"Rule No.1 is never lose money. Rule No.2 is never forget rule number one.", Warren Buffett
Group Blog
 
All Blogs
 
หุ้น วัฏจักร

จริงรึเปล่าเล่นหุ้นเมืองไทยให้รวยต้องหุ้น........ตอนที่ 2

1 หุ้น commodity cyclical หุ้นประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์หรือ commodity ซึ่งสินค้าจะหน้าตาเหมือนกัน ทำให้ผู้ผลิตเกือบทุกรายจะต้องขายสินค้าหรือบริการที่ราคาเดียวกัน ได้แก่ เหล็ก ปิโตรฯ น้ำมัน ถ่านหิน เรือ แร่ธาตุ ฯลฯ หุ้นประเภทนี้จะมี cycle ขึ้นลงตาม demand supply ของอุตสาหกรรม ซึ่งมีปัจจัยด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเข้ามาเกี่ยวข้องในด้าน demand และมีปัจจัยด้านการเพิ่มหรือลดการผลิตของผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ของโลกซึ่งเป็นตัวกำหนด supply ดังนั้นผู้ศึกษา cycle ของธุรกิจจะต้องวิเคราะห์ให้ถูกทั้งด้าน demand และ supply ถูกด้านเดียวไม่พอครับ

2 หุ้น economic cyclical หุ้นประเภทนี้แม้จะไม่ได้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ แต่สินค้าหรือบริการนั้นมีความผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจสูง เพราะอาจจะเป็นสินค้าที่ไม่ได้จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตนักหรือพอจะชะลอการซื้อได้ หรือ/และ สินค้าของผู้ผลิตเหล่านี้แม้ไม่ได้เป็น commodity ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนักและลูกค้าพร้อมจะ switching จากยี่ห้อหนึ่งไปอีกยี่ห้อ ทำให้เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจึงมีการตัดราคากัน หรือเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนคงที่สูงมากทำให้การลดลงของรายได้ใกล้เคียงกับกำไรที่จะลดลง หุ้นกลุ่มนี้ เช่น รถยนต์ อสังหาฯ วัสดุก่อสร้าง อิเลคทรอนิกส์ รวมไปถึงหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน คือ ธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์

การวิเคราะห์หุ้น economic cyclical นั้น ต้องอาศัยความสามารถในการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคสูงครับ เพราะยอดขายของหุ้นกลุ่มดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับนักลงทุนอย่างเราที่จะไปทำนายแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตของประเทศ ที่ปัจจุบันมีตัวแปรในอนาคตที่คาดการณ์ยากจำนวนมาก เช่น การเมือง ราคาน้ำมัน เศรษฐกิจประเทศสำคัญๆ เช่น สหรัฐ จีน

หุ้น cyclical ทั้งสองประเภทนั้น ดู p/e เป็นหลักไม่ได้ครับ โดยเฉพาะหุ้น commodity cyclical หุ้นเหล่านี้ แม้ p/e ต่ำมาก ก็จะใช่ว่าถูกเสมอไป หรือช่วงที่ p/e สูงก็ไม่จำเป็นต้องแพงเสมอไป เช่น หากธุรกิจกำลังอยู่ช่วง peak หุ้นประเภท cyclical มักจะมีกำไรที่สูงมากทำให้ p/e ต่ำ แต่เมื่อธุรกิจเข้าสู่ขาลงกำไรจะลดลงแรงมากหรือถึงขั้นขาดทุน
ตอบพร้

แม้แต่ปีเตอร์ ลินช์เอง เขาก็ชอบหุ้นวัฏจักรมากและก็ทำกำไรให้เขาได้ไม่ใช่น้อยๆเลย

ปรัชญาในการเล่นหุ้นวัฏจักร

คนที่เล่นหุ้นวัฏจักรมักจะมีความเชื่อในเรื่องอนิจจัง ทุกสิ่งล้วนไม่เที่ยง และหมุนเวียนเป็นวงจร(วัฏจักร)อยู่เสมอ ที่เคยโตๆได้มากมายก็มักจะเดาว่าถึงวันหนึ่งมันก็จะไม่โต วันหนึ่งมันก็ยุบลง

ถามว่าปรัชญาข้อนี้ฝืนธรรมชาติไหม

คำตอบ คือ ไม่เลย และสอดคล้องกับคำสอนหลักของศาสนาพุทธเสียด้วยซ้ำ เรื่องวัฏฏะสงสาร เป็นสิ่งที่ได้รับการพิสูจน์มานานแล้วว่าเป็นเรื่องจริง เพียงแต่ระยะเวลาของวัฏจักรอาจจะช้าหรือเร็วต่างกันเท่านั้น

แล้วหุ้นเติบโตของบัฟเฟตต์หละ หุ้นที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนเป็นอย่างไร คำตอบ ผมก็คิดว่าหุ้นบัฟเฟตต์เป็นหุ้นวัฏจักรเหมือนกันถ้ายืดระยะเวลาไปยาวนานพอ ไม่มีอะไรหลุดพ้นไปจากวัฏสงสารได้เลย

และสาเหตุที่หุ้นบัฟเฟตต์ได้สิทธิพิเศษในการยืดระยะเวลาออกไปเป็นยี่สิบปีหรือห้าสิบปีหรือร้อยปีทั้งที่หุ้นอื่นๆไม่ได้รับสิทธินั้น ก็เป็นเพราะความได้เปรียบเชิงแข่งขันเป็นปัจจัยหนึ่ง หรืออาจจะมีความสามารถในการปรับตัวจากงานวิจัยตามแนวคิดของฟิลิป ฟิสเชอร์เป็นปัจจัยร่วม

หุ้นแบบไหนที่เป็นหุ้นวัฏจักร

1 commodity cyclical
2 Economic cyclical

ตามที่น้อง IH บอกไว้แล้ว หรือถ้าจะแยกเป็นตัวธุรกิจตามที่ผมเคยค้นไว้ก็เช่น

1.กระดาษ
2.ปิโตรเคมี เช่น น้ำมัน วงจร 18 ปี แก๊ส ถ่านหิน แต่ระยะเวลาของวงจรในอนาคตอาจจะเปลี่ยนไป เนื่องจากน้ำมันใกล้จะหมดโลกแล้ว ส่วนปิโตรเคมี บางท่านก็บอกไว้ว่าประมาณ 7-9 ปี

3.ปูนซีเมนต์ วัสดุก่อสร้าง
4.ยานพาหนะ

5.กลุ่มเดินเรือ วงจรประมาณ 25ปี
6.หลักทรัพย์ แล้วแต่ภาวะเศรษฐกิจ ตลาดหมีหรือกระทิง

7.แร่เหล็ก
8.แร่สังกะสี วงจร 15 ปี
9. อื่นๆ

ตอนเริ่มเล่นหุ้นใหม่ๆ ผมก็ screen เจอหุ้น tta psl นะครับ แต่ตอนนั้นยังไม่รู้เรื่องเลยว่าอะไรเป็นหุ้นวัฏจักรหรือหุ้นเติบโต ผมเจอเพราะผมนั่งหาทุกไตรมาสทุกบริษัทว่ามีหุ้นอะไรที่กำไรก้าวกระโดดมากๆจากไตรมาสที่แล้วบ้าง

แล้วก็ไปเจอสองตัวนี้แหละครับ ตอนนั้นราคาอยู่แถวๆยี่สิบบาทกว่าๆเท่านั้นเอง(ราคาก่อนแตกพาร์) แต่ผมไม่ได้ซื้อ (ที่จริงคือ ไม่กล้าซื้อ) ผมเลยพลาดโอกาสทองครั้งยิ่งใหญ่ เพราะต่อมาราคาขึ้นมาถึงยี่สิบห้าเด้งหรือห้าร้อยบาท(ถ้าไม่แตกพาร์)

สาเหตุที่ผมพลาดเป็นเพราะว่า พอผมไปดูงบการเงินแล้ว ปรากฏว่าทั้งสองบริษัทนี้มีหนี้อยู่เยอะมาก มีสินทรัพย์ประมาณห้าพันล้านแต่มีหนี้สินสี่พันกว่าล้านบาทเลยทีเดียว

ตอนนั้นยังมือใหม่มากเลยครับ อ่านตำราวีไอเล่มไหนๆก็บอกให้หลีกเลี่ยงบริษัทที่มีหนี้สูงๆทั้งนั้น

ผมก็หลีกเลี่ยงสิครับ ใครจะไปกล้า !!!!

ปัจจุบันนี้ผมได้ข้อคิดว่า ถ้าเป็นหุ้นเติบโต หนี้เยอะๆแบบนี้ก็น่ากลัวอยู่หรอก เพราะมันบ่งบอกว่าคุณไม่ค่อยทำกำไรเท่าไหร่ ถ้าดีจริงต้องได้กำไรเรื่อยๆและใช้กำไรไปขยายกิจการได้เรื่อยๆ และเมื่อทำบ่อยๆหลายปีเข้า บริษัทที่ดีก็จะมีหนี้น้อยลงเรื่อยๆ

แต่หลักการนี้ ใช้ไม่ได้กับหุ้นวัฏจักร เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทแค่ประคองตัวไม่ให้เจ๊งในช่วงที่เลวร้ายของวัฏจักรก็ถือว่าดีแล้ว และเมื่อรอบขาขึ้นมาถึง บริษัทเหล่านี้จะทำกำไรได้จนคุ้มค่าที่รอคอยเลยทีเดียว

ปีเตอร์ ลินช์เองก็บอกว่า บริษัทที่มีมาร์จิ้นต่ำๆ เมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้กำไรเติบโตมากๆ บริษัทเหล่านี้จะยิ่งน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะฐานเดิมทำไว้ต่ำ

นี่แหละคือความหมายของคำว่า ขนาดรถสิบล้อหรือบ้านทั้งหลังยังขึ้นได้ และนอกจากจะหมายถึงหนี้เยอะ มาร์จิ้นเดิมต่ำๆ ยังรวมถึงปัจจัยอื่นๆทุกปัจจัยที่ทำให้บริษัทดูแย่ แต่ต้องยกเว้นเรื่องความซื่อสัตย์ของผู้บริหาร

ธรรมชาติของหุ้นวัฏจักร จึงมีรุ่งเรืองตกต่ำสลับกันไป

โดยช่วงที่ตกต่ำจะยาวนานกว่าและรุนแรง จนทำให้บริษัทที่อ่อนแอเริ่มล้มหายตายจากไปเรื่อยๆ ทำให้อุปทานลดลงเรื่อยๆ ระยะเวลาของช่วงตกต่ำจะยาวนานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความอดทนของบริษัทที่อ่อนแอ ถ้าทนได้นานโดยมีอุปทานที่ระดับสูงระยะเวลาก็จะยาวนานขึ้น แต่เมื่อกลุ่มนี้ทนไม่ไหวต้องเลิกกิจการลง วงจรขาขึ้นก็จะกลับมา

วงจรขาขึ้นนี้โดยมากจะกินระยะเวลาประมาณ 20 % ของทั้งหมด เมื่อวงจรขาขึ้นกลับมา ก็จะสร้างกำไรให้มหาศาลแต่ก็จะดึงดูดให้ผู้เล่นหน้าใหม่ๆและหน้าเก่าๆกลับมาด้วย วงจรนี้จะยาวนานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการสร้างธุรกิจนี้ขึ้นใหม่ใช้เวลานานแค่ไหน และเมื่อใครๆก็เข้ามา วงจรขาลงก็จะกลับมาเยือนซึ่งจะกินเวลาอีกประมาณ 80% เป็นอันครบหนึ่งรอบ

น้อง 007s เคยถามคำถามที่ดีมากว่า เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วทำไมเจ้าของบริษัทจึงไม่เรียนรู้ที่จะปรับตัว เช่น ถ้าใกล้ๆจะถึงขาขึ้นก็ให้อดทนไว้หรือกลั้นใจไว้อย่าเพิ่งรีบเลิกกิจการ เพราะอีกเดี๋ยววงจรขาขึ้นก็มา และช่วงที่วงจรขึ้นเต็มที่แล้วก็อย่าไปลงทุนเพิ่มเพราะเดี๋ยวขาลงก็จะมา........

ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น แต่เท่าที่ดูๆมันก็จะเป็นอย่างนั้นบ่อยๆทำนองประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ก็เลยลองหาเหตุผลมาสนับสนุนได้ความว่า

ถ้าคุณอดทนได้และกลั้นใจได้จริงไม่ว่าจะด้วยวิธีอะไร วงจรขาขึ้นก็จะยังไม่มา

ทำไมล่ะ?????

ก็เพราะถ้าพวกคุณยังอยู่กันเยอะ supply ก็ไม่ลดนะสิครับ

supply ไม่ลด ราคาก็ไม่ขึ้น เป็นธรรมดาใช่ไหมครับ (เพื่อนๆหลายคนคงหาเหตุผลอธิบายไม่ได้เหมือนกันในบางเรื่องใช่ไหมครับ ว่าหุ้นที่เราถืออยู่ตั้งนานราคาไม่ยอมไปไหน แต่พอเราขายหมดมันก็เริ่มวิ่งขึ้น มันทำเราด้ายยยยยย)

และอีกอย่างในเรื่องการลงทุนเพิ่มในช่วงขาขึ้นนั้น การหาเงินลงทุนจะง่ายกว่า กู้ธนาคารก็ง่ายกว่า หาหุ้นส่วนก็ง่ายกว่า ที่สำคัญกลุ่มหน้าใหม่ๆที่ไม่เคยเจ็บตัวจากขาลงที่ยาวนานก็ไม่ค่อยรู้สึกอะไร เข้าทำนองหมูไม่กลัวน้ำร้อน ขาเก่าอาจจะเข็ดเขี้ยวกันบ้าง อนาคตพฤติกรรมเหล่านี้อาจจะเปลี่ยนแปลงไปก็ได้

วิธีค้นหาหุ้นวัฏจักร

เมื่อก่อนผมใช้วิธีอ่านหนังสือพิมพ์ไปเรื่อยๆ เคยเจอข่าว "ค่าระวางเรือสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์" ข่าวแบบนี้ก็จะช่วยให้เราสะดุดตาและเริ่มให้ความสนใจ

ผมยังเคยเจอข่าว "วัสดุก่อสร้างขาดตลาดอย่างหนัก ผู้รับเหมาร้องขอเลื่อนส่งงาน" ข่าวแบบนี้ก็จะทำให้เราเริ่มสนใจวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

แต่ปัจจุบันนี้ ผมคิดว่าการใช้วิธีเดิมๆจะค่อนข้างช้า หมายความว่าเรารู้ตอนที่ใครๆก็รู้ และรู้กันทั้งประเทศแล้ว และราคาหุ้นมักจะปรับตัวกันไปบ้างแล้วแม้บางตัวอาจจะแพงไป บางตัวอาจจะยังถูก แต่ก็ถือว่าช้าอยู่ดี ปัจจุบันนี้เราจึงต้องดักหน้าก่อน พยายามมองให้ออกก่อน เราถึงจะได้เปรียบแบบมากๆหน่อย

จากการศึกษา วิธีที่จะดักหน้ากลุ่มนี้เราควรจะรู้เสียก่อนว่ากลุ่มนี้ทั้งหมดนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เท่าที่ดูๆผมจะแบ่งกลุ่มเพื่อให้สังเกตุง่ายๆพร้อมคุณสมบัติและโทษสมบัติแต่ละกลุ่มดู

วิธีเลือกจังหวะซื้อขาย

ปีเตอร์ ลินช์ เคยบอกว่าให้ซื้อตอน p/e สูงๆ และขายตอน p/e ต่ำๆ หลักการอันนี้ดูจะกลับตาลปัตรกับหุ้นเติบโตหรือแม้แต่หุ้นทั่วๆไป แต่เป็นเรื่องจริงครับ

แต่ถ้าเรายึดตามตัวอักษรเป๊ะๆ เราอาจจะไปซื้อตอนช่วงกลางๆของวัฏจักรก็ได้ เพราะช่วงนั้น p/e ก็สูงเช่นเดียวกัน และถ้าวัฏจักรเต็มๆมีระยะเวลา 20 ปี เราก็ต้องรอตั้งสิบปีกว่าจะถึงขาขึ้น รอกันจนหน้าเหี่ยวพอดีและก็เสียโอกาสในการทำเงินไม่ใช่น้อยๆเรย......จึงต้องศึกษาเพิ่มเติมเสียหน่อย

ผลการศึกษา พบว่า

1. เราใช้วิธีดักหน้าไว้ก่อนเลย เช่นเรารู้วงจรของธุรกิจว่าใช้เวลากี่ปีๆ เราก็คำนวณไปล่วงหน้าว่าอีกกี่ปีจึงจะถึงรอบขาขึ้น แล้วเราก็จ้องตลอดว่ามัน “ใช่ ” หรือยัง

2. สัญญาณที่บอกว่า “ใช่ ” ก็เช่น บริษัทเริ่มได้กำไรมากขึ้น และมากขึ้นอย่างชัดเจนด้วยนะ

3. เช็คข่าวว่าบริษัทอื่นที่ทำธุรกิจคล้ายๆกัน ได้กำไรมากขึ้นเหมือนกันหรือเปล่า (ถ้าเป็นกลุ่มสากลมักจะได้กำไรไปด้วยกัน แต่ถ้าเป็นกลุ่มท้องถิ่นจะยากหน่อย อาจจะค่อยๆทยอยกันมาก็ได้)

4. เช็คยอดขาย อันนี้จะต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ร่วมกับสต็อคสินค้าเริ่มลดลง

5. เช็คบทวิเคราะห์ทั่วโลก(กลุ่มท้องถิ่นจะทำแบบนี้ไม่ได้ แต่กลุ่มสากลจะทำได้ง่าย และงานนี้จะไม่มีใครเป็น inside ตัวจริง ทุกคนจะพอๆกันเป็นการลดความเสียเปรียบ)

6. บทวิเคราะห์ที่ว่าอาจจะมีความคลาดเคลื่อน เพราะนักวิเคราะห์เองก็อาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อน(ระแวงไว้หน่อยก็ดีครับ) เขาอาจจะใช้ความเห็นมากกว่าข้อเท็จจริงก็ได้ หรืออาจจะใช้ข้อเท็จจริงแต่นำเสนอข้อเท็จจริงไม่หมด หรือจริงๆแล้วเจตนาบริสุทธิ์แต่รู้ไม่หมด ไม่รอบด้านพอ จึงต้องเช็คงานวิจัยจากสถาบันการศึกษาด้วยจะเชื่อถือได้มากกว่า

หลักการตรงนี้ ผมมีประสบการณ์กับกลุ่มสถาบันการเงินคือ ธนาคารพาณิชย์ ช่วงลดค่าเงินบาทและปิดสถาบันการเงิน ถ้าธนาคารพาณิชย์ที่สามารถอยู่รอดโดยไม่ถูกปิดไปในช่วงนั้น และประคองสถานการณ์มาได้

กลับไปดูย้อนหลังได้ BBL KBANK SCB BAY นับจากวันตกต่ำจนถึงวันนี้ ก็หลายเด้งเอาการครับ บางตัวเคยมีราคาต่ำกว่า PAR และ Book Value มากโข แต่นักลงทุนในช่วงนั้น หนีตายเลยครับ เพราะ เผชิญกับภาวะ การตกงานของ White Collar จำนวนมาก ไม่มีใครกล้าเข้าไปลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ถ้าใครกล้าจนถึงวันนี้ก็รับทรัพย์ไปมากโขครับ

หรืออย่าง KK นั้น ขนาดเกือบถูกปิด และเป็น 2 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ทางการยอมให้เปิดต่อ ตอนนั้นใครจะไปคิดว่า ราคาเคยตกต่ำเหลือ 2-3 บาท แต่พอหลุดวิกฤตตรงนั้น กำไรก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก จนราคาปัจจุบันขึ้นไปกว่า 10 เด้ง คือ 30 กว่าบาทมาแล้ว
ตรงประคองไม่ให้เจ๊งนี่หละครับ ทำเอานักลงทุนในช่วงนั้น 2 จิต 2 ใจ เพราะก็เห็น ๆ อยู่ว่า หลายธนาคารถูกปิดในช่วงนั้น ผสมโรงกับ Finance เกือบ 60 แห่งที่ถูกปิดตัวในช่วงเวลาดังกล่าว

ถามว่า ถ้าย้อนกลับไปช่วงเวลาดังกล่าวจริง ๆ ช่วงเวลานั้น ต้องบอกว่า Risk สูง ผลตอบแทนสูงจริง ๆ ครับ

ดักหน้าหมายถึงใช้วิธีจ้องไว้ก่อนอ่ะครับ ไม่ถึงกับซื้อดัก เพราะถ้าซื้อแล้วปรากฏว่ายังไม่ใช่ของจริงเราอาจจะขาดทุนก็ได้ (เพราะระยะเวลาของวงจรเหล่านี้ไม่ถึงกับเป็นตัวเลขเดิมเป๊ะๆ สามารถคลาดเคลื่อนได้พอสมควรครับ)

พองบออกครั้งที่ 1. ถ้าปรากฏว่าเป็นไปตามคาด เราสามารถเริ่มกระบวนการข้อ 2-6 ได้เลย อาจจะไม่ต้องรองบqที่ 2 ,3

โดยส่วนใหญ่ช่วงนี้ราคาหุ้นมักจะยังไม่ขึ้นมากครับ

ถ้าเป็นปีเตอร์ ลินช์ เขาอาจจะรอให้ราคาขึ้นไปหนึ่งเด้งเสียก่อนเพื่อความชัวร์แล้วค่อยไล่ซื้อครับ
เริ่มที่ประเภทท้องถิ่นนะครับ อย่างในกลุ่มอสังหานั้น รอบอาจจะสั้นกว่า บางทีประมาณ 4-5 ปีก็อาจจะกลับมาอีกแล้ว ปัจจัยที่มีผลก็เช่น ดอกเบี้ยปัจจุบันคงไม่ขึ้นไปอีก อาจจะคงตัวหรืออาจจะลดลงก็ได้(ฟังข่าวเมื่อวานนี้ครับ)

แต่ด้วยความที่เป็นท้องถิ่น เราจึงควรรู้ทำเลที่ตั้ง การจราจร เพราะเรื่องเหล่านี้มีผลกับยอดขายสูง ถ้าเราไม่รู้ก็จะเป็นการเสี่ยง (ซึ่งตัวผมไม่รู้) แต่ถ้าใครรู้ก็จะน่าสนใจ และที่ผ่านมา 2-3 ปี อสังหาเจ็บหนัก(จากเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ดอกเบี้ยขาขึ้น วัตถุดิบแพง) ราคาจึงค่อนข้างถูก แต่ก็ต้องลงละเอียดเป็นตัวๆ เช่น prin เป็นต้น ส่วนกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ยานยนต์ หลักทรัพย์ โรงพยาบาล ก็แตกต่างกันในรายละเอียดและระยะเวลาเหมือนกันครับ

ส่วนประเภทสากลซึ่งรอบยาวๆและใหญ่ๆนั้น ผมยังหาหุ้นไม่เจอ เท่าที่เห็นแม้กลุ่มเหล็กจะราคาถูกมากๆ ต่อให้ q3 นี้กำไรออกมาสวยงามสุดๆก็ยังไม่ค่อยน่าสนใจนักเพราะโอกาสเป็นขาลงของรอบใหญ่มีมากกว่า เว้นเสียแต่จะซื้อตัวที่ถูกมากๆในฐานะหุ้นก้นบุหรี่ เช่น gsteel (ถ้างบสวยนะครับ ถ้าไม่สวยก็ผ่านไป) เป็นต้น

ตัววัดสัญญานขาขึ้น-ลงของสินค้าโภคภัณฑ์ที่ดีอีกอย่างหนึ่งคือ
การขยายการผลิต
เพราะผมสังเกตุว่า มักจะเริ่มมีการขยายการผลิตมากๆ เมื่อใกล้จุดสูงสุดของวัฎจักร
ส่วนหนึ่งเพราะการนำผลกำไรที่ได้จากวัฏจักรขาขึ้นมาลงทุนต่อ นอกจากนี้ราคาสินค้าก็ดึงดูดให้ผู้เล่นทั้งรายเก่ารายใหม่เข้ามาลงทุน

ซึ่งหลังจากการขยายการลิตเสร็จสมบูรณ์ ก็จะเป็นเริ่มวัฎจักรขาลงของธุรกิจ เพราะมี Supply สินค้าเพิ่มขึ้นพร้อมๆ กันปริมาณมาก แต่ Demand ยังโตในอัตราเดิม ทำให้เกิด Oversupply และสงครามราคาก็ตามมา

ขณะที่หากผู้ผลิตวัตถุดิบ(Suppler ของธุรกิจ) ไม่มีการขยายกำลังการผลิตล่วงหน้าให้เพียงพอกับความต้องการวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ก็อาจทำให้ราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้น เท่านี้กำไรก็หายแบบ 2 เด้งไปเลย

ส่วนปัจจัยการเลือกหุ้นที่สำคัญอย่างหนึ่งของผมในหุ้นหุ้นกลุ่มนี้น่าจะเป็น ความเป็นผู้นำด้านต้นทุน(ต้นทุนการผลิตต่ำสุด) และปริมาณเงินสดในมือ
เพราะในช่วงขาลงอัตรากำไรของสินค้าน่าจะลดลงเรื่อยๆ จนว่าผู้ผลิตทนไม่ไหวต้องลดกำลังการผลิตเพื่อรักษาอัตรากำไร หรือเจ้าที่ขาดทุนอาจปิดตัวเองหนีไปเลย คนที่มีต้นทุนต่ำที่สุด ก็จะเป็นคนสุดท้ายที่ขายของขาดทุนซึ่งเป็นไปได้ยาก
ส่วนเงินสดในมือ นอกจากทำให้กิจการสามารถทนการขาดทุนได้นานกว่า (อึดกว่า) ยังสามารถใช้เงินที่มีกักตุนวัตถุดิบที่มีราคาต่ำในช่วงวัฏจักรขาขึ้นรอบต่อไป

ที่มา: ABVI@stock2morrow.com


Create Date : 02 ตุลาคม 2553
Last Update : 28 มกราคม 2554 0:04:47 น. 0 comments
Counter : 790 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

nat_v
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ถ้าชอบ blog นี้อย่าลืม Subscribe RSS Feed
ผมนะครับ จะพยายาม update ให้บ่อยมากที่สุด

เครื่องที่ใช้ Test: iPhone 3Gs / iTouch 2G
ไม่ Jail Break
Friends' blogs
[Add nat_v's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.