สาระน่ารู้เกี่ยวกับ แอร์บ้าน และระบบไฟฟ้าในบ้าน
Group Blog
 
All blogs
 
เทคนิค วิธีตรวจเช็คตัวโอเวอร์โหลด

OVER LOAD (โอเวอร์โหลด) หรือ OL ซึ่งในบทความนี้ขอกล่าวถึงในเรื่องของตัวโอเวอร์โหลดภายนอก ที่ใช้กับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ขนาดเล็กแบบซิงเกิลเฟส หรือ 1 เฟส โดยโอเวอร์โหลดเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าตัวหนึ่งที่มีความสำคัญในระบบเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ 

เพราะเนื่องจาก ตัวโอเวอร์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันความเสียหายของขดลวดภายในมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ อันเนื่องมาจากการใช้กระแสไฟฟ้าเกินกว่าพิกัดที่ขดลวดจะรองรับได้ จนเป็นสาเหตุทำให้ขดลวดภายในมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ร้อนจัดและไหม้ ซึ่งตัวโอเวอร์โหลดเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันความเสียหายในกรณีใช้กระแสเกินได้ 

ตัวโอเวอร์โหลดที่อธิบายในบทความนี้ เป็นชนิดต่อภายนอก หรือเรียกว่าตัวโอเวอร์โหลดภายนอกที่ใช้กันในมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ขนาดเล็กแบบ1เฟส อย่างเช่น ตู้เย็น ตู้แช่ ตู้น้ำเย็น เป็นต้น


ภาพที่ 1 ตัวโอเวอร์โหลดภายนอก


ตัวโอเวอร์โหลดในมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ที่ใช้ไฟฟ้าระบบ1เฟส จะต่อใช้งานแบบอนุกรมที่ขั้ว COMMOM(คอมมอน)หรือขั้วC ที่เป็นจุดรวมของสายของขดรันและขดสตาร์ทในมอเตอร์ ซึ่งการทำงานของตัวโอเวอร์โหลดคืออาศัยผลของความร้อนจากการให้กระแสไหลผ่าน 

ซึ่งในกรณ์ที่มอเตอร์คอมเพรสเซอร์กินกระแสสูงกว่ากำหนดจนเกิดความร้อนจนทำให้หน้าสัมผัสโลหะในตัวโอเวอร์โหลดแยกจากกัน ตัวโอเวอร์โหลดจะทำการตัดวงจรสายไฟเมนที่จ่ายเข้ามอเตอร์คอมเพรสเซอร์ทันทีเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ในตัวโอเวอร์โหลดจะประกอบด้วยโลหะ2แผ่นติดกัน และมีลวดฮีตเตอร์หรือลวดความร้อนซึ่งแผ่นโลหะ 2 แผ่น จะถูกต่ออันดับกับลวดฮีตเตอร์ 

เมื่อมีกระแสไหลผ่านในปริมาณมาก ลวดฮีตเตอร์จะเกิดความร้อนมากจนทำให้แผ่นโลหะ 2 แผ่นซึ่งเป็นหน้าสัมผัส แยกออกจากกันทำให้กระแสไฟฟ้าถูกตัดออก ในส่วนกระแสสตาร์ทของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ที่มีปริมาณ3-5เท่าของกระแสรันปกติ เป็นกระแสสูงในชั่วขณะเท่านั้น คุณสมบัติอีกประการหนึ่งของโอเวอร์โหลดคือ สามารถทนต่อโหลดเกินได้ในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งกระแสสตาร์ทในระยะเวลาเสี้ยววินาทีจึงไม่ส่งผลให้โอเวอร์โหลดตัด


ภาพที่ 2 สัญลักษณ์แบบต่างๆของโอเวอร์โหลด



การเติมสารทำความเย็นในปริมาณมากเกินไป จนกระแสรันปกติ(FLA.)เพิ่มสูงขึ้นมากเกินกว่าพิกัดกระแสปกติของเครื่อง ตัวโอเวอร์โหลดจะตัดไฟทันทีหากกระแสมีปริมาณสูงเกินไป เพื่อป้องกันอันตรายต่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ซึ่งระดับปริมาณน้ำยาที่บรรจุในเครื่องทำความเย็น ซึ่งวัดจากแรงดันด้านท่อทางดูดขณะเครื่องทำงานปกติ 
ตู้เย็น-ตู้แช่ ที่ใช้น้ำยาR-12 แรงดันน้ำยาด้านท่อทางดูดต้องอยู่ที่ 8-12 PSIG 
เครื่องปรับอากาศ ที่ใช้น้ำยา R-22 แรงดันน้ำยาด้านท่อทางดูดต้องอยู่ที่ 70-75 PSIG

แต่ในบางครั้งเครื่องปรับอากาศที่มีการอัดน้ำยามาจากโรงงานผู้ผลิต มีแรงดันด้านท่อทางดูดอยู่ถึง 80 PSIG ผู้ใช้ทั้งหลายควรตรวจสอบกระแสรันของเครื่องก่อนว่าอยู่ในระดับเกินกว่าแผ่นป้าย Name Plate มากเกินไปหรือไม่ หากแรงดันน้ำยาสูง แต่กระแสที่วัดได้ต่ำกว่าหรืออยู่ในกำหนด ก็ไม่ต้องปล่อยน้ำยาทิ้งให้โลกร้อน


กรณีการใช้งานที่ทำให้โอเวอร์โหลดตัดการทำงาน

1. การเติมสารทำความเย็นมากเกินไป กระแสสูงจนโอเวอร์โหลดตัด

2. กรณีที่เพลาหรือแกนหมุนของคอมเพลสเซอร์ติด,ล็อก,ขยับไม่ได้ ทำให้มอเตอร์สตาร์ทไม่ออก กินกระแสสตาร์ทสูงในเป็นเวลานาน โอเวอร์โหลดจะตัดไฟเพื่อป้องกันความเสียหาย

3. หากถอดปลั๊กตู้เย็นออกแล้วเสียบทันที ในบางครั้งจะทำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์สตาร์ทไม่ออก โอเวอร์โหลดตัด จำไว้เสมอว่าต้องรอให้แรงดันน้ำยาเท่ากันทั้ง2ด้านเป็นเวลา 3-5 นาทีแล้วถึงจะเสียบปลั๊กได้

4. ความผิดปกติของแรงดันไฟฟ้า ณ แหล่งจ่าย มีแรงดันไฟตกมาก มอเตอร์ร้อนจัดเพราะกินกระแสสูง ทำให้โอเวอร์โหลดตัด

หมายเหตุ : ในกรณีที่โอเวอร์โหลดต้องตัดไฟบ่อยครั้ง อาจจะทำให้หน้าสัมผัสได้รับความเสียหายได้

การตรวจเช็คโอเวอร์โหลด
การตรวจเช็คโอเวอร์โหลดทำได้ง่ายๆ โดยการนำมัลติมิเตอร์ ปรับเลือกการวัดความต้านทาน Rx10 แล้วทำการวัดที่ขั้วสำหรับต่อใช้งาน และขั้วของหน้าสัมผัส(จุดตรงกลาง) หากวัดแล้วเข็มมิเตอร์ไม่ขึ้นแสดงว่าตัวโอเวอร์โหลดขาด

ราคาของตัวโอเวอร์โหลดภายนอก สำหรับใช้กับมอเตอร์ตอมเพรสเซอร์ขนาดเล็ก1เฟส(โอเวอร์โหลดตู้เย็น) ขนาดสำหรับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ 1/2แรงม้า - 1/8แรงม้า ราคาประมาณตัวละ 80-150บาท



Create Date : 07 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 9 มิถุนายน 2556 4:05:29 น. 14 comments
Counter : 100901 Pageviews.

 
ดีครับผมกำลังกหาข้อมูลอยู่พอดีครับ


โดย: วัชระ IP: 114.128.164.104 วันที่: 26 พฤศจิกายน 2552 เวลา:13:24:50 น.  

 
ขอบคุณคับ


โดย: ter IP: 58.8.115.171 วันที่: 4 ธันวาคม 2552 เวลา:3:17:45 น.  

 
Thank You


โดย: Junier IP: 116.68.150.99 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:11:45:16 น.  

 
ขอคุณครับป็นประโยชน์มาก


โดย: สสส IP: 118.173.240.244 วันที่: 9 มิถุนายน 2553 เวลา:9:11:58 น.  

 
ผมขอถามการตรวจเช็คฮีตเตอร์ว่ามีวิธีอย่างไรบ้างครับ ขอบคุณคับ


โดย: มหา IP: 58.10.93.227 วันที่: 1 กันยายน 2553 เวลา:10:01:02 น.  

 
thak you เป็นวิทยาทาน สำหรับผู้ที่กำลังหาคำตอบดี


โดย: azx IP: 203.146.179.153 วันที่: 29 มิถุนายน 2554 เวลา:14:48:44 น.  

 
แคปรันของเดิม 40 uF ถ้าเสียต้องเปลี่ยนใหม่ จะเปลี่ยนค่ามากขึ้นเป็น 50 uF ได้หรือไม่ จะมีผลดีผลเสียอย่างไร


โดย: เล็ก IP: 58.9.186.4 วันที่: 26 กันยายน 2554 เวลา:9:11:54 น.  

 
แคปสตาร์ทปกติเคยเห็นค่าสูง ๆ เช่น 88-108 uF หรือ 108-120 uF แต่แอร์ผม (18000 BTU) เปิดเคสมาดู ทำไมเป็นแคปสตาร์ทตัวนิดเดียว ค่าแค 3uF เท่านั้น มีอะไรผิดพลาดหรือเปล่าครับ


โดย: เล็ก IP: 58.9.186.4 วันที่: 26 กันยายน 2554 เวลา:9:15:06 น.  

 
คอมผมช๊อต เปิดมาดู เห็นขั้ว R (สายสีน้ำเงิน) ช๊อตจนสายขาด และหัวสายติดแน่นกับขั้วที่คอม คอมผมจะพังหรือไม่ครับ


โดย: เล็ก IP: 58.9.186.4 วันที่: 26 กันยายน 2554 เวลา:9:19:33 น.  

 
ตอบ คห. ที่ 7-9 ขออภัยที่มาตอบให้ช้านะครับ เนื่องจากงานค่อนข้างยุ่ง และอีกอย่างคือ...ต้องขออภัยจริงๆ หน้านี้ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อรับคำถามนะครับ ควรตั้งคำถามในหน้า หัวข้อ "พูดคุยปรึกษาปัญหาแอร์บ้าน" เพราะถ้ามาตั้งในหน้าอื่น ผมอาจจะไม่ได้เข้ามาเช็คดู


ส่วนคำตอบของคุณนั้น ผมจะขอตอบดังนี้นะครับ

คห.7 แคปรันของเดิม 40 uF ถ้าเสียต้องเปลี่ยนใหม่ จะเปลี่ยนค่ามากขึ้นเป็น 50 uF ได้หรือไม่ จะมีผลดีผลเสียอย่างไร

ตอบ...ก่อนอื่นผมต้องขอถามกลับว่า แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะต้องใช้ Cap-Run 50 uF หละครับ ในเมื่อวิศวกรเขาได้ออกแบบให้คอมเพรสเซอร์ตัวนี้ใช้ Cap-Run 40 uF กำลังของมอเตอร์เท่านี้ควรใช้กับคาปาซิเตอร์ขนาดนี้ ผู้ออกแบบเขาคำนวณออกแบบมาดีแล้วนะครับ ไม่มีความจำเป็นที่จะไปดัดแปลงเพิ่มค่าตัวเก็บประจุ เพิ่มไปมันก็ไม่ได้ช่วยให้ประสิทธิภาพดีขึ้นมากมายหรอกครับ
สรุป ถ้า Cap-Run ของเดิม 40 uF แต่อยากใส่ขนาด 50 uF ลงไปแทน คอมเพรสเซอร์สามารถสตาร์ทออกตัวได้ครับ แต่อายุการใช้งาน ไม่รับประกัน


คห.8 แคปสตาร์ทปกติเคยเห็นค่าสูง ๆ เช่น 88-108 uF หรือ 108-120 uF แต่แอร์ผม (18000 BTU) เปิดเคสมาดู ทำไมเป็นแคปสตาร์ทตัวนิดเดียว ค่าแค 3uF เท่านั้น มีอะไรผิดพลาดหรือเปล่าครับ

ตอบ...Capacitor Start 3uF ที่คุณว่ามา ตัวถังของ Capacitor มันเป็นสังกะสีเหมือนกับ Capacitor Run หรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็เป็นปกติครับไม่มีอะไรผิดพลาด วงจรนี้เอา Capacitor 2ตัวมาอนุกรมกันเพื่อเพิ่มแรงบิดของมอเตอร์ตอมเพรสเซอร์ในช่วงเริ่มสตาร์ท หลักการทำงานก็เหมือนๆกับวงจรไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์แบบ CSR


คห.9 คอมผมช๊อต เปิดมาดู เห็นขั้ว R (สายสีน้ำเงิน) ช๊อตจนสายขาด และหัวสายติดแน่นกับขั้วที่คอม คอมผมจะพังหรือไม่ครับ

ตอบ...มันอาร์คเพราะขั้วเสียบไม่แน่นหรือหน้าสัมผัสของขั้วเสียบสกปรกหรือเปล่า คอมเพรสเซอร์จะพังหรือไม่ ผมไม่ได้เห็นสภาพ คงตอบไม่ได้ครับว่าพังหรือไม่ ต้องเช็คดูถึงจะทราบว่าพังหรือไม่พัง ลองเอาโอห์มมิเตอร์เช็คดูว่าขดลวดของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ชำรุดหรือไม่ ถ้าเช็คแล้วขดลวดปกติ ก็ลองสตาร์ทดู โดยการเอาแคลมป์มิเตอร์มาวัดกระแส แล้วทำการสตาร์ทมอเตอร์ ดูว่าคอมเพรสเซอร์สตาร์ทออกตัวได้หรือไม่


โดย: KanichiKoong วันที่: 22 ตุลาคม 2554 เวลา:16:55:39 น.  

 
3. หากถอดปลั๊กตู้เย็นออกแล้วเสียบทันที ในบางครั้งจะทำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์สตาร์ทไม่ออก โอเวอร์โหลดตัด จำไว้เสมอว่าต้องรอให้แรงดันน้ำยาเท่ากันทั้ง2ด้านเป็นเวลา 3-5 นาทีแล้วถึงจะเสียบปลั๊กได้

กระจ่างเลยครับ ข้อนี้ คือแบบว่าผมเป็นมือใหม่มว๊ากกก เพิ่งได้หัดลองซ่อมกับตู้เย็นของผมเมื่อวานซืนนี่เอง(มีพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์อยู่แล้วแต่ไม่มีความรู้เรื่องตู้เย็นหรือแอร์เลย) คือตู้เย็นผมคอมไท่ทำงาน แต่เปิดตู้มีแสงไฟปกติ ก็เลยลองเอามิเตอร์จิ้มไฟ input ของคอมเพรสเซอร์ดู ก็มีปกติ เลยดึงปลั๊กเล็กๆที่ต่อกับตัวคอมออก(เข้าใจภายหลังว่ามันคือ overload กับ starter relay ในภายหลัง คือมันเป็นชิ้นเดียวกัน ตู้เย็นผมเป็นรุ่นใหม่ๆแล้ว) ก็วัดไฟจากฝั่งขาออกของปลั๊กที่ว่า ไฟไม่มาแสดงว่าไฟไม่มี อิๆ เลยเอาของตู้เย็นอีกตู้มาลองสลับ ใช้ได้ครับพี่น้อง !! แต่เดี๋ยวก่อน ลองดึงปลั๊กออกแล้วเสียบเข้าไปใหม่ทันที ไอ้overloadที่ลองเอาของตู้ข้างๆมาใส่ มันดันตัด ผมก็นึกว่า คอมมันช๊อตแน่นอนล่ะ กลัวว่าจะไปทำให้ overload ที่ยืมตู้ข้างๆมาพังไปด้วย เลยหยุดซ่อมแล้วรีบสลับคืน

พอได้อ่านข้อ 3 ข้างบนแล้ว ผมก็เลยลองไปดึงปลั๊กแล้วเสียบของตู้เย็นที่ใช้ได้ปกติ แบบว่า เอ่อแฮะ มันก็ overload ตัดเหมือนกันนี่หว่า ตัดอยู่ 2-3 ครั้ง หรือราวๆ 5 นาที คอมก็กลับมาติดเหมือนเดิม ก็เลยลองสลับ overload ไปตู้ที่เสียเหมือนตอนแรก ไอ้ตู้ที่เสีย มันไม่เสียแฮะ ดึงปลั๊กแล้วเสียบ 5 นาทีมันก็ติดขึ้นมาใหม่ 555 สรุปผมระแวงไปเอง ปวดหลังแทบแย่ ของคุณความรู้ดีๆครับ


โดย: Kagero (สมาชิกหมายเลข 870506 ) วันที่: 20 พฤษภาคม 2562 เวลา:21:33:42 น.  

 



โดย: ทิว (สมาชิกหมายเลข 5828828 ) วันที่: 5 เมษายน 2563 เวลา:2:21:15 น.  

 
(โลงเย็น)คอมทำงานได้3-4วินาทีแล้วโอเวอร์โหลดตัด ถอดปลั๊กเสียบใหม่ก็เป็นเหมือนเดิม เกิดจากอะไร
(วัดขนาดต่อตรงไม่ผ่านโอเวอร์โหลดคอมทำงานปกติ)
ระบบไฟฟ้าปกติ(กินแอมสูงกว่าปกติ)ที่คอมกินแอมสูงเกิดจากอะไรคับ
น้ำยาปกติ
ระบบไม่ตัด


โดย: Sapanan (สมาชิกหมายเลข 5828828 ) วันที่: 5 เมษายน 2563 เวลา:2:32:27 น.  

 



โดย: ทิว (สมาชิกหมายเลข 5828828 ) วันที่: 5 เมษายน 2563 เวลา:2:33:34 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

KanichiKoong
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 275 คน [?]




ช่องทางการติดต่อผู้จัดทำ

- หลังไมค์
- E-mail : aum_tawatchai@hotmail.com
-------------------------------------
เนื้อหาที่ปรากฏ อนุญาติให้นำไปใช้เพื่อการศึกษา/หาความรู้ ซึ่งไม่เป็นการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
-------------------------------------
New Comments
Friends' blogs
[Add KanichiKoong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.