คุ้มสมุนไพร "ภูมิปัญญาไทย เพื่อสุขภาพและความงามคุณ" บริการ อยู่ไฟ หลังคลอด ถึงบ้าน และจำหน่ายชุด อยู่ไฟ ด้วยตนเอง
 

พรหมวิหาร 4

พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่

เมตตา - ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณา - ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา - ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา - การรู้จักวางเฉย
[แก้ไข] คำอธิบายพรหมวิหาร 4
1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้ และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น

2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ - ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์ - ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์

3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง

4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

[แก้ไข] อานิสงส์ความสุขแก่ผู้ปฏิบัติ
คุณธรรม 4 ประการนี้ นอกจากความเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐแล้ว ยังเป็นอานิสงส์ความสุขแก่ผู้ปฏิบัติถึง 11 ประการ ดังนี้

1.สุขัง สุปฏิ นอนหลับเป็นสุข เหมือนนอนหลับในสมาบัติ

2.ตื่นขึ้นมีความสุข ไม่มีความขุ่นมัวในใจ

3.นอนฝัน ก็ฝันเป็นมงคล

4.เป็นที่รักของมนุษย์ เทวดา พรหม และภูติผีทั้งหลาย

5.เทวดา พรหม จะรักษาให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง

6.จะไม่มีอันตรายจากเพลิง สรรพาวุธ และยาพิษ

7.จิตจะตั้งมั่นในอารมณ์สมาธิเป็นปกติ สมาธิที่ได้ไว้แล้วจะไม่เสื่อม มีแต่จะเจริญยิ่งขึ้น

8.มีดวงหน้าผุดผ่องเป็นปกติ

9.เมื่อจะตาย จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์

10.ถ้ามิได้บรรลุมรรคผลในชาตินี้ ผลแห่งการเจริญพรหมวิหาร 4 นี้ จะส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลก

11.มีอารมณ์แจ่มใส จิตใจปลอดโปร่ง ทรงสมาบัติ วิปัสสนา และทรงศีลบริสุทธิ์




คนที่มีพรหมวิหาร 4 สมบูรณ์ ศีลย่อมบริสุทธิ์
คนที่มีพรหมวิหาร 4 สมบูรณ์ ย่อมมีฌานสมาบัติ
คนที่มีพรหมวิหาร 4 สมบูรณ์ เพราะอาศัยใจเยือกเย็น ปัญญาก็เกิด

--------------------------คลังปัญญาไทย

ที่มา //www.dhammadelivery.com/teaching-detail.php?tea_id=67




 

Create Date : 25 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 25 กรกฎาคม 2551 22:39:07 น.
Counter : 412 Pageviews.  

มรรค ๘

มรรค ๘ เห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ จิตตั้งมั่นชอบ
ในเมื่อภูมิจิตของผู้ดำเนินนั้นยังไม่ประชุมพร้อมลงไปเป็นหนึ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างจะปรากฏที่อาการ เช่น สัมมาทิฏฐิ ( เห็นชอบ) ก็มีอยู่ สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ก็มีอยู่ ทั้งสองอย่างนี้เป็นเรื่องของปัญญา
ปัญญาในมรรค ๘ ยังไม่มาประชุมพร้อมลงเป็นหนึ่ง ที่ดวงจิต ยังมีสอง ในขณะที่มรรค ๘ ยังไม่ประชุมพร้อมลงเป็นหนึ่งที่ดวงจิต ยังมีอาการอยู่ ๘ นั้น เป็นอาการของมรรคเมื่อประชุมพร้อมเป็นหนึ่ง คือ สมาธิ
ความประชุมพร้อมเป็นหนึ่งนั้นอยู่ที่สมาธิ ในเมื่อสัมมาสมาธิ เป็นหนึ่งแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเกิดขึ้น
ทีนี้อาการเกิดขึ้นของมรรค ๘ ในเมื่อประชุมพร้อมลงแล้ว เราจะนับอาการไม่ถูก เพราะถ้าหากมรรค ๘ ยังแยกกันอยู่ตราบใด เราไม่สามารถปฏิบัติจิตไปสู่ภูมิรู้ ภูมิธรรม ได้เลย เพียงแต่ว่าเราทำให้จิตสงบเพียงนิดหน่อยเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ผู้บำเพ็ญมักจะหนักใจว่า ทั้ง ๘ ข้อนี้จะทำอย่างไร กว่าจะรวมลงมาเป็นหนึ่ง มิต้องเสียเวลามากมายหรือ ?
การรวมธรรมะคือมรรค ๘ นี้ เราจะต้องเริ่มด้วยการรักษาศีลให้บริสุทธิ์เป็นประการแรกก่อน
ประการที่สอง พยายามทำใจ ฝึกหัดใจให้เป็นสมาธิ
ประการที่สาม ทำสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบในการปฏิบัติว่าเพื่ออะไร
เมื่อมุ่งผลแห่งความสงบ รู้ยิ่งเห็นจริงตามสภาวธรรม ตามความเป็นจริง ในเมื่อศีลก็บริสุทธิ์ เป็นอุบายที่ทำให้จิตสงบลงเป็นหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า สมาธิจิต
สมาธิ เมื่อจิตสงบลงเป็นหนึ่ง คือจิตไปนิ่งอยู่เฉย ๆ อันนี้เป็นแต่เพียงมีสมาธิองค์เดียวเท่านั้น
ถ้าสติสัมปชัญญะยังไม่มีกำลังเพียงพอ ศรัทธาพละ ยังไม่เก่ง วิริยะพละยังไม่มี สติพละยังไม่พร้อม สมาธิพละยังไม่เข้มแข็ง ปัญญาพละยังไม่มีกำลังที่จะรอบรู้ถึงที่สุด จิตก็ยังไม่ประชุมพร้อมอริยมรรครวมเป็นหนึ่งได้ ต้องพยายามที่จะฝึกหัดสมาธิให้ยิ่งขึ้น
ในเมื่อทั้งมรรค ๘ รวมกันเป็นหนึ่งแล้ว มีแต่หนึ่งไม่มีสอง ในเมื่อยังไม่ประชุมพร้อม มันก็ยังมีแยกกันเป็นสองคำถามที่ว่าทำไมปัญญาในมรรค ๘ จึงมี ๒ ก็เพราะเราไปพูดตามอาการ
ในเมื่อเราทำจิตเป็นสมาธิ ประชุมพร้อมด้วยอริยมรรคแล้ว สัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกัปปะรวมเป็นหนึ่ง สัมมาอันอื่น ๆ ก็จะรวมเข้ามา จนรวมเป็นหนึ่งเท่านั้น เมื่ออริยมรรครวมกันเป็นหนึ่งแล้ว ก็สามารถปฏิวัติจิตไปสู่ภูมิรู้ภูมิธรรมได้

--------หลวงพ่อพุธ ฐานิโย---

ที่มา //www.dhammadelivery.com/teaching-detail.php?tea_id=69




 

Create Date : 25 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 25 กรกฎาคม 2551 22:35:36 น.
Counter : 253 Pageviews.  

 
 

Healthy Service
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




คุ้มสมุนไพรบริการอยู่ไฟ คุณแม่หลังคลอด
จำหน่าย ชุดอยู่ไฟ และสมุนไพร
สายด่วน 08-5426-7578 (24 ชม. ทุกวัน)http://www.KUMsamunpai.com/


จำนวนผู้เข้าเว็บ Best Free Hit Counters
Maternity Wear
Maternity Wear 234x60 70% off on over 3,000 designer fragrances SkinStore Special Offers Free Shipping
[Add Healthy Service's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com