"หยุดทุกข์ หมดเศร้า เมาท์ทุกเรื่อง"
Group Blog
 
All blogs
 

ภาพเขียน ๑๑๑ คนดนตรี #๗

ภาพเขียน ๑๑๑ คนดนตรี #๗
------------------------------------------------------------
คนดนตรี ท่านที่ ๕๕
ประสิทธิ์ พยอมยงค์
(๒๔๖๙ - ปัจจุบัน)
มีผลงานการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงสมัยนิยม ได้รับรางวัลมากมาย รางวัลแผ่นเสียงทองคำ รางวัลตุ๊กตาทอง เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ข้าวนอกนา" ได้รับพระราชทานโล่เกียรติยศในฐานะนักดนตรีตัวอย่าง ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๒



คนดนตรี ท่านที่ ๕๖
ปราจีน ทรงเผ่า
(๒๔๘๙ - ปัจจุบัน)
เป็นสมาชิกวงดิอิมพอสซิเบิ้ล ทำหน้าที่เรียบเรียงเสียงประสาน และเล่นเครื่องเป่า นอกจากนี้ยังมีผลงานประกอบภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง ปัจจุบันยังรับจ้างเรียบเรียงเสียงประสานอยู่



คนดนตรี ท่านที่ ๕๗
ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, นาวาตรี
(๒๔๗๗ - ปัจจุบัน)
เป็นนักเปียโน และเป็นอาจารย์สอนเปียโน สอนลูกศิษย์เปียโนไว้จำนวนมาก "ศิษย์อาจารย์เปีย" ถือว่าเป็นสถาบันที่สำคัญ ได้จัดแสดงดนตรี จัดตั้งมูลนิธิปิยะพันธ์ ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๔๑



คนดนตรี ท่านที่ ๕๘
ปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
(๒๓๕๑ - ๒๔๐๘)
ทรงพระปรีชาสามารถและโปรดดนตรี การละครเป็นอย่างยิ่ง ทรงคิดสร้างระนาดเหล็กโดยได้แรงบันดาลต้นแบบจาก "เขี่ยหวีเหล็ก" มีวงปี่พาทย์ส่วนพระองค์ โดยมีพระประดิษฐ์ไพเราะ(ครูมีแขก) เป็นหัวหน้าวง ในวงนี้ได้สร้างเพลงใหม่ๆขึ้นมากมาย อาทิเช่น ทยอยเดี่ยว ทยอยนอก อาเฮีย พญาโศก จีนขิมเล็ก จีนขิมใหญ่



คนดนตรี ท่านที่ ๕๙
เปรื่อง (ป.) ชื่นประโยชน์
(๒๔๖๕ - ๒๕๔๔)
เป็นศิลปินที่มีความสามารถในการแต่งเพลงไทยสากล เล่นไวโอลิน แต่งเพลงไว้เยอะมาก อาทิเช่น ตราบาป ชาตินี้ชาติเดียว คงมีวัน ใจตรงกัน เพียงแค่นี้ สักวันหนึ่ง แก่งคอย จ้าวหัวใจ พรุ่งนี้ฉันจะลืม ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๘



คนดนตรี ท่านที่ ๖๐
เปลื้อง ฉายรัศมี
(๒๔๗๕ - ปัจจุบัน)
เป็นศิลปินพื้นบ้านอีสานทุกชนิด เป็นผู้พัฒนา "เกราะลอ" ซึ่งเป็นเพียงเครื่องมือใช้ตีไล่กา พัฒนามาเป็นโปงลาง กลายเป็นเครื่องดนตรียอดนิยมของพื้นบ้านอีสานในเวลาต่อมา ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๒๙



คนดนตรี ท่านที่ ๖๑
แปง โนจา
(๒๔๔๔ - ๒๕๓๗)
มีความสามารถในการเล่นเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา เช่น พิณเปี๊ยะ สะล้อ ซึง ปี่จุ่ม และแน สามารถถ่ายทอดความรู้ในการเล่นดนตรีพื้นบ้านให้แก่ผู้ที่สนใจ ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้มีผลงานทางวัฒนธรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๓๕



คนดนตรี ท่านที่ ๖๒
ผ่องศรี วรนุช
(๒๔๘๒ - ปัจจุบัน)
ได้รับการยกย่องให้เป็น "ราชินีลูกทุ่ง" ได้รับรางวัลต่างๆมากมาย เช่น แผ่นเสียงทองคำ เสาอากาศทองคำ ร้องเพลงไว้มากมาย อาทิเช่น ไหนว่าไม่ลืม น้ำตาเมียหลวง ด่วนพิศวาส สาริกาลืมไพร ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๕



คนดนตรี ท่านที่ ๖๓
พยงค์ มุกดา, นาวาตรี
(๒๔๖๙ - ปัจจุบัน)
รับราชการที่กองดุริยางค์ทหารเรือ เป็นครูเพลง แต่งเพลงไทยสากล เพลงลูกทุ่งไว้เป็นจำนวนมาก ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ตุ๊กตาทอง ผลงานเพลง อาทิเช่น ชั่วนิจนิรันดร แล้วเราจะรักกันได้อย่างไร ดาวลอย นางรอง พี่มาทีหลัง ทำบุญด้วยอะไร ยอยศพระลอ แรงพิศวาท สาวสวนแตง สตรีที่โลกลืม ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๔








 

Create Date : 15 กรกฎาคม 2549    
Last Update : 31 มีนาคม 2551 20:29:14 น.
Counter : 5654 Pageviews.  

ภาพเขียน ๑๑๑ คนดนตรี #๖

ภาพเขียน ๑๑๑ คนดนตรี #๖
------------------------------------------------------------
คนดนตรี ท่านที่ ๔๖
บรูซ แกสตัส
(๒๔๘๙ - ปัจจุบัน)
เกิดที่รัฐแคลิฟอร์เนีย อเมริกา มีคุณพ่อเป็นผู้อำนวยการเพลง มีคุณแม่เป็นนักร้อง เรียนจบปริญญาโททางด้านดนตรี เดินทางเข้ามาสอนดนตรีในไทย ที่พิษณุโลก และเชียงใหม่ ติดใจเพลง "ชเวดากอง" ของครูบุญยงค์ เกตุคง มาก ได้ตามหาครูจนเจอและได้เรียนดนตรีกับครูบุญยงค์ ตั้งวงดนตรีฟองน้ำ บันทึกเสียงเพลงไทยและเพลงสมัยนิยมไว้มากมาย



คนดนตรี ท่านที่ ๔๗
บุศย์ เพ็ญกุล
(ไม่ทราบปีเกิด - ๒๔๔๓)
เป็นหัวหน้าคณะละคร "บุศย์มหินทร์" เป็นละครไทยคณะแรกที่ได้เดินทางไปแสดงยังต่างประเทศ เช่น อียิปต์ ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เดนมาร์ก รัสเซีย ระหว่างปี ๒๔๔๒ - ๒๔๔๓



คนดนตรี ท่านที่ ๔๘
เบญจรงค์ ธนโกเศศ
(๒๔๖๑ - ปัจจุบัน)
มีความสามารถในการเล่น "ซอด้วง" เป็นเลิศได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระอาจารย์แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๔๑



คนดนตรี ท่านที่ ๔๙
ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
(๒๔๓๖ - ๒๔๘๔)
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้วงพิณพาทย์หลวงไปบรรเลงที่วังสุโขทัย สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ต่อมาทรงหัดซอด้วง และซออู้ ทรงพระราชนิพนธ์เพลงเขมรละออองค์ ราตรีประดับดาว โหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง



คนดนตรี ท่านที่ ๕๐
ประดิษฐ์ไพเราะ, พระ
(ประมาณ ๒๓๓๐ - ประมาณ ๒๔๑๕)
คนทั่วไปเรียกว่า "ครูมีแขก" เป็นคนอิสลาม เป็นครูดนตรีไทยคนแรกที่มีชื่อเสียง เป็นนักดนตรีในราชสำนัก ๕ รัชกาล(รัชกาลที่ ๑ - ๕) เป็นเจ้าแห่งเพลงทยอย เป่าปี่ สีซอสามสายเก่งมาก มีผลงานเพลงไทยมากมาย



คนดนตรี ท่านที่ ๕๑
ประดิษฐ์ไพเราะ, หลวง
(๒๔๒๔ - ๒๔๙๗)
เดิมชื่อ ศร ศิลปบรรเลง เป็นนักปี่พาทย์ที่มีชื่อเสียงมาก มีความสามารถรอบวง มีลูกศิษย์มากมาย แต่งเพลงไว้มากกว่า ๓๐๐ เพลง เช่นกระต่ายชมเดือนเถา เขมรปากท่อเถา เขมรราชบุรีเถา แขกขาวเถา แสนคำนึงเถา



คนดนตรี ท่านที่ ๕๒
ประเวช กุมุท
(๒๔๖๖ - ๒๕๔๔)
มีความชำนาญด้านเครื่องสาย โดยเฉพาะ ซออู้ ซอด้วง ซอสามสาย นอกจากนี้ยังตีกรับขับเสภาได้ ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๒



คนดนตรี ท่านที่ ๕๓
ประสานดุริยศัพท์, พระยา
(๒๔๐๓ - ๒๔๖๗)
เดิมชื่อ แปลก ประสานศัพท์ได้รับเลือกให้ไปเป่าขลุ่ยและปี่ ในการฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปีของพิพิธภัณฑ์ เมืองวิมปลีย์ ประเทศอังกฤษ และได้เป่าปี่ถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ที่พระราชวังบัคกิ้งแฮม



คนดนตรี ท่านที่ ๕๔
ประสิทธิ์ ถาวร
(๒๔๖๔ - ๒๕๔๖)
เป็นศิษย์เอกของครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ มีความสามารถสูง เป็นครูคนสำคัญของกรมศิลปากร ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๔๕






 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2549    
Last Update : 31 มีนาคม 2551 20:28:40 น.
Counter : 6768 Pageviews.  

ภาพเขียน ๑๑๑ คนดนตรี #๕

ภาพเขียน ๑๑๑ คนดนตรี #๕

------------------------------------------------------------

คนดนตรี ท่านที่ ๓๗
ธรรมศักดิ์มนตรี, เจ้าพระยา
(๒๔๑๙ - ๒๔๘๖)
เดิมชื่อ สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีกระทรวงธรรมการ ในฐานะนักประพันธ์เพลง ใช้นามว่า "ครูเทพ" เป็นผู้แต่งเพลงชาติฉบับชั่วคราว โดยใช้ทำนองเพลงมหาชัย ชื่อ "เพลงชาติมหาชัย" แต่งเพลงกราวกีฬา แต่งเพลงสามัคคีชุมนุม



คนดนตรี ท่านที่ ๓๘
นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา
(๒๔๐๖ - ๒๔๙๐)
ทรงเป็นศิลปินหลายสาขา อาทิ สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ดุริยางศิลป์ นาฎศิลป์ การละคร ทรงนิพนธ์เพลง เขมรไทรโยค ทรงนิพนธ์เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี



คนดนตรี ท่านที่ ๓๙
นารถ ถาวรบุตร
(๒๔๔๘ - ๒๕๒๔)
เป็นนักดนตรี นักแต่งเพลง นักเรียบเรียงเสียงประสาน เป็นหัวหน้าวงดนตรีโรงงานยาสูบ เป็นนักคนตรีอาชีพที่ได้ชื่อว่า "ราชาเพลงมาร์ชไทย" แต่งเพลง อาทิ เพลงสยามานุสติ กราวกีฬา เอเชี่ยนเกมส์ มาร์ชกองทัพบก มาร์ชพิทักษ์สันติราฎร์ เป็นครูสอนดนตรีที่โรงเรียนเซนต์จอห์น



คนดนตรี ท่านที่ ๔๐
นิภา อภัยวงศ์
(๒๔๕๑ - ๒๕๔๑)
เป็นลูกของครูหรั่ง และนางเจียม พุ่มทองสุข เรียนร้องเพลงกับครูเจริญ พาทยโกศล มีหน้าที่ขับร้องเพลงไทยคู่กับเปียโน ได้ขับร้องถวาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้บันทึกเสียงเพลง พญาโศก สุดาสวรรค์เถา พระอาทิตย์ชิงดวง เคยเป็นครูดนตรีไทยถวายการสอนสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ในโรงเรียนจิตรลดา พระราชวังสวนจิตรลดา



คนดนตรี ท่านที่ ๔๑
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
(๒๔๘๓ - ปัจจุบัน)
เป็นผู้สร้างกวีนิพนธ์ไว้มากมาย เรียนดนตรีไทยกับ หลวงไพเราะเสียงซอ ครูประเวช กุมุท เป่าขลุ่ยและมีขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีประจำตัว แต่งบทเพลงไว้มากมาย ตั้งวงดนตรีคันนายาว วงเจ้าพระยา ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๖



คนดนตรี ท่านที่ ๔๒
บริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
(๒๔๒๔ - ๒๔๘๗)
ทรงเป็นนักดนตรี นักแต่งเพลง ทั้งดนตรีไทยและคนตรีสากล ทรงเรียบเรียงเพลงไทยให้เป้นเพลงไทยสากล ตั้งวงดนตรีไทยประจำวังบางขุนพรหม ทรงแต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก อาทิ เพลงวอลทซ์ประชุมพล วอลทซ์เมขลา วอลทซ์โนรี มาร์ชบริพัตร มณฑาทอง และเพลงสำหรับวงโยธวาทิต อาทิ มากฤกษ์ มหาชัย สรรเสริญเสือป่า สาครลั่น โหมโรงสะบัดสะบิ้ง ถอนสมอเถา เขมรใหญ่ แขกสาหร่าย ทยอยนอก



คนดนตรี ท่านที่ ๔๓
บุญยงค์ เกตุคง
(๒๔๖๓ - ๒๕๓๙)
เป็นลูกศิษย์ครูหรั่ง พุ่มทองสุก ลูกศิษย์ครูเพชร จรรย์นาค ลูกศิษย์ครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ เป็นนักระนาดที่ ฯพณฯ โจวเอินไหล กล่าวชมว่า "เสียงระนาดเสมือนเสียงไข่มุกหล่นลงบนจานหยก" บันทึกเสียงไว้มากมาย โดยเฉพาะบันทึกเสียงร่วมกับ พรภิรมย์ ในชุด เพลงดาวลูกไก่ และได้ร่วมมือกับวงฟองน้ำ ของ บรูซ แกสตัน ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๙



คนดนตรี ท่านที่ ๔๔
บุญยัง เกตุคง
(๒๔๖๗ - ๒๕๔๐)
เล่นปี่พาทย์ ตีระนาดทุ้มคู่กับพี่ชาย บุญยงค์ เกตุคง ตั้งคณะลิเกร่วมกับนายบุญสม มีสมวงศ์(พรภิรมย์) ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๔



คนดนตรี ท่านที่ ๔๕
บุญสม มีสมวงศ์
(๒๔๗๑ - ปัจจุบัน)
เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ในนาม "พรภิรมย์" เป็นนักลิเกร่วมคณะบุญยงค์ เกตุคง บุญยัง เกตุคง หันไปร้องเพลงลูกทุ่งโด่งดังมาก มีผลงานประมาณ ๕๐๐ เพลง เช่น น้ำตาลาไทร บัวตูมบัวบาน ดาวลูกไก่ เห่ฉิมพลี ลานรักลานเท วังแม่ลูกอ่อน กระท่อมทองกวาว จำใจจาก ชมดง ปัจจุบันบวชอยู่ที่วัดรัตนชัย หรือวัดจีน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา






 

Create Date : 15 มิถุนายน 2549    
Last Update : 31 มีนาคม 2551 20:28:06 น.
Counter : 6385 Pageviews.  

ภาพเขียน ๑๑๑ คนดนตรี #๔

ภาพเขียน ๑๑๑ คนดนตรี #๔
------------------------------------------------------------

คนดนตรี ท่านที่ ๒๘
เตือน พาทยกุล
(๒๔๔๘ - ๒๕๔๖)
เรียนเกี่ยวกับดนตรีไทยจากครูดนตรีผู้ใหญ่หลายท่าน อาทิเช่น เรียนจากพ่อและปู่(ตระกุลพาทยกุล)
เรียนกับจางวางทั่ว พาทยโกศล, พระยาเสนาะดุริยางค์, พระยาภูมีเสวิน, หลวงไพเราะเสียงซอ ฯลฯ
ได้แต่งเพลงไว้หลายเพลง เช่น โหมโรงอัศวิน แขกมอญบางช้างทางเปลี่ยน ลาวต่อนกเถา
เป็นครูสอนดนตรีที่วิทยาลัยครูเพชรบุรี และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลันาฏศิลปกรุงเทพฯ
ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ปี๒๕๓๕




คนดนตรี ท่านที่ ๒๙
ทองมาก จันทะลือ
(๒๔๖๗ - ปัจจุบัน)
เป็นหมอลำมีชื่อเสียงมากทางขอนแก่น ชาวบ้านเรียก "หมอลำถูทา" เพราะเคยขับหมอลำ
โฆษณาสินค้าจนคนจำได้ เป็นครูสอนหมอลำ มีลูกศิษย์มากกว่า ๓๐๐ คณะ ได้รับยกย่องเป็น
ศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๒๙



คนดนตรี ท่านที่ ๓๐
ท้วม ประสิทธิกุล
(๒๔๓๙ - ๒๕๓๔)
เป็นนักร้องประจำวังสวนกุหลาบและวังเพชรบูรณ์ รับราชการในกรมปี่พาทย์และโขนหลวง
ต่อมาอยู่กรมศิลปากร ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๒๙



คนดนตรี ท่านที่ ๓๑
ทองดี ชูสัตย์
(ประมาณ ๒๓๘๕ - ประมาณ ๒๔๗๐)
เป็นครูใหญ่ของสำนักบ้านพิณพาทย์วัดกัลยา มีลูกศิษย์ อาทิ จางวางทั่ว พาทยโกศล
หลวงประสานดุริยางค์(สุทธิ์ ศรีชยา) ฯลฯ ในปี ๒๔๖๗ กรมมหรสพหลวงทำพิธีไหว้ครูครั้งใหญ่
รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าให้ครูทองดี ชูสัตย์ เป็นผู้บอกเพลงหน้าพาทย์สูงสุดแก่นักดนตรี ๖ คนด้วยกัน
ได้แก่ พระยาเสนาะดุริยางค์ พระเพลงไพเราะ หลวงบำรุงจิตรเจริญ หลวงสร้อยสำเนียงสนธิ์
หมื่นคนธรรพประสิทธิสาร และนายมนตรี ตราโมท



คนดนตรี ท่านที่ ๓๒
ทั่ว พาทยโกศล, จางวาง
(๒๔๒๔ - ๒๔๘๑)
เป็นนักดนตรีต้นตระกูล "พาทยโกศล" เป็นนักดนตรีฝีมือดีในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นหัวหน้าวงดนตรี
ประจำวังบางขุนพรหม ได้บันทึกเสียงเพลงไทยไว้จำนวนมากมาย ได้รับประทานนามตระกูลว่า
"พาทยโกศล"



คนดนตรี ท่านที่ ๓๓
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ
(๒๔๙๘ - ปัจจุบัน)
ทรงเป็นนักดนตรี ทรงเครื่องดนตรีไทยรอบวง ทรงโปรดซอด้วง ระนาดเอก และทรงเครื่อง
ดนตรีสากลทรัมเปต ทรงพระราชนิพนธ์เนื้อร้อง เช่น เพลงเต่ากินผักบุ้ง เต่าเห่ สมิงทอง จำปานารี
แลจันทร์ ชายทะเลพัทยา อกทะเล ดุจบิดามารดร ส้มตำ รัก ทรงสนพระทัยอนุรักษ์
ศิลปวัฒนธรรมไทยในทุกๆด้าน



คนดนตรี ท่านที่ ๓๔
เทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล
(๒๔๕๐ - ๒๕๑๖)
เป็นผู้สืบทอดมรดกปี่ท่านพระ ซึ่งเป็นปี่ประจำตัวของครูมีแขก(พระประดิษฐ์ไพเราะ) ท่าน
เป็นนักเป่าปี่คนสำคัญ เป็นครูดนตรีหลักในการศึกษาวิจัยระบบเสียงดนตรีไทย ของชุมนุม
คณะวิศวกรรมศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี ๒๕๑๑ - ๒๕๑๖



คนดนตรี ท่านที่ ๓๕
เทียบ คงลายทอง
(๒๔๔๕ - ๒๕๒๕)
เป็นนักเป่าปี่ประจำวงปี่พาทย์ของกระทรวงวัง ในรัชกาลที่ ๖ ต่อมาได้ย้ายไปอยู่แผนกดุริยางค์ไทย
กรมศิลปากร ได้เป่าปี่บันทึกเสียงไว้มากมาย เช่น เดี่ยวปี่เพลงพญาโศก สารถี แขกมอญ ทะแย
เชิดนอก บัวลอย และได้เดี่ยวขลุ่ย เช่น เพลงแขกมอญบางขุนพรหม เป็นต้น



คนดนตรี ท่านที่ ๓๖
ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี
(๒๔๙๓ - ปัจจุบัน)
จบปริญญาตรี เอกดนตรีจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร รับราชการเป็นครูสอน
ดนตรีที่วิทยาลัยครูจันทรเกษม และได้ลาออกจากราชการเป็นนักดนตรีอาชีพ อยู่ใน
หลายๆวงดนตรีด้วยกัน นำเอาขลุ่ยไปเป่าร่วมในเพลงสมัยนิยม คือเพลงเมดอินไทยแลนด์ ของวง
คาราบาว จนทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังมาก






 

Create Date : 14 มิถุนายน 2549    
Last Update : 31 มีนาคม 2551 20:27:43 น.
Counter : 6755 Pageviews.  

ภาพเขียน ๑๑๑ คนดนตรี #๓

ภาพเขียน ๑๑๑ คนดนตรี #๓
------------------------------------------------------------

คนดนตรี ท่านที่ ๑๙
ฉลวย จิยะจันทร์
(๒๔๕๙ - ปัจจุบัน)
มีความสามารถในการเล่นซออู้สูงมาก รับราชการกรมประชาสัมพันธ์ ตำแหน่งนักดนตรีไทย
สอนดนตรีไทยตามสถาบันต่างๆ ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดของสถานีวิทยุกระจาย
เสียงแห่งประเทศไทย ปี ๒๕๐๖



คนดนตรี ท่านที่ ๒๐
ฉวีวรรณ (พันธุ) ดำเนิน
(๒๔๘๘ - ปัจจุบัน)
เป็นศิลปินหมอลำ ที่มีผลงานมากมาย เป็นวิทยากรไปบรรยายตามสถานศึกษาต่างๆ
ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๖



คนดนตรี ท่านที่ ๒๑
เฉลิม บัวทั่ง
(๒๔๕๓ - ๒๕๓๐)
รับราชการที่กรมปี่พาทย์และโขนหลวง กรมศิลปากร กรมที่ดิน และกรมตำรวจ ตามลำดับ
ได้ประพันธ์เพลงไว้มากมาย ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๒๙



คนดนตรี ท่านที่ ๒๒
ชิ้น ศิลปบรรเลง, คุณหญิง
(๒๔๔๙ - ๒๕๓๑)
คุณหญิงชิ้น ท่านประพันธ์เพลงเด็กไว้มากมาย ขับร้องและบันทึกเสียงไว้หลายเพลง
ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๐



คนดนตรี ท่านที่ ๒๓
ชาลี อินทรวิจิตร
(๒๔๖๖ - ปัจจุบัน)
ท่านได้รับรางวัลจากการแต่งเพลงมากมาย ผลงานของท่าน เช่น มนต์รักดอกคำใต้
ทาสเทวี คนขายฝัน บ้านทรายทอง ท่าฉลอม ทุ่งรวงทอง แสนแสบ หยาดเพชร
เย้ยฟ้าท้าดิน ฯลฯ ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๖



คนดนตรี ท่านที่ ๒๔
ชูชาติ พิทักษากร, พันเอก
(๒๔๗๗ - ปัจจุบัน)
เป็นนักเรียนทุนประเทศอังกฤษ ไปเรียนไวโอลินที่อังกฤษ เยอรมัน
และโปรตุเกส กลับมารับราชการในกองดุริยางค์ทหารบก และรับราชการที่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีลูกศิษย์มากมาย สอนดนตรีตามสถาบันต่างๆ



คนดนตรี ท่านที่ ๒๕
เชื้อ ดนตรีรส
(๒๔๖๐ - ๒๕๔๒)
เรียนฆ้องวงใหญ่กับครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ เรียนระนาดทุ้มกับครูพุ่ม บาปุยะวาทย์
รับราชการกรมประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ตีระนาดเอก และระนาดทุ้ม สอนดนตรีใน
สถาบันต่างๆหลายแห่ง



คนดนตรี ท่านที่ ๒๖
ไชยลังกา เครือเสน
(๒๔๔๗ - ๒๕๓๕)
เป็นศิลปินพื้นบ้านคนสำคัญทางภาคเหนือ สามารถเล่นเครื่องดนตรีได้
หลายชนิด เช่น พิณ สะล้อ ปี่ ได้เป็นอย่างดี ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่มี
ผลงานดีเด่น ประจำปี ๒๕๓๐



คนดนตรี ท่านที่ ๒๗
ดนู ฮันตระกูล
(๒๔๙๓ - ปัจจุบัน)
เรียนดนตรีที่อเมริกา และเนเธอร์แลนด์ ตั้งโรงเรียนสอนดนตรี ตั้งบริษัทแต่ง
เพลงโฆษณา และเพลงสมัยนิยมจำนวนมาก






 

Create Date : 13 มิถุนายน 2549    
Last Update : 31 มีนาคม 2551 20:27:08 น.
Counter : 6746 Pageviews.  

1  2  

ก๋งแก่(หง่อมจริงๆ)
Location :
จันทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ก๋งแก่(หง่อมจริงๆ)'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.