คุ้มสมุนไพร "ภูมิปัญญาไทย เพื่อสุขภาพและความงามคุณ" บริการ อยู่ไฟ หลังคลอด ถึงบ้าน และจำหน่ายชุด อยู่ไฟ ด้วยตนเอง
 

เตรียมยาก่อนออกเดินทางกันดีกว่า~!!



การท่องเที่ยวเป็นการพักผ่อนอีกรูปแบบหนึ่งที่ใครหลายคนปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวในประเทศหรือต่างประเทศ ทุกท่านคงต้องมีการจัดเตรียมข้าวของสัมภาระไปให้พร้อม ยาเป็นสิ่งที่เสียมิได้ทีเดียวที่คุณควรจะจัดเตรียมไปให้พร้อม เพราะไม่อาจมั่นใจได้ 100% ว่าคุณจะมีสุขภาพแข็งแรงตลอดการเดินทาง แต่การจัดเตรียมยาอาจเป็นปัญหากับหลายๆ คนที่ไม่รู้ว่าจะจัดยาอย่างไร หรือไม่แน่ใจว่าจะครบถ้วนหรือไม่ จึงอยากนำเสนอวิธีจัดยาง่ายๆ ก่อนที่คุณจะออกเดินทางเพื่อให้การท่องเที่ยวของคุณสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นนะคะ

การจัดชุดปฐมพยาบาลสำหรับการเดินทาง
คุณสามารถจัดยาตามรายการโรคที่อาจเกิดระหว่างการเดินทาง ดังนี้

สภาวะโรค หรืออาการที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่างยาที่แนะนำ
ภูมิแพ้ หรืออาการแพ้ต่างๆ ยาครีมทาผื่นคัน เช่น hydrocortisone cream, triamcinolone cream, betametasone cream
ยาต้านฮิสตามีน (antihistamines) เพื่อบรรเทาอาการแพ้ อาการคัน ยากลุ่มนี้ ได้แก่
- กลุ่มเก่า ที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม เช่น chlorpheniramine
- กลุ่มใหม่ ที่ไม่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม เช่น loratadine, cetirizine
ท้องผูก ยาระบาย ควรเลือกที่เคยรับประทานมาก่อนและไม่มีฤทธิ์ระบายรุนแรงจนเกินไป เช่น ใบมะขามแขกเม็ด (senokot), bisacidyl
ท้องเดิน ยาฆ่าเชื้อ เช่น cotrimoxazole, doxycycline, norfloxacin, ciprofloxacin เป็นต้น
ยาหยุดถ่าย เช่น loperamide
ผงเกลือแร่ เช่น ORS
ปวดท้อง แสบท้อง จุกเสียด ยาเคลือบกระเพาะ ยาลดกรดต่างๆ เช่น ยาน้ำลดกรด, ยาเม็ดลดกรด ยาแก้ท้องอืดแน่นท้อง, ยาธาตุน้ำแดง
อาการติดเชื้อต่างๆ ยาปฏิชีวนะ เช่น amoxycillin, roxithomycin, erythromycin
อาการปวดต่างๆ ได้แก่ ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดฟัน ยาลดไข้ บรรเทาปวด เช่น paracetamol, aspirin
ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบ เช่น ibuprofen, diclofenac, naproxen
อาการไหม้จากแสงแดด ครีมกันแดดที่มีค่า SPF (sun protective factor) มากกว่า 30 ขึ้นไป เมื่อต้องเดินทางหรือมีกิจกรรมกลางแจ้ง
อาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน ยาแก้เมา ซึ่งเป็นกลุ่มต้านฮีสตามีน เช่น chlopheniramine, dimenhydrinate (Dramamine)
อาการไอ ยาบรรเทาอาการไอ เช่น dextromethophan หรือ ยาน้ำแก้ไอต่างๆ
ยาละลายเสมหะ เช่น bromhexine
อาการนอนไม่หลับ หรืออ่อนเพลียจากการเปลี่ยนแปลงสถานที่ หรือเวลา (Jet lag) ยานอนหลับ ได้แก่ lorazepam, diazepam
ยาบรรเทาอาการ jet lag เช่น melatonin
อาการหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ใช้ยาเช่นเดียวกับอาการภูมิแพ้
แผลเปิด ชุดทำแผลเล็กๆ ผ้าก๊อซ กรรไกร พลาสเตอร์ปิดแผล แอลกอฮอล์ โพวิโดนไอโอดีน


อย่างไรก็ตามรายการยาเหล่านี้ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพียงแต่ชี้แนะแนวทางเท่านั้น กรณีที่คุณต้องการจัดยาต่างๆ ควรจัดตามอาการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ และปรึกษาเภสัชกรประจำร้านยาด้วย หากคุณมีโรคประจำตัวอยู่ หรืออาการแพ้ยาบางประเภทที่ไม่สามารถใช้ยาตามรายการที่ระบุข้างต้นได้

Travel Tips
1. ตรวจสอบว่ากับบริษัทประกันสุขภาพที่คุณทำ ว่าสามารถติดต่อได้อย่างไรบ้างเมื่อคุณอยู่ในต่างประเทศ
2. กรณีที่คุณมีโรคประจำตัว ควรจัดเตรียมยาไปให้ครบตามจำนวนวันการเดินทาง หรือจัดเผื่อไว้ด้วยจะดีหากเกิดเหตุฉุกเฉิน
3. กรณีที่คุณต้องเดินทางเป็นระยะเวลานานๆ ควรตรวจสอบด้วยว่าประเทศที่จะเดินทางไปนั้นสามารถนำยาเข้าไปได้มากน้อยเพียงไร และเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดกับศุลกากรของแต่ละประเทศ คุณควรให้แพทย์ประจำตัวออกใบรับรองการเจ็บป่วยให้คุณเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งรายระเอียดชื่อยาที่ต้องใช้ขณะนั้นด้วย
4. จัดเตรียมยาชุดปฐมพยาบาลให้พร้อม
5. พกยาที่86Iต้องรับประทานเป็นประจำติดตัวไว้ตลอด เช่น ในกระเป๋าถือ หรือเป้ ไม่ควรเก็บในกระเป๋าเดินทาง


ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today




 

Create Date : 01 สิงหาคม 2551    
Last Update : 1 สิงหาคม 2551 15:04:31 น.
Counter : 439 Pageviews.  

ยาแอสไพรินนับเป็นยายอดอัศจรรย์รักษามะเร็งผิวหนัง จนถึงทรวงอกได้

ยาแอสไพริน อันเป็นยาสามัญแก้ปวด เก่าแก่กว่าร้อยปีดีดักแล้ว ถูกพบว่ารักษาโรคมะเร็งบางชนิดลงได้ และยังเชื่อว่าอาจรักษาโรคมะเร็งผิวหนังแบบหายากชนิดหนึ่ง กับมะเร็งทรวงอกบางแบบได้ด้วย



วารสารวิทยาศาสตร์ "ธรรมชาติ" รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์สถาบันวิจัยโรคมะเร็งในกรุงลอนดอน ได้พบว่า สรรพคุณการแก้อักเสบของยาแอสไพริน ช่วยรักษาอาการเกิดเนื้องอกรูปเห็ดที่หนังหัว อันเป็นโรคมะเร็งของผิวหนังชนิดหนึ่งซึ่งมักเป็นกรรมพันธุ์ เริ่มมาจากการอักเสบของเนื้อเยื่อที่ผิวหนัง หรือตามบริเวณที่มีขนขึ้นตามร่างกาย ทำให้เพาะโมเลกุลออกมา ที่อาจไปช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์มะเร็งให้ดำรงชีวิตขึ้นได้ ด้วยเหตุที่ตัวยาแอสไพรินแก้การอักเสบได้ ดังนั้น มันจึงทำให้พวกเซลล์มะเร็งเหล่านั้นขาดอาหารลง

รายงานการศึกษากล่าวว่า ยาแอสไพรินยังส่อว่า อาจใช้รักษามะเร็งชนิดอื่นได้อีกด้วย เช่นมะเร็งเมล็ดโลหิตและของต่อมน้ำเหลืองบางแบบ "เรารู้ว่าการอักเสบอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดเป็นมะเร็งจำนวนหนึ่งขึ้น ดังนั้นแอสไพรินจึงอาจจะช่วยรักษามะเร็งได้"

ก่อนหน้านี้ก็เคยมีการศึกษาพบมาก่อนว่า ยาสามัญขนานดั้งเดิมนี้ มีคุณประโยชน์รักษาอาการของโรคหัวใจและอัมพาตไ

แหล่งที่มา » ไทยรัฐ




 

Create Date : 31 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 31 กรกฎาคม 2551 8:50:33 น.
Counter : 455 Pageviews.  

ยาลดกรดเพิ่มความเสี่ยงแพ้อาหาร



บีบีซีนิวส์ - นักวิทยาศาสตร์ในออสเตรียพบว่า ยาลดกรดในกระเพาะอาจมีส่วนกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีอาการแพ้อาหารได้ง่าย เพราะทำให้อาหารเคลื่อนตัวเข้าสู่ลำไส้ก่อนที่จะถูกย่อยหมด

นักวิจัยเผยผลการศึกษาที่การประชุมองค์การภูมิแพ้โลกโดยระบุว่า พวกเขาทำการศึกษาอาสาสมัครราว 300 คน โดยให้คนครึ่งหนึ่งกินยา "รานิทิดีน" ซึ่งเป็นยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ส่วนอาสาสมัครที่เหลือให้กินยาสำหรับใช้ในการวิจัย ซึ่งไม่มีผลกับร่างกาย

ศาสตราจารย์เอริกา เจนเซน-จาโรลิม ผู้นำการวิจัยจากมหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตีออฟเวียนนาเผยว่า อาสาสมัครทั้งหมดไม่มีประวัติแพ้อาหารใด ๆ มาก่อน แต่หลังการทดลองพบว่า คนกลุ่มที่กินยาลดกรดมีอาการหรือมีท่าทางจะแพ้อาหาร ขณะที่อาสาสมัครอีกกลุ่มไม่มีอาการใด ซึ่งผลการทดสอบในหนูก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน


นักวิทยาศาตร์เชื่อว่า ยาลดกรดอาจเข้าไปลดระดับกรดแกสตริกในกระเพาะอาหาร ซึ่งช่วยทำหน้าที่ย่อยอาหารก่อนที่อาหารจะถูกส่งไปที่ลำไส้ และระดับกรดที่ลดลงทำให้อาหารถูกส่งไปก่อนที่จะย่อยเสร็จ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงพยายามเข้าโจมตีอาหารนั้น ๆ กระตุ้นให้เกิดปฏิกริยาภูมิแพ้ โดยเฉพาะอาหารแปลก ๆ ที่ไม่เคยกินมาก่อนจะมีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษ เนื่องจากร่างกายนั้นไม่เคยชิน

ศาสตราจารย์เจนเซน-จาโรลิมชี้ว่า การศึกษานี้มีความสำคัญกับคนที่มีความเสี่ยงจะแพ้อาหาร และแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารแปลก ๆ เนื่องจากการแพ้อาหารอาจทำให้ผู้ป่วยเป็นผื่นคัน หรือถึงขั้นช็อกเป็นอันตรายถึงชีวิต และระบุว่าปัจจุบันมีผู้ใหญ่ถึง 10% ที่กินยาลดกรด

ด้านบริษัทกลาโซสมิธไคลน์ ผู้ผลิตยาลดกรดหลายขนาดระบุว่า จะตรวจสอบผลการศึกษาชิ้นนี้ และไม่เชื่อว่าการกินยาของทางบริษัทจะทำให้มีความเสี่ยงใด ๆ เนื่องจากยาได้ผ่านกระบวนการทดสอบมาอย่างหนักแล้วก่อนได้รับอนุมัติจากทางการ

แหล่งที่มา » ผู้จัดการ




 

Create Date : 31 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 31 กรกฎาคม 2551 8:41:21 น.
Counter : 349 Pageviews.  

 
 

Healthy Service
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




คุ้มสมุนไพรบริการอยู่ไฟ คุณแม่หลังคลอด
จำหน่าย ชุดอยู่ไฟ และสมุนไพร
สายด่วน 08-5426-7578 (24 ชม. ทุกวัน)http://www.KUMsamunpai.com/


จำนวนผู้เข้าเว็บ Best Free Hit Counters
Maternity Wear
Maternity Wear 234x60 70% off on over 3,000 designer fragrances SkinStore Special Offers Free Shipping
[Add Healthy Service's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com