Group Blog
 
All blogs
 

นี่มัน ไข่พยาธิ เหรอ รูปร่างคล้าย ถังเบียร์ เลยแฮะ !?!

ตอนช่วยพี่เบียร์ edit ต้นฉบับ "หมอเล็กในโรงพยาบาลใหญ่" มีอยู่ตอนนึง เขียนว่า

"ขณะที่ปล้ำอยู่กับกองขี้ทั้งวัน ผมก็เข้าใจอารมณ์ซาบซึ้งน้ำตาไหลตอนที่เจ้าแพทย์ฝึกหัดเดือนที่แล้วเจอไข่พยาธิทรงถังเบียร์ และตอนนั้นผมแทบจะลืมเรื่องข้างต้นเสียสนิท"

พี่เบียร์ (เออแฮะ ชื่อพี่เค้าก็เป็นเบียร์นี่หว่า) : ตรงนี้ถูกมั้ยก้อย ไข่พยาธิทรงถังเบียร์ มีรึเปล่า

ก้อย : มีจริงค่ะพี่ ไข่พยาธิมีรูปร่างหลายแบบ อันนี้คล้ายถังเบียร์ บางชนิดมีหน้ามีตาน่ารักน่าเอ็นดูด้วยนะพี่

พี่เบียร์ก็พยักหน้าแล้วก็ไปดูตอนถัดไปกัน เอ พี่เค้าจะเชื่อตูป่าวหว่า ไข่พยาธิเนี่ย มีอะไรขำ ๆ ให้จดให้จำด้วยนะ

อย่างที่ในหนังสือบอกว่า "ไข่พยาธิทรงถังเบียร์" เนี่ย เป็นไข่ของพยาธิแส้ม้าค่ะ ภาษาอังกฤษเค้าเรียกว่า Trichuris trichiura ต้องทำตัวเอียงหน่อย ตามหลักชื่อวิทยาศาสตร์ อิ อิ ชื่อก็ออกเสียงน่ารักดีนะคะ ทริคูริส ทริคิอูร่า

ตัวมันเนี่ยคล้ายแส้ม้าเลยค่ะ



และนี่ค่ะ ไข่พยาธิแส้ม้า เปรียบเทียบกับ ถังเบียร์ คล้ายนะคะ

ข้างในสีส้ม ๆ ด้วย เบียร์ยี่ห้ออะไรหว่า 555+



ส่วนนี่ Giardia lamblia ค่ะ (ทำตัวเอียงหน่อย ตามหลักชื่อวิทยาศาสตร์อีกแล้ว ) มีหน้ามีตา มีจมูก มีปาก เหมือนอย่างที่บอกเลย แอบหยองแฮะ บรึ๋ยส์...



เอาแค่นี้ก่อนละกัน

สิ่งมีชีวิตนี่มหัศจรรย์ยิ่งนักเนอะ

รูปร่างแปลก ๆ เหล่านี้ มีใครเสกสรรค์ให้เป็นรึเปล่าน้า




 

Create Date : 01 เมษายน 2553    
Last Update : 9 เมษายน 2553 7:35:46 น.
Counter : 4060 Pageviews.  

มารู้จัก "เลือด" กันเถอะ ^^

วันก่อน นั่งเม้าท์กับเพื่อน ๆ ที่มหา'ลัย คุยเรื่องนู้นเรื่องนี้ คุยไปคุยมา กลายเป็นรายการตอบปัญหาสุขภาพไปซะงั้น เป็นการตอบปัญหาที่ค้างคาใจของน้อง ๆ ไป ๆ มา ๆ ก็มาเรื่องนี้

"เลือด" หรือ "Blood"



หลังจากเม้าท์กันเสร็จ (รู้สึกจะประมาณครึ่งชั่วโมง) เพื่อนรุ่นน้องก็บอกว่า

"รู้สึกดีนะ ปกติจะไม่มีหมอมาให้ซักถามแบบนี้ กระจ่างเลย"

"พี่ก้อยเก่งอ่ะ ถามอะไรตอบได้หมดเลย"

555+

เราก็รู้สึกดีนะ เวลามีคนโน้นคนนี้มาถามนู่นนี่ แล้วให้ความรู้เค้าได้น่ะ เราก็เลยอยากเป็นอาจารย์จะได้สอนนู่นนี่ อยากเป็นนักเขียนถ่ายทอดเรื่องราวประสบการณ์ต่าง ๆ อยากเป็นนักแปลถ่ายทอดเรื่องราวที่รู้มาจากภาษาอื่นเป็นภาษาไทยและ่ถ่ายทอดเรื่องราวภาษาไทยที่น่าสนใจให้ชาวต่างชาติได้รับรู้บ้าง

อ่ะ มาว่ากันต่อเรื่อง "เลือด" นะคะ

เลือดเนี่ยสำคัญมากนะคะ ถ้าใครอายุไล่เลี่ยกับเราอาจเคยดูรายการ นิทานแห่งชีวิต แต่ถ้าใครไม่เคยดู เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง

ในร่างกายพวกเราเนี่ย จะมีเลือดประมาณ 4,000-5,000 cc ค่ะ ก็ประมาณโค้กลิตร 4-5 ขวดนั่นแหละค่ะ

สูตรคำนวณง่าย ๆ สำหรับผู้ใหญ่ก็คือ

ปริมาณเลือดในร่างกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) * 80 ค่ะ

เช่น หนัก 50 กิโลกรัม ก็จะมีเลือด = 50 * 80 = 4,000 cc ค่ะ

แล้วเลือดนี่นะคะ มี 2 ส่วนค่ะ

1. ส่วนที่เป็น "เม็ดเลือด" มีประมาณ 45% ของเลือดทั้งหมดค่ะ เม็ดเลือดมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกันค่ะ

- เม็ดเลือดแดง ที่เราเห็นกันในหนังแนววิทยาศาสตร์ว่าเป็นเม็ดกลม ๆ ตรงกลางบุ๋ม ๆ หน่อยค่ะ ทำหน้าที่ขนส่งก๊าซออกซิเจนไปให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายของเราค่ะ



แม้เม็ดเลือดแดงจะเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่เราก็สามารถนำมาส่องดูจากกล้องจุลทรรศน์ได้ค่ะ เราเนี่ยส่องดูมาเยอะแล้ว คนที่เป็นโรคเลือดบางประเภทเนี่ยจะมีรูปร่างเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติค่ะ เช่น เม็ดเลือดแดงโค้งง้อคล้ายรูปเคียว ในผู้ป่วย Sickle Cell Anemia



- เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดขาวเนี่ยเปรียบเสมือนทหารค่ะ คอยทำลายเชื้อโรคสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายเรา

- เกล็ดเลือด เวลามีดบาดเนี่ยสักพักเลือดจะหยุดใช่มั้ยคะ นั่นเป็นผลจากการทำงานของเกล็ดเลือดนี่แหละค่ะ ทำหน้าที่ให้เลือดแข็งตัวตรงจุดที่เส้นเลือดมีการฉีกขาดค่ะ

2. พลาสม่า (Plasma) สะกดเหมือนจอ Plasma นะคะ แต่ความหมายต่างกัน Plasma ในที่นี้ก็คือเลือดส่วนที่เป็นของเหลวค่ะ ไม่รวมเม็ดเลือดที่กล่าวไว้ตอนต้น พลาสม่าประกอบด้วยน้ำและโปรตีนค่ะ ทำหน้าที่ควบคุมระดับความดันและปริมาตรของเลือด รวมทั้งเป็นภูมิคุ้มกันโรคด้วยค่ะ

เวลาบริจาคโลหิตเนี่ย เค้าไม่ได้เอาเลือดเราไปเยอะนะคะ แค่ 300-400 cc เองค่ะ ประมาณ 6-7% ของปริมาณเลือดทั้งหมดในร่างกายเราค่ะ หรือถ้าจะให้เห็นภาพก็ ไวตามิ้ลค์ ทูโก 1 ขวดค่ะ

เมื่อเราบริจาคโลหิตแล้วเนี่ย ทางศูนย์บริการโลหิตเค้าจะนำเลือดของเราไปผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ได้ Blood Product (ผลิตภัณฑ์โลหิต) ซึ่งจะนำไปให้โรงพยาบาลเพื่อนำไปให้ผู้ป่วยต่อไปค่ะ ได้แก่ ผู้ป่วยอุบัติเหตุ, ผู้ป่วยเสียเลือดจากการผ่าตัด, ผู้ป่วยที่เสียเลือดจากการคลอดบุตร, ผู้ป่วยที่เลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้, ผู้ป่วยโรคโลหิตจาง, ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย, ผู้ป่วยที่เกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น



การจัดหาโลหิตในปัจจุบันเนี่ยยังคงไม่เพียงพอและไม่สม่ำเสมอนะคะ ก็ขอเชิญชวนเพื่อน ๆ ไปบริจาคโลหิตกันนะคะ พี่เคนก็ไปบริจาคโลหิตเหมือนกันค่ะ เจ็บนิดเดียวเองค่ะ แค่มดกัดเอง ^_^




 

Create Date : 19 มีนาคม 2553    
Last Update : 19 มีนาคม 2553 20:23:33 น.
Counter : 1109 Pageviews.  

Wisdom teeth ฟันแห่งปัญญา หรือ ฟันแห่งปัญหา!?!

วันก่อน เพื่อนเราบ่นว่า ปวดฟันคุด เราก็เลยให้คำแนะนำไป เพราะเคยเป็นมาก่อน เพื่อนปวดมากจนอยากจะไปถอนออกวันพรุ่งนี้เลย แต่ก็กลัวหายไม่ทันไปทริปวันพฤหัสนี้ ซึ่งเราว่าต้องอย่างน้อยสัปดาห์นึงแหละจะหายบวม แต่ของเรานะ 2 สัปดาห์ บวมจนใครทักว่าเป็นคางทูมรึเปล่า

วันนี้ จะเล่าเรื่อง Wisdom teeth ฟันแห่งปัญญา ให้ฟัง หรือจริง ๆ ก็คือ ฟันคุด นั่นแหละ จากประสบการณ์ที่เคยผ่านมาอย่างโชกโชนถึง 4 ซี่ !!!!



ทำไมเค้าถึงเรียกว่า Wisdom teeth ก็เพราะว่าตามลำดับการขึ้นของฟันเนี่ย ฟันกรามซี่สุดท้ายนี้จะขึ้นช่วงอายุ 17-25 ปี หรืออาจจะหลังจากนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่เจ้าของฟันมี ปัญญา มาระดับหนึ่งแล้ว

เรื่องการขึ้นของฟันนี่จำง่าย ๆ ก็ ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นตอน 6 เดือน ฟันแท้ซี่แรกขึ้นตอน 6 ขวบ คนที่เป็นพ่อเป็นแม่จะตื่นเต้นกับฟันของลูก ลูกชั้นฟันขึ้นแล้ว อะไรประมาณนี้ ส่วนเรา ตอนเด็ก ๆ จะได้ว่า ถ้าฟันน้ำนมหลุด ฟันล่างให้โยนขึ้นบน ฟันบนให้โยนลงล่าง เราแอบคิดว่า ถ้าเราทำสลับกัน ฟันเราจะเป็นยังไง แต่เราจำได้ว่า เคยโยนฟันขึ้นหลังคาด้วย อืมม์ แต่เราไม่เคยโยนฟันน้ำนมลงพื้นนะ หรือว่าเคยหว่า



อ่ะ มาต่อเรื่อง Wisdom teeth นอกจากจะขึ้นช่วงที่เรามีปัญญาแล้ว ยังเป็นผลพวงจากวิวัฒนาการด้วย เพราะคนเราสมัยนี้ ไม่ค่อยได้ใช้ฟันบดเคี้ยวเช่นคนในยุคโบราณ ฟันกรามซี่สุดท้ายก็เลยไม่โผล่

ตั้งแต่สมัยวัยรุ่น เวลาใครบอกว่า มีฟัน 32 ซี่ เราจะนับได้แค่ 28 ซี่ แล้วเราก็งงว่า ทำไมไม่เห็นได้ 32 ซี่แบบเค้าบอกเลยแฮะ โตมาก็ยังมีแค่ 28 ซี่อยู่ แต่ก็เอาเหอะ กินได้ เคี้ยวได้ก็พอใจแล้ว

จนมาเรียนมหาวิทยาลัย ได้เรียนเรื่องฟันคุด แล้วก็คุยกันว่า ควรจะไปเอาฟันคุดออกไม่ว่าจะถอนหรือจะผ่า เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาเช่น ฟันคุดอักเสบ โรคเหงือก ฟันผุ เกิดถุงซีสต์ เป็นต้น

สรุป เราก็ควรจะเอาฟันคุดออก โดยไม่ต้องรอให้มีอาการก่อน

เราไปผ่าตัดเอาฟันคุดทั้ง 4 ซี่นี้ออกที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผ่าเสร็จอ.บอกว่าจะบวมประมาณอาทิตย์นึง ปรากฎว่า เราบวมไป 2อาทิตย์ จำได้ว่า ตรวจคนไข้แต่ละที อ๊าย อาย แก้มเราบวมเป่งเชียว พยายามเอาผ้าขนหนูห่อน้ำแข็งประคบบ่อย ๆ

ปิดท้ายด้วยข้อปฏิบัติหลังการถอนฟันหรือผ่าตัดฟันคุดนะ นำมาจากเว็บไซต์ของทันตแพทยสภาค่ะ

ข้อปฏิบัติหลังการถอนฟันหรือผ่าตัดฟันคุด

ไม่ควรรบกวนบริเวณแผล

ห้ามบ้วนปากเพราะแผลจะขยับและเลือดออก

หากเลือดยังไม่หยุดให้กัดผ้าเพิ่มอีก 15 นาที

วันแรกควรทานยาแก้ปวดทุก 4-6 ชั่วโมง และประคบน้ำเย็น

วันแรกควรทานอาหารอ่อนป้องกันเศษอาหารไปติดบริเวณแผล

รับประทานยาแก้อักเสบตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

แปรงฟันตามปกติ แต่ควรระมัดระวังไปกระทบกระเทือนแผล

วันที่ 3 หลังการผ่าตัดให้อมน้ำอุ่นบ้วนปากบ่อยๆ จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

การบวมเป็นจ้ำเขียวเป็นการตอบสนองตามปกติของร่างกาย แต่ถ้ามีอาการบวมมากให้ปรึกษาแพทย์

ไม่ควรสูบบุหรี่หรือดื่มอัลกอฮอลล์

ในวันแรกหลังการผ่าตัดควรนอนหมอนสูงเพื่อลดการบวม




 

Create Date : 07 ธันวาคม 2552    
Last Update : 7 ธันวาคม 2552 11:07:11 น.
Counter : 8315 Pageviews.  

Sixpack protein and HOD mics - Research literature becomes fun to read

When we talks about research literature, most of us think it is boring.
However, there's a book that change my thought.
This book is High-Yield Cell and Molecular Biology, written by Dr. Ronald W. Dudek.

I like the last chapter the most.

Chapter 27 Understanding the Research Literature

Introduction


Reading and understanding the research literature in molecular biology can be a duanting task because it includes a collection of abbreviations (i.e., the proverbial "alphabet soup"), a potpourri of molecular biology techniques, and follows a certain sequence of steps that may not be intuitively obvious. A fictional example of a molecular biology scenario is given below that should help the uninitiated students understand not only the research literature, but also research seminars.


(From High-Yield Cell and Molecular Biology)

...a chapter on understanding the research literature where a fictitious molecular biology scenario is presented as it would
be published in the scientific literature with the intent of
providing the reader with a sense of how early molecular
biology discoveries are reported...

(From American Journal of Pharmaceutical Education 2007; 71 (6) Article 126.
Corresponding Author: Mitchell R. Emerson, Ph.D.)

A chapter on understanding the research literature provides a solid background in molecular biology protocol so that students can understand the purpose and thinking behind published research articles.

(From Barnesandnoble.com)

If you would like to enjoy Sixpack Story that guides you to understanding the research literature in Molecular Biology, try this chapter!

Then you will find the fun of Molecular Biology.




 

Create Date : 05 มีนาคม 2552    
Last Update : 5 มีนาคม 2552 11:30:30 น.
Counter : 785 Pageviews.  

Frank H. Netter - Medicine's Michelangelo

Frank H. Netter
---------------------------------------------------------------
Born 25 April 1906
New York, NY, USA
Died 17 September 1991
Profession Physician (Surgeon)
Specialism Medical illustrator
Known for Netter's Atlas of Human Anatomy
Education New York University School of Medicine
---------------------------------------------------------------



Frank H. Netter

or

Netter

I am sure that medical students and doctors know this name.

He is the great medical illustrator who made the great work to medical education.

He is the Medicine's Michelangelo.



"As far back as I can remember, ever since I was little tot, I studied art," said Frank Netter during an interview in 1986.

At the time he was hailed by The New York Times as "The Medical Michelangelo."

"All I wanted to do was to make pictures," he reflected.



"I thought I could do drawings until I had my practice on its feet," he recalled, "but the demand for my pictures grew much faster than the demand for my surgery. As a result, I gave up my practice entirely."

Dr. Netter's beautifully rendered volumes are now to be found in every medical school library in the country as well as in many doctors' offices around the world, and his work has helped to educate and enlighten generations of doctors.



In 1988, The New York Times called Netter "an artist who has probably contributed more to medical education than most of the world's anatomy professor's taken together."

Dr. Netter died in 1991 but his work lives on in books and electronic products that continue to educate millions of healthcare professionals worldwide.

Reference:

//en.wikipedia.org/wiki/Frank_H._Netter
//www.netterimages.com/artist/netter.htm




 

Create Date : 05 มีนาคม 2552    
Last Update : 5 มีนาคม 2552 10:20:19 น.
Counter : 974 Pageviews.  

1  2  3  

Flowery
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Flowery รักการเขียน รักการเรียนรู้ รักภาษาอังกฤษ รักการแปล และรักที่จะแบ่งปันประสบการณ์ความรู้
Friends' blogs
[Add Flowery's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.