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งให้พระยาบดินทร์เดชา ยกทัพจากกรุงเทพฯ ไปสมทบกับชาวบ้านตามหัวเมืองภาคอีสาน ยกไปต่อต้านกองทัพพระเจ้าอนุยุทธกุมาร เมื่อได้รับชัยชนะก็กวาดต้อนก็กวาดต้อนผู้คน ช้าง ม้า วัว ควาย มาทางฝั่งขวา ของแม่น้ำโขง บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ปัจจุบันการอพยพแบ่งออกเป็นพวก ๆ ดังนี้

พวกที่ 1 มีเบี้ยเมืองกลางเมือง เป็นหัวหน้า ซึ่งภายหลังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเสนาณรงค์ เจ้าพรรณนานิคม (ปัจจุบันอำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร)

พวกที่ 2 มีเจ้าสาย นายครัว เมืองวัง เป็นหัวหน้า ภายหลังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระแก้วโกมล เจ้าเมืองเรณูนคร คุมคนเผ่าผู้ไท 3,000 คน ไปอยู่ที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

พวกที่ 3 มีเจ้าราชวงค์เมืองวัง เป็นหัวหน้า ภายหลังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิเศษวงค์ เจ้าเมืองกุฉินารายณ์ คุมคนผู้ไท 3,000 คน อยู่อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

พวกที่ 4 มีนายครัวคำฮ้อ เมืองวัง เป็นหัวหน้า ภายหลังได้รับบรรดาศักดิ์ เป็นพระราชไกรสรราช เจ้าเมืองหนองสูง คุมพวกภูไท 3,400 คน มาอยู่ที่ตำบลหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร



การแต่งกายของเด็ก ๆ ชาวไทอิสาน แต่ส่วนใหญ่จะแต่งตามสมัยนิยม



ลูกข่างที่เล่นจะทำมาจากไม้เนื้อแข็ง ขัดให้ขึ้นเงาเลยทีเดียว

คนผู้ไทมีความเป็นอยู่อย่างมีระเบียบ นิสัยโอบอ้อมอารี รักสงบ ขยันขันแข็ง ในการประกอบอาชีพ มีความเป็นกันเอง และสนิทสนมกับคนทั่วไปได้ง่าย ปัจจุบันในเขตอำเภอคำชะอี มีชนเผ่าผู้ไท เหลือเพียง 2 ตำบล คือ ตำบลคำบก และตำบลคำชะอี อีก 7 ตำบลที่เหลือเป็นคนไทยอีสานทั้งหมด
สำหรับอำเภอคำชะอีมีประชากรประกอบด้วยเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ เผ่าภูไท เผ่าไทยลาว เผ่ากะเลิง ในปัจจุบัน มีประชากรทั้งหมด 48,514 คน (พ.ศ. 2552) แยกเป็นชาย 23,846 คน หญิง 24,668 คน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 6 เทศบาล 88 หมู่บ้าน ความหนาแน่นของประชากร 76.12 คน/ตร.กม.



ชาวภูไทคำชะอีในปัจจุบัน

ข้อมูลเพิ่มเติม
ชาวภูไทจะอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ ในจังหวัดมุกดาหารก็อาศัยอยู่แถบตอนใต้ของอำเภอคำชะอี อำเภอหนองสูงและยาวไปจนติดเขตอำเภอกุฉินารายณ์



เครื่องมือทำมาหากินที่ถ่ายมาจากเมืองเสิ่นเจิ้น ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน เป็นประเภทเดียวกันกับที่ชาวภูไทใช้ในชีวิตประจำวัน



Create Date : 13 มีนาคม 2555
Last Update : 6 กรกฎาคม 2555 9:44:43 น.
Counter : 3308 Pageviews.

0 comment
อาณาเขต และเขตการปกครอง อ.คำชะอี

อาณาเขตอำเภอคำชะอี
อำเภอคำชะอี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดมุกดาหารโดยตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร อยู่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 35 กิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้ คือ
ทิศเหนือ ติคต่อกับอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์



แผนที่แสดงอาณาเขตติดต่อของ อ.คำชะอี

เขตการปกครอง
อำเภอคำชะอีมีประชากรประกอบด้วยเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ เผ่าภูไท เผ่าไทยลาว เผ่ากะเลิง ในปัจจุบัน มีประชากรทั้งหมด 48,514 คน (พ.ศ. 2552) แยกเป็นชาย 23,846 คน หญิง 24,668 คนความหนาแน่นของประชากร 76.12 คน/ตร.กม. แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 องค์การบริหารส่วนตำบล กับ 1 เทศบาล 88 หมู่บ้าน ดังนี้

1. ตำบลคำชะอี                                     2. ตำบลน้ำเที่ยง 

 หมู่ที่ /ชื่อหมู่บ้าน  หมู่ที่    /ชื่อหมู่บ้าน

 1      บ้านคำชะอี   
2.      บ้านกกไฮ
3.      บ้านห้วยทราย
4.      บ้านคำชะอี
5.       บ้านโนนสว่าง
6.       บ้านหนองกะปาด
7.       บ้านนาปุ่ง
8.       บ้านศรีมงคล
9.       บ้านห้วยทราย
10.     บ้านแก้งช้างเนียม
11.     บ้านคำชะอี
12.     บ้านห้วยทราย
13.     บ้านห้วยทราย
14.     บ้านคำชะอี

 1.         บ้านเหล่า
2.          บ้านนาสันทัด
3.           บ้านเหล่า
4.           บ้านหนองหญ้าปล้อง
5.           บ้านแมด
6.           บ้านแพง
7.           บ้านโพน
8.           บ้านม่วง
9.           บ้านหนองปลาซิว
10.         บ้านแมด
11.         บ้านม่วง

3. ตำบลบ้านซ่ง

 หมู่ที่ /ชื่อหมู่บ้าน

 1.        บ้านดอนสวรรค์

 2.        บ้านหนองเอี่นดง 

3.         บ้านหนองเอี่ยนดง

 

4.         บ้านดงยาง 

 

5.         บ้านดงภู่

 6.         บ้านน้ำเที่ยง

 

7.         บ้านโคกป่าหวาน

 

8.         บ้านหนองเอี่ยนดง

 

9.        บ้านหนองเอี่ยนดง

 

10.       บ้านน้ำเที่ยง

 

11.       บ้านดงภู่

 

12.       บ้านหนองเอี่ยนดง

4. ตำบลบ้านค้อ                                  5. ตำบลหนองเอี่ยน

 หมู่ที่    /ชื่อหมู่บ้าน  หมู่ที่     /  ชื่อหมู่บ้าน

 1.        บ้านโคก
2.         บ้านค้อ
3.         บ้านค้อ
4.         บ้านดงยาง
5.         บ้านแข้
6.         บ้านแข้
7.         บ้านดงยาง
8.         บ้านตาเปอะ
9.        บ้านโนนสมบูรณ์
10.      บ้านด่านช้าง
11.      บ้านค้อ

 1.           บ้านหนองเอี่ยน
2.            บ้านหนองเอี่ยน
3.            บ้านหนองอินหม่อน
4.            บ้านทุ่งนางหนาย
5.            บ้านหนองบง
6.            บ้านนาหลวง
7.            บ้านหัวขัว
8.            บ้านนาหลวง
9.            บ้านหนองบง
10.          บ้านหนองเอี่ยน

6. ตำบลโพนงาม                                 7. ตำบลบ้านซ่ง
 หมู่ที่       /ชื่อหมู่บ้าน  หมู่ที่    /ชื่อหมู่บ้าน
 1.          บ้านโพนงาม
2.           บ้านโพนงาม
3.           บ้านตูมหวาน
4.           บ้านดอนป่าแคน
5.           บ้านโนนป่าแดง
6.           บ้านหนองสระพัง
7.           บ้านแฝก
8.          บ้านนาดอกไม้
9.          บ้านหนองสระพังทอง
10.        บ้านด่านแฝก
 1.       บ้านนาสีนวล
2.        บ้านซ่ง
3.        บ้านโนนสังข์ศรี
4.        บ้านโพธิ์ศรี
5.        บ้านโนนก่อ
6.        บ้านซ่ง
7.        บ้านโนนสังข์ศรี

8. ตำบลเหล่าสร้างถ่อ                      9. ตำบลคำบก        
 หมู่ที่      /ชื่อหมู่บ้าน  หมู่ที่    /ชื่อหมู่บ้าน
 1.        บ้านเหล่าสร้างถ่อ
2.         บ้านเหล่าสร้างถ่อ
3.          บ้านโคก
4.         บ้านหนองไฮ
5.         บ้านหนองไฮ
6.         บ้านเหล่าสร้างถ่อ
7.         บ้านโคกสว่าง
 1.    บ้านคำบก
2.     บ้านกลาง
3.     บ้านห้วยลำโมง
4.     บ้านคำบก
5.     บ้านโนนสะอาด
6.      บ้านคำบก




Create Date : 13 มีนาคม 2555
Last Update : 8 พฤษภาคม 2555 9:37:03 น.
Counter : 1655 Pageviews.

0 comment
ประวัติอำเภอคำชะอี

ประวัติอำเภอคำชะอี

อำเภอคำชะอี เป็นอำเภออยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เคยเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม เมื่อจังหวัดมุกดาหารได้รับการจัดตั้งเป็นจังหวัด เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2525 จึงขึ้นเป็นเขตการปกครองอยู่ในจังหวัดมุกดาหารตั้งแต่น้นมา ตามประวัติศาตร์มีหลักฐานที่พอเชื่อถือได้ว่าเมืองนครพนมเป็นเมืองสืบเนื่องมาจากนครในอาณาจักรโคตรบูรณ์ งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ต่อมาได้ย้ายมาอยู่บนฝั่งขวา ในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ส่วนตำนานเมืองโคตรบูรณ์ไม่ปรากฏแน่ชัดว่ามีความเป็นมาอย่างไร สรุปว่าอำเภอคำชะอีเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโคตรบูรณ์ อันรุ่งเรืองในอดีต

ความเป็นมาของชื่อ “คำชะอี”
คนเฒ่าคนแก่ได้เล่าต่อ ๆ กันมา ถึงความเป็นมาของคำว่า “คำชะอี” มีที่มาพอเชื่อถือได้ 2 กรณี คือ
กรณีที่ 1 กล่าวกันว่า ทางทิศเหนือของหมู่บ้านคำชะอีในปัจจุบัน ซึ่งเป็นบริเวณเขตพื้นที่ป่าช้าของหมู่บ้านในทุกวันนี้ หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ ดานตึง” (ดาน เป็นภาษาท้องถิ่น หมายถึง ลานหิน ตึง หมายถึง เสียงก้อง แปลรวมความหมายถึง ลานหินที่เวลาเดินผ่านแล้วจะมีเสียงดังก้อง เพราะบริเวณใต้ลานหินลงไปเป็นถ้ำ ) เดิมนั้นเป็นป่าทึบและมีหนองน้ำอยู่ด้วย หนองน้ำที่เกิดจากน้ำคำ ซึ่งหมายถึง น้ำซับไหลรินอยู่ตลอดทั้งปี จนเกิดเป็นหนองน้ำไหลลงสู่ที่ลุ่มทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน และในป่าทึบดังกล่าวมีแมลงชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายจักจั่นแต่ตัวเล็กกว่า ชื่อ แมลงอี มีอยู่มากมาย แมลงเหล่านี้จะมาตายรวมกันในบริเวณหนองน้ำนี้เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณดังกล่าวว่า บ้านคำแมงอี ต่อมาสันนิษฐานว่ากลายเป็นชื่อหมู่บ้าน และบริเวณดานตึงยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือด้านขวามือก่อนทางเข้าหมู่บ้านคำชะอี
กรณีที่ 2 กล่าวกันว่า หมู่บ้านคำชะอี (ปัจจุบัน) มีต้นไม้ชนิดหนึ่ง เรียกว่า ต้นคำชะอี เป็นต้นไม้ที่มีดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม เปลือกและแก่นลำต้นก็หอมเหมือนดอก ชาวบ้านนิยมนำไปย้อมผ้าให้มีกลิ่นหอม ต้นไม้ประเภทนี้เป็นต้นไม้ที่หายาก และสูญพันธ์ไปแล้ว ชาวบ้านจำนำมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านสืบมาจนทุกวันนี้

การตั้งชื่ออำเภอว่า “คำชะอี”



ที่ว่าการอำเภอคำชะอีในปัจจุบัน

ที่ว่าการอำเภอคำชะอี ตั้งอยู่ที่บ้านดอนสวรรค์ ตำบลน้ำเที่ยง แต่กลับเรียกว่าอำเภอคำชะอี หลาย ๆ ท่านอาจจะสงสัย สืบเนื่องมาจากสาเหตุดังนี้
เมื่อปี พ.ศ. 2484 อำเภอคำชะอี มีฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ตั้งอยู่ในการปกครองของอำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดนครพนม สถานที่ตั้งกิ่งอำเภอมีสถาพเป็นป่า มีภูเขาล้อมรอบถึง 3 ด้าน การคมนาคมไม่สะดวก และเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีไข้ป่าชุกชุม สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กลางวันอาการร้อนจัด กลางคืนอากาศเย็นจัด ทำให้ข้าราชการและประชาชนที่อยู่อาศัยมักเจ็บป่วยกันเป็นประจำ และถึงแก่ความตายอยู่เสมอ ต่อมาในปี 2492 ทางราชการจึงได้ย้ายที่ตั้งกิ่งอำเภอ จากบ้านคำชะอี ไปตั้งที่บ้านน้ำเที่ยงหมู่ 6 ตำบลบ้านซ่ง (ปัจจุบันที่ตั้งตัวอาคารที่ว่าการได้แยกเป็นหมู่บ้านใหม่ คือ บ้านดอนสวรรค์ หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำเที่ยง ) ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 10 กิโลเมตร โดยพิจารณาเห็นว่า สถานที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอใหม่ เป็นที่ราบเตียน ไม่มีป่าทึบเหมือนเดิม

ต่อมาในปี 2499 ได้ยกฐานะกิ่งอำเภอคำชะอี เป็นอำเภอคำชะอี เนื่องจากมีพื้นี่กว้างขวาง จำนวนราษฎรก็มากและมีความเจริญพอสมควร ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการปกครองและอำนวยความสะดวกแก่ราษฎรในพื้นที่

รายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอคำชะอี

 ลำดับที่ / ชื่อ - สกุล  ปีที่ดำรงตำแหน่ง
 1. นายยุวรัตน์ กมลเวชช  พ.ศ. 2499  - พ.ศ. 2500
 2. นายสิน เอกสุวรรณ  พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2503
 3. นายพรรณ พิมพ์ศักดิ์  พ.ศ. 2503  - พ.ศ. 2504
 4. นายศิวเรศ ณ นครพนม  พ.ศ. 2504  - พ.ศ. 2507
 5. นายคำบุ เหมลา  พ.ศ. 2507  - พ.ศ. 2510
 6. นายอาษา มงคลศรี  พ.ศ. 2510- พ.ศ. 2512
 7. นายจำลอง ศิริพันธ์  พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2514
 8. เรืออากาศตรีถวัลย์ พิทักษ์วงศ์  พ.ศ. 2514  - พ.ศ. 2515
 9. นายโสฬส ศุภลักษณ์ศึกษากร  พ.ศ. 2515   - พ.ศ. 2515
 10. พันตรีนิล บุญโสภณ  พ.ศ. 2515   -  พ.ศ. 2518
 11. ร้อยตรีวิบูลย์ ภาตะนันท์  31 .ต.ค. 2518 - 1 ม.ค. 2519
 12. ร้อยเอกสุรพล เมธาวิสัย  16 ม.ค. 2519 - 19 พ.ค. 2520
 13. ร้อยเอกสมนึก สาริกกะวณิช  20  พ.ค. 2520 - 21 ส.ค. 2521
 14. พันตรีสิโรตม์ สุวรรณนาคินทร์  22 ส.ค. 2521-  26 ต.ค. 2523
 15. นายเกียรติคุณ สุวรรณกูล  11 ก.ย. 2523 - 5 ต.ค. 2527
 16. นายปัญญา สากระจาย  6  ต.ค. 2527 - 5 ธ.ค. 2531
 17. นายปราโมทย์ สัจจรักษ์  6 ธ.ค. 25231 - 2 ธ.ค. 2533
 18. นายวรวิทย์ ชนะกุล  3 ธ.ค.2533   - 11 ต.ค.2535
 19. นายวิเชียร ชวลิต  12 ต.ค. 2535 - 7 พ.ย. 2536
 20. นายพงษ์ศักดิ์ นิลประภา  8 พ.ย.2536  - 16 ธ.ค. 2537
 21. นายจีระศักดิ์ คำรณฤทธิศร  17  ต.ค.2537 - 31 ต.ค.2538
 22. นายประวัน สัตยธีรานนท์  1 พ.ย. 2538 - 30 ก.ย.2541
 23. นายประดิษฐ์ ทิพย์สุมาลัย  1 ต.ค. 2541 - 19 ก.ย.2542
 24. นายโรจน์นภา จันทรโรจน์  22 ก.ย.2542 - 19 ก.ย.2543
 25. นายชัยวัฒน์ อิทธิวรรณพงศ์  20 ก.ย.2543 - 5 ต.ค.2546
 26. นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์  6 ต.ค.2546 -  31 ต.ค. 2547
 27. นายมลชัย บริสุทธิ์  1 พ.ย. 2547 - 25 ธ.ค.2548
 28. นายจิรพงษ์ แก้วมณี  26 ธ.ค.2548 - 2554
 29. นายชัยรัตน์ สุทธิธรรม  2554 – ปัจจุบัน

 



ตรงแนวรั้วด้านหน้าที่ว่าการอำเภอฯจะมีต้นตาลยืนเรียงรายอยู่ 10 ต้น




Create Date : 13 มีนาคม 2555
Last Update : 8 พฤษภาคม 2555 9:33:15 น.
Counter : 3950 Pageviews.

0 comment

Maya_II
Location :
มุกดาหาร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



Star sign : Gemini
Hobby : Reading & Writing
Interest : variety