Group Blog
 
All Blogs
 
พื้นฐาน 5 ประการของพุทธนิกายเซน

(1) ความจริงสูงสุดเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแสดงได้ด้วยคำพูด ความจริงสูงสุดของเซนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแสดงออกได้ด้วยคำพูดหรือตัวหนังสือ ดังคำพูดของเซนที่ว่า "การส่งมอบพิเศษนอกคัมภีร์ ไม่ต้องอาศัยคำพูดหรือตัวหนังสือ" ซึ่งก็ตรงกับคำพูดในปรัชญาเต๋าที่ว่า "เต๋าเป็นสิ่งที่ไม่อาจเรียกได้ด้วยคำพูด เต๋าที่เรียกได้ด้วยคำพูดไม่ใช่เต๋าที่แท้จริง" และ "ผู้พูดไม่รู้ ผู้รู้ไม่พูด" พุทธะอันสูงสุดนั้นคือธรรมชาติอันแท้จริงที่มีอยู่ภายในชีวิตของเรานี้เอง เมื่อคำพูดและความคิดปรุงแต่งหยุดลง ธรรมชาติดังเดิมก็พลันปรากฎ

ดังนั้นเซนจึงมุ่งหวังในเรื่องประสบการณ์ ความตื่นของชีวิตมากกว่าคำพูด ประสบการณ์นี้เรียกว่า "ความว่าง" หรือ "ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ" หรือ ธรรมชาติดั้งเดิม เปรียบเสมือนการดื่มน้ำ ร้อนหรือเย็นรู้ได้โดยไม่ต้องบอก

(2) การฝึกฝนในทางธรรม เป็นสิ่งที่ไม่อาจฝึกได้ (ด้วยความพยายามที่เกิดจากการปรุงแต่ง) ในความคิดปรุงแต่งใดๆก็ตาม จะมีความรู้สึกที่มีตัวตนประสมอยู่ด้วยเสมอ ทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างสิ่งที่เป็นภายในกับสิ่งที่เป็นภายนอก และทำให้เกิดความยึดมั่นผูกพันกับวัตถุภายนอก ความพยายามที่เกิดจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็นการฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า การท่องพระสูตร การบูชาพระพุทธรูป การประกอบพิธีต่างๆนั้น โดยแท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ตรงข้าม บุคคลควรปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระ เฝ้าดูและขจัดกระแสแห่งความคิดปรุงแต่ง และจะต้องเข้าถึงธรรมชาติของความเป็นเอง การปฎิบัติธรรมที่แท้จริงจึงเกิดขึ้นได้

(3) ผลบั้นปลายสุดท้าย ไม่มีอะไรที่ใหม่ ประสบการณ์ของความตื่น ความรู้สึกตัวถึงเอกภาพอันแบ่งแยกมิได้ของสรรพสิ่งทั้งมวล การเห็นแจ้งธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะภายในของตน เหล่านี้ไม่ได้หมายความว่า ได้อะไรมาใหม่ เพียงแต่เป็นการรู้แจ้งบางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่ในตัวเองตลอดเวลาเท่านั้น ปัญหามีเพียงว่าที่เราไม่ได้รู้สึกตัวถึงสิ่งนี้เป็นเพราะอวิชชาของเราเอง ในภาวะของความตื่น เมื่อตัวตนที่ปรุงแต่งถูกขจัดออกไป ธรรมชาติในส่วนลึกลับอันแอบเร้นลับปรากฎตัวขึ้นแทนที่และผู้กระทำจะกระทำสิ่งต่างๆอย่างปราศจากตัวตนและอย่างเป็นกันเอง

(4) "ไม่มีอะไรมากในคำสอนทางพุทธศาสนา" แท้จริงแล้วนั้น ส่งที่เรียกว่าความคิด ลัทธิ และคำพูด ไม่มีความหมายแต่อย่างใด สิ่งสำคัญที่สุดเพียงประการเดียวคือ ประสบการณ์ของความตื่นเท่านั้น ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าพระพุทธเจ้า ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าชาวพุทธ และไม่มีแม้กระทั่งสิ่งที่เรียกว่าพุทธศาสนา เพราะตราบใดที่ยังยึดติดในสิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่อาจรู้แจ้งความเป็นจริงในสิ่งทั้งหลายอยู่ตราบนั้น

(5) ในขณะที่กำลังหาบน้ำ ผ่าฟืน นั่นแหละ เป็นขณะแห่งการสัมผัสกับชีวิตทางธรรม การตรัสรู้นั้นไม่จำกัดอยู่ในรูปแบบใด ในขณะแห่งการทำงาน ในชีวิตประจำวันก็อาจเป็นขณะแห่งการตรัสรู้ได้ ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะเป็นสิ่งสากล เราอาจพบมันได้ในทุกหนทุกแห่ง ดังบทเพลงจีนบทหนึ่งที่ว่า

ทันทีที่พระอาทิตย์ขึ้น

ทันทีที่พระอาทิตย์ตกดิน

เราขุดบ่อน้ำ

เราไถหว่านบนผืนดิน

อำนาจอะไรของเทพเจ้า
เราเริ่มต้นทำงาน
เราพักผ่อน

และเราดื่ม

และเรากิน

จะมาเกี่ยวข้องกับเรา


Create Date : 14 มกราคม 2548
Last Update : 14 มกราคม 2548 11:44:33 น. 6 comments
Counter : 536 Pageviews.

 


แวะมาเยี่ยมค่า
คลิกที่นี่ค่ะ




โดย: prncess วันที่: 14 มกราคม 2548 เวลา:15:38:37 น.  

 
เมื่อเช้ารู้สึกแย่มากๆ

ได้มาอ่านแล้ว รู้สึกดีเป็นปลิดทิ้งครับ

ขอบคุณมาก


โดย: XXRAM (XXram ) วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา:0:42:57 น.  

 
แหะๆ

รู้สึกหายเป็นปลิดทิ้งครับ

ผิดๆๆ


โดย: XXram วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา:0:52:29 น.  

 
//www.BuddhaMahayan.com

//www.BuddhaMahayan.com

//www.BuddhaMahayan.com


โดย: phra mahayan IP: 222.123.156.2 วันที่: 2 พฤษภาคม 2551 เวลา:13:37:45 น.  

 
บทความจากหนังสือ "ใจต่อใจในการฝึกตน" นิกายเซน
บทที่ 32.การรักษา “ความบริสุทธิ์”
ในบรรยากาศแห่งการปฏิบัติธรรมกันอย่างหน้าดำคร่ำเครียด นักศึกษาทางฝั่งโน้นผู้ซึ่ง “ติดกับดัก” ในอวิชชาตัณหาอุปาทาน ก็กำลังสร้างจินตนาการขึ้นมาในระหว่างการเร่งรีบปฏิบัติด้วยการไขว่คว้าหาความบริสุทธิ์ในรูปแบบลักษณะต่างๆ เช่น การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ การรักษาจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยความเข้าใจผิดว่าการรักษาความบริสุทธิ์ตรงนั้นจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้มาซึ่งผลแห่งการปฏิบัติในทุกๆขั้นตอนและท้ายที่สุด การรักษาความบริสุทธิ์นี้จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้มรรคผลนิพพานบังเกิดขึ้น ซึ่งในมุมมองแห่งเซนแล้วการรักษาความบริสุทธิ์ดังกล่าวนั้นแหละเป็นตัวกีดกั้นพระนิพพาน การรักษาความบริสุทธิ์นั่นเอง โดยตัวมันเองมันคือภาวะแห่งการบดบังเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้
ทางคณาจารย์เซนมองว่า การรักษาศีลให้บริสุทธิ์นั้นมันเป็นการปรุงแต่งขึ้นมาเป็นจิตประเภทที่ดีเท่านั้น เป็นการปรุงแต่งเพื่อเจริญกุศลกรรมรักษาความดีเป็นการตกแต่งคุณภาพจิตให้ดีขึ้นเท่านั้นเอง ซึ่ง “การรักษาความบริสุทธิ์” ของศีลมันเองก็คือการปรุงแต่งซึ่งเป็นสังขตธาตุอันคือธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่งซึ่งมันมีลักษณะเที่ยงแท้ไม่แน่นอน มีการเกิดขึ้นดับไป มันคือ “อัตตา”ตัวหนึ่ง มันเป็นอัตตาชนิดบริสุทธิ์ที่นักศึกษาทางฝั่งโน้นพากันเข้าไปบัญญัติชื่อโดยใส่คุณลักษณะผิดๆที่ชื่อความบริสุทธิ์ให้กับมัน แล้วคิดว่าความบริสุทธิ์ของมันจะเป็นเหตุให้ได้ตระหนักชัดในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ซึ่งแท้จริงมันเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง ก็เพราะโดยเนื้อหาแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้นั้น มันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น มันปราศจากอัตตาบริสุทธิ์ที่เรียกว่า “ศีลบริสุทธิ์” ซึ่งเป็นลักษณะสังขตธาตุคือธรรมธาตุแห่งการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นดับไปโดยสิ้นเชิง
และความเป็นจริงธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันก็มิใช่เป็น “การรักษาจิตให้บริสุทธิ์ ” การที่นักศึกษาฝั่งทางโน้นมีความหลงผิดเข้าใจว่า การที่เกิดการปรุงแต่งใดๆขึ้นมาเป็นจิตแล้วเราก็ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในจิตชนิดนั้นๆ ควรปล่อยให้มันไม่เที่ยงดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ แล้วนักศึกษาทางฝั่งโน้นก็พากันเข้าไปบัญญัติชื่อโดยใส่คุณลักษณะผิดๆที่ชื่อความบริสุทธิ์ให้กับมันโดยเรียกมันว่า “การรักษาจิตให้บริสุทธิ์” แล้วยังคิดอีกว่าความบริสุทธิ์ของจิตชนิดที่ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นมันจะเป็นเหตุให้ได้ตระหนักชัดในเนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ ซึ่งแท้จริงมันก็ยังเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งอีกเช่นเดิม ก็เพราะว่าโดยเนื้อหาแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้ มันคือความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น มันคือความว่างเปล่าอย่างนี้มานานแสนนานแล้วเป็นคุณสมบัติอันดั้งเดิมของมันอันหาจุดเริ่มต้นมิได้ด้วยซ้ำ เป็นคุณสมบัติของตัวมันเองตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้โดยมิได้อิงหรือต้องอาศัยกับความเกิดขึ้นดับไปแห่งปรากฎการณ์ทางจิตต่างๆ อันจะถือว่าเป็นจิตบริสุทธิ์ ก็เพราะธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันคือเนื้อหาแห่งความเป็นธรรมดาตามธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น หาใช่ความบริสุทธิ์ใดๆไม่





โดย: เมฆ โซะระคุโมะ IP: 122.155.42.34 วันที่: 21 สิงหาคม 2555 เวลา:22:13:17 น.  

 
บทความจากหนังสือ "ใจต่อใจในการฝึกตน" นิกายเซน
บทที่ 37.ความมีอยู่และความไม่มีอยู่
ความมีอยู่ คือความหมายแห่งฐานะการดำรงอยู่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นสิ่งยืนยันว่า “มี” สิ่งนั้นอยู่ ซึ่งหมายถึง “การเกิดขึ้น” ของสิ่งๆนั้น
ความไม่มีอยู่ คือความหมายแห่งฐานะการสิ้นสุดของสิ่งๆหนึ่งที่มันเคย “มีอยู่” เป็นสิ่งยืนยันว่า “ไม่มี” สิ่งนั้นอยู่ ซึ่งหมายถึงการดับไปสิ้นไปของสิ่งๆนั้น
สิ่งที่หมายถึง “ความไม่มีอยู่” มันมิใช่หมายถึงการทำลายล้างโดยแท้จริง ( ซึ่งมันมิได้หมายถึง ความไม่มีสิ่งใดเลยซึ่งมันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น ) แต่มันเป็นการยืนยันว่าเคยมีสิ่งๆหนึ่งอยู่และมันก็มีสภาพแห่งความแปรปรวนแล้วดับไปเป็นธรรมดา จึงเรียกมันว่า “ความไม่มีอยู่”
สิ่งที่หมายถึง “ความมีอยู่” มันก็มิได้หมายถึงความมีอยู่อย่างแท้จริง ( ซึ่งมันมิได้หมายถึง ความมีอยู่ตามธรรมชาติอย่างแท้จริงของความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น ) แต่มันเป็นการยืนยันว่าสิ่งที่มีอยู่นั้นมันย่อมตกอยู่ในสภาพแห่งความแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดา มันจึงเป็น “ความมีอยู่” แบบไม่ถาวรไม่คงที่ซึ่งมีลักษณะแปรผันของสิ่งๆหนึ่งเพียงเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ความมีอยู่หรือความไม่มีอยู่ จึงเป็นภาวะแห่งการยืนยันในความมีอยู่หรือความเกิดขึ้นของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และเป็นภาวะแห่งการยืนยันในความไม่มีอยู่หรือความดับไปของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มันจึงเป็นเพียงการยืนยันภาวะแห่งการเกิดดับของสิ่งๆหนึ่ง มันเป็นการยืนยันแค่เพียงความหมายนี้
แต่เนื้อหาธรรมชาติดั้งเดิมแท้ซึ่งมันคือธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของมันอยู่อย่างนั้น มันคือสภาพแห่งความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น โดยเนื้อหาแล้ว มันย่อมไม่มีการมาหรือการไป มันย่อมเป็นสิ่งไม่รับและไม่ปฏิเสธ มันย่อมเป็นสิ่งที่ไม่คงอยู่และไม่จากไป มันย่อมไม่มีการเกิดหรือการดับ เพราะฉะนั้นเมื่อมันปราศจากความมีความเป็นซึ่งมีคุณสมบัติแห่งการเกิดขึ้นดับไป ธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันจึงไม่ตกอยู่ภายใต้ “ความมีอยู่หรือความไม่มีอยู่”
เพราะฉะนั้น “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” มันจึงมิใช่สิ่งที่ยืนยัน “ความมีอยู่” ของความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนซึ่งคือเนื้อหาของมัน แต่ความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนมันก็ทำหน้าที่แสดงเนื้อหาของมันเองตามธรรมชาติอยู่แล้ว อันหมายถึงความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น และมันจึงมิใช่สิ่งที่ยืนยัน “ความไม่มีอยู่” ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งนอกจากความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เพราะความว่างเปล่าอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนมันเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น มันมิได้เกิดจากการที่ “ต้องอาศัย” สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นไม่มีอยู่ดับไปแล้วธรรมชาติดั้งเดิมแท้ถึงจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งหมายถึงความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมแท้มันมิได้เป็นสิ่งยืนยันว่าพึ่งมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วไม่มีอยู่ดับไปจนกลายเป็นความดับสนิทไม่มีเหลือ



โดย: เมฆ โซะระคุโมะ
ติดต่อ facebook "หัวใจแห่งสักกะ ตราบชั่วนิจนิรันดร์"
ammarintharo@hotmail.com



โดย: เมฆ โซะระคุโมะ IP: 122.155.42.34 วันที่: 21 สิงหาคม 2555 เวลา:22:17:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kkool
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add kkool's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.