เรียนรู้ สู่การสร้างสรร เพื่อแบ่งปันความรู้ ให้บุคคลอื่น

คนสุรินทร์เหลา
Location :
ชลบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




ไม่มีอะไรมากหรอก จากเด็กบ้านนอก เมืองช้าง หลงทาง มาหากิน อยู่ถิ่นไกล ห่างจากบ้านตัวเองหลายร้อยกิโล
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add คนสุรินทร์เหลา's blog to your web]
Links
 

 

มติบอร์ด กสทช. ปรับช่องทีวีดิจิตอล ใหม่

   มติบอร์ด กสทช. ปรับช่องทีวีดิจิตอล ใหม่ ช่องเด็ก 3 ช่อง, SD /ช่องข่าว 7 ช่อง, SD /ช่องทั่วไป 7 ช่อง, SD /ช่องทั่วไป 7 ช่อง, HD เคาะเพดานสูงสุดไม่เกิน 3 ช่อง...

tv digital

   11 มี.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการกระจายเสียง กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบปรับสัดส่วนหมวดหมู่โทรทัศน์ดิจิทัลเพื่อให้บริการธุรกิจใหม่ 24 ช่อง แบ่งเป็น

1 ช่องความคมชัดสูง (เอชดี) 7 ช่อง
2 ช่องมาตรฐาน (เอสดี) แยกเป็น
 - รายการเด็ก/ครอบครัว 3 ช่อง
 - รายการข่าว/สาระ 7 ช่อง
 - รายการวาไรตี้ทั่วไป 7 ช่อง

   ทั้งนี้ สาเหตุที่เกิดการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ และทำให้มีการเพิ่มช่อง HD นั้น เนื่องจากผลการทดลองทดสอบระบบที่ทีวีดิจิตอล การรับฟังความคิดเห็นต่างๆ ที่ผ่านมา และผู้ประกอบการมีความสนใจเรื่องช่องไฮเดฟสูง และมีจุดเด่นมากกว่า

   จากสัดส่วนเดิมคือ คือช่องคมชัดสูง (เอชดี) 4 ช่อง , ช่องมาตรฐาน (เอสดี) แบ่งเป็น รายการเด็ก/ครอบครัว 5 ช่อง, รายการข่าว/สาระ 5 ช่อง และช่องวาไรตี้ 10 ช่อง  สำหรับสัดส่วนช่องเด็กที่หายไปนั้นจะนำเข้าไปรวมไว้ใน ช่องสาธารณะ

   พ.อ.ดร.นที กล่าวว่า สำหรับสาเหตุปรับสัดส่วนมาจากทางเทคนิคทดลองทดสอบการออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัลของช่อง 9 , ช่อง 5 , ช่อง 11 และช่องไทยพีบีเอส ที่สามารถส่งสัญญาณช่องเอชดีได้ ประกอบกับการรับฟังความคิดเห็นที่ทางคณะอนุกรรมการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกไปสู่ระบบดิจิทัล

   ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการสามารถถือครอง ช่องรายการได้ไม่เกิน 3 ช่องรายการ โดยประมูลประเภทละ 1 ช่องจาก 4 ประเภทได้แก่ 1.ช่องวาไรตี้เอชดี  2.ช่องวาไรตี้เอสดี  3.  ช่องเด็ก  4. ช่องข่าวสาร โดยกำหนดเงื่อนไขระบุว่า เมื่อประมูลช่องข่าวแล้วห้ามประมูลช่องเอชดี และหากประมูลช่องเอชดีแล้วห้ามประมูลช่องข่าว  เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้แข่งขันธุรกิจ

   อย่างไรก็ตามที่ประชุมยังได้รับฟังรายงานผลการศึกษาราคาตั้งต้นการประมูลช่องธุรกิจ ที่ให้คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เบื้องต้นให้นำกลับไปทวบทวนใหม่ เนื่องจากได้ปรับสัดส่วนช่องและการถือครองช่องรายการดังกล่าว โดยกรอบการประมูล ทีวีดิจิทัล ยังคงเดิมคือช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.56.

ที่มา : thairath.co.th , dailynews.co.th





 

Create Date : 11 มีนาคม 2556    
Last Update : 11 มีนาคม 2556 19:46:05 น.
Counter : 1371 Pageviews.  

มารู้จักกับ มาตรฐาน DVB-T2 ที่จะมาพร้อมกับ TV Digital ในเมืองไทย

DVB-T2 คืออะไร

   DVB-T2 เป็นมาตรฐานการส่งโทรทัศน์ภาคพื้ นดินระบบดิจิทัลที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุด ที่มี
ประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุดในขณะนี ้ สัญญาณมีความคงทน และมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ได้นำเสนอ
การผสมสัญญาณ (modulation) ระบบใหม่สุด และเทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณที่มีประสิทธิภาพสูงเท่าที่มีใช้งาน
ในการส่งโทรทัศน์ในคลื่นความถี่ที่ส่งสัญญาณภาพ และเสียง และการบริการส่งข้อมูลที่ใช้สำหรับ เครื่องรับ
โทรทัศน์แบบเคลื่อนที่ (portable) และเครื่องรับโทรทัศน์แบบมือถือ (mobile) การใช้เทคนิคใหม่นีท้ ำให้ DVB-T2
มีประสิทธิภาพอย่างน้อยสูงกว่า 50% ของประสิทธิภาพการส่งโทรทัศน์ภาคพืน้ ดินระบบดิจิทัลอื่น ๆ ที่ใช้งานใน
โลก


ความเป็นมาของ DVB-T

   DVB-T เป็นมาตรฐานการส่งโทรทัศน์ภาคพืน้ ดินระบบดิจิทัล ที่หลายประเทศนำมาใช้งานอย่าง
กว้างขวาง โดยเริ่มประกาศตัวเป็นทางการในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2540 และมี 68 ประเทศ นำ DVB-T ไปใช้งาน
บริการส่งโทรทัศน์ และมากกว่า 59 ประเทศยอมรับมาตรฐานไปใช้งาน ส่วนที่สำคัญที่ยอมรับในการประกาศใช้
มาตรฐาน DVB-T สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีราคาต่ำ และมีความยืดหยุ่น
เพียงพอในการดำเนินการเชิงธุรกิจ ดังนัน้ ในช่วงระยะเวลาที่เลิกการส่งโทรทัศน์ภาคพืน้ ดินระบบอนาล็อกใกล้เข้า
มา ในกลุ่มประเทศยุโรป ได้สร้างแรงผลักดันในการปรับปรุงมาตรฐานการส่งโทรทัศน์ในเรื่องประสิทธิภาพการใช้
คลื่นความถี่ให้ทันสมัย เหมือนความสำเร็จในการปรับปรุงมาตรฐานการส่งโทรทัศน์ผ่านระบบดาวเทียม DVB-S2
ที่ได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว
   เช่นเดียวกันมาตรฐานการส่งโทรทัศน์ทัง้ หมดของ DVB การส่งโทรทัศน์ภาคพืน้ ดินระบบดิจิทัล DVB-T2
มีพืน้ ฐานขึน้ อยู่กับความต้องการในการตอบสนองเชิงธุรกิจ ส่วนที่สำคัญคือ ความต้องการที่จะเพิ่มขนาด
สัญญาณการส่งรายการโทรทัศน์ให้มากขึน้ ปรับปรุงคุณภาพของสัญญาณให้มีความทนทาน และสามารถที่จะ
ใช้งานกับสายอากาศเครื่องรับโทรทัศน์เดิมที่ใช้งานอยู่ได้ DVB-T2 รุ่นแรกได้ประกาศใช้งานด้วยมาตรฐาน ETSI
ในเดือน กันยายน พ.ศ. 2552 (EN302 755) และต่อมารุ่นปรับปรุงใหม่ ซงึ่ ได้กำหนดเป็นกลุ่มย่อยของ DVB-T2
เหมาะสมสำหรับการรับโทรทัศน์แบบเคลื่อนที่ (portable) และการรับโทรทัศน์แบบมือถือ (T2-Lite) ถูกนำเสนอ
ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (DVB BlueBook A122)



DVB-T2 ทำงานอย่างไร

   เช่นเดียวกับ DVB-T คุณสมบัติทางเทคนิคของ DVB-T2 ใช้หลักการผสมสัญญาณ OFDM (orthogonal
frequency division multiplex) โดยการแบ่งคลื่นความถี่วิทยุเป็นความถี่ย่อยจำนวนมาก เพื่อให้ส่งสัญญาณที่มี
ความคงทน สิ่งที่เหมือนกันของ DVB-T และ DVB-T2 มีการเสนอให้มีการปรับโหมดการทำงานได้หลายแบบ
เป็นมาตรฐานการส่งโทรทัศน์ที่มีความยืดหยุ่นอ่อนตัว DVB-T2 ใช้เทคนิคระบบป้ องกันแก้ไขความผิดพลาดของ
สัญญาณเหมือนกับมาตรฐานการส่งโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม (DVB-S2) และมาตรฐานการส่งโทรทัศน์ผ่านสาย
นำส่งสัญญาณ (DVB-C2) เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณ LDPC (Low Density Parity Check) รวมกันกับการ
เข้ารหัสสัญญาณ BCN (Bose-Chaudhuri-Hocquengham) เพื่อให้สัญญาณมีความคงทน หลาย ๆทางเลือกมี

   ให้ใช้ในการกำหนดจำนวนคลื่นความถี่ที่ใช้ออกอากาศ และกำหนดขนาดช่วงคาบเวลา (guard interval size) ใน
การกำหนดสัญญาณนำร่อง (pilot signal) ดังนัน้ สงิ่ ที่กล่าวมาข้างต้น จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเป้ าหมายใน
ระบบส่งสัญญาณโทรทัศน์ในช่องคลื่นความถี่ที่กำหนด คุณสมบัติที่สำคัญของเทคโนโลยีใหม่ DVB-T คือ
   Multiple Physical Layer Pipe ให้มีการแยกปรับโหมดเกี่ยวกับการกำหนดค่าความคงทนของสัญญาณ
โทรทัศน์ ในการที่จะรองรับการให้บริการส่งโทรทัศน์ในรูปแบบต่างสภาพการใช้งาน ตัวอย่าง เช่น การรับ
สัญญาณโทรทัศน์ภายในอาคาร หรือการรับสัญญาณโทรทัศน์จากสายอากาศที่ติดตัง้ บนหลังคาของ
อาคารที่พักอาศัย อีกทัง้ ช่วยให้การส่งสัญญาณโทรทัศน์ โดยเฉพาะเครื่องรับโทรทัศน์ชว่ ยประหยัด
พลังงานในการถอดรหัสสัญญาณเฉพาะการส่งสัญญาณโทรทัศน์รายการเดียวเมื่อเทียบกับการถอดรหัส
การให้บริการส่งสัญญาณหลายรายการรวมกัน (Multiplex)
   Alamouti coding วิธีการหลากหลายในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ จะช่วยปรับปรุงเขตบริการรับ
สัญญาณโทรทัศน์ ในเครือข่ายการส่งโทรทัศน์ความถี่เดียวกัน ในขนาดพืน้ ที่บริการขนาดเล็ก
   Rotated Constellations ให้การเพมิ่ ความคงทนของสัญญาณโทรทัศน์ ในการสงั่ การระดับต่ำ
   Extended interval ขยายช่องสัญญาณในการส่งข้อมูลสัญญาณ ในการเพมิ่ ข้อมูล (bit) เพิ่มขนาดกลุ่ม
ข้อมูล (cell) เพิ่มช่องคาบเวลา และเพิ่มช่วงการใช้คลื่นความถี่
   Future Extension Frame (FEF) ให้มาตรฐานการส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่สอดคล้องการปรับคุณภาพสูง
ขึน้ ในอนาคต

   จากผลสรุปดังกล่าว DVB-T2 สามารถเสนออัตราการส่งข้อมูลสูงกว่า DVB-T หรือสัญญาณโทรทัศน์มีความ
คงทนมากกว่า จากการเปรียบเทียมตามตารางข้างล่าง แสดงอัตราส่งข้อมูลสูงสุด เมื่อกำหนดค่าสัญญาณ
รบกวนเท่ากัน และเป็นค่าความต้องการในการใช้งานของอัตราส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์



T2-Lite

   T2-Lite คือการเพิ่มกรอบบรรจุข้อมูลในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ครัง้ แรกที่ให้เทคนิคสู่ระบบ FEF
รายละเอียดถูกนำเสนอในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2554 ซึ่งรองรับการส่งโทรทัศน์แบบชนิดเคลื่อนที่ (portable)
และยังทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงในการดำเนินการ รายละเอียดใหม่ที่เสนอเป็นส่วนย่อย ในการเพิ่มเติมอัตราการใช้ใน
การเข้ารหัสสัญญาณ LDPC ในข้อกำหนดเทคนิคของ DVB-T2 เมื่อให้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเฉพาะการรับ
15
   สัญญาณโทรทัศน์แบบชนิดเคลื่อนที่ (Portable) ประกอบด้วยส่วนย่อยของ T2-Lite และอัตราข้อมูลที่จำกัด 4
Mbit/s ต่อระบบท่อส่งข้อมูล (Physical Layer Pipe : PLP) วิธีการดำเนินที่ซัดซ้อนถูกลดลง 50% กลไกของ
ระบบ FEF ช่วยให้การส่งข้อมูล T2-Lite และ T2-Base สามารถส่งข้อมูลในช่องสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ (RF)
ในหนึ่งช่องสัญญาณ

>> รายละเอียดของ DVB-T2 << คลิ๊ก




 

Create Date : 09 มีนาคม 2556    
Last Update : 9 มีนาคม 2556 14:52:29 น.
Counter : 857 Pageviews.  

กสทช.มีมติให้ทีวีทุกช่องทดลองออกอากาศในระบบ tv digital คู่ขนานกับระบบอนาล็อก ก่อนเปิดประมูล


กสทช.มีมติให้ทีวีทุกช่องทดลองออกอากาศในระบบ tv digital คู่ขนานกับระบบอนาล็อก ก่อนเปิดประมูล


   การเปลี่ยนผ่านการออกอากาศโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกไปสู่ระบบ tv digital ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงของ กสทช. ที่ให้ฟรีทีวีทุกช่องสามารถทำเรื่องขอใบอนุญาต นำผังรายการที่เผยแพร่ในปัจจุบันในระบบอะนาล็อก ไปทดลองออกอากาศคู่ขนานในโครงข่ายระบบดิจิตอลเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มต้นได้ในช่วงเดือนเมษายน

test digital tv

   พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสท. ว่าที่ประชุมมีมติออกประกาศแนวทางการออกอากาศทีวีระบบอนาล็อกคู่ขนานไปกับ ระบบ tv digital

  โดย การออกอากาศในระบบ tv digital นั้น จะเป็นการทดลองออกอากาศคู่ขนานไปกับระบบทีวีอนาล็อกแบบเดิม เพื่อจูงใจการรับชมทีวีดิจิตอล ของประชาชน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1.ช่องบริการที่เข้าข่ายบริการสาธารณะ ได้แก่ ช่อง 5, 11 และไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นช่องที่สามารถออกอากาศบนระบบอนาล็อกอยู่แล้วได้ไม่เกิน 10 ปีนั้น สามารถออกอากาศ tv digital โดยใช้สิทธิในส่วนของกิจการสาธารณะได้อยู่แล้ว โดยในเดือน พ.ค.2556 ไทยพีบีเอสจะเป็นรายแรกที่ได้รับใบอนุญาต และมีได้รับช่องสาธารณะ 2 ช่อง จาก 12 ช่อง ซึ่งจะทำให้ช่องบริการสาธารณะเหลือเพียง 8 ช่อง

2.ช่องบริการธุรกิจ คือ ช่อง 3,7 และ 9 นั้น เป็นช่องที่กฎหมายกำหนดไว้ว่า การให้ใบอนุญาตนั้นจะต้องมาจากการประมูล ทั้งนี้ บอร์ด กสท. ได้มีมติให้ช่องดังกล่าวสามารถออกอากาศ tv digital คู่ขนานไปกับอนาล็อกเดิมได้ บนคลื่นช่องบริการชุมชน แต่ช่องดังกล่าวจะต้องส่งแบบคำขอเข้ามา โดยให้บริการในลักษณะทดลองทดสอบการออกอากาศเป็นดิจิตอลระยะเวลาครั้งละ 6 เดือน จนกระทั่งการเปลี่ยนผ่านระบบอนาล็อกเป็นดิจิตอลเสร็จสิ้น แล้วมีการออกใบอนุญาตทีวีระบบดิจิตอลออกมา


   พ.อ.นที กล่าวอีกว่า การออกประกาศให้ช่องธุรกิจได้ทดลองออกอากาศระบบดิจิตอลบนคลื่นของบริการชุมชนนั้น เพื่อต้องการเปิดโอกาสให้ช่องธุรกิจได้ลองออกอากาศก่อนมีการประมูล เพื่อให้การเปลี่ยนจากอนาล็อกเป็นดิจิตอลนั้น เป็นไปได้ทั้งหมด แต่ถ้ามีระบบtv digital แต่ช่องบริการทั้ง 3 ช่อง ไม่ต้องการร่วมประมูลเพื่อขอใบอนุญาตเป็นดิจิตอล ทั้ง 3 ช่องนั้นก็สามารถออกอากาศในระบบอนาล็อกได้เหมือนเดิมตามสัญญาสัมปทานที่รองรับอยู่

   "การดำเนินงานครั้งนี้ไม่ได้ตัดสินใจบนประโยชน์ของผู้ประกอบการ แต่ตัดสินใจบนประโยชน์ของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ช่องบริการธุรกิจสามารถยื่นคำขอออกอากาศคู่ขนานบนคลื่นความถี่บริการชุมชน ได้ตั้งแต่ขณะนี้ และเมื่อได้รับอนุญาตก็สามารถทดลองออกอากาศได้ทันที โดยการออกประเภทใบอนุญาตชุมชนจะมีขึ้นในช่วงปลายปี 2556 ถึงต้นปี 2557 ขณะที่ยังไม่มีความคืบหน้าเรื่องราคาเริ่มต้นการประมูล tv digital และโครงข่ายฯ"พ.อ.นที กล่าว





 

Create Date : 09 มีนาคม 2556    
Last Update : 9 มีนาคม 2556 14:22:58 น.
Counter : 1038 Pageviews.  

กรณีศึกษา Digital TV ในประเทศไทย : เหลียวมองฝรั่งเศส

เหลียวมองฝรั่งเศส: กรณีศึกษา Digital TV


   เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่ ระบบ ดิจิตอลทีวี เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างครั้งแรกในประเทศไทย  การคาดการณ์ถึงความสำเร็จและผลกระทบต่อประเทศและธุรกิจโทรทัศน์ จึงต้องใช้การศึกษาตัวอย่างการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศมาช่วยในการวิเคราะห์ด้วย




  ทั้งนี้ SCBEIC ขอหยิบยก “ฝรั่งเศส” ขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากได้เริ่มต้นกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปตั้งแต่ปี 2005 จนแล้วเสร็จในปี 2011 ทำให้มองเห็นผลกระทบในระยะยาว  และที่สำคัญ ฝรั่งเศสเป็นประเทศหนึ่งที่มีจุดตั้งต้นของธุรกิจโทรทัศน์ ในช่วงก่อนการเปลี่ยนผ่านที่คล้ายคลึงกับไทย  ดังนั้น ความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านของฝรั่งเศส ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ ตลอดจนทิศทางของเงินโฆษณาภายหลังการเปลี่ยนผ่านจะช่วยเป็นแนวทางในการประเมินความสำเร็จและผลกระทบของการเปลี่ยนผ่านในไทยได้ชัดเจนขึ้น

   ก่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ ดิจิตอล ทีวี นั้น ธุรกิจโทรทัศน์ฝรั่งเศสมีโครงสร้างใกล้เคียงกับไทยในปัจจุบัน นั่นคือประชากรส่วนใหญ่รับชมโทรทัศน์ระบบอนาล็อกภาคพื้นดิน ส่วนการเข้าถึงของทีวีทางเลือกอยู่ในระดับปานกลาง จึงดูเหมือนการเปลี่ยนผ่านอาจต้องใช้เวลา    ประเทศฝรั่งเศสนอกจากจะมีจำนวนประชากรและขนาดพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับไทยแล้ว พบว่ายังพึ่งพาระบบโทรทัศน์อนาล็อกภาคพื้นดินเป็นหลักในช่วงก่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบ ดิจิตอล ทีวี โดยทีวีทางเลือก ได้แก่ เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม มีการเข้าถึงครัวเรือนรวมกันประมาณ 40% ในปี 2004 หรือระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในยุโรปในช่วงนั้น  คล้ายคลึงกับไทยที่ปัจจุบันครัวเรือนส่วนใหญ่รับชมช่องรายการฟรีทีวีระบบอนาล็อก  ในขณะที่การเข้าถึงของทีวีทางเลือกอยู่ที่ระดับประมาณ 50-60%  ซึ่งจัดอยู่ในระดับปานกลางในกลุ่มประเทศเอเชียด้วยกัน   ด้วยลักษณะโครงสร้างธุรกิจโทรทัศน์เช่นนี้  เบื้องต้นจึงอาจมองว่าต้องใช้เวลาในการปฏิรูปโครงสร้างนานพอสมควรเนื่องจากมีจำนวนครัวเรือนที่ต้องปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิตอลค่อนข้างมาก และทีวีทางเลือกก็เป็นคู่แข่งที่ค่อนข้างสำคัญในเวลาเดียวกัน 

   อย่างไรก็ตาม แนวคิดของ regulator ฝรั่งเศสและไทยมีความคล้ายกันในแง่ของการเปิดโอกาสให้ผู้เล่นรายใหม่เข้าร่วมลงทุนในช่อง ทีวี ดิจิตอล แต่ก็มีมาตรการปกป้องผู้ประกอบการเดิมไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจุดนี้น่าจะช่วยร่นระยะเวลาเปลี่ยนผ่านได้  การมีช่องรายการใหม่ที่นำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างจากทีวีระบบอื่นย่อมสร้างจูงใจให้ผู้บริโภคเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลมากขึ้น ซึ่งทั้งฝรั่งเศสและไทยได้มีการกำหนดเพดานจำนวนช่องรายการที่ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอใบอนุญาตได้เพื่อส่งเสริมให้มีผู้เล่นรายใหม่  โดยในครั้งแรกที่ฝรั่งเศสออกใบอนุญาตทั้งหมด 28 ช่องรายการพบว่า มากกว่าครึ่งเป็นช่องใหม่ที่บริหารโดยผู้ประกอบการใหม่ซึ่งมาจากธุรกิจสิ่งพิมพ์ วิทยุ ดาวเทียม และธุรกิจเพลง  อย่างไรก็ตาม ช่องรายการเดิมจะต้องมีพื้นที่บนระบบดิจิตอลด้วยเพราะมีอิทธิพลต่อผู้ชมสูง และเป็นตัวช่วยสำคัญในการเร่งการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งในประเด็นนี้  ทั้งฝรั่งเศสและไทยได้ใช้กฎ “simulcast” ให้ผู้ประกอบการเดิมสามารถนำผังรายการในการออกอากาศระบบอนาล็อกมาใช้ในช่องดิจิตอล ทีวี ได้เลย นอกจากนั้น  ฝรั่งเศสยังจัดสรรช่องรายการให้ผู้เล่นเดิมพัฒนาเพิ่มได้อีกรายละ 1 ช่อง โดยมีความเชื่อว่าช่องรายการใหม่ของผู้เล่นเดิมน่าจะได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ชมในเชิงคุณภาพมากกว่าช่องรายการของผู้เล่นรายใหม่ในช่วงแรก ทั้งหมดก็เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลให้เร็วที่สุด 

   นอกจากนี้ พบว่าต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี ก่อนที่ช่องรายการใหม่ของฝรั่งเศสจะเริ่มเห็นเม็ดเงินโฆษณาอย่างมีนัยสำคัญ แต่อัตราการเติบโตอยู่ในระดับสูง และแย่งชิงส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากช่องรายการเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ ปริมาณการลงทุนด้านโฆษณาผ่านช่องรายการใหม่ในระบบ ทีวี ดิจิตอลของฝรั่งเศสยังถือว่าค่อนข้างต่ำในช่วงปี 2005-2007 เฉลี่ยประมาณ 10-20 ล้านยูโรต่อช่องต่อปี โดยเม็ดเงินยังกระจุกตัวอยู่ในช่องรายการอนาล็อกเดิมที่ออกอากาศบนระบบดิจิตอลด้วย อยู่ที่เฉลี่ย 900-1,000 ล้านยูโรต่อช่องต่อปีในช่วงเดียวกัน  ดังนั้น ผู้ประกอบการรายใหม่ต้องสามารถรองรับผลขาดทุนในช่วง 3-5 ปีแรกที่รายได้โฆษณายังไม่สูงนัก อย่างไรก็ตาม พบว่าอัตราการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาในช่องรายการใหม่อยู่ในระดับเฉลี่ยสูงถึง 60% ต่อปี ในช่วงปี 2005-2011 อันเนื่องมาจากความนิยมในช่องรายการใหม่ที่สูงขึ้นร่วม 4 เท่า จากสัดส่วนผู้ชมเฉลี่ยประมาณ 6% ใน 3 ปีแรก มาเป็น 23% ใน 3 ปีถัดมา  และปัจจุบันสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากช่องรายการอนาล็อกเดิมได้มากขึ้นเป็นร่วม 30% ของเม็ดเงินโฆษณาทั้งหมดแล้ว

   … เป็นสาเหตุให้ผู้ประกอบการเดิมต้องมีการปรับตัวเพื่อรักษาผลกำไร เช่น การสร้างรายได้ที่นอกเหนือจากรายได้ค่าโฆษณา การลดต้นทุนการผลิตรายการ หรือการควบรวมกิจการกับช่องรายการใหม่ SCBEIC ได้ศึกษาถึงผลกระทบของการเปลี่ยนผ่านสู่ ทีวี ดิจิตอล ต่อบริษัท TF1 Group เจ้าของช่อง TF1 ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่งในฝรั่งเศสก่อนการเปลี่ยนผ่าน  โดยพบว่าอัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating margin) ของบริษัทลดลงต่อเนื่องจากรายได้โฆษณาที่ไม่ได้เติบโตไปตามต้นทุนการผลิตรายการเหมือนเช่นก่อน  โดย Operating margin ของ TF1 ลดลงจาก 14% ในปี 2005 มาเป็น 4% ในปี 2009  อย่างไรก็ตาม อัตรากำไรได้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปี 2010-2012 มาอยู่ในระดับ 10%  โดยมีปัจจัยบวกที่นอกเหนือจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ดีขึ้น นั่นคือ การเพิ่มแหล่งที่มาของรายได้ให้หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการเน้นลงทุนในระบบเพย์ทีวีแบบบอกรับสมาชิก (Subscription TV) มากขึ้น และการขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ จนปัจจุบันสัดส่วนของรายได้ที่มาจากโฆษณาลดลงจาก 66% ในปี 2005 มาอยู่ที่ 54% ในปี 2012   นอกจากนี้ บริษัทยังมีการลดต้นทุนการผลิตรายการลงได้กว่า 250 ล้านยูโรตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา ด้วยการวางแผนระยะยาวเพื่อสร้างประสิทธิภาพและลดขั้นตอนการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตรายการต่อต้นทุนรวมทั้งหมด ลดลงจาก 45% ในปี 2005 มาเป็น 40% ในปี 2012  และอีกช่องทางการปรับตัวรับการแข่งขันที่สูงขึ้นของ TF1 นั่นคือการควบรวมกิจการกับช่องรายการใหม่ที่ช่วยเสริมฐานผู้ชมให้แก่องค์รวมของบริษัท โดยล่าสุด TF1 เข้าซื้อช่อง NT1 ซึ่งเป็นช่องรายการใหม่บน ระบบดิจิตอลที่ได้รับความนิยมสูงในกลุ่มเพศชายวัยรุ่น ในขณะที่ช่อง TF1 ได้รับความนิยมสูงในกลุ่มเพศหญิงวัยกลางคน


Implication


   มีโอกาสที่ไทยจะสามารถเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลได้รวดเร็วเหมือนเช่นฝรั่งเศส เพราะมีจุดตั้งต้นและแนวคิดของภาครัฐที่คล้ายคลึงกัน  ดังนั้นผู้ชมโทรทัศน์ระบบภาคพื้นดินจะต้องคำนึงถึงกระบวนการหยุดกระจายสัญญาณแบบอนาล็อก (Analog Switch-Off: ASO) ด้วย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เร็วกว่าคาด จึงอาจเตรียมพร้อมซื้อกล่องรับสัญญาณ (set-top box) หรือโทรทัศน์ดิจิตอลไว้ล่วงหน้า ซึ่งผู้บริโภคควรติดตามการสื่อความของ กสทช. เกี่ยวกับ เกณฑ์มาตรฐานของอุปกรณ์กล่องและโทรทัศน์ที่ได้รับการรับรองว่าสามารถรับคลื่นสัญญาณดิจิตอลของประเทศได้


   อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ก่อนที่รายได้โฆษณาในช่องรายการใหม่จะเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น แต่โอกาสที่เม็ดเงินจะเติบโตรวดเร็วก็มีอยู่สูง ผู้ประกอบการช่องรายการใหม่จึงควรมีสายป่านที่ยาวพอในการรองรับผลขาดทุนในช่วงประมาณ 3-5 ปีแรก เพราะรายได้จะเริ่มเห็นชัดเจนและคืนทุนในช่วงปีที่ 5-10  ซึ่งในกรณีของไทยนั้น มีต้นทุนตั้งต้นที่


   ท้ายที่สุด ผู้ประกอบการรายเดิมอาจต้องมีการปรับตัวกับสภาพการแข่งขันแย่งชิงค่าโฆษณาที่รุนแรงขึ้น เมื่อคุณภาพรายการและความนิยมในช่องรายการใหม่เพิ่มขึ้น  การกระจุกตัวของเม็ดเงินโฆษณาในช่องฟรีทีวีเดิมก็จะลดลงเรื่อยๆ  อาจต้องมีการปรับค่าโฆษณาลงให้ทัดเทียมกับช่องรายการใหม่ และควรเริ่มมองหารายได้อื่นเข้ามาทดแทน เช่น การขายคอนเทนต์เพื่อเป็นรายการรีรันในช่องรายการอื่น หรือขายลิขสิทธิ์รายการให้โทรทัศน์ในประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงการลดต้นทุนการผลิตรายการด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากร และอุปกรณ์ถ่ายทำ เป็นต้น 

   นอกจากนี้  การควบรวมกิจการก็อาจเป็นแนวทางหนึ่งในการขยายฐานลูกค้าในภาวะที่การแข่งขันสูงมากขึ้นเช่นนี้

รูปที่ 1: ฝรั่งเศสใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลเป็นเวลา 6 ปี โดยถือว่าใช้เวลาน้อยกว่าหลายประเทศในยุโรปโดยเฉพาะ อังกฤษ สเปน และอิตาลี

รูปที่ 2: เม็ดเงินโฆษณาที่ลงทุนในช่องรายการใหม่ในระบบดิจิตอลเริ่มมีสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายหลังปีที่ 2-3 ของการเปลี่ยนผ่าน ในขณะที่การลงทุนโฆษณาในช่องรายการเดิมยังมีอยู่สูง

รูปที่ 3: ช่องรายการเดิมในฝรั่งเศสต้องเผชิญแรงกดดันด้านรายได้โฆษณาจากจำนวนคู่แข่งที่มากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากสัดส่วนการรับชมในช่องรายการเดิมที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

รูปที่ 4: โดยภาพรวมแล้ว ช่องรายการใหม่บนระบบดิจิตอลยังมีผลประกอบการติดลบในช่วง 5-6 ปีแรก



ที่มา : matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1362736810&grpid=03&catid=&subcatid=






 

Create Date : 09 มีนาคม 2556    
Last Update : 9 มีนาคม 2556 14:17:52 น.
Counter : 482 Pageviews.  

TV Digital มาเมื่อไร เราก็จะได้ ผังรายการ แบบอินเตอร์แอคทีฟ

   ในการให้บริการ tv digital นั้น จะมีหลากหลาย การบริการ ที่จะสามารถเพิ่มเติมได้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ให้กับผู้รับบริการ tv digital

   และ บริการหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อทีวีของเราเปลี่ยนเป็น ทีวี ดิจิตอล คือ การนำเสนอผังรายการแบบอินเตอร์แอคทีฟ ผู้ชมสามารถเลือกเปิดชมรายการโปรดได้ ทุกเวลา ตัวอย่างบริการของ  Freesat  ในประเทศอังกฤษ เมื่อผู้ชมโทรทัศน์ติดตั้งกล่องรับสัญญาณ   จะสามารถชมโทรทัศน์ได้ มากกว่า 150 ช่อง มีช่อง HD หรือ ช่องทีวีภาพความละเอียดสูง 5 ช่อง พร้อมฟังวิทยุ ได้ในกล่องรับสัญญาณกล่องเดียว  มีรายการให้ชมมากมาย จึงต้องมีการจัดทำผังรายการแตกต่างจากแบบเดิมที่เราคุ้นเคย ประกฎบนหน้าจอโทรทัศน์นอกจากข้อมูลผังรายการ ยังมีข้อมูลของรายการที่ออกอากาศไปแล้ว แต่เราพลาดชม รวมทั้งรายการต่อไปที่กำลังจะออกอากาศ โดยผู้ชมควบคุม ผ่านรีโมทคอนโทรล ของ tv digital

   สำหรับคนที่ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะชมรายการใด เพราะมีหลายรายการ หลายช่องให้เลือกชม  ระบบยังสามารถแนะนำรายการ ให้ด้วย รวมทั้ง ยังตั้งระบบเพื่อบันทึกรายการไว้ชมทีหลังได้

https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=hg48knNw2pY


   นอกจากนี้ผู้ให้บริการ ทีวี ดิจิตอล ยังสามารถ พัฒนา application ที่มีหน้าตา เหมือนจอโทรทัศน์  ไม่ว่าจะเปิด application นั้น ผ่านมือถือ tablet คอมพิวเตอร์ก็ สามารถเปิดชม รายการต่างๆได้ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ หน้าตา และ เมนูต่างๆ เหมือนกับที่ชมผ่านจอโทรทัศน์

   และถ้าหากประเทศไทย ของเราได้เปิดให้บริการ ทีวี ดิจิตอล โทรทัศน์บ้านเรา ก็สามารถจัดทำผังรายการแบบอินเทอร์แอคทีฟนี้ได้ เช่นเดียวกัน

เครติด :mcot.net

ก้าวไปกับ TV Digital ในเมืองไทย ได้ที่


tv digital thai




 

Create Date : 08 มีนาคม 2556    
Last Update : 8 มีนาคม 2556 17:16:17 น.
Counter : 1248 Pageviews.  

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.