Cronus – เทพแห่งกาลเวลา


Cronus (โคร-โนส / โคร-นอส) คือ เทพแห่งกาลเวลาอันเป็นนิรันดร์ เขาเป็นผู้นำ และผู้ที่อ่อนเยาว์ที่สุดในเผ่าพันธ์ไททั่นรุ่นแรกๆ เทพ ผู้เป็นทายาทแห่ง Gaia (โลก) และ Uranus (สวรรค์) เขาได้ขับไล่ Uranus ผู้เป็นพ่อ แล้วขึ้นเป็นใหญ่ในช่วงยุคทองของตำนาน

ผลจากความอุดมสมบูรณ์ และความดีงามใน “ยุคทอง” Cronus ถูกสักการะบูชาในฐานะ เทพแห่งการเก็บเกี่ยว, เทพผู้ควบคุมผลผลิต, ธรรมชาติ, การเกษตร และผู้ลำดับกาลเวลาที่มีความสัมพันธ์ต่อมวลมนุษย์ เขามักถูกพิจารณาให้อยู่คู่กับ ..เคียว.. ซึ่งใช้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิต และเคียวอันเดียวกับที่เขาใช้ ‘ตอน’ พ่อของเขานั่นเอง

Cronus

ในกรุงเอเธนส์ ทุกวันที่ 12 ของเดือน จะมีงานเทศกาลที่ถูกเรียกว่า Kronia ซึ่งถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียตริให้แก่ Cronus และเฉลิมฉลองให้แก่ การเก็บเกี่ยวผลผลิต. Cronus ยังถูกรวมเข้ากับ ซาตาน ของโรมันด้วย และยังมีข้อเสนอว่า อาจเป็นไปได้ที่จะเชื่อมโยงกับปีศาจอินเดียเก่าแก่ที่ชื่อว่า Kroni แต่ในอเล็กซานเดรีย และยุคสมัยที่วิทยาการเฟื่องฟูนั้น ชื่อถูกสับสน กับคำว่า Chronos ซึ่งหมายถึง “เวลา”

ในเทพนิยายกรีกโบราณ Cronus นั้นริษยาในพลังอำนาจของ Uranus ผู้ปกครองจักรวาล Uranus ถูกบรรยายว่าเป็นปฎิปักษ์ต่อ Gaia เมื่อเขาเอาลูกๆขนาดยักษ์ของเธอ ไปขังไว้ยัง Tartarus ดังนั้น Gaia จึงสร้างเคียวขึ้นมา โดย Cronus ได้ชักชวนพี่น้องของตน มาโค่นล้มผู้เป็นพ่อ ซึ่งมีเพียงโครนอส ที่กล้าหาญพอจะใช้เคียวอันนั้น

ดังนั้น Gaia จึงให้เขาเป็นผู้ถือเคียว และคอยซุ่มโจมตี เมื่อ Uranus พบไกอา โครนอสก็ออกมาต่อสู้กับเขา และใช้เคียวทำการตอน ยูเรนอส สำหรับสิ่งนี้ ยูเรนอสได้เตือนถึงภัยร้ายที่จะเกิดขึ้น และเรียกลูกเขาว่า Titenes ซึ่งนี่เองที่เป็นแหล่งที่มาของคำว่า Titan

เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว Cronus กักขังพวก Hecatonchires, ยักษ์ และไซคลอปอีกครั้ง และใช้มังกรชื่อ Campe คอยเฝ้าพวกเขาไว้ เขากับภรรยา Rhea ขึ้นครองบัลลังก์เป็นผู้ปกครองทั้งโลก ในฐานะ ราชาและราชินี ในยุคสมัยของโครนอสนั้นถูกเรียกว่า “ยุคทอง” ผู้คนในยุคนี้ไม่ จำเป็นต้องมีกฎหมายและกฎระเบียบ เพราะทุกคนจะทำแต่สิ่งที่ถูกต้อง คำว่าผิดศีลธรรมนั้น ไม่อยู่ในความสนใจของพวกเขาแม้แต่น้อย

Cronus ได้เรียนรู้จาก ไกอาและยูเรนอส ว่าตัวเขานั้นถูกกำหนดโชคชะตาให้โดนโค่นล้มโดยลูกชายของตัวเอง ซึ่งมันเป็นผลลัพธ์จากการที่เขาโค่นล้มพ่อของตัวเอง หลังจากที่เขามีทายาท คือ Demeter, Hera, Hades, Hestia และ Poseidon ร่วมกับ Rhea เขาเริ่มรู้สึกได้ว่าผลของคำทำนายนั้นใกล้จะมาถึงเข้าไปทุกที เมื่อลูกคนที่หก Zeus กำเนิด

Rhea หันหน้าเข้าหา Gaia เพื่อหาวิธีรักษาชีวิตลูกของเธอไว้จากผู้เป็นพ่อ และให้กำเนิด Zeus อย่างลับๆที่เกาะครีต แล้วเอา ‘หิน’ ที่รู้จักกันในนามหิน Omphalos1 มาห่อหุ้มด้วยผ้า แล้วส่งไปให้ Cronus ซึ่งเขารีบกลืนมันลงไปทันที โดยที่นึกว่าเป็นลูกของเขา ส่วน Rhea ก็แอบซ่อน Zeus ไว้ในถ้ำที่ภูเขาไอด้า บนเกาะครีต ซึ่งจะกล่าวต่อไปค่ะ

เมื่อเซอุสเติบโต เขาใช้ยาพิษที่ได้รับจาก Gaia เพื่อบีบบังคับให้ Cronus อาเจียนออกมา ซึ่งสิ่งที่ออกมาอย่างแรกคือ หิน ที่ถูกวางลงใต้ช่องแคบบนภูเขา Parnassus ซึ่งกลายมาเป็น สัญลักษณ์แห่งความตายของมวลมนุษย์ ถัดมาก็เป็นแพะ รวมถึงพี่ชายทั้งสองและพี่สาวทั้งสามของเซอุสด้วย

ในเวอร์ชั่นอื่นๆบอกว่า Metis (ลูกของ Oceanus กับ Tethys) ทำให้โครนอสอาเจียน เพื่อบังคับให้สำรอก ลูกๆของเขาออกมา หรือบ้างก็ว่า เซอุส ตัดกระเพาะของโครนอสให้เปิดออก และหลังจากที่ทำการปลดปล่อยพี่น้องของเขา เซอุสก็ปลอดปล่อยพวกยักษ์, Hecatonchires และไซคลอป ผู้ที่สร้างสายฟ้าให้กับเขา

ในมหาสงคราม ที่ถูกเรียกว่า Titanomachy (War of the Titans) เซอุสและพี่น้องของเขา ด้วยความช่วยเหลือจาก พวกยักษ์และไซคลอป ร่วมกันโค่นล้ม Cronus และไททั่นอื่นๆ หลังจากนั้น พวกไททั่นก็ถูกขังใน Tartarus แต่ก็มีที่กล่าวว่า ไททั่นบางตนไม่ถูกเนรเทศไปยังทาร์ทารัส เช่น Cronus, Epimetheus, Menoetius, Oceanus และ Prometheus.

อย่างไรก็ตาม หลังจากชัยชนะของ “เซอุส” ผู้เป็นลูก ตามบทกวีของ Homer กล่าวว่า Cronus ถูกกักขัง ร่วมกับไททั่นอื่นๆใน Tartarus แต่ในบทกวี ของ Orphic2บอกว่า เขาถูกขังอยู่ในถ้ำของ Nyx (เทวีแห่งรัติกาลในยุคแรกเริ่ม) ไปชั่วนิรันดร์

1หิน Omphalos เชื่อว่าเป็นหินที่ถูกวางไว้เพื่อกำหนดจุดศูนย์กลางของโลก และถูกวางไว้บริเวณรอบๆ ทะเลเมติเตอร์เรเนียน แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ “เทพยากรณ์แห่ง Delphi”

2 Orpic เป็นบุคคนที่เกี่ยวเนื่องกับ Orpheus ในเทพนิยายกรีกโบราณ เขาเป็นนักดนตรี และกวี ผู้ซึ่งตามหา Eurydice ผู้เป็นภรรยาในยมโลกแต่สุดท้ายก็ไม่สามารถพากลับมาได้

cr. Mythology.itsmyprecious.us




Create Date : 11 ธันวาคม 2559
Last Update : 11 ธันวาคม 2559 21:16:54 น.
Counter : 10712 Pageviews.

0 comment
Apophis – งูยักษ์ผู้โอบรอบโลก


อาโปฟิส นั้นมีชื่อเรียกหลายชื่อที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น Apophis หรือชื่ออื่นๆอาทิ Aapep, Apepi, Apep ถูกเรียกว่าเป็นจิตวิญญาณแห่งความชั่วร้ายของอียิปต์โบราณ ผู้ซึ่งพยายามท้าทายอำนาจกับเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เทพรา

อาโปฟิสนั้น เป็นอสรพิษแห่งลุ่มน้ำไนล์ มีอีกสมญานามว่า “ผู้โอบรอบโลก”

แต่ดั้งเดิมนั้นเทพ Set และ Mehen มีหน้าที่ในการปกป้องเทพราและยานพลังงานแสงอาทิตย์ของเขา อาโปฟิส (Apophis) ซึ่งอาศัยอยู่ในลุ่มน้ำ จะแฝงกายอยู่ใต้เส้นขอบฟ้า คอยขัดขวางเรือสุริยะไม่ให้แล่นไป ถ้าครั้งใดที่ อาโปฟิส มีชัยชนะจะเกิดพายุ นั้นหมายถึงว่า อาโปฟิส ได้กลืนเรือสุริยะเข้าไป

ยามใดที่เทพราตกหลุมพลางเจ้างูร้าย ก็จะมีเทพองครักษ์ช่วยทำหน้าที่ผ่าท้องอาโปฟิส เพื่อให้เทพรา หลบหนีออกมา หากพวกเขาล้มเหลวโลกก็จะตกอยู่ในความมืด กลายเป็นต้นกำเนิดของเป็นสุริยุปราคานั่นเอง

เช่นเดียวกับเทพเซธ อาโปฟิส นั้นเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่น่ากลัวธรรมชาติต่างๆเช่น ความมืดที่หาคำอธิบายไม่ได้อย่างปราปฎการณ์ สุริยุปราคา

Apophis นั้นไม่เคยถูกตั้งชื่อมาก่อนจนกระทั่งยุคกลาง แต่ในรูปภาพและงานแกะสลักของช่างปั้นยุคโบราณที่ปั้นถึงงูขนาดใหญ่บนเครื่องปั้นดินเผา ก็คาดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับเขา

Apophis

ในภาพที่ถูกจารึกเอาไว้ในสุสานส่วนตัวจำนวนหนึ่ง เทพีฮาเธอร์ หรือ เทพรา จะจำแลงกายมาในรูปลักษณ์ของ “แมว” เพื่อแล้วใช้มืดใหญ่ตัดเฉือนงูตัวนั้น หรือในบางครั้งอาจถูกจารึกในรูปแบบลูกบอลกลมๆ ที่ถูกเรียกว่า “ดวงตาปีศาจ” แห่ง Apep ที่ปรากฎอยู่ในวัดหลายๆวัด

หลายครั้งที่เขาถูกวาดภาพว่าเป็นงูยักษ์ขนาดใหญ่ที่เลื้อยขดอัดแน่น ในตำราพิธีกรรมทางความตาย เขามักจะปรากฏอยู่ในขั้นตอนในรูปแบบต่างๆ ในภาพที่มีรายละเอียดในหลุมฝังศพของฟาโรห์รามเสสที่หก มีหัวสิบสองหัว และจะทาสีเหนือหัวของงู ที่เป็นตัวแทนของดวงวิญญาณที่เขาได้กลืนกิน ที่จะมีความเป็นอิสระในเวลาสั้น ๆ เมื่องูยักษ์ถูกทำลาย แต่จะถูกคุมขังอีกครั้งในคืนต่อไปนี้

อาโปฟิส เป็นที่รู้จักกันในหลายนาม ไม่ว่าจะเป็น “สัตว์เลื้อยคลานที่ชั่วร้าย” “ผู้โอบรอบโลก”หรือ “งูผู้เกิดใหม่” เขาไม่ได้รับการบูชาดังเทพองค์อื่นๆ แต่เขาคือความหวาดกลัว เราอาจเรียกได้ว่าเขาเป็นเทพเพียงองค์เดียวที่ถือว่ามีพลังสูงสุด สาเหตุคือไม่มีใครสามารถทำลาย อาโปฟิสได้ เขาไม่จำเป็นต้องได้รับการบูชาใดๆ ไม่เคยถูกทำลายโดยถาวร มีแต่เพียงการแพ้เป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น




Create Date : 11 ธันวาคม 2559
Last Update : 11 ธันวาคม 2559 21:15:56 น.
Counter : 9761 Pageviews.

0 comment
Osiris – เทพเจ้าแห่งชีวิตหลังความตาย


Osiris (โอซิริส, โอไซริส) นั้น เป็นเทพเจ้าในยุคแรกๆของอียิปต์ เขามักถูกระบุว่า เป็นเทพแห่งชีวิตหลังความตาย  และเทพแห่งวิญญาณ (คล้ายอนูบิส แต่มีตำแหน่งที่สูงกว่า) โอซิริสเป็นพี่ชาย และ สามี เทวีไอซิส มีศักดิ์เป็นพี่ชายของ เทวีเนฟธีส และเทพ เซท นอกจากนี้เขายังเป็นพ่อของ เทพฮอรัส และอนูบิส อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการบูชาให้ โอซิริสเป็นเทพเจ้าแห่งการฟื้นคืนชีพ และความอุดมสมบูรณ์

มีช่วงเวลาหนึ่งที่นับถือกันว่า โอซิริส เป็นโอรส ของเทพเจ้าแห่งโลก  เก็บ กับ เทพีนัต เทพีแห่งท้องฟ้า (แต่มีบางตำรากล่าวว่าเขาเป็นโอรสของเทพ รา)

เทพโอซิริสนั้น เชื่อว่าเป็นเทพที่รังเกียจความรุนแรงเป็นที่สุด จากบันทึกกล่าวว่าเขาแปลงกายอยู่ในร่างมนุษย์และอาศัยบนโลกเพื่อครอบบัลลังค์อียิปต์  พระองค์พบว่าประชาชนของพระองค์นั้นมีจำนวนมากที่มีความโหดร้ายป่าเถื่อน และยังไร้ศีลธรรม  โอซิริสได้โน้มน้าวและสั่งสอนประชาชนเหล่านั้นจนในที่สุด พวกเขาก็เชื่อฟังและอยู่ในกฎระเบียบของพระองค์ได้

เทพโอซิริส

ในขณะที่โอซิริสยังมีชีวิตอยู่นั้น พระองค์ และเทพธอท ได้สอนศิลปวิทยาการทั้งหลายแก่มวลมนุษย์ ทั้งเรื่องการเพาะปลูก ทำขนมปัง และหมักไวน์ หรือสร้างแบบแปลงเมือง รวมถึงการสร้างสรรค์เสียงดนตรีอีกด้วย บางครั้งเขาก็จะปล่อยอียิปต์ไว้ให้มเหสีอย่าง เทวีไอซิส ครองบัลลังก์ชั่วคราว ระหว่างที่ตัวเขาเองออกท่องไปยังแดนอื่นเพื่อสอนมนุษย์ในที่อื่นๆเช่นเดียวกับที่เขาสอนชาวอียิปต์

ซึ่งช่องว่างนี้เอง ทำให้เทพ เซธ ผู้เป็นน้องคิดไม่ซื่อ อยากครองทั้งบัลลังค์และตัวเทวีไอซิส เขาได้รวบรวบกำลังพลจำนวลหนึ่ง  และร่วมมือกันคิดหาอุบายขึ้นมาเพื่อฆ่าโอซิริส ไม่นานหลังจากที่เทพโอซิริสกลับอียิปต์ เป็นปีที่ 28 แห่งการครองราชย์ของเขา เซธและอาโส (Aso)  ราชินีแห่งเอธิโอเปีย และกบฏอีก 72 คน ได้ร่วมกันล้มล้างเทพโอซีริสจนสำเร็จ พวกเขาได้รเอาพระศพของโอซิริสใส่โลงแต่กระนั้นโลงพระศพก็ได้ไปเกยขึ้นที่ฝั่งฟีเนียเซีย

เทวีไอซิสพยายามค้นหาจนพบ ด้วยความช่วยเหลือของเทวีเนฟธีส อนูบิส และเทพธอท เพื่อค้นหาพระร่างของโอซิริสจนเจอ แต่เมื่อเทพเซธได้ทราบเช่นนั้น เขาจึงตอบแทนด้วยการฉีกร่างของเทพโอซิริสเป็น 14 ชิ้น และนำเอาชิ้นส่วนเหล่านี้ไปโปรยจนทั่วอียิปต์ เพื่อหวังว่าพระศพจะไม่ถูกหาเจออีกต่อไป แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเพราะพระนางยังสามารถหาชิ้นส่วนร่างของเทพโอซิริสได้อีกครั้ง ในตอนแรกเจอเพียง 13 เท่านั้น  ส่วนที่ขาดไปคือลึงค์ของเทพโอซิริส แต่ภายหลังก็หาจนพบ จากปลาที่กินเข้าไป  (ซึ่งนี่เองเป็นต้นกำเนิดว่าทำไมชาวอียิปต์ถึงมีข้อห้ามว่าห้ามกินปลา) เธอได้ชุบชีวิตเขาอีกครั้ง เพื่อให้นานพอที่จะทำให้พระนางตั้งครรภ์ ซึ่งภายหลังจะเกิดมาเป็นเทพฮอรัส นั่นเอง

เมื่อโอไซริสเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว ยังถูกเขารพบูชาในฐานะเทพแห่งชีวิตหลังความตาย กล่าวว่าเขาคือมัจจุราชก็ไม่ผิด อีกทั้งยังได้รับสมญาที่ว่า “เค็นที-อาเมนทีอู” (Khenti-Amentiu)  หมายถึง ที่สุดแห่งชาวตะวันตก ซึ่งหมายถึง การได้ปกครองนรกภูมิ

ส่วนไอซิสก็กลายเป็นราชินีหม้าย ก็ยังไม่คลายความเศร้าโศก และเมื่อพระนางให้กำเนิด เทพฮอรัส เขาก็จะได้ขึ้นครองบัลลังค์อียิปต์ต่อไป โดยมีเทพเซธผู้ริษยา คอยขัดขวางอยู่นั่นเอง

ชื่อ “โอซิริส” ในภาษากรีกโบราณนั้นถูกเรียกว่า  “Asar”  หรือ “Usar” ซึ่งหมายถึง “ความแข็งแกร่งของดวงตา” หรือ “เขาเฝ้ามองบัลลังก์” ลักษณะของพระองค์มักถูกบรรยายว่าเป็นชาย  มีกายสีเขียว มีหนวดเคราดังฟาโรห์ กายเบื้องล่างพันผ้าห่อศพ  ประทับยืนอยู่หรือประทับนั่งบนบังลังค์ หัตถ์ทั้งสองถือตะขอกับไม้หวดข้าว




Create Date : 11 ธันวาคม 2559
Last Update : 11 ธันวาคม 2559 21:15:26 น.
Counter : 4323 Pageviews.

0 comment
Isis – เทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ และ ภูมิปัญญา


Isis หรือ เทวีไอซิส นั้น เป็นหนึ่งในเทพเจ้าที่เก่าแก่ที่สุด ของอียิปต์โบราณ พื้นเพการเคารพบูชาของนางไม่ชัดเจนมากนัก บางตำนานเล่าว่าการบูชาพระนางมีต้นกำเนิดในไซไน แต่ก็ยังเป็นไปได้ว่าพระนางเป็นที่เคารพบูชาครั้งแรกในเขตสันดอนของอียิปต์ล่างรอบๆ บูซิริส แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนไม่ได้บูชาพระนางเพียงแค่เมืองใดเมืองหนึ่งเท่านั้น หากแต่มีการบูชาพระนางในแทบทุกพื้นที่ และทุกวัดในแผ่นดิน

แม้ผู้คนในอียิปต์นั้นเคารพบูชา  เทวีไอซิส เป็นจำนวนมาก แต่ความจริงแล้วชื่อ Isis นั้นเป็นภาษากรีก เธอเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวอียิปต์ในชื่อ Aset (หรือ Ast, Iset, Uset) ซึ่งมีความหมายลึกซึ้งว่า “ราชินีแห่งบัลลังก์” ในอียิปต์โบราณนั้นนับถือเทวีไอซสิสเปรียบเสมือนแม่แบบของ “หญิงที่สมบูรณ์” และพระนางถูกเรียกว่า “หนึ่งเดียวผู้คือทุกสิ่ง” และพระนางยังเป็นต้นแบบของเทพสตรีทั้งหลายในตำนานเทพวัฒนธรรมอื่นๆ อีกด้วย

Isis - เทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ และ ภูมิปัญญา

ต้นกำเนิดเทวีไอซิส

ตามตำนานเล่าว่า พระนางเป็นบุตรีของเทวีนัต และ เทพเก็บ ซึ่งพระนางเป็นพี่/น้อง ของ  เทวีเนฟธีส, เทพ เซธ และ เทพโอซิริส บางตำนานเล่าว่า และเพราะเทพราเกรงกลัวว่าจะมีคนมาชิงบัลลังค์ของเขา เมื่อทราบว่า เทวีนัต ตั้งครรภ์เขาจึงได้โกรธมาก และสาปนางว่า “นัตจะไม่สามารถคลอดลูกได้ไม่ว่าวันไหนเลยในหนึ่งปี” ซึ่งในขณะนั้น 1 ปี มี 360 วัน เทวีนัตไปขอความช่วยเหลือจากเทพทอธ เทพแห่งความเฉลียวฉลาด เทพทอธได้เล่นพนันกับเทพแห่งดวงจัน คอนซู และทุกครั้งที่คอนซูแพ้ เขาจะต้องแบ่งแสงจันทร์เล็กน้อยของเขาให้กับเทพทอธ และเมื่อคอนซูแพ้หลายครั้งเข้า เทพทอธเก็บสะสมแสงนั้นได้มากพอที่จะสร้างวันเพิ่มขึ้นอีกถึง 5 วัน และเพราะ 5 วันนั้นไม่ใช่วันไหนเลยในหนึ่งปี เทวีนัตจึงสามารถคลอดลูกของนางได้ ดังนี้

  • วันที่หนึ่ง ให้กำเนิด เทพโอซีริส ผู้เป็นเทพกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่
  • วันที่สอง ให้กำเนิด เทพฮามาร์คิส หรือ สฟิงซ์ ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งรุ่งอรุณ
  • วันที่สาม ให้กำเนิด เทพเซธ ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งความชั่วร้าย เขาฉีกครรภ์ของพระมารดาออกมา
  • วันที่สี่ ให้กำเนิด เทพีไอซิส ผู้เป็นเทพีแห่งความรักและภูมิปัญญา
  •  วันที่ห้า ให้กำเนิด เทพีเนฟธิส ผู้เป็นเทพีผู้คุ้มครองวิญญาณคนตาย

เมื่อเทพราทราบข่าว ก็ยิ่งโกรธเข้าไปอีก เขาแยกเทวีนัต จากสามีของนาง เทพเก็บ ชั่วนิรันดร์ โดยการให้พ่อของเทวีนัตแบกนางไว้ นั่นทำให้ท้องฟ้าและผืนดินแยกจากกันไปตลอดกาล เทพเก็บโศกเศร้าโศกาที่ถูกแยกจากภรรยาผู้เป็นที่รัก เขามักร่ำไห้และนั่นทำให้โลกเกิดมหาสมุทร

สัญลักษณ์ของไอซิส

รูปภาพของพระนางมักถูกวาดให้มี “บัลลังก์” เป็นเครื่องประดับบนศีรษะ และเหยี่ยวที่กางปีกกว้าง มักจะปรากฎรูปภาพพระนางมีผิวกายสีออกเหลืองเพื่อสื่อถึงการใช้ชีวิตในราชวังและไม่ค่อยโดนแสงแดด ในบางครั้งจะพบภาพพระนางถือเครื่องหมายอังก์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งชีวิตอันเป็นนิรันดร์

ในฐานะ น้อง และ ภรรยา ของเทพโอซิริส

ตำนานเล่าว่า ไอซิส และ โอซิริส นั้น ต่างรักกันตั้งแต่ครั้งยังอยู่ในครรภ์มารดา ทั้งสองเติบโตมาด้วยกัน และเมื่อเติบใหญ่และ เทพโอซิริส ได้ขึ้นครองบัลลังก์ได้โดยฝีมือของพระนางนั่นเอง

เล่าว่าวันหนึ่งพระนางนำน้ำลายของเทพรา (ซึ่งครองบัลลังก์ขณะนั้น) มาผสมกับโคลนแล้วปั้นงูพิษขึ้นมาเพื่อกัดเทพรา นางสร้างอุบายว่าต้องการชื่อที่แท้จริงของเทพราเพื่อใช้ในการรักษา ซึ่งเทพราก็เชื่อ ดังนั้น เทพราจึงได้รับการรักษาแต่พลังของเขาถูกส่งต่อมายังเทวีไอซิสแทน ซึ่งนั่นทำให้นางมีพลังสูงสุดในหมู่เทพ

เทพโอซิริส อภิเษกสมรสกับเทวีไอซิส ซึ่งทั้งสองต่างใช้เวลาส่วนมากไปกับการสั่งสอนและปกป้องผุ้คนของพระองค์ ยุคนั้นจึงเป็นยุคทองของอียิปต์ที่มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง และอุดมสมบูรณ์ ทั้งด้านอารยธรรม และการประดิษฐ์

เมื่อเทพโอซิริส ถูกชิงบัลลังก์

แต่แล้ว เวลาแห่งความสุขก็คงอยู่ได้ไม่นาน เมื่อเทพเซธ ผู้อิจฉาริษยา อยากแย่งชิงบัลลังก์ วางแผนเพื่อฆ่าเทพโอซิริส และเขาก็ทำสำเร็จ เทพเซธได้ร่วมมีกับอาโส (Aso) ราชินีแห่งเอธิโอเปีย และกบฏอีก 72 คน ได้ร่วมกันล้มล้างเทพโอซีริส และจับร่างของพระองค์ใส่โลงแล้วลอยไปตามแม่น้ำไนล์ แต่ก็เป็นเทวีไอซิสเองที่ตามหาพระร่างจนพบเพื่อปลุกให้เขาฟื้นคืนชีพ แต่แล้วเทพเซธ กลับรู้ว่าร่างของเทพโอซิริสถูกหาเจอก็โมโหมาก จึงฉีกร่างของเทพโอซิริสเป็น 14 ชิ้น และนำเอาชิ้นส่วนเหล่านี้ไปโปรยจนทั่วอียิปต์

เทวีไอซิสผู้น่าสงสาร ได้รับความช่วยเหลือจากน้องสาวของนาง เทพีเนฟธิส ในการตามหาร่างทั้ง 14 ส่วนของสวามี และนางได้ใช้เวทมนตร์เพื่อปลุกให้เขาฟื้นคืนชีพ นานพอที่ทั้งสองพระองค์มีทายาทร่วมกัน ภายหลังคือ เทพฮอรัส และเมื่อภายหลังจากได้ทำพิธีกรรม โดยมีเทพอานูบิส เทพแห่งความตายเป็นผู้ประกอบพิธี เทพโอซิริส ก็สามารถไปยังโลกแห่งความตายได้ และพระองค์ได้กลายเป็นผู้ปกครองโลกแห่งวิญญาณต่อไป ทั้งสองจึงต้องแยกจากกัน

ความชั่วร้ายของเทพเซธไม่หมดเพียงเท่านั้น เพราะเขาพยายามจะฆ่าหลานตัวเองคือเกิดจาก โอซิริส และ ไอซิส หลายต่อหลายครั้ง ซึ่งพระนางต้องปกต้องบุตรชายจากอันตรายต่างๆที่เทพเซธส่งมา เช่นครั้งหนึ่ง ที่พระนางต้องชุบชีวิตเทพฮอรัส จากการถูกแมงป่องต่อยจนตาย

เทวีไอซิสกับ เทพฮอรัส

หลังจากพระนางเลี้ยงดูบุตรชายจนโตบโต ฮอรัสวัยหนุ่มได้คิดที่จะแก้แค้นแทนพระบิดา และขึ้นครองราชย์อียิปต์แทนเซธผู้ชั่วร้าย จึงได้มีการท้าทายต่อเทพเซธ และผู้ชนะจะได้ขึ้นครองบัลลังก์ แต่แน่นอนเทพเซธก็ไม่ได้เล่นแฟร์ๆ ในการแข่งขันหลายๆครั้งที่เซธโกงจนเอาชนะฮอรัสไปได้ เทวีไอซิสอยากช่วยลูกชายของนาง พระนางจึงวางกับดักจนเซธติดกับ เทพเซธร้องขอชีวิตและไอซิสก็ยังปล่อยเขาไป ทันทีที่ฮอรัสทราบว่าแม่ได้ปล่อยศัตรูเป็นอิสระ เขาก็โกรธนางมาก จึงตัดเศียรของพระนางทันที  ทันใดนั้นเทพ ทอธ เทพแห่งสติปัญญหาและเวทมนต์ ได้เปลี่ยนเศียรนั้นให้กลายเป็นหัวของวัว แล้วนำมันกลับคืนยังร่างของไอซิส  (ดังนั้นในรูปปั้นโบราณบางชิ้นจะปรากฎร่างเทวีไอซิสกับเศียรของวัว) ตั้งแต่วันนั้นพระนางก็ได้ไปมีชีวิตหลังความตายกับสามีผู้เป็นที่รัก กล่าวว่าพระนางยังให้อภัยปฏิกิริยาก้าวร้าวไม่มีเหตุผลของลูกชาย และยังคงสนับสนุนเขาต่อไป

ในตำนานเทพอียิปต์นั้น เทวีไอซิสถูกยกย่องอย่างมากว่าเป็นมารดาผู้ประเสริฐ และถูกเคารพบูชาเป็นเทพธิดาผู้พิทักษ์เนื่องจากวิธีการที่เธอปกป้องเทพฮอรัส ในบทบาทของนักเวทย์และการนำชีวิตกลับคืนจากโลกแห่งความตาย พระนางยังมีบทบาทสำคัญในการอยู่เบื้องหลังราชาแห่งอียิปต์อีกด้วย

cr. Mythology.itsmyprecious.us




Create Date : 11 ธันวาคม 2559
Last Update : 11 ธันวาคม 2559 21:14:40 น.
Counter : 2690 Pageviews.

0 comment
Sacred Band กองทหารคู่รักก้องโลก


Sacred Band แห่งธีบส์ ถูกเล่าขานว่าเป็นกองทัพที่ประกอบไปด้วยคู่รักเกย์ 150 คู่ Sacred Band แห่งธีบส์ ถูกกล่าวขานว่าเป็นกองทัพที่รบชนะทุกศึก จนมาถึงศึกสุดท้ายที่ต่อสู้กับกองกำลังของ กษัตริย์ฟิลิปแห่งมาซิโดเนียและ ลูกชายของเขา Alexander the Great คู่รักทั้งหมดไม่มีใครยอมแพ้ จนสุดท้าย 150 คู่ล้วนสู้จนตัวตาย

Sacred Band กองทหารคู่รักก้องโลก

เล่าว่า เมื่อฟิลิป ได้เห็นภาพคู่รักที่ตายตกไปตามกัน เขาถึงกับหลั่งน้ำตา โดยบันทึกของปราชญ์โบราณ Plato ได้บรรยายถึงกองทหารกลุ่มนี้เอาไว้ว่า

“หากจะมีเหตุใดที่รัฐ จะถูกสร้างขึ้นจากคู่รักและคนรักของพวกเขา พวกเขาจะเป็นผู้ปกครองที่ดีที่สุด ณ. นครแห่งตน งดเว้นจากความอัปยศทั้งหลาย และเอาเยี่ยงอย่างจากความมีเกียรติของอีกฝ่าย เมื่อเกิดการต่อสู้กับคนของพวกเขา  แม้จะเพียงหยิบมือเดียว พวกเขาจะเอาชนะโลก สำหรับคู่รักนั้น ไม่ได้เลือกที่จะให้มวลมนุษยชาติมองเห็น มากไปกว่าผู้เป็นที่รักของเขาเห็น เมื่อใดที่ต้องละทิ้งที่มั่นหรือทิ้งห่างอ้อมแขนนั้น เขาเลือกที่จะตายเป็นพันหนมากกว่าที่จะทนกับความทุกข์นี้

หรือใครจะทอดทิ้งคนรักของเขา หรือใครจะเพิกเฉยเมื่อผู้เป็นที่รักอยู่ในวิกฤต ความหวาดกลัวจนถึงที่สุดจะนำพาวีรบุรุษ เคียงบ่าเคียงไหล่กับความกล้าหาญ ในเวลาเช่นนั้น รักจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับเขา”

Sacred Band of Thebes ถือได้ว่าเป็นกองกำลังศักดิ์สิทธิ์แห่งนครธีบส์ ที่ถูกก่อตั้งขึ้นด้วยความเชื่อที่ว่า นักรบแต่ละคนจะยอมตายเพื่อคนรักที่อยู่ในกองทัพและจะไม่ยอมทิ้งคู่รักของเขาอย่างเด็ดขาด

จุดกำเนิดแห่ง Sacred Band

ประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่บันทึกว่า กองทัพนี้ถูกก่อตั้งโดย Gorgidas  ผู้ซึ่งเป็นผู้นำกองทัพของเมืองเบียวเทีย เมืองหนึ่งในกรีก ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ 378 ปีก่อนศริสตกาล ซึ่งในเวลานั้นเหล่าหารกลุ่มนี้ได้ขับไล่กองทัพสปาร์ตันออกไปจากป้อมปราการแห่งธีบส์ บางบันทึกก็เล่าว่าตัว Gorgidas นั้นเป็นผู้คัดเลือกทหารแต่ละคู่ด้วยมือของเขาเองเลยทีเดียว ประกอบด้วยคู่รักที่ถูกเรียกว่า Erastes (ชายที่เป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ) และ Eromenos (ชายที่อายุน้อย)

ชัยชนะครั้งแรก

ชัยชนะครั้งแรก Sacred Band นั้นเกิดขึ้น ณ. เมืองเตกิร่า แห่ง กรีก (375 ปีก่อนคริสตกาล) ชาวธีบส์ได้ถูกชาวสปาร์ตันจำนวนนับไม่ถ้วนล้อมรอบอยู่ ในขณะที่ Sacred Band มีจำนวนแค่ สามร้อย

ในบันทึกกว่าวว่า กองรักษาการณ์ของสปาตันมีจำนวนนับได้ 1,000-1,800 นาย ทหารชาวธีบส์คนหนึ่งได้กล่าวกับ เปโลปิดาส ผู้นำว่า “เราตกอยู่ในมือของศัตรู” แต่แล้ว เปโลปิดาส กลับตอบว่า “แล้วทำไมไม่ทำให้พวกเขาตกมาอยู่ในกำมือเราล่ะ?” และทันใดนั้นเขาก็ได้บัญชาให้กองทหารม้าวิ่งเข้าใส่กองทัพชาวสปาร์ตันจากด้านหลัง เพื่อหวังจะฝ่ากองทัพขนาดใหญ่เข้าไป ทั้งกองทัพตื่นตระหนกและแตกแถว เปิดทางให้ชาวธีบส์ใช้เส้นทางนั้นบุกเข้าไป และฆ่าชาวสปาร์ตันไปตามทางที่พวกเขาบุก และพวกเขาก็ทำสำเร็จ ทหารธีบส์ไม่ได้ติดตามล่าผู้ที่รอดชีวิต และได้เอาชนะกองกำลังที่มีจำนวนมากกว่าด้วยกองกำลังที่ด้อยกว่า

ชัยชนะที่ถูกกล่าวขานมากที่สุด

ชัยชนะที่ถูกจารึกไว้ครั้งนี้ถูกเรียกว่า การสู้รบแห่ง Leuctra ซึ่งเกิดขึ้น 371 ปีก่อนคริศตกาล ทางตอนใต้ของเบียวเทีย ซึ่งกองทัพภายใต้การนำของEpaminondas ได้กำจัดทหารชาวสปาร์ต้า ซึ่งตอนนั้นนำโดยกษัตริย์  Cleombrotus ซึ่งกองทหาร Sacred Band  ได้เข้าช่วยเหลือเพื่อให้สิ้นสุดการปกครองของสปาร์ตัน

“Sacred Band ทั้ง 300 ได้สาบานว่าจะปกป้องคนรักของพวกเขาจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ในตำแหน่งปีกซ้าย และขณะที่ทหารม้าของธีบส์ไปสร้างความปั่นป่วนให้กองทัพสปาร์ตัน Sacred Band ภายใต้การนำของเปโลปิดาสก็ได้เข้าโจมตี Cleombrotus กษัตริย์แห่งสปาร์ต้า ซึ่งสร้างบาดแผลให้กับพระองค์อย่างร้ายแรง ยังความพ่ายแพ้ที่สมบูรณ์แบบแก่ชาวสปาร์ตันอีกครั้ง ”

ศึกสุดท้าย

จุดจบของ Sacred Band นั้นเกิดขึ้นเมื่อคราวต่อสู้กับทัพของกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งมาเซโดเนีย ในช่วง 338 ปี ก่อนคริสตกาล สงครามนี้ถูกเรียกว่าสงครามแคโรเนีย (Battle of Chaeronea) ซึ่งเป็นยุคที่อเล็กซานเดอร์ มหาราช กำลังเข้ามามีบทบาทบนแผ่นดินมาเซโดเนีย

“อเล็กซานเดอร์นั้น ใจเขาต้องการเพียงแค่โชว์พลังให้ผู้เป็นบิดาได้ประจักร เอาชัยเหนือศัตรูและเพิ่มกองซากศพให้สูงยิ่งขึ้น จนกว่าจะเป็นทางให้อเล็กซานเดอร์ทรงดำเนินผ่าน”

เจ้าชายอเล็กซานเดอร์บัญชาการกองทัพมาเซโดเนียจนสามารถสร้างช่องว่างระหว่างกองทัพเอเธนส์ กับ กองทัพธีบส์ ได้ และบุกเข้าโจมตีจากช่องว่างนั้น

ตามประวัติศาสตร์เชื่อว่า “อเล็กซานเดอร์ได้โจมตีที่ปีกขวาของกองทัพ ซึ่ง  Sacred Band  เป็นผู้ครองตำแหน่งอยู่ และสังหารกองทัพนี้ลงเสียสิ้น หลังจากการสู้รบจบลอง เมื่อกษัตริย์ฟิลิปได้ลงมาตรวจดูเพื่อหาผู้รอดชีวิต และพบว่าทหารทั้ง 300 นายได้เสียชีวิตลง ได้เห็นสภาพศพแต่ละนายที่ตายพร้อมยังกำหอกยาวของพวกเขา และต่างนอนแทรกตัวกันและกัน ฟิลิปรู้สึกแปลกใจและยังถึงกับหลั่งน้ำตา เมื่อทราบว่าทั้ง 300 นั้นคือคู่รักกัน ”

และหลังจากการรบที่แคโรเนีย ในปี 338 ก่อนคริสตศักราช กษัตริย์ฟิลิปที่ 2 ก็ทรงครอบครองรัฐกรีกได้ทั้งหมด (ยกเว้นสปาร์ตา)




Create Date : 11 ธันวาคม 2559
Last Update : 11 ธันวาคม 2559 21:13:47 น.
Counter : 1292 Pageviews.

0 comment
1  2  3  

Itsmp
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]