Chapter VIII : Walai Autolib
ทักทายครับ

ขอโทษครับที่หายไปนาน

พอดีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วไปสัมมนามา

ไปอับเดตข้อมูลในวงการมานิดหน่อย

จริงแล้วๆ ถือโอกาสไปเที่ยวด้วย เดี๋ยวว่างๆ แล้วจะเขียนเล่าให้ฟัง ในส่วนของ เมื่อผมพาลูกหมูไปเที่ยว น่ะครับ
*
*
*
หายจากที่ทำงานไปสัมมนาอาทิตย์เดียว - - กลับมางานตรึม

แถมเทอมนี้ต้องไปสอนสถาบันอื่นด้วย ไม่รู้จะเป็นอย่างไงบ้าง ยังไม่เตรียมตัวเลย

คงต้องเอาข้อมูลที่เคยใช้ตอนสอนที่ตัวเองทำงานอยู่ไปสอน

พอดีน้องของลูกหมูผมก็เป็นอาจารย์อยู่ที่ที่ผมจะไปสอนด้วย วันก่อนมาไซโคลูกหมูว่าถ้ามาสอนที่นี่ระวังนศ.จีบอาจารย์น่ะ

ลูกหมูผมทำท่าเหมือนไม่ใส่ใจ แต่พอผมใกล้ไปสอนแล้วดูเหมือนว่าจะเริ่มอยู่ไม่สุข

เริ่มระแวง ก็แฟนตัวเองยิ่งหน้าตาดีซะด้วยจิ สงสัยเสร็จนักศึกษาแน่ ๆ
*
*
*
เข้าเรื่องดีกว่า

ว่าจะมารายงานบางเรื่องที่ได้มาจากการสัมมนาบางส่วน

วันก่อนที่ผมบอกว่าตอนนี้เรามีระบบห้องสมุดที่ชื่อว่า ALIST ที่พัฒนาโดยม.สงขลานครินทร์ ไปแล้วนั้น (ตอนท้ายออกสำนวนหนังสือราชการอย่างไงก็ไม่รู้ แหะ แหะ)

ไปคราวนี้เลยได้รู้มาว่าที่ ม. วลัยลักษณ์ เขาก็มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่เขาพัฒนาเองเหมือนกัน ชื่อว่า Walai Autolib

จริงๆ แล้วผมชอบชื่อนี้มากกว่าน่ะ แบบพอเห็นปุ๊บ รู้เลยว่าใครพัฒนา ไม่ใช่ให้เดาเหมือนชื่อ ALIST แถมการออกเสียงยังไปพ้องกับระบบ ALICE อีก

หัวหน้าทีมพัฒนาบอกไว้ในที่สัมมนาว่า ตอนแรกที่ได้รับมอบหมายให้พัฒนาระบบห้องสมุด ก็คิดว่างานหมูๆ

ที่ไหนได้เป็นงานหมูจริงๆ ครับ แต่เป็นหมูป่า แถมยังเขี้ยวตันซะด้วยซิ

เห็นว่าใช้โปรแกรมเมอร์กว่า 10 คน โดยพัฒนากันมาเป็นปี

ตอนนี้ก็เริ่มทดลองใช้ในวลัยลักษณ์เองแล้วในบาง Module

โดยมี Module หลัก ๆ เหมือนกับ ALIST นั่นแหล่ะครับ คือมี 6 Module

สำหรับความคืบหน้าอย่างไรแล้ว แล้วผมค่อยมา update ให้ทีหลังน่ะครับ - - เพราะตอนนี้ผมรู้อยู่แค่นี้แหล่ะครับ แหะ แหะ



Create Date : 30 ตุลาคม 2549
Last Update : 30 ตุลาคม 2549 18:30:34 น.
Counter : 843 Pageviews.

7 comment
Chapter VII : ALIST ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของคนไทย (II)
ทักทายครับ

ครั้งที่แล้วโดนคุณ wanwitcha แซวเอาว่า ไปๆ มาๆ รู้ไม่อะไรขึ้นเท่าไรเลย - - แบบตอนนั้นมันขี้เกียจๆ น่ะครับ แฮ่ะ แฮ่ะ

แล้วอีกอย่างกลัวมันจะวิชาการจัดกลัวว่าจะเบื่อซะก่อน

คราวนี้มาใหม่ หลังจากไปชาร์ตแบ็ตที่บ้านเจ้าหน้าทีโสตฯ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=booksareallaround&group=4

*
*
*

ALIST เนี่ย จะประกอบด้วย Module หลักๆ อยู่ 6 module คือ
1. Acquisition module เป็นระบบจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
2. Cataloging module เป็นระบบวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งแน่นอนว่าต้องลงในแบบ MARC
3. Serial module เป็นระบบสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง หรือวารสาร
4. Circulation module เป็นระบบยืม-คืน
5. OPAC module เป็นระบบสืบค้นทรัพยากร
6. System administration module หรือระบบจัดการระบบ

ซึ่งข้อมูลข้างบนเนี่ยผมไม่มั่วมาหรอกครับ ที่จริงผมเอามาจาก

//sd.cc.psu.ac.th/job/library/index.html

บอกแล้วครับว่าบรรณารักษ์ที่ดีต้องมีอ้างอิงครับ - จะมาพูดลอยๆ ไม่ได้

อินเตอร์เน็ตมีข้อมูลทุกอย่าง อยู่ที่ว่าคุณจะหามันเจอหรือเปล่าเท่านั้นแหล่ะครับ

สำหรับผู้ที่อยากรู้รายละเอียดแต่ละ module ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่

//www.mfu.ac.th/center/lrem/documentword/PSUALIST.doc

*
*
*
ว่าแล้วก็พอแค่นี้ดีกว่า หวังว่าคุณ wanwitcha คงไม่ว่าน่ะครับ แฮ่ะ แฮ่ะ (คงต้องรอผมไปชาร์ตแบ็ตอีกที ^_^)

ถือว่า up blog ทีละนิด ดีกว่าไม่ทำอะไรเลยแล้วกันน่ะครับ

*
*
*
ช่วงนี้ฝนตกทุกวัน วันละหลายเวลา

หลายคนว่าบรรยากาศแบบนี้ไม่น่ามาทำงาน

หลายคนว่าบรรยากาศชวนง่วงมากๆ

บางคนว่าบรรยากาศอย่างงี้ชวนเหงา

บางคนว่าฝนตกอย่างนี้น่าไปตากฝนทำมิวสิก - - สงสัยจะอกหักน่ะเนี่ย

แต่ผมสำหรับผม ผมว่าบรรยากาศอย่างนี้น่านอนอ่านหนังสืออยู่ที่บ้านมากกว่า

ไม่ใช่กระแดะหรืออะไรทั้งนั้นน่ะครับ ลองจินตนาการดูน่ะครับ ฝนตก มีกาแฟร้อนๆ หนังสือดีๆ ที่คู่ควรกับเวลาแบบนี้ มีเสียงฝนตกเป็นฉากหลัง - - ผมว่ามันเป็นความรู้สึกดีๆ ที่บอกไม่ถูก

ถ้าไม่เชื่อลองทำดู ผมว่ามันได้ความรู้สึกที่ดี รู้สึกผ่อนคลาย ถ้าง่วงก็งีบซักหน่อยถือว่าเอาตัวอักษรที่เราพึ่งอ่านเข้าไปจัดระเบียบในสมองระหว่างเรางีบ
*
*
*
แต่เมื่อต้องมาทำงาน ก็ต้องทำใจหล่ะครับ ว่าบรรยากาศแบบนั้นคงไม่มี

ที่ทำงานไม่ได้ยินเสียงฝนตก เพราะอยู่ในห้องแอร์

ผมไม่สามารถนอนอ่านหนังสือที่ทำงานได้ - - มันน่าเกลียด ถึงแม้อยากจะทำก็ตามที

และที่ทำงานผมไม่สามารถเลือกอ่านหนังสือที่เราชอบได้

แต่ถึงอย่างไง - - ก็ยังดีที่ผมมีโอกาสอ่านหนังสือได้ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

สำหรับผม - - แค่นี้ ชีวิตผมก็พอดูจะรื่นรมณ์พอควรแก่อัตภาพแล้วหล่ะครับ
*
*
*
ทิ้งท้าย

I can't live wihtout books.
-Thomas Jefferson-
อดีดประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา



Create Date : 03 ตุลาคม 2549
Last Update : 3 ตุลาคม 2549 18:07:37 น.
Counter : 753 Pageviews.

6 comment
Chapter VI : ALIST
ทักทายครับ

ไม่ได้เขียนซะนาน

ข้ออ้างเดิมๆ น่ะครับ งานยุ่ง

*
*
*
*
ครั้งก่อนผมค้างถึงระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่มีชื่อว่า ALIST

เจ้า ALIST นี่เป็นชื่อย่อน่ะครับ มาจากคำว่า Automated Library System for Thai Higher Education Institues

โดย ม.อ. หรือม. สงขลานครินทร์ เป็นผู้พัฒนาขึ้น

ซึ่งตอนนี้เขาก็เริ่มๆ ใช้กันแล้ว

จริงๆ แล้ว ALIST นี่ถือเป็นระบบฯ version ที่ 2 ที่ ม.อ. พัฒนาขึ้นมา

version แรกนี่ใช้กันราว ๆ ปี 2546 แต่ตอนนั้นไม่ได้ตั้งชื่อระบบเป็นเรื่องเป็นราวแบบนี้

สำหรับรายละเอียดเข้าไปดูเพิ่มเติมที่

//www.siamrath.co.th/Education.asp?ReviewID=130192

และที่

//www.mfu.ac.th/center/lrem/document%20ppt/ALIST_BKK_NEW1.PPT

อ่านแล้วก็น่ายินดีน่ะครับ ต่อไปแวดวงชาวเราคงไม่ต้องซื้อตัวระบบฯ ที่มีราคาสูงๆ อีกต่อไปแล้ว

และสำหรับผู้ที่ต้องการดูหน้าตาของ WebOPAC ของ ALIST สามารถเข้าไปดูได้ที่

//opac1.clib.psu.ac.th/

WebOPAC ของวิทยาเขตหาดใหญ่ครับ ชื่อหอสมุดคุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร
*
*
*
*
ช่วงนี้ใกล้สอบแล้ว นักศึกษาเลยเข้าห้องสมุดกันเยอะมาก

เห็นนักศึกษาพวกนี้แล้วก็คิดถึงตอนยังเรียนอยู่เหมือนกันน่ะครับ ว่าไหม (กรุณาอย่าแซวว่าคนเขียนแก่เพราะเล่าความหลัง แต่ของให้คิดว่าคนที่ระลึกถึงความหลังคือคนที่มีอารมณ์สุนทรียมากกว่า แฮ่ม!)

สมัยเรียน - - ปกติพวกผมก็เขาห้องสมุดเป็นว่าเล่นอยู่แล้วใช่ไหมครับ ก็แหมห้องเรียนเราก็คือห้องสมุดนี่นา คู่มือต่างๆ พวก LCC หรือ DDC ก็อยู่ในห้องสมุดหมด

แต่พอตอนใกล้สอบเนี่ยพวกผมเนี่ยกลับไม่ชอบไปห้องสมุดน่ะ ผมว่ามันวุ่นวายน่ะครับ ไม่ค่อยมีสมาธิ แบบพอคนเดินผ่านผมก็เสียสมาธิแล้วหล่ะครับ (โดยเฉพาะสาวๆ - - แฮ่ะๆ )

แล้วไอ้พวกที่มาห้องสมุดพอเจอเราต้องมาทักนี่ก็เบื่อน่ะว่าไหม ต้องมาทักว่า ว่าไง มาอ่านหนังสือเหรอ - - แล้วไม่ได้เอาตามาหรือไงว่านั่งอ่านหนังสืออยู่ สมาธิที่ตั้งไว้หายหมด ก็รู้น่ะครับว่าเป็นมารยาทอันดี เจอคนรู้จักก็ต้องทัก แล้วตอนเรียนผมออกจะป๊อบซะด้วย เลยมีคนมาทักไม่ขาดสาย ^_^

คราวนี้แทนที่ไปห้องสมุดเพื่ออ่านหนังสือ ไปๆ มาๆ กลายเป็นไปห้องสมุดเพื่อคุยกันถามสารทุกข์สุกดิบกันไปซะเฉยเลย

ช่วงหลังผมเลยตัดปัญหา ถ่ายเอกสารจากห้องสมุด/เพื่อนไปอ่านที่บ้านดีกว่า - - สบายใจกว่า แบบถ้าง่วงจนเผลอหลับก็ไม่เสียภาพบรรณารักษ์หนุ่มรูปงามมานั่งหลับในห้องสมุดด้วย ^_^



Create Date : 21 กันยายน 2549
Last Update : 21 กันยายน 2549 17:16:06 น.
Counter : 702 Pageviews.

6 comment
Chapter V : เมื่อต้องลง MARC
ทักทายครับ

เรื่องทางวิชาการนี่หายไปหลายวัน - - ชักหมดไอเดีย ตอนที่แล้วยังไอเดียเพียบอยู่เลย คราวนี้เริ่มมอดซะแล้ว

ไม่ใช่อะไร - - ช่วงนี้งานยุ่งมาก ไหนต้องแค๊ต ไหนต้องเตรียมสอนอีก มีประชุมพวกคณะทำงานอะไรกันอีกก็ไม่รู้ (เฮ้อ! ขอถอนหายใจหน่อย ไอ้เราก็นึกว่างานบรรณารักษ์สบายซะอีก ถึงตอนนี้มันก็สายเกินกลับตัวแล้วหล่ะครับ)

นอกเรื่องนิดหนึ่งน่ะครับ มีใครก็ไม่รู้บอกไว้ว่า คณะทำงานคือกลุ่มคนที่ไม่รู้อะไร ถูกแต่งตั้งโดยคนที่ไม่รู้อะไร เพื่อมาทำงานเรื่องที่ก็ไม่จำเป็นต้องมีคณะทำงาน - - ขำขำครับ

*
*
*
มาต่อเรื่อง MARC น่ะครับ

ไม่เข้าใจก็ถามได้น่ะครับ เพราะตรงนี้บางส่วนเป็นtechnical term เล็กน้อย

ในบรรณานุกรม 1 อันเนี่ย MARC จะประกอบไปด้วย

1. ฟิลด์ (fields) ซึ่งในแต่ะฟิลด์บางครั้งก็จะมีซับฟิลด์(subfield) แล้วแต่ฟิลด์นั้นๆ โดยจะมีฟิลด์อาทิเช่นผู้แต่ง หัวเรื่อง ฯลฯ

ในและฟิลด์เนี่ยแหล่ะที่จะมีการกำหนดด้วยแท๊ก (tag) ที่จะมี 3 หลักเริ่มตั้งแต่ 0xxx - 9xxx

ในแต่ละฟิลด์ยังมีอินดิเคเตอร์อีก 2 หลัก ใช้ตัวเลขแทน โดยมีค่าตั้งแต่ 0-9

ยกตัวอย่างน่ะครับ

ใน tag 100 ฟิลด์ชื่อผู้แต่งที่เป็นบุคคล - - ชื่อผู้แต่งนี่มีหลายประเภทน่ะครับ ทั้งที่เป็นนิติบุคคล ก็ต้องลงอีกลักษณะหนึ่ง จะมาลง MARC แบบนี้ไม่ได้ - - ชักยากแล้วใช่ไหม

ผมเองกว่าจะเรียนรู้พอถูๆ ไถๆ อย่างปัจจุบันนี่ก็นานโข ด้วยความที่ไม่ได้เรียนในหลักสูตร ต้องมาเรียนรู้เองนอกหลักสูตร กว่าจะจับจุดได้ก็เหนื่อยเหมือนกัน

ยกตัวอย่างรักษาการนายกเราในปัจจุบันหล่ะกัน - - ไม่ได้มีเจตนาอะไรแอบแฝงจริงๆ เพียงแต่คิดว่าทุกคนคงรู้จักแน่นอน

ก็สามารถลง MARC ได้ดังนี้

100 0# |aทักษิณ ชินวัตร|d2492-

100 คือ tag
0 คืออินดิเคเตอร์ที่ 1 ที่หมายความว่าชื่อผู้รับผิดชอบ/ผู้แต่งคนนี้ไม่ต้องกลับเอานามสกุลขึ้นก่อน เพราะถ้าเป็นชาวต่างชาติอินดินเคเตอร์ตัวนี้จะเป็น 1 # คืออินดิเคเตอร์ที่ 2 คือ blank คือไม่ได้กำหนดไว้เลยใส่ blank ไว้
|a คือ subfield เป็นชื่อผู้รับผิดชอบ |d คือ subfield เป็นปีที่เกิดของผู้รับผิดชอบ คือถ้าบรรณารักษ์รู้ก็จะใส่ไป ไม่รู้ก็ไม่ต้องใส่

ทั้งนี้ใน tag 100 นี่ยังมี subfiled อีกไม่ต่ำกว่า 10 subfeild

คือถ้าจะใส่ครบก็ใส่กันสนุกหล่ะครับ

นี่ที่ยกตัวอย่างมานี่แค่ชื่อผู้รับผิดชอบที่เป็นบุคคลน่ะครับยังไม่ได้นับส่วนอื่นๆ พื้นฐานของหนังสือเลย เช่น ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง เลขหมู่ พิมพ์ลักษณ์ ฯลฯ

ผมยกตัวอย่างหนังสือเล่มหนึ่งจากห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันที่เขาเป็นคนกำหนดเจ้า MARC นี่แล้วกัน

000 01688cam a2200385 a 450
001 12103280
005 20041202101819.0
008 000711s2000 nyua c 000 1 eng
906 __ |a 7 |b cbc |c orignew |d 1 |e opcn |f 20 |g y-gencatlg
925 0_ |a acquire |b 2 shelf copies |x policy default
955 __ |a HAND CARRY to HLCD pb18 07-11-00; lb14 07-12-00; lb18 07-13-00;
lb11 07-17-00; lb05 07-17-00 to cip; lb16 07-21-00 added copy 3
010 __ |a 00131084
020 __ |a 0439139597
040 __ |a DLC |c DLC |d WaU |d DLC
042 __ |a lcac
050 00 |a PZ7.R79835 |b Hal 2000
082 00 |a [Fic]
100 1_ |a Rowling, J. K.
245 10 |a Harry Potter and the goblet of fire / |c by J.K. Rowling ; illustrations by
Mary GrandPré.
250 __ |a 1st American ed.
260 __ |a New York : |b Arthur A. Levine Books, |c c2000.
300 __ |a xi, 734 p. : |b ill. ; |c 24 cm.
500 __ |a "Year 4"--Spine.
500 __ |a Sequel to: Harry Potter and the prisoner of Azkaban.
520 __ |a Fourteen-year-old Harry Potter joins the Weasleys at the Quidditch
World Cup, then enters his fourth year at Hogwarts Academy where he is
mysteriously entered in an unusual contest that challenges his wizarding skills,
friendships and character, amid signs that an old enemy is growing stronger.
650 _0 |a Wizards |v Juvenile fiction.
650 _0 |a Magic |v Juvenile fiction.
650 _0 |a Hogwarts School of Witchcraft and Wizardry (Imaginary place) |v
Juvenile fiction.
650 _0 |a Schools |v Juvenile fiction.
651 _0 |a England |v Juvenile fiction.
650 _1 |a Wizards |v Fiction.
650 _1 |a Magic |v Fiction.
650 _1 |a Schools |v Fiction.
651 _1 |a England |v Fiction.
700 1_ |a GrandPré, Mary, |e ill.

เป็น MARC ของบรรณานุกรมหนังสือ 1 เล่ม

ลองกะดูคร่าวๆ น่าจะมี subfield กว่า 100 subfield ได้

คุณ ๆ ลองเดาดูซิครับว่าที่ผมยกตัวอย่างมานี่จะเป็นของหนังสือชื่อเรื่องอะไร ใบ้ให้นิด เป็นหนังสือดังมาก
*
*
*
มันเป็น MARC ของหนังสือชื่อ Harry Potter and the goblet of fire นั่นเองครับ

สงสัยไหมผมดูจากตรงไหน ถึงรู้ว่ามันชื่อเรื่องนี้ ให้ดูตรง tag 245 นั่นไงครับ ตรง subfiled a

ให้สังเกต tag 100 น่ะครับ indicator ตัวแรกมีค่าเป็น 1 เพราะเอานามสกุลขึ้นก่อน จะแตกต่างจากที่ผมยกตัวอย่างไปก่อนหน้านี้

และให้ดู tag 520 ตรงนี้เป็น field สำหรับเนื้อเรื่องย่อถ้าเป็นพวกวิจัยก็จะเป็น abstract ครับ

จริงๆ แล้ว MARC สามารถลงสารบัญของหนังสือได้ด้วยน่ะครับ อยู่ที่ tag 505 แต่เล่มนี้บรรณารักษ์อาจจะขี้เกียจลงหรือเห็นว่าเล่มนี้ไม่จำต้องลงก็ได้ (แต่แนวโน้มน่าจะเป็นเหตุผลหลังน่ะครับ ก็บรรณารักษ์อย่างพวกผมน่ะขยันจะตาย ^_^)

ใน tag 65x เป็นหัวเรื่อง ยังจำได้ไหมครับว่าหัวเรื่องคืออะไร ถ้าจำไม่ได้ ให้มีดู chapter II (ขี้เกียจพิมพ์ซ้ำครับ ^_^) subfield a เป็นหัวเรื่องหลัก subfiled v เป็นหัวเรื่องรองที่เป็นประเภทของสารสนเทศ

จะเห็นว่า ถ้าบรรณารักษ์ขยันมากแค่ไหนก็จะลงรายการได้ละเอียดเท่านั้น

แบบที่ยกตัวอย่างมานี่ บรรณารักษ์แกลงได้ละเอียดมาก เช่นหัวเรื่องให้ตั้ง 9 หัวเรื่อง มีโน๊ต 2 แห่ง (tag 500)
*
*
*
จะเห็นว่าตัวระบบห้องสมุดฯ จำเป็นต้องมีการจำแนกพวก field และ subfield รวมถึง indicator เหล่านี้ให้ได้

ใน MARC ที่ผมยกตัวอย่างมานี่ผมว่ามี tag ประมาณ 30 tag ได้ subfield ทั้งหมดนี่น่าจะหลักร้อยขึ้นไป นับเป็นส่วนน้อย เพราะหนังสือแต่ละเล่นการลงรายการในแต่ละ field และ subfield สามารถแตกต่างกันได้

ยังไม่รวมถึงตัวฐานข้อมูลในส่วนของสมาชิกอีก จำนวนสิทธิการยืม ประเภทนี้ยืมได้กี่วัน ค่าปรับกี่บาท อะไรทำนองเนี้ย

เห็นไหมหละครับว่าฐานข้อมูลห้องสมุดมันเยอะแยะขนาดไหน แล้วห้องสมุดปัจจุบันมีแค่หนังสือซะที่ไหนหล่ะครับ

มีทั้งซีดีรอม ฐานข้อมูล วารสาร หนังสือพิมพ์ แผนที่ ฯลฯ

*
*
*
วันนี้มีโอกาสคุยกับคนที่ใช้ระบบห้องสมุดอีกตัว (ที่ไม่ใช่ยักษ์ใหญ่แห่งวงการระบบห้องสมุดอย่าง Innopac ) เห็นว่า ณ ตอนนี้เขาเสียค่าบำรุงปีละ 300,000 บาท

ซึ่งระบบนี้นิยมใช้ในห้องสมุดขนาดเล็ก - กลาง แต่อย่างที่ผมเคยบอก ถ้าห้องสมุดมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ส่วนใหญ่จะใช้ Innopac หรือไม่ก็ Dynix

เอ...แล้วนี่ประเทศไทยไม่เคยมีใครเคยเขียนระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่สามารถรองรับ MARCออกมาให้ใช้กันบ้างเลยหรือ

ทำไมเราต้องเสียเงินกันเป็น แสนๆ ล้านๆ ซื้อระบบฯจากนอกประเทศ รู้ๆ อยู่ว่าเราขาดดุลต่างประเทศปีๆ หนึ่งไม่รู้กี่ล้าน

มีครับ ระบบนั้นชื่อว่า ALIST

แล้วถ้ามีโอกาสจะมาเล่าถึงระบบ ALIST นี้ให้ฟัง (นี่ไม่ใช่โฆษณาขายสินค้าน่ะ)



Create Date : 07 กันยายน 2549
Last Update : 11 กันยายน 2549 11:56:21 น.
Counter : 685 Pageviews.

12 comment
Chapter IV : Why you should fall to your knees and worship a librarian (or library technician)
ทักทายครับ

พอดีไปเจอบทความจาก

//www.alia.org.au/groups/libtnat/technique/2006.01/look.html

เลย copy มาฝากครับ แล้วถ้าว่าง ๆ จะตามมาแปลให้ที่หลัง และขอโทษที่บางคำมีคำหยาบ
.
.
.
We've all got our little preconceived notions about who librarians are and what they do. Many people think of librarians as diminutive civil servants,
scuttling about sssh-ing people and stamping things.

Well, think again buster.

Librarians have degrees. They go to graduate school for information science and become masters of data systems and human/computer interaction. Librarians can catalog anything from an onion to a dog's ear. They could catalog you.

Librarians wield unfathomable power. With a flip othe wrist they can hide your dissertation behind piles of old Field and stream magazines. They can find
data for your term paper that you never knew existed. They may even point you toward new and appropriate subject headings.

People become librarians because they know too much. Their knowledge extends beyond mere categories. They cannot be confined to disciplines. Libarians are all-knowing and all seeing. They bring order to chaos. They bring wisdom and culture to the masses. they preserve every aspect of human knowledge.

Librarians rule.

And they will kick the crap out of anyone who says otherwise.



Create Date : 29 สิงหาคม 2549
Last Update : 30 สิงหาคม 2549 8:32:41 น.
Counter : 457 Pageviews.

3 comment
1  2  3  4  

บรรน่ารัก
Location :
ภูเก็ต  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



"I have always imagined that Paradise will be a kind of library"
-Jorge Luis Borges-