Olympias – ราชินีแห่งมาเซโดเนีย


จากเรื่องเทพ เราหันมาเขียนเรื่องเกี่ยวกับ “ราชินีแห่งมาเซโดเนีย” คนนี้ Olympias (โอลิมเปียส) ค่ะ นางเป็นหญิงงามแห่งยุคในช่วง 376–316 ปีก่อนคริสตกาล ผู้เป็นมเหสีคนที่ 4 ของกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งมาเซโดเนีย และเป็นราชมารดาแห่งกษัตริย์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 (Alexander the Great)

เรียกได้ว่านางเป็นราชินีผู้ทรงอำนาจแห่งมาเซโดเนีย นางนั้นมีใจศรัทธาเป็นอย่างมากต่อ เทพกรีกนาม Dionysus และ สัตว์เลี้ยงที่เธอโปรดปรานที่จะเก็บไว้ข้างกายที่สุดคือ งู

Olympias - ราชินีแห่งมาเซโดเนีย

เป็นที่ชัดแจ้งว่า นามที่แท้จริงของ โอลิมเปียส คือ Myrtale (หรือ Mistilis) แต่หลังจากนั้นเธอถูกเรียกขานว่า นาง เพื่อเป็นการรำลึกถึงชัยชนะของกษัตริฟิลิบในโอลิมปิคเกมส์เมื่อ 356 ปีก่อนคริสตกาล ตอนวัยเด็ก นางถูกเรียกว่า Polyxena แต่หลังจากที่แต่งงานก็เป็น Myrtale แต่เธอเป็นที่รู้จักกันในนาม Olympias และ Stratonice

Olympias เป็นบุตรสาวของ นีโอปโตเลมัส (Neoptolemus) ผู้ครองเมือง Epirus ซึ่งสืบทอดเชื้อสายวงศ์ตระกูลแห่ง Aeacidae (ถูกอ้างว่าเป็นลูกหลานเทพ Zeus ) ซึ่งจากการที่ครอบครัวเป็น ผู้สืบทอดเชื้อสายนี้เอง ทำให้พี่ชายของนางได้เป็น “อเล็กซานเดอร์ที่ 1” แห่ง Epirus

พ่อของนางเสียชีวิตลงเมื่อ 360 ปีก่อนคริสตกาล และ Arymbas (น้าชายของโอลิมเปียส) ก็ได้ทำสนธิสัญญากับกษัตริย์องค์ใหม่แห่งมาเซโดเนีย ซึ่งก็คือ กษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งมาเซโดเนียนั่นเองค่ะ

และเพื่อสานสัมพันธ์ทางการทูต หลานสาวของ Arymbas ซึ่งก็คือ Olympias ก็ได้กลายมาเป็นราชินีแห่งมาเซโดเนียในช่วง 359 ปีก่อนคริสตกาล – ตามการบันทึกของนักกวีชาวกรีก Plutarch แห่ง Chaeronea กล่าวว่า

“ในคืนก่อนที่การแต่งงานจะสมบูรณ์ โอลิมเปียสได้ฝันเห็นว่ามีสายฟ้าผ่าลงมาที่ตัวเธอ ไฟซึ่งเร่าร้อนและยิ่งใหญ่ ซึ่งแผ่กระจายความสว่างโชติช่วงด้วยตัวของพวกเขาทั้งหลาย และหลังจากนั้นก็ดับไป”

กล่าวกันว่า ฟิลิปที่ 2 นั้นตกหลุมรัก โอลิมเปียสตั้งแต่ครั้งแรกที่พวกเขาได้พบกัน และการแต่งงานก็เป็นไปอย่างรวดเร็วราวกับพายุ

ช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิด 356 ปีก่อนคริสตกาล ภายใต้ความกดดันของน้าขอ นางจำต้องกลับไปยัง Pella เมืองหลวงของมาเซโดเนีย ในการกลับมาครั้งนี้นางตั้งท้อง และให้กำเนิดลูกชายนาม Alexander ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 356 ปีก่อคริสตกาล ภายหลังจากนั้นไม่นาน เธอก็ให้กำเนิดลูกสาวอีกคนของฟิลิปคือ Cleopatra (ไม่ใช่คลีโอพัตราของอียิปต์)

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะเป็นการเกิดของลูกชายตามกฏหมาย (ความจริงฟิลิปที่ 2 มีลูกชายของเราแล้วคือฟิลิปที่ 3) ตัวฟิลิปที่ 2 นั้นกลับดูหมิ่นลูกชายของเขากับ Olympias ว่า ไม่ใช่สายเลือดบริสุทธิ์แห่งมาเซโดเนีย (Not of pure Macedonian blood)

ด้วยความโกรธเกรี้ยวที่สามีไม่ยอมรับในตัวลูกชาย โอลิมเปียสยืนกรานว่า Zeus ราชาแห่งเทพเป็นผู้ทำให้เธอตั้งครรภ์ในขณะที่เธอ นอนหลับอยู่ใต้ต้นโอ๊ก (ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวเทพเซอุส) ซึ่ง อเล็กซานเดอร์ เองก็ดูเหมือนจะเชื่อเรื่องเล่านั้น ดังเช่นที่ภายหลังเขามองหาหลักฐานมายืนยัน เกี่ยวกับการสืบเชื้อสายของเขา ในสถานที่บูชาอันศักดิ์สิทธิ์ของเทพเซอุสที่ Siwa โอเอซิสแห่งอียิปต์

โอลิมเปียส โกรธเคืองอย่างมากที่กษัตริย์ฟิลิบ ไปแต่งงานกับ Cleopatra Eurydice เมื่อช่วง 337 ปีก่อนคริสกาล แต่สาเหตุที่ทำให้เธอโกรธเคืองนั้นไม่ใช่เพราะ ฟิลิปเลือกหญิงคนใหม่มาเป็นภรรยา แต่เป็นเพราะหลังจากแต่งงานกับ Cleopatra Eurydice เขาก็หย่าร้างกับโอลิมเปียส

ซึ่งถือเป็นการบอกปัดลูกชายของเธอ Alexander ไม่ให้ได้ขึ้นครองราชย์ในงานเลี้ยงฉลองการแต่งงาน Attalus ผู้คุ้มครองของ Cleopatra Eurydice หมายจะให้ทั้งคู่ “มีผู้สืบทอดตามกฎหมาย” ร่วมกัน

Alexander และ Olympias เดินทางกลับเข้าไปยัง Epirus ที่ซึ่งพี่ชายของเธอเป็นกษัตริย์ปกครองอยู่ เป็นเวลานับปี เธอและลูกชาย ย้อนกลับไปยัง Pella (เมืองหลวงของมาเซโดเนีย) หลังจากเกิดการประนีประนอมกันอย่าง
แจ่มชัด หรือย่างน้อยที่สุดก็หยุดการเป็นปรปักษ์กันชั่วคราว

ฟิลิปเริ่มมีการสานความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับ อเล็กซานเดอร์ที่ 1 โดยการโดยการยื่นข้อเสนอ ให้เขาแต่งงานกับลูกสาวของโอลิมเปียส คลีโอพัตรา (คือลุงแต่งกับหลาน?) เพียงไม่นานหลังการแต่งงาน ฟิลิปก็ถูกฆาตรกรรม ซึ่งแน่นอนว่าไม่เป็นที่ชัดเจนนักว่า Olympias เป็นผู้วางแผนการครั้งนี้ หรือจะเป็นอเล็กซานเดอร์…

แต่เป็นที่แน่นอนว่า อเล็กซานเดอร์ ได้พบกับผู้ที่สังหารฟิลิป (Pausanias ผู้เป็นบอร์ดี้การ์ของตัวฟิลิปเองที่ทำการฆ่าเขา) และนำร่างของเขาไปทำการประหารโดยตรึงไว้ที่กางเขนต่อหน้าสาธารณชนเป็นเวลาหลายวัน ซึ่งศีรษะของ Pausanias ถูกพบในสภาพที่มีมงกุฎทองคำอยู่บนหัว

ซึ่งคาดว่า มันถูกวางไว้โดยโอลิมเปียส ท้ายที่สุดร่างของเขาก็ถูกนำลงมาจากการตรึงกางเขน และวางทับไว้เหนือร่างขอฟิลิป ทั้งสองศพถูกเผาร่วมกันตามพิธีกรรมของชาวมาเซโดเนียน และโอลิมเปียนยังแสดงออกถึงการไว้อาลัยให้แก่ Pausanias

ซึ่งดาบที่ Pausanias ใช้ในการสังหารฟิลิปนั้น ถูกแขวนอยู่ในวิหารแห่งเทพอพอลโล ที่เดลฟี ตามคำสั่งพิเศษจากตัว Olympias เองภายใต้ชื่อ Mistilis (หรือ Myrtale ชื่อที่แท้จรืงของโอลิมเปียสค่ะ)

โอลิมเปียส ยังทำการสังหาร Caranus ลูกชายของฟิลิปกับภรรยาคนสุดท้ายของเขา Cleopatra Eurydice เธอยังฆ่า Europa น้องสาวของ Caranus อีกด้วย และยังบีบบังคับให้ Cleopatra Eurydice ทำการแขวนคอตัวเองตาย

ในช่วงเวลาที่อเล็กซานเดอร์ไม่อยู่ ซึ่งเธอทำการติดต่อทางจดหมายอย่างสม่ำเสมอ เธอเป็นผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในมาเซโดเนีย อันเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาความยุ่งยากต่อผู้สำเร็จราชการอย่าง Antipater

เมื่อกษัตริย์อเล็กซานเดอร์เสียชีวิตในช่วง 323 ปีก่อนคริสตกาล โอลิมเปียสเดินทางกลับมาเยือน Epirus อีกครั้ง เธอให้ความช่วยเหลือหลานชายของเธอ อเล็กซานเดอร์ที่ 4 (ลูกชายของอเล็กซานเดอร์ที่ 3 กับเจ้าหญิง Roxana แห่ง Bactria)

และในช่วง 317 ปีก่อนคริสตกาล เธอได้เป็นพันธมิตรกับ Polyperchon ซึ่งถูกปกครองโดย Antipater ในช่วง 319 ปีก่อนคริสตกาล โอลิมเปียสได้นำ กองกำลังทหาร พยายามทำการขับไล่ Cassander ลูกชายของ Antipate โดยใช้อำนาจของมาเซโดเนีย

เมื่อเธอสู้รบกับ Eurydice ที่ 3 (หลานสาวของฟิลิปที่ 2) ทหารของ Eurydice หันมาสวามิภักดิ์ต่อ Olympias เพราะไม่เต็มใจที่จะต่อต้านมารดาแห่งอเล็กซานเดอร์ โอลิมเปียสจำคุก Eurydice และสามีของเธอ (ฟิลิปที่ 3 แห่งมาเซโดเนีย) เขาถูกประหารชีวิต และ Eurydice ถูกบังคับให้แขวนคอตาย และท้ายที่สุดโอลิมเปียสก็ได้กลายมาเป็น “นายหญิง” แห่งมาเซโดเนีย

ภายหลัง Cassander รีบเร่งมาจาก Peloponnesus (คาบสมุทรและบริเวณส่วนกว้างทางทิศใต้ของกรีก) หลังจากโอบล้อม และบีบบังคับให้โอลิมเปียสยอมมอบตัวใน Pydna ที่ซึ่งเธอยึดเอาเป็นที่ปลอดภัย โดยหนึ่งในข้อตกลงของการยอมจำนนนั้นคือ ชีวิตของโอลิมเปียสต้องได้รับการสงวนไว้

ในความอาฆาตแค้นนี้ นางรู้สึกสำนึกผิดต่อผู้คนมากมายที่เธอ เคยปฎิบัติด้วยอย่างทารุณ ในระหว่างที่นางครองอำนาจ โดยไม่มีการพิจารณาความผิด Olympias เสียชีวิตลงในช่วง 316 ปีก่อนคริสตกาล โดยเหล่าเพื่อนฝูงของผู้คนที่เธอเคยเข่นฆ่า

Cassander ยังกล่าวว่าเขาละเลย ที่จะทำตามคำขอร้องครั้งสุดท้ายของเธอ ที่กล่าวถึงการทำพิธีฝังศพให้กับเธอ

ได้มีการพิจารณาถึงบางเรื่องที่กล่าวว่า เธอเป็นหญิงที่โหดเหี้ยมนั้นเป็นการกล่าวเกินจริง เธอพยายามที่จะใช้ชีวิตอยู่ เพื่อมองดูทายาทของลูกชาย และหลานชายของเธอ หลังจากอเล็กซานเดอร์เดอะเกรทเสียชีวิตลง นางเป็นเพียงหนึ่งในจำนวนน้อยนิดที่ไม่ได้ต่อสู้เพื่ออำนาจของตัวเอง แต่เพื่อการสืบทอดราชวงศ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย

cr. Mythology.itsmyprecious.us




Create Date : 11 ธันวาคม 2559
Last Update : 11 ธันวาคม 2559 21:24:32 น.
Counter : 2185 Pageviews.

0 comment
Zeus – ราชาแห่งเหล่าเทพ


Zeus (เซ-อุส / ซี-อุส / ซุส) เทพแห่งเสียงฟ้าร้องและฟ้าผ่า น้องของ Poseidon กับ Hades สามีและน้องชายของ Hera เขามีความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ ทั้งรักเพศตรงข้าม และ รักร่วมเพศ Zeus ในเทพนิยายกรีกโบราณ เขาคือ ผู้ปกครองภูเขาโอลิมปัสเทพแห่งท้องฟ้า และสายฟ้า สัญลักษณ์ที่แสดงถึง เทพเซอุส คือ สายฟ้า, นกอิทรี, วัวตัวผู้ และต้นโอ๊ก

บ่อยครั้งที่เราจะเห็นเขาถูกจินตนาการโดยจิตกรชาวกรีก ในท่ายืนย่างก้าวไปด้านหน้าและมีสายฟ้าในมือขวา หรือนั่งในท่าที่สง่าผ่าเผยเขาเป็นลูกชายลำดับที่ 6 ของเทพ Cronos และ Rhea เขาได้สมรสกับเทพี Hera ตามประเพณี ถึงแม้ว่าเทพยากรณ์แห่ง Dodona จะกล่าวว่าคู่สมรสของเขาควรเป็นเทพี Dione มากกว่า

ตำนาน Zeus

ซึ่งตามคำบอกเล่าของอีเลียด กล่าวว่าเขาเป็นพ่อของ Aphrodite กับเทพี Dione (แต่บทกวีของ Hesoid นั้น Aphrodite เกิดจากอัณฑะ Uranus) แต่นอกจากนี้แล้ว เซอุสยังมีความสัมพันธ์กับชายหนุ่มชื่อ Ganymede1 อีกด้วยค่ะ

Zeus มีทายาทมากมาย ได้แก่ Athena, Apollo (กับ Leto) Artemis, Hermes, Persephone (กับเทพี Demeter) Dionysus, Perseus, Heracles, Helen, Minos, and the Muses (กับไททั่น Mnemosyne) และ Ares, Hebe, Hephaestus (กับเทพี Hera)

ต้นกำเนิด

Cronos ผู้เป็นบิดารู้ว่าลูกคนนี้จะเป็นผู้โค่นล้มตน ซึ่งเซอุสเอง ได้ยินพยากรณ์นั้น (จากในท้อง?) และบิดเบือนไม่ให้มันเกิดขึ้น แต่ก่อน ที่เซอุสถือกำเนิดขึ้นเทพี Rhea ก็ต้องไปพึ่งเทพี Gaia ผู้เป็นแม่ เพื่อหาวิธีปกป้องเซอุสไว้ Rhea ให้กำเนิด Zeus ในเกาะครีตแล้วเอาหินที่รู้จักกันในนามหิน Omphalos มาห่อหุ้มด้วยผ้า แล้วส่งไปให้ Cronus ซึ่งเขารีบกลืนมันลงไปทันที โดยที่นึกว่าเป็นลูกของตนในเทพนิยายโรมัน Zeus ถูกเรียกว่า Jupiter

วัยเด็กของ Zeus

Rhea ซ่อนเซอุสไว้ในถ้ำ บนเขาไอด้า (หุบเขาแห่งเทพี Mount of the Goddess) ซึ่งเรื่องตรงนี้มีหลากหลายเวอร์ชั่นที่แตกต่างกัน
1. เขาถูกเลี้ยงดู Gaia
2. เขาถูกเลี้ยงโดยแพะที่ชื่อ Amalthea โดยมีกลุ่มของ Kouretes2 คอยปกป้องดูแล (อ่านรายละเอียดด้านล่างนะคะ)
3. เขาถูกเลี้ยงโดย นางไม้ชื่อ Adamanthea นับตั้งแต่กฎของ Cronus อยู่เหนือโลก สวรรค์ และมหาสมุทร เธอซ่อนเขาไว้โดยการห้อยหลวมๆด้วยเชือกไว้บนต้นไม้ที่อยู่ระหว่าง โลก มหาสมุทรและท้องฟ้า และด้วยประการนี้ Cronus ผู้พ่อจึงมองไม่เห็น
4. เขาถูกเลี้ยงโดย นางไม้ชื่อ Cynosura และด้วยความรู้สึกขอบคุณ เซอุส วางเธอให้อยู่ในหมู่ดวงดาวเมื่อเธอตาย
5. เขาถูกเลี้ยงโดย นางไม้ชื่อ Melissa เธอซ่อนเขาไว้ที่เนินเขา และเลี้ยงเซอุสด้วยนมแพะของ Adamanthea กับน้ำผึ้ง กล่าวว่าเมื่อโครนอสพบเข้า เขาสาปให้เธอกลายเป็นหนอน แต่ด้วยความกตัญญู เซอุสเปลี่ยนให้เธอเป็นราชินีผึ้ง
6. เขาถูกเลี้ยงโดยครอบครัวคนเลี้ยงแกะ ภายใต้คำสัญญา ว่าพวกเขาจะปลอดภัยจากฝูงหมาป่า

กลายมาเป็น “ราชาแห่งเทพ”

หลังจากมาถึงช่วงวัยหนุ่ม เซอุสทำให้ Cronus อาเจียนเอาหิน Omphalos ที่กลืนไปตอนแรก และรวมถึงญาติพี่น้องของเขาออกมา ในเวอร์ชั่นอื่นๆบอกว่า Metis (ลูกของ Oceanus กับ Tethys) ทำให้ โครนอสอาเจียน เพื่อบังคับให้สำรอก ลูกๆของเขาออกมา หรือบ้างก็ว่าเซอุส ตัดกระเพาะของโครนอสให้เปิดออก

หลังจากที่ทำการปลดปล่อยพี่น้องของเขา เซอุสก็ปลอดปล่อยพี่น้องของโครนอส พวกยักษ์, Hecatonchires (กล่าวว่าเป็นยักษ์ 100 แขน 50 หัว) และ ไซคลอป มาโค่นล้ม โครนอส และเหล่าไททั่น ในสงครามที่ถุกเรียกว่า Titanomachy หลังจากพ่ายแพ้ ไททั่นถูกนำไปขังไว้ยังใต้ผืนโลกที่รู้จักกันในนาม Tartarus

หลังจากการสู้รบ เซอุสแบ่งปันโลกให้กับพี่น้องของตน Poseidon และ Hades โดยเซอุสเป็นผู้ปกครองท้องฟ้าและอากาศ, โพเซดอนปกครองมหาสมุทร และฮาเดสปกครองโลกแห่งความตาย ส่วน Gaia นั้นไม่ได้ถูกกล่าวถึงในตอนนี้

แต่ความจริง Gaia โกรธเคืองที่เซอุสกระทำต่อไททั่น นั่นเพราะพวกเขาเป็นลูกๆของนาง ดังนั้นหลังจากครองบัลลังก์เป็นราชาแห่งเทพได้ไม่นาน Zeus ก็ยังต้องต่อสู้กับ ลูกตนอื่นๆของ Gaia ได้แก่ปีศาจ Typhon3 กับ Echidna. เขาพิชิตชัยเหนือ Typhon และวางกับดักให้ Typhon ไปถูกขังอยู่ที่ใต้ภูเขา แต่ไว้ชีวิต Echidna กับลูกๆของเธอ

เซอุส และ เฮร่า

เซอุสเป็นน้องชายและคู่สมรสของเฮร่า เขามีทายาทร่วมกับเฮร่าได้แก่ Ares, Hebe, Hephaestus บางแหล่งก็ว่าเทพี Eileithyia เป็นลูกสาว ของทั้งคู่ด้วย ในเทพนิยายส่วนมากอ้างอิงบ่อยๆว่า เฮร่านั้นหวาดระแวง และหึงหวงในความเจ้าชู้ของเซอุส และเป็นศัตรูต่อเซอุส กับภรรยาลับๆของเขา รวมถึงเหล่าลูกๆของเซอุสด้วย

ลูกๆของเซอุส

ลูกของ Zeus มีเยอะมาก – มากที่สุดค่ะ กับทั้งเหล่าเทพี, นางไม้, ราชินีเมืองต่างๆ และอื่นๆ เราจะยกบางตัวอย่างที่เราสนใจมาให้ดูนะคะ อ่านแล้วอึ้งว่าลูกของท่านเซอุสรึ!?! เต็มๆ ที่นี่ นะคะ

– ลูกกับ Demeter ได้แก่ Persephone และ Zagreus
– ลูกกับ Leto ได้แก่ Apollo และ Artemis
– ลูกกับ Alcmene (หลานของ Perseus4) คือ Heracles (เฮอร์คิวลิส)
– ลูกกับ Leda (ราชินีกรุงสปาร์ตาร์) คือ Polydeuces, Castor, Helen
(แห่งกรุงทรอย) *กล่าวว่าเซอุสปลอมเป็นหงส์ตอนลอบเข้าหาเธอ
– ลูกกับ Olympias คือ Alexander III แห่งมาเซโดเนีย

1Ganymede เจ้าชายแห่งกรุงทรอย บุตรชายของกษัตริย์ Eponymous เขาเป็นชายหนุ่มรูปงามอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่เขาถูกเซอุสลักพาตัวไปให้เป็นคนรินเหล้า และมีความสัมพันธ์แบบชายxชาย (Pederasty) กับเซอุส

2Kouretes เป็นเทพเจ้าเล็กๆ 9 องค์ ที่เต้นทั้งชุดทหาร ซึ่งใช้หอกมากระทบกับอาวุธ เสียงดังจน Cronus ไม่ได้ยินเสียงเซอุสวัยเด็กร้อง

3Typhon “ไทฟอน” เป็นอสูรกายยักษ์ เมื่อเคลื่อนไหวร่างกายจะกลายเป็นพายุ และต่อมาผู้คนที่เรียกพายุไทฟอน นี้ก็เพี้ยนมาเป็นใต้ฝุ่นนั่นเอง เป็นอสุรกายลูกชายคนสุดท้ายของ Gaia กับ Tartarus เขาพยายามแทนที่เซอุส ในกรีกถือว่าเขาเป็นปีศาจแห่งลมพายุ

4Perseus “เปอรซิอุส” คือวีรบุรุษในเทพนิยายกรีก ที่รู้จักในในนาม ผู้สังหารเมดูซ่า นั่นเองค่ะ ตรงนี้เนื้อเรื่องเริ่ม
ตื่นเต้นเมื่ออ่านไปๆมาๆ เฮอร์คิวลิสเป็น ‘เหลน’ ของ เปอร์ซิอุสค่ะเพราะ Alcmene แม่ของเฮอร์คิวลิสนั้น เป็นลูกสาวของกษัตริย์ Electryon ที่เป็นลูกชายของเปอร์ซิอุสนั่นเอง งงมั้ยหนอ??




Create Date : 11 ธันวาคม 2559
Last Update : 11 ธันวาคม 2559 21:23:45 น.
Counter : 1236 Pageviews.

0 comment
Gaia – มารดาแห่งเหล่าเทพ


ถ้าจะเขียนบทความเกี่ยวกับเทพกรีกแล้ว ที่พลาดไม่ได้เห็นทีต้องเป็นเรื่องของเทพี Gaia (อ่านว่า เกีย หรือ ไก-อา) Gaia คือ มารดาแห่งโลก ซึ่งในกรีกมีความหมายว่า อาณาจักร หรือ โลก เธอคือ ‘ปฐมเทวี’ และเป็นสัญลักษณ์ของโลกอีกด้วย Gaia คือต้นกำเนิดของโลก และเทพผู้สร้างสรรค์โลกในตำนานกรีกโบราณ เป็นที่สักการะบูชาและนับถือเป็น “มารดาแห่งโลก“ในโรมันเธอถูกสักการะบูชาในชื่อ Terra

ใน บทกวี Theogony1 ของ Hesiod กล่าวว่า หลังจาก Chaos (กล่าวว่าเป็นเทพองค์แรกที่ปรากฎ) Gaia เติบโตขึ้นเป็นพื้นฐานแห่งความอมตะของเทพแห่งโอลิมปัส เธอให้กำเนิด Uranus, Pontus และ Ourea ซึ่งทั้งสาม เกิดมาจากตัวเธอเอง โดยไม่พึ่งเพศชาย แต่หลังจากนั้น Hesoid กล่าวว่า เธอมีความสัมพันธ์กับลูกชายของเธอ Uranus

Gia มารดาแห่งเทพ

Gaia มีทายาทกับ Uranus ได้แก่ Oceanus, Coeus, Crius, Hyperion, Iapetus, Theia, Rhea, Themis, Mnemosyne, Phoebe, Tethys หลังจากพวกเขา Cronus ก็ถือกำเนิดขึ้น อายุน้อยที่สุด และน่าเกรงขามที่สุด ในจำนวนลูกๆของเธอ และ “เขาเกลียดพ่อของเขา Uranus ที่สุด”

Hesiod ยังอ้างอิงว่า Gaia ได้ให้กำเนิดทายาทร่วมกับ Uranus เป็นพวกยักษ์ตาเดียว (ไซคลอป) ด้วยได้แก่ Brontes, Steropes และ Arges และอีก 3 เป็นพวก Hecatoncheires (ยักษ์ 100 มือ 50 หัวที่แข็งแรง และดุร้ายที่สุด) คือ Cottus, Briareos และ Gyges

Uranus ซ่อนพวก Hecatoncheires กับไซคลอปไว้ที่ Tartarus (สถานที่ๆอยู่ใต้สวรรค์และโลก สถานที่ที่ลึกที่สุด มีหลุมและหุบเหวที่ถูกใช้เป็นคุกใต้ดิน กล่าวว่าเป็นสถานที่ที่วิญญานจะถูกพิพากษาซึ่งน่าจะเป็น ‘นรก’ นั่นเอง) ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ได้เห็นแสงเดือนแสงตะวัน

นี่จึงเป็นเหตุผลที่สร้างความเจ็บปวดให้แก่ Gaia ดังนั้นเธอจึงสร้างหินเหล็กไฟสีเทา (หรือหินแร่อดาเมนไทท์) มาเปลี่ยนรูปร่างให้เป็นเคียว Cronus รวบรวมพี่น้องทั้งหลาย ทำตามคำสั่งของเธอ แต่มีเพียง Cronus ที่วัยเยาว์ที่สุดที่กล้าใช้เคียวที่เธอสร้างขึ้น และ ‘ตอน’ พ่อของเขาเอง

ด้วยเลือดกับน้ำอสุจิที่หยดลงมา Gaia ยังคงมีทายาทเพิ่มขึ้น คือ Erinyes, Gigantes และนางไม้ต้นแอ๊ชนามว่า Meliae. หลังจาก Uranos ถูก Cronus ขับไล่ ตัว Cronus เอง ก็ถูกกำหนดชะตาให้โดนลูกชาย ของตัวเอง (Zeus) โค่นล้มเช่นกัน จะกล่าวถึงในตอนต่อไปค่ะ

ในระหว่างนั้น ไททั่นก็ปลดปล่อย ไซคลอปออกจาก Tatarus และ Cronus ก็มอบรางวัลให้กับพวกเขา และได้เริ่มต้น “ยุคทอง” หลังจากการตอน Uranus แล้ว Gaia ยังได้ให้กำเนิด Echidna, Typhon ร่วมกับ Tatarus (น่าจะเป็นเทพที่อยู่ใน Tatarus ถูกบงการโดย Hades) ให้กำเนิด Nereus, Thaumas, Phorcys, Ceto, Eurybia ร่วมกับ Pontus ส่วนที่ Gaia + Uranus มีลูกออกมาจะเป็นพวก ไททั่น ค่ะ

1Theogony คือ บทกวีแห่งการ “กำเนิดของพระเจ้า” ที่พรรณาถึงต้นกำเนิด และการลำดับวงศ์ตระกูล ของเทพเจ้ากรีกโบราณ ซึ่งถูกแต่งขึ้นในราว 700 ปีก่อนคริสตกาล โดยกวีชื่อ Hesiod

cr. Mythology.itsmyprecious.us




Create Date : 11 ธันวาคม 2559
Last Update : 11 ธันวาคม 2559 21:21:00 น.
Counter : 2524 Pageviews.

0 comment
รักร่วมเพศ ในตำนานอียิปต์โบราณ


ไม่ใช่เฉพาะยุคนี้เท่านั้นที่เรื่องรักร่วมเพศ ไม่ว่าชาย-ชาย หญิง-หญิง จะถูกเปิดเผย หากแต่มีหลักฐานมากมายที่ว่า โฮโมเซ็กชวล หรือการ รักร่วมเพศนั้น มีมาตั้งแต่สมัยโบราณไม่ว่ายุคของโรมัน-กรีก หรือ ที่นานกว่านั้นเข้าขั้น 3000 ปีก่อนคริสตกาล ที่เรากำลังจะเล่าให้ฟังนี้ เป็นเรื่องรักร่วมเพศในตำนานอียิปต์โบราณ

Gay in Egypt God

ตำนานรักร่วมเพศ Horus กับ Seth

ฮอรัส นั้น เป็นทางแห่งท้องฟ้า ชาวอียิปต์เชื่อกันว่า ฟาโรห์ คือเทพฮอรัสลงมาจุติ เขาเป็นลูกชายของ เทพีไอซิส และเทพโอซิริส หลังจากที่โอซิริสผู้พ่อถูกฆ่าตายโดยเซธ ฮอรัสก็ต่อสู้กับเซทเรื่อยมาในราชบัลลังก์อียิปต์ (ซึ่งเราจะกล่าวถึงการต่อสู้และประวัติอื่นๆของฮอรัสในภายหลัง)

เรื่องของเรื่องคือ ตำนานรักร่วมเพศ Horus กับ Seth ซึ่งจะเรียกว่าตำนานรักคงไม่ถูกนัก เพราะในบันทึกได้เล่าว่า เซธ พยายามที่จะทำให้ ฮอรัส ขายหน้า โดยการพยายามข่มขืนหลานชายของตัวเอง โดยในส่วนนี้มีบรรยายในหนังสือที่ชื่อ Conflict of Horus and Seth เป็นฉากๆ ได้ความว่า   วันหนึ่งเซธ ได้เชิญฮอรัสไปยังที่พักของตนเอง ฮอรัสตอบรับเป็นอย่างดี แต่แล้วเซทกลับมอมเหล้าฮอรัส ก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเขา แล้วปล่อยน้ำอสุจิใส่ตัวฮอรัส แต่หารู้ไม่ว่าฮอรัสนั้นไม่ได้เมาจริง เขาใช้มือรองรับน้ำอสุจิของเซธ แล้วกลับไปหาเทพีไอซิส ผู้เป็นแม่เพื่อขอความช่วยเหลือ เธอตกใจและตะลึงกับสิ่งที่เห็นจึงหยิบอาวุธมาตัดมือของฮอรัสเสีย แล้วโยนมันลงแม่น้ำ ก่อนจะเสกมือขึ้นมาใหม่ให้ฮอรัส

** ตรงนี้มีส่วนที่นักวิชาการหลายคนสงสัยว่าอาจเป็นการสมยอมหรือการวางแผนของเทพฮอรัสเสียมากกว่า สาเหตุเพราะ (1)ทั้งสองเป็นชายวัยฉกรรจ์ที่มีสถานะเป็นเทพทั้งคู่ (2)ตรงคำบรรยายในหนังสือมีคำที่ว่า “When it was evening a bed was spread for them and they lay down” ฟังดูจะสื่อไปทางสมยอม

หลังจากนั้นเทพีไอซิสออกอุบายเอาคืนโดยให้ฮอรัส ทำการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองแล้วนำน้ำอสุจิของเขาไปป้ายบนผักกาด ซึ่งเป็นผักที่ เซธ โปรดปราน ก่อนจะนำไปให้เซทกิน ด้วยความไม่รู้อะไร เซธก็จัดการผักกาดกองนั้นหมดเรียบไม่มีเหลือ

เมื่อกลับไปยังศาล Ennead (เป็นศาลที่ประกอบด้วยเทพเจ้า 9 องค์เพื่อตัดสินความขัดแย้งต่างๆ) เซธได้ให้การต่อศาลว่า

“ข้าได้กระทำการที่ผู้ชายทำต่อเขา” เพื่อเป็นการสร้างความอับอายต่อฮอรัส

แต่ฮอรัส ได้ยืนขึ้นและเถียงว่า “สิ่งที่เซธ พูดนั้นเป็นเท็จ ลองเรียกอสุจิของเซธดูสิแล้วเราจะได้รู้คำตอบ”

และแน่นอน น้ำอสุจิของเซธนั้นถูกพบในบึงน้ำที่ซึ่งเทพีไอซิสเขวี้ยงมันไปแต่แรก และเมื่อหนึ่งในผู้ตัดสินศาล เรียกหาอสุจิของเทพฮอรัส มันกลับออกมาจากหัวของเทพเซธ เป็นรูปแผ่นกลมสีทอง ทำให้เซธอับอายเป็นอย่างมาก ดังนั้น ฮอรัสจึงพ้นผิดทุกประการในกรณีนี้

นี่เป็นหนึ่งเรื่องโฮโมเซ็กชวลชื่อดังในตำนานเทพอียิปต์โบราณ ซึ่งเราไม่สามารถแน่ใจได้ว่าเทพเซธเป็นเกย์จริงหรือไม่ เพราะจากตำนานบางตำนานกล่าวว่าเขาก็พยายามจะลักลอบเข้าหาเทพีไอซิสผู้เป็นน้องสาวของตัวเองเช่นกัน

cr. Mythology.itsmyprecious.us




Create Date : 11 ธันวาคม 2559
Last Update : 11 ธันวาคม 2559 21:18:31 น.
Counter : 17122 Pageviews.

0 comment
Anubis – แห่งพิธีมรณะและวิญญาณ


เทพ Anubis (อ่านว่า อนู-บิส) เป็นที่ทราบกันดีในพระนามของพระองค์ในฐานะ เทพเจ้าแห่งพิธีมรณะและพิธีไว้ทุกข์  เป็นพระเจ้าของคนตายและเหล่าวิญญาณ  เดิมทีอนูบิสนั้นเป็นผู้ปกป้องพิทักษณ์ประตูสู่ยมโลก แต่เทพ โอซิริส ได้แต่งตั้งเขาเป็นพระเจ้าแห่งผู้วายชน

Anubis ตำนาน

Anubis เป็นชื่อในตำนานกรีก แต่ความจริงแล้วชาวอียิปต์โบราณรู้จักพระองค์ในนาม Anpu (หรือ Inpu จากคำว่า “inp” มีความหมายว่า การสลายตัว, เน่าเปื่อย)

รูปลักษณ์ของเทพ อนูบิส มีลักษณ์ของหัวสุนัขจิ้งจอก (๋ackal) ซึ่งสุนัขจิ้งจอกชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ลักษณะคล้ายคลึงกับหมาป่า

หน้าที่ของพระองค์นั้นเกี่ยวข้องกับ การทำมัมมี่และพิธีฝังศพ สกุลวงศ์อียิปต์ ค่อนข้างมีพิธีที่เกี่ยวข้องกับความตายเยอะมาก นักบวชที่เป็นผู้ทำมัมมี่ให้กับศพของฟาโรห์นั้น  จะแต่งตัวคล้ายกับเทพอนูบิส โดยการสวมหน้ากากสุนัขจิ้งจอก เพื่อขอพลังอำนาจจากพระองค์

ชาวอียิปต์มีพิธีกรรมในการเก็บรักษาของร่างกายของศพ และเชื่อว่าการใช้สมุนไพรกลิ่นฉุนจะช่วยผู้ตายได้ เพราะเทพอนูบิสจะสูดกลิ่นจากมัมมี่แล้วพาวิญญาณที่บริสุทธิ์ไปสู่สวรรค์

ตำนานกล่าวว่า เพราะเทพโอซิริสนั้นกลายมาเป็นเทพแห่งนรกเมื่อเขาตาย (2000-1700 BC) ดังนั้นอนูบิสผู้มีพลังอำนาจน้อยกว่าจึงต้องถอยให้ กลายเป็นเทพแห่งพิธีมรณะแทน ด้วยความเต็มใจ เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงการเคารพ บางตำนานเล่าว่า อนูบิสเป็นบุตรชายของเทพโอซิริสและ เทพีเนฟธีส

ชาวอียิปต์ยุคเก่า (3000 ปีก่อนคริสตกาล) นั้นมีความเชื่อว่าเทพอนูบิสจะเป็นผู้ตัดสินชะตาให้กับชีวิตหลังความตายของพวกเขา จากบันทึกของคัมภีร์มรณะ (Book of the Dead ) มีภาพของเทพ อนูบิส ผู้ถือเครื่องหมายอังค์ เพื่อคุ้มครองผู้ตายให้ได้รับชีวิตนิรันดร์ และทำการนำพาดวงวิญญาณคนตายไปยังหอพิพากษาของเทพโอซิริส เพื่อนำเอาหัวใจของผู้ตายมาชั่งบนตาชั่ง โดยมีผู้ร่วมตัดสินคือ ทวีมาอัท(Ma’at) ผู้เป็นพลังอำนาจแห่งสัจธรรม และเทพธอธ (Thoht)  และหากหัวใจของคนตายมีน้ำหนัก “เบา” กว่าขนนก แปลว่าเขาหรือเธอผู้นั้นเป็นคนดี และไม่มีบาป คนตายจะได้เดินทางไปต่อสู่ชีวิตหลังความตาย แต่หากหัวใจของพวกเขามีน้ำหนัก “มาก” กว่าขนนก แปลว่าเขาหรือเธอผู้นั้นเป็นคนบาปที่ทำแต่กรรมชั่ว วิญญาณจะถูกฉีกกินโดย  Ammit ผู้ทำลายดวงวิญญาณ  และไม่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าจอมเทพโอซิริสอีก

ในกรีซและโรม

ในช่วงระยะเวลาของ ราชวงศ์ปโตเลมี เรื่องราวของเทพอนูบิสนั้นมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่อนูบิสถูกระบุให้เป็นเทพเจ้าของกรีกนาม Hermes  (เทพส่งสาร) กลายมาเป็น Hermanubis ศูนย์กลางของลัทธินี้อยู่ที่ เมือง Cynopolis เมืองที่มีความหมายถึง “city of dogs”  โดยในหนังสือที่ชื่อว่า  “The Golden Ass”  ได้ค้นพบหลักฐานสำคัญว่าทางโรม ได้มีการบูชาเทพองค์นี้อย่างน้อยจนกระทั่งศตวรรษที่ 2 และ Hermanubis ยังมีปรากฎภาพในวรรณคดีเล่นแร่แปรธาตุและวรรณกรรมในยุคกลางและยุคเรเนซองส์อีกด้วย

นอกจากนั้นกรีก หรือโรมัน ยังนำเอาสัญลักษณ์ “สุนัข” ของเทพอนูบิสไปข้องเกี่ยวกับ ซิริอุส บนสวรรค์ และ เซอร์เบอรัส ในนรก อีกด้วย

cr. Mythology.itsmyprecious.us




Create Date : 11 ธันวาคม 2559
Last Update : 11 ธันวาคม 2559 21:17:15 น.
Counter : 2528 Pageviews.

0 comment
1  2  3  

Itsmp
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]