Group Blog
 
All Blogs
 

เรียกสิ่งเหล่านี้ว่า . . . ความรัก

รัก คือ ความอดทน

รัก คือ ความเมตตากรุณา

ไม่ใช่ หึงหวง ข่มเหง

อวดดี หรือ หยาบคาย

รัก ไม่ใช่การดึงดัน เอาแต่ใจ

รัก ไม่ใช่ความรำคาญ หรือ ขุ่นเคือง

รักไม่ยินดีกับความผิด

แต่ยินดีกับความถูกต้อง

ความรักเกื้อหนุนทุกสิ่ง

เชื่อในทุกสิ่ง

หวังในทุกสิ่ง

ทนทานต่อทุกสิ่ง

รักไม่มีจุดจบ

จงยืดมั่นใน ศรัทธา ความหวัง และความรัก

แต่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

... ก็คือ ... ความรัก




 

Create Date : 17 พฤศจิกายน 2548    
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2548 11:50:38 น.
Counter : 373 Pageviews.  

คำเตือนแห่งเซน

การเดินตามแบแผนและติดในกฎเกณฑ์
เป็นการผูกมัดตัวเองโดยไม่ต้องมีเชือก

การกระทำสิ่งต่างๆตามอำเภอใจ
เป็นสิ่งอกุศลและเลวร้าย

การกระทำเพียงแค่รวมจิตเป็นหนึ่ง
และบังคับมันให้สงบลง
เป็นลัทธินิยมความนิ่งเฉยและเป็นเซนที่ผิด

การยึดถือความคิดของตนเอง
และลืมโลกที่ปรากฎอยู่ตามสภาพของมัน
เป็นการตกลงไปสู่หลุมที่ลึก

ความรู้สึกยึดมั่นที่ว่าตนจะต้องรู้ทุกอย่าง
และไม่ยอมให้สิ่งใดมาหลอกลวง
เป็นการตกลงไปสู่หลุมที่ลึก

ความรู้สึกยึดมี่ยที่ว่าตนต้องรู้ทุกอย่าง
และไม่ยอมให้สิ่งใดมาหลอกลวง
เป็นการใส่โซ่ตรวนให้กับตัวเอง

การคิดถึงความดีและความชั่ว
เป็นการติดอยู่ในสวรรค์หรือนรก

การค้นหาพระพุทธเจ้านอกตัว
การค้นหาความจริงนอกตัว
เป็นการถูกคุมขังอยู่ในระหว่างซี่กรงเหล็กทั้งสองซี่

ใครที่คิดว่าเขาบรรลุเห็นแจ้ง
ด้วยการยกระดับความคิด
เป็นเพียงการเล่นกับสิ่งอันหลอกลอน

การนั่งอย่างเลื่อนลอยในเซน
เป็นเงื่อนไขของสิ่งที่เลว


การทำให้ก้าวหน้า
เป็นเพียงสิ่งลวงตาในทางปัญญาอันเกิดจากการปรุงแต่ง

ความเสื่อมถอย
เป็นสิ่งที่เข้ากันไม่ได้กับหนทางของเรา

การไม่ก้าวหน้าและไม่ถอยหลัง
เป็นเพียงลมหายใจของบุคคลที่ตายแล้ว

เธอจะต้องมานะพยายามอย่างถึงที่สุด
ในอันที่จะบรรลุถึงการตรัสรู้ของเธอในชีวิตนี้
และจะต้องไม่ผลัดมันออกไปวันแล้ววันเล่า
ด้วยการก้าวข้ามพ้นโลกทั้งสาม




 

Create Date : 14 มกราคม 2548    
Last Update : 25 มกราคม 2548 10:17:55 น.
Counter : 294 Pageviews.  

อัตตลักษณ์ของเซน

เซนเชื่อในมนุษย์ทุกคนคือเชื่อว่าทุกคนมีธรรมชาติแห่งพุทธอยู่ด้วยกันทุกคน มีโอกาสตรัสรู้ได้ทุกคน และแจ่มแจ้งในตัวเองหรือการเข้าถึงพุทธะนั้นก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยรูปแบบใดๆทางภายนอกเลยด้วย

เซนชี้อีกว่า การตรัสรู้นี้ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเพศใด เป็นผู้คงแก่เรียนหรือไม่ อายุหรือวัยเท่าใด ฯลฯ เพราะไม่ว่าจะเป็นใครต่างก็มีธรรมชาติเดิมแท้อันบริสุทธิ์ อยู้ด้วยทุกคน เมื่อสิ่งที่มาครอบคลุมปกปิดถูกรื้อถอนออกไป ความสว่งไสวจะปรากฎออกมาทุกคน ไม่เว้นใครเลย

เซนไม่เน้นเรื่องอื่น เช่นพระเจ้ามีจริงหรือไม่ นรก-สวรรค์มีจริงหรือไม่ บุญกุศลคืออะไร ฯลฯ เซนจะหลีกเลี่ยงเรื่องเหล่านี้ โดยเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระ หากแต่มุ่งในการทำตัวเองให้แจ่มแจ้งในปัจจุบันขณะนั้นก็พอ ไม่ปรารถนาอะไรอื่น โดยการถกเถียง หรือการเรียนในเชิงปรัชญาเพ้อเจ้อไปนั้น เซนถือว่าไม่ใช่เรื่องของเซนเอาเลยทีเดียว

เซนคือทางและเป็นทางอันตรงแน่วที่นำพาเราไปให้พ้นจากปัญญาในระนาบเหตุผลสามัญ หมายความว่าเซน ไม่ใช่เรื่องตรรก เราไม่อาจใช้ตรรกหรือเหตุผลตามธรรมดามาจับเซนได้ และเราไม่อาจอาศัยตรรกเพื่อเข้าสู่วิมุตติได้อีกด้วย

เซนจะจัดการในเรื่องความคิดรวบยอด หรือที่เรียกว่าความคิดปรุงแต่ง (คือความคิดที่ก่อให้เกิดการจำแนกสิ่งต่างๆออกเป็น 2 ขั้ว ต่างกัน เช่น ดี-ฃั่ว ผิด-ถูก พอใจ-ไม่พอใจ) ซึ่งเซนถือว่าความคิดนี้เป็นเรื่องผูกมัดมนุษย์ไว้ในกรงแห่งความทุกข์และอวิชชา ถ้าหากทำลายความคิดปรุงแต่งเหล่านี้เสียได้จะเป็นอิสระ และจะเห็นสิ่งต่างๆตามที่เป็นจริงของมัน ไม่ใช่ผ่านแว่นแห่งตรรกหรือผ่านความคิดรวบยอดต่างๆนานา




 

Create Date : 14 มกราคม 2548    
Last Update : 14 มกราคม 2548 11:39:30 น.
Counter : 286 Pageviews.  

พื้นฐาน 5 ประการของพุทธนิกายเซน

(1) ความจริงสูงสุดเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแสดงได้ด้วยคำพูด ความจริงสูงสุดของเซนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแสดงออกได้ด้วยคำพูดหรือตัวหนังสือ ดังคำพูดของเซนที่ว่า "การส่งมอบพิเศษนอกคัมภีร์ ไม่ต้องอาศัยคำพูดหรือตัวหนังสือ" ซึ่งก็ตรงกับคำพูดในปรัชญาเต๋าที่ว่า "เต๋าเป็นสิ่งที่ไม่อาจเรียกได้ด้วยคำพูด เต๋าที่เรียกได้ด้วยคำพูดไม่ใช่เต๋าที่แท้จริง" และ "ผู้พูดไม่รู้ ผู้รู้ไม่พูด" พุทธะอันสูงสุดนั้นคือธรรมชาติอันแท้จริงที่มีอยู่ภายในชีวิตของเรานี้เอง เมื่อคำพูดและความคิดปรุงแต่งหยุดลง ธรรมชาติดังเดิมก็พลันปรากฎ

ดังนั้นเซนจึงมุ่งหวังในเรื่องประสบการณ์ ความตื่นของชีวิตมากกว่าคำพูด ประสบการณ์นี้เรียกว่า "ความว่าง" หรือ "ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ" หรือ ธรรมชาติดั้งเดิม เปรียบเสมือนการดื่มน้ำ ร้อนหรือเย็นรู้ได้โดยไม่ต้องบอก

(2) การฝึกฝนในทางธรรม เป็นสิ่งที่ไม่อาจฝึกได้ (ด้วยความพยายามที่เกิดจากการปรุงแต่ง) ในความคิดปรุงแต่งใดๆก็ตาม จะมีความรู้สึกที่มีตัวตนประสมอยู่ด้วยเสมอ ทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างสิ่งที่เป็นภายในกับสิ่งที่เป็นภายนอก และทำให้เกิดความยึดมั่นผูกพันกับวัตถุภายนอก ความพยายามที่เกิดจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็นการฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า การท่องพระสูตร การบูชาพระพุทธรูป การประกอบพิธีต่างๆนั้น โดยแท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ตรงข้าม บุคคลควรปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระ เฝ้าดูและขจัดกระแสแห่งความคิดปรุงแต่ง และจะต้องเข้าถึงธรรมชาติของความเป็นเอง การปฎิบัติธรรมที่แท้จริงจึงเกิดขึ้นได้

(3) ผลบั้นปลายสุดท้าย ไม่มีอะไรที่ใหม่ ประสบการณ์ของความตื่น ความรู้สึกตัวถึงเอกภาพอันแบ่งแยกมิได้ของสรรพสิ่งทั้งมวล การเห็นแจ้งธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะภายในของตน เหล่านี้ไม่ได้หมายความว่า ได้อะไรมาใหม่ เพียงแต่เป็นการรู้แจ้งบางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่ในตัวเองตลอดเวลาเท่านั้น ปัญหามีเพียงว่าที่เราไม่ได้รู้สึกตัวถึงสิ่งนี้เป็นเพราะอวิชชาของเราเอง ในภาวะของความตื่น เมื่อตัวตนที่ปรุงแต่งถูกขจัดออกไป ธรรมชาติในส่วนลึกลับอันแอบเร้นลับปรากฎตัวขึ้นแทนที่และผู้กระทำจะกระทำสิ่งต่างๆอย่างปราศจากตัวตนและอย่างเป็นกันเอง

(4) "ไม่มีอะไรมากในคำสอนทางพุทธศาสนา" แท้จริงแล้วนั้น ส่งที่เรียกว่าความคิด ลัทธิ และคำพูด ไม่มีความหมายแต่อย่างใด สิ่งสำคัญที่สุดเพียงประการเดียวคือ ประสบการณ์ของความตื่นเท่านั้น ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าพระพุทธเจ้า ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าชาวพุทธ และไม่มีแม้กระทั่งสิ่งที่เรียกว่าพุทธศาสนา เพราะตราบใดที่ยังยึดติดในสิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่อาจรู้แจ้งความเป็นจริงในสิ่งทั้งหลายอยู่ตราบนั้น

(5) ในขณะที่กำลังหาบน้ำ ผ่าฟืน นั่นแหละ เป็นขณะแห่งการสัมผัสกับชีวิตทางธรรม การตรัสรู้นั้นไม่จำกัดอยู่ในรูปแบบใด ในขณะแห่งการทำงาน ในชีวิตประจำวันก็อาจเป็นขณะแห่งการตรัสรู้ได้ ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะเป็นสิ่งสากล เราอาจพบมันได้ในทุกหนทุกแห่ง ดังบทเพลงจีนบทหนึ่งที่ว่า

ทันทีที่พระอาทิตย์ขึ้น

ทันทีที่พระอาทิตย์ตกดิน

เราขุดบ่อน้ำ

เราไถหว่านบนผืนดิน

อำนาจอะไรของเทพเจ้า
เราเริ่มต้นทำงาน
เราพักผ่อน

และเราดื่ม

และเรากิน

จะมาเกี่ยวข้องกับเรา




 

Create Date : 14 มกราคม 2548    
Last Update : 14 มกราคม 2548 11:44:33 น.
Counter : 534 Pageviews.  

เซน การเข้าใจธรรมชาติ

นิกายเซนแตกออกมาจากพุทธฝ่ายมหายาน
เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ที่เหมาะใน
ทางโลกโดยตรง สร้างปัญญาให้กับโลกทุกวันนี้
ซึ่งต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์มากในการแก้ปัญหา
แทบทุกเรื่อง แม้แต่การดำเนินชีวิตของเราเองทุกคน
สรรพสิ่งในโลกนั้นมีความหลากหลาย จะเข้าใจโลกได้จริง
ต้องเรียนรู้และมองโลกแบบองค์รวม ต้องรู้เท่าทัน
ของการเชื่อมโยงกันของสรรพสิ่ง แล้วจะขจัดได้ในความคิดถึงแต่ตัวเอง ..



ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎกท่านกล่าวว่าการปฏิบัติธรรมนั้น
ก็คือการดำเนินชีวิตในประจำวันนั่นเอง เรื่อราวของชีวิต
คือการศึกษา ค่อยๆเรียนไปดำเนินชีวิตที่ดีงามทางโลกไป
พระธรรมของพระพุทธองค์ก็จะซึมซับในตัวเราเป็นธรรมชาติ
ทำให้เกิดชีวิตที่ดีงามคือ เกิดความสะอาด ความสงบ และ
ความสว่าง จริงดังที่ท่านพุทธทาสเคยสอนไว้แล้ว

เซนเน้นที่การดูจิตใจของตัวเองเป็นหลัก และคำสอนที่สำคัญก็เกี่ยวเนื่องกับการปฎิบัติเพื่อการตรัสรู้เป็นหลัก และเซนยังยึดถือในอริยสัจสี่ด้วย คือ

1.ทุกข์ ได้แก่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ฯลฯ โดยย่อคือการยึดมั่นถือมั่นในเรื่องของเบญจขัน
2.สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ตัณหา อุปาทาน อวิชชา เป็นต้น
3.นิโรธ ความดับลงแห่งความทุกข์
4.มรรค ทางแห่งการดับลงแห่งทุกข์ (ดับเหตุแห่งทุกข์)

สภาวะสิ้นทุกข์เป็นสภาวะแห่งโลกุตตระ อยู่พ้นโลก เหนือความบีบคั้นของโลก ทำลายความยึดมั่นในขันธ์ 5 ลงได้ ซึ่งในเซน อุปสรรคสำคัญที่ขวางหนทางในการตรัสรู้คือ ตัวตนนั้นเอง และตัวตนนี้เองที่เป็นประดุจตอไม้ในกระแสธารแห่งชีวิต ที่คอยขวางการไหลไปของกระแสชีวิต และเป็นตัวที่บ่นพร่ำถึงความเจ็บปวดนานา

ความจริงตัวตนไม่มีอยู่จริง แต่ที่คิดว่ามีอยู่ เป็นเรื่องอวิชชา และตัวตนหนึ่งๆก็จะมองสิ่งต่างๆในแง่มุมของมันเองโดยเฉพาะ นั่นคือ เห็นไปว่าความตรงกันข้ามของสิ่งที่เป็นของคู่ตรงข้ามนั้นเป็นสิ่งจริงจัง จนเกิดการยึดมั่น ยึดนี่ยุ่งไปหมด และวิธีแก้ไขก็ง่ายมาก...





 

Create Date : 14 มกราคม 2548    
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2548 18:00:36 น.
Counter : 376 Pageviews.  


kkool
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add kkool's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.