Chapter II : Cataloger
ทักทายครับ

ครั้งที่แล้ว ผมมีการติดค้างความหมายของบรรณารักษ์วิเคราะห์ฯ

คำเต็มๆ ของมันคือบรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ

ถ้าในวงการมักจะเรียกว่าบรรณารักษ์ cat ที่แปลว่าแมวเหมียวนั่นแหล่ะครับ จริงๆ แล้ว มันย่อมาจาก catalogue cataloging หรือ cataloger
*
*
*
ถ้าคุณๆ เคยเข้าห้องสมุด คุยจะสังเกตว่าหนังสือแต่ละเล่มเนี่ย มันจะมีตัวเลขหรือตัวหนังสือติดอยู่ที่สันหนังสือ อันนั้นแหล่ะครับที่เขาเรียกว่า call number หรือเรียกว่าเลขเรียกหนังสือ

โดย call number เนี่ย ปัจจุบันมีที่นิยมอยู่ 2 ระบบ คือ ดิวอี้ (ตัวเลขล้วน) กับรัฐสภาอเมริกัน (ตัวอักษรผสมตัวเลข) ซึ่งเจ้าทั้ง 2 ระบบนี้เขาจะแบ่งตามเนื้อหา

แล้วไอ้ call number เนี่ยแหล่ะครับที่พวกผม- - บรรณารักษ์(แมวเหมียว)ต้องเป็นผู้กำหนด ว่าหนังสือเล่มนี้ควรจะกำหนดให้เป็น call อะไร ทั้งนี้เพื่อให้หนังสือที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันได้มาอยู่ใกล้ๆ กัน เพื่อให้สะดวกแก่ผู้ใช้ที่เก๋าในการใช้ห้องสมุด รู้ว่าหนังสือแนวนี้อยู่ที่เลขหมู่อะไร

และการที่จะรู้ว่าหนังสือเล่มนี้เล่มนั้นควรอยู่หมวดหมู่อะไร ก็ต้องอ่านหล่ะครับ เราจำเป็นต้องรู้ว่าหนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับอะไรก่อน พวกผมถึงจะได้วิเคราะห์มันได้ถูกว่าหนังสือเล่มนี้ควรให้เลขหมู่อะไร

พอมาถึงตอนนี้ ก็คงจะมีบางคนว่า อืม...บรรณารักษ์นี่ดีน่ะได้อ่านหนังสือสบายทั้งวัน มันก็ใช่น่ะครับว่าเราต้องอ่านหนังสือทั้งวัน แต่ปัญหาคือเราเลือกหนังสือที่เราชอบอ่านไม่ได้

คือเราจะวิเคราะห์เฉพาะหนังสือที่เราชอบอ่านอย่างเดียวไม่ได้ นั่นหมายความว่าเราต้องอ่านหนังสือทุกเล่ม เน้นน่ะครับทุกเล่ม ที่เข้ามาในห้องสมุดที่เราอยู่

มันคือวิชาชีพของพวกเราน่ะครับ ไม่ใช่งานอดิเรกที่จะมาอ่านหนังสือสบายๆ เลือกหนังสือแฟชั่นหรือนิยายอ่านเล่นมาเลือกอ่านได้

แต่มันก็จะมีคำถามตามมาว่าแล้วพวกบรรณารักษ์นี่ต้องอ่านกันทุกตัวอักษรกันเลยหรือเปล่า? - - คำตอบคือเปล่าครับ

ส่วนใหญ่บรรณารักษ์เขาก็จะแค่กวาดๆ ดูคำนำหน่อย อ่านปกหลัง หรือไม่ก็อ่านเนื้อหาสักหน่อยพอให้รู้ว่าหนังสือเล่มนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร

ใครมันจะมีเวลาว่างอ่านได้หล่ะครับ ดังคำที่ว่า so little time, so many books นั่นแหล่ะครับ

ชีวิตเราสั้นเหลือเกินที่จะสามารถอ่านหนังสือดีๆ ได้หมด ดังนั้นถ้าคุณว่างๆ กันก็ลองหาหนังสือดีๆ มาอ่านกันบ้างน่ะครับ ก่อนที่จะไม่มีเวลาอ่าน

*
*
*
มีอีกอย่างหนึ่งที่บรรดาบรรณารักษ์แมวเหมียว (ชื่อมันจะคิขุไปหรือเปล่าเนี่ย) ต้องทำอีกอย่างก็คือการให้หัวเรื่อง

หัวเรื่องคืออะไร เอาง่ายๆ แบบไม่วิชาการจ๋าจนเกินไปก็แล้วกัน หัวเรื่องคือคำที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้น ๆ นั่นแหล่ะครับ

ช่วยให้ผู้ใช้บริการหาหนังสือได้ง่ายขึ้น (ถ้าใช้ห้องสมุดเป็น)

มีคนเคยถามผมว่าหัวเรื่องของห้องสมุดนี่บางครั้งก็ใช้คำแปลกๆ มาเป็นหัวเรื่อง ผมก็ยอมรับหล่ะน่ะว่าบางคำมันแปลกๆ แต่คำพวกนี้ผมคิดเองคนเดียวซะที่ไหนกันเล่า

หัวเรื่องนี่จะมีคณะทำงานเป็นผู้กำหนดหรือเปลี่ยนแปลงหัวเรื่อง ดังนั้นหัวเรื่องภาษาไทยในประเทศไทยค่อนข้างจะเป็นไปในแนวทางเดียวกันหมด คือใช้คำๆ เดียวกันแทนเนื้อหาลักษณะเดียวกันว่างั้นเถอะ

หัวเรื่องภาษาอังกฤษก็เหมือนกัน ก็จะเป็นไปในแนวทางเดียวกันหมดเช่นกัน

แล้วหัวเรื่องมีประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการอย่างไง

สมมติน่ะครับว่าคุณเข้าห้องสมุดเพื่อต้องการหาหนังสือสักเล่มเพื่อทำรายงาน สมมติอีกนั่นแหล่ะว่าเรื่องที่คุณทำคือการทำรายงานเกี่ยวกับโรงแรม

คุณไม่รู้อะไรเลยทั้งชื่อหนังสือ หรือแม้กระทั่ง ชื่อผู้แต่ง รู้เพียงอย่างเดียวว่าคุณต้องการหาหนังสือที่เกี่ยวกับโรงแรม

จริงๆ แล้วคุณอาจใช้คำว่าโรงแรมในชื่อเรื่องก็ได้ แต่ระวังหน่อยน่ะ - - ชื่อเรื่องมันหลอกคุณได้ครับ นิยายที่มีชื่อโรงแรมมีเยอะแยะไปครับ ดังนั้นคุณอาจหลงทางกับมันได้ครับ

ต้องมาหาที่หัวเรื่องง่ายสุด หัวเรื่องโรงแรม จะรวมรวมหนังสือที่เกี่ยวกับโรงแรมไว้หมด ไม่ต้องไปคอยตีความจากชื่อเรื่องอยู่ว่ามันจะหลอกเราไหม

*
*
*

ดังนั้นจะเห็นว่าบรรณารักษ์ที่ดีเนี่ยจำเป็นต้องรู้เยอะครับ แต่อย่างที่ผมเคยบอกไปตอนต้น คือไม่จำเป็นต้องรู้ลึกแต่ให้รู้ให้กว้างเข้าไว้

แบบคนอื่นเขารวมกลุ่มกันคุยเรื่องวิชาการกันอยู่ (ไม่ใช่กำลังรวมกลุ่มนินทาน่ะครับ - - นั่นมันอีกประเด็น) บรรณารักษ์อย่างเราสามารถเข้าไปเอออออี้อ๋อได้โดยไม่น่าเกลียดว่างั้นเถอะ - - แบบทำเหมือนรู้เยอะ ^_^

อย่างในกรณีผม- - บรรณารักษ์แมวเหมียว ก็จำเป็นต้องรู้ให้เยอะเข้าไว้ ไม่งั้นจะไม่สามารถกำหนดเลขหมู่ หรือหัวเรื่องได้เลย - - หรือถ้าทำได้ มันก็มั่วไปหมด ถ้าคนวิเคราะห์ไม่มีพื้นความรู้

จริงๆ แล้วบรรณารักษ์สมัยใหม่นี่ต้องเรียนรู้ MARC อีกด้วยน่ะเนี่ย เอาไว้คราวหลังดีกว่า แล้วจะเล่าให้ฟังว่ามันคืออะไร (เอาไว้ยืดเรื่อง ^_^)

ขอทิ้งท้ายที่กฎ 2 ข้อของเชร่า (ขำๆ น่ะครับ และขออนุญาตไม่แปล)
Law #1 No cataloger will accept the work of any other cataloger.
Law #2 No cataloger will accept his/her own work six months after the cataloging.



Create Date : 25 สิงหาคม 2549
Last Update : 28 สิงหาคม 2549 9:06:08 น.
Counter : 488 Pageviews.

6 comments
  
* ทุกครั้งที่ต้อง Cat ก็จะหลับ ทุกคราวไป *

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
โดย: ดาริกามณี วันที่: 25 สิงหาคม 2549 เวลา:21:36:32 น.
  
ลืมการ Cat แบบบรรณารักษ์จริงๆไปนานแล้วสิ
เพราะทุกวันนี้ Cat แต่แบบเฉพาะของที่ทำงาน
เกิดตกงานไปจะไปสมัครงานตำแหน่งบรรณารักษ์ได้ที่ไหนเนี่ย
เล่นคืนความรู้ให้อาจารย์หมดแล้ว
โดย: wanwitcha วันที่: 28 สิงหาคม 2549 เวลา:15:15:35 น.
  
แล้วผมจะเปิดห้องสมุดส่วนตัว แล้วรับสมัครคุณ wanwitcha เป็นบรรณารักษ์ก็แล้วกัน
โดย: บรรน่ารัก (บรรน่ารัก ) วันที่: 28 สิงหาคม 2549 เวลา:18:11:53 น.
  
^
^
ขอบคุณหลายๆคับ ถ้าตกงานจริงๆจะมาขอทำงานด้วยนะครีบ

ที่ทำอยู่เป็นระบบเลข 18 หลัก คับ
5ตัวแรก รหัสหน่วยงาน
3ตัวถัดมา รหัสประเทศ
3ตัวถัดไป รหัสลักษณะงาน
3ตัวต่อมา รหัสหัวเรื่องย่อย
2ตัวต่อไป รหัสปีพ.ศ.
2ตัวสุดท้าย รหัสลำดับเอกสาร
โดย: wanwitcha วันที่: 30 สิงหาคม 2549 เวลา:10:14:32 น.
  
เอาลิงค์ของบทความ "บรรณารักษ์ไม่ใช่คนจัดชั้นหนังสือ" มาให้

//my.dek-d.com/dek-d/story/view.php?id=56499

โดย: cybrarian วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:18:34:57 น.
  
ไม่ชอบการแคตเลยง่า
โดย: Passepartout (Passepartout ) วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:20:25:21 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

บรรน่ารัก
Location :
ภูเก็ต  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



"I have always imagined that Paradise will be a kind of library"
-Jorge Luis Borges-