It's All I Have to Bring Today !
Group Blog
 
All blogs
 

▶▶▶สัจจะสัญญา ที่ติดค้างในพระราชหฤทัย ที่ในหลวงทรงอธิษฐานเพื่อคนไทย



  ▶▶▶สัจจะสัญญา ที่ติดค้างในพระราชหฤทัย ที่ในหลวงทรงอธิษฐานเพื่อคนไทย

คนไทยควรทำอย่างไร เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว 

สัจจะสัญญา
ที่ติดค้างในพระราชหฤทัย
ที่ในหลวงทรงอธิษฐานเพื่อคนไทย

อะไร คือ สัจจะสัญญาที่ติดค้างในพระราชหฤทัย ที่ในหลวงทรงอธิษฐานเพื่อคนไทย จนทำให้พระองค์ทรงมุ่งมั่นทำทุกอย่างเพื่อคนไทยขนาดนี้

ทรงปฎิเสธการเสด็จพระราชดำเนินไปต่างประเทศ ยามประชวร แต่ขอใช้กรรมฐานเพื่อรักษาพระองค์เอง 


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เหตุใดพระองค์ไม่ค่อยเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ แม้กระทั่งทรงพระประชวร ทั้ง ๆ ที่คณะแพทย์ลงความเห็นว่า ควรเสด็จเพื่อรักษาพระอาการในประเทศแถบตะวันตกที่มีเทคโนโลยีดีกว่าเมืองไทย แต่พระองค์ทรงปฎิเสธ

เรื่องนี้ พระศากยวงศ์วิสุทธิ์เล่าว่า มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระประชวรหนัก น่าจะปี พ.ศ.2525 ตอนนั้น คณะแพทย์ลงความเห็นว่า ต้องเสด็จพระราชดำเนินรักษาพระอาการที่ต่างประเทศ แต่พระองค์ทรงปฎิเสธ และไม่มีใครรู้ว่า ทำไมพระองค์ไม่เสด็จต่างประเทศพระองค์มีพระราชดำริว่า...

 ถ้าทรงทำอะไรไม่ได้ พระองค์ก็จะรักษาพระองค์เอง
ตอนนั้น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกตรัสว่า...

ช่วงที่หมอไม่รู้จะรักษายังไงเกี่ยวกับพระราชหฤทัย
ช่วงนั้นก็เลยใช้วิธีเปิดเทปเทศน์กรรมฐานเมื่อพระองค์บรรทมฟัง
พอฟังไปสักพัก พระอาการก็ดีขึ้นซึ่งหมอก็งง 


และมีอีกครั้งหนึ่ง พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคลตรัสกับอาตมาว่า

อยากให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสังเวชนียสถาน เพราะพระองค์เป็นพุทธมามกะ และไม่เคยเสด็จไปที่นั่นเลย กราบทูลหลายครั้ง

ซึ่งตอนนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำรัสว่า ความจริงแล้วอยากเสด็จสังเวชนียสถานมาก

แต่ว่าติดสัญญาณใจ ตั้งจิตอธิษฐานไว้ว่า...
 ตราบใดที่คนไทยทุกคนยังไม่มีความสุข พระองค์จะไม่เสด็จต่างประเทศ
ตอนนั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล ตรัสกับอาตมาว่า ท่านก็อึ้งกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในคราวนั้น และได้ทูลถามพระองค์ว่า...


 แล้วพระองค์ทรงเอาอะไรเป็นเกณฑ์ว่า คนไทยไม่มีความสุข เพราะประเทศไทยก็เจริญขนาดนี้แล้ว
พระองค์ตรัสว่า... 

 ไม่รู้เหมือนกัน ...แต่ในพระราชหฤทัยรู้สึกว่า คนไทยยังไม่มีความสุข
--------------------------------------------




 

Create Date : 09 พฤศจิกายน 2559    
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2559 1:58:46 น.
Counter : 1128 Pageviews.  

▶▶▶เปิดภาพครอบครัวอันอบอุ่น"คุณพลอยไพลิน"พระธิดาองค์โตใน"ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ"



  เป็นภาพที่ประทับใจชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง สำหรับครอบครัวอันแสนอบอุ่นของคุณพลอยไพลินและคุณเดวิด วีลเลอร์ สามีและทายาทคือบุตรชายที่แสนน่ารักทั้งสอง //winne.ws/n9549


สมเด็จพระเทพฯกับคุณพลอยไพลินพระราชนัดดาและครอบครัว


ทูลกระหม่อมหญิงอุลบลรัตน์ฯกับพระธิดาทั้งสองพระองค์ คุณพลอยไพลินและคุณใหม่ สิริกิติยา

เป็นภาพที่ประทับใจชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง สำหรับครอบครัวอันแสนอบอุ่นของคุณพลอยไพลินและคุณเดวิด วีลเลอร์ สามีและทายาทคือบุตรชายที่แสนน่ารักทั้งสอง คือคุณจุลรัตน์หรือคุณแม็กซิมัส บุตรชายคนโตและคุณภัททพงศ์หรือ คุณลีโอนาร์โด บุตรชายคนเล็ก
.....................................
คลิกชมภาพและอ่านต่อ....




 

Create Date : 05 พฤศจิกายน 2559    
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2559 7:10:35 น.
Counter : 3026 Pageviews.  

@##เรื่องควรรู้! ฉลองพระองค์บรมราชภูษิตาภรณ์ ทรงอิสรยศฉลองพระองค์ครุยมหาจักรี





เว็บไซต์เด็กดีดอทคอม ได้รายงานเรื่อง”ฉลองพระองค์บรมราชภูษิตาภรณ์” ว่า หลายคนคงคุ้นตากับชุดครุยสีทองอร่ามของพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นรัชกาลที่ 9 หรือย้อนกลับไปหลายๆ ปีที่เคยเห็นในภาพถ่ายกัน วันนี้เราจะมาเล่าถึงความเป็นมาและเรื่องราวของชุดครุยสีทองนี้กัน



ชุดครุยหรือฉลองพระองค์สีทองอร่ามที่ดูสง่าและสวยงามอย่างหาที่ติไม่ได้ชุดนี้มีชื่อเรียกว่า “ฉลองพระองค์บรมราชภูษิตาภรณ์” หรือฉลองพระองค์ครุยมหาจักรี

 โดยเป็นฉลองพระองค์พระราชวงศ์ที่มีพื้นกรองทองหรือกรองเงินปักทองลายก้านแย่งหรือพื้นสีสลับทองหรือขาวสลับทอง มีสีดำรดขอบ สำรดต้นพระกร ปลายพระกร และสำรดฉลองพระองค์ครุยนั้นพื้นกรองทอง ปักทองหรือใช้ทองเส้นหยาบ ขลิบลูกไม้ทอง



ฉลองพระองค์ครุยพระราชวงศ์นี้มีเพียงรูปแบบเดียวเท่านั้น ผิดกับครุยแบบอื่นๆ

 ส่วนครุยแบบอื่นๆ นอกเหนือจากฉลองพระองค์ครุยพระมหากษัตริย์แล้วยังมี ฉลองพระองค์ครุยพระราชวงศ์ ครุยพราหมณ์ ครุยขุนนาง ครุยเสนามาตย์ชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ครุยเจ้านาค และครุยวิทยฐานะ (เช่นครุยปริญญาหรือครุยบัณฑิตที่เราใส่กันนั่นเอง)



เสื้อครุยนั้นเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศสำหรับพระมหากษัตริย์ หรือพระราชทานสำหรับพระราชวงศ์ ตลอดจนขุนนางและข้าราชการ ใช้สวมใส่เมื่อเข้าร่วมในงานพระราชพิธีที่สำคัญๆ

 เพื่อเป็นการแสดงบรรดาศักดิ์และตำแหน่งของผู้สวมใส่ และเป็นเครื่องแบบเต็มยศที่ใช้สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ



ผ้าที่นิยมใช้ในการทำฉลองพระองค์ครุยสำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์มีหลายชนิด และที่สำคัญคือ “ผ้ากรองทอง” เป็นผ้าที่เกิดจากการนำเส้นลวดทองหรือไหมทองมาถักประกอบกันเป็นผืนผ้า

 และที่สำคัญนอกจากจะมีความสวยงามแล้ว ฉลองพระองค์ ครุยพระมหากษัตริย์นี้ยังมีน้ำหนักมากถึงประมาณ 7-8 กิโลกรัมเลยทีเดียว



ปัจจุบันการสวมเสื้อครุยในราชสำนักยังเห็นได้จากงานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ในการแต่งเครื่องแบบเต็มยศใหญ่ๆ ทั้งของพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นอกจากนี้ผู้พิพากษาที่เป็นเนติบัณฑิต

 เมื่อขึ้นบัลลังก์พิจารณาคดีก็ให้สวมเสื้อครุยเช่นกัน รวมถึงการสวมเสื้อครุยสำหรับบัณฑิตเพื่อเป็นการแสดงวิทยฐานะทางการศึกษาสำหรับบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในสถาบันต่างๆ และการสวมเสื้อครุยสำหรับเจ้านาคที่จะบรรพชาอุปสมบทตามประเพณี เป็นต้น
ในทางพระพุทธศาสนา คุณธรรมที่จะทำให้ได้รับการยกย่อง คือความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความเคารพผู้ควรเคารพ บูชาผู้ควรบูชา ย่อมเป็นผลให้ได้เกิดในตระกูลสูง มีความสุข และเป็นต้นบุญต้นแบบ ในการสร้างบุญบารมีได้อย่างเต็มที่ ดังเช่นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรมของไทยทุกพระองค์ที่ผ่านมา

--------------------------------------

ขอบคุณ/ที่มา: https://www.dek-d.com/board/view/3696198/, https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_65909
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
Cr: https://goo.gl/d990fd




 

Create Date : 27 ตุลาคม 2559    
Last Update : 27 ตุลาคม 2559 0:51:38 น.
Counter : 4094 Pageviews.  

@##เติมเต็มความรู้เรื่อง พระบรมมหาราชวัง ก่อนเข้าสักการะพระบรมศพในหลวง



เติมเต็มความรู้เรื่อง“พระบรมมหาราชวัง”

ก่อนเข้าสักการะพระบรมศพในหลวง


พระบรมมหาราชวัง หรือพระราชวังพระนคร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ปัจจุบัน พระบรมมหาราชวังเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมในปี พ.ศ. 2549 เป็นจำนวนถึง 8,995,000 คน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังหลวงขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศและเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ การก่อสร้างพระราชวังหลวงเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระนครเมื่อ พ.ศ. 2325 โดยสร้างขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นที่อยู่ของพระยาราชาเศรษฐีและชาวจีนทั้งหลาย ดังนั้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปอยู่สถานที่แห่งใหม่ตั้งแต่คลองใต้วัดสามปลื้มจนถึงคลองเหนือวัดสามเพ็ง เริ่มดำเนินการในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 หลังพระราชพิธียกเสาหลักเมือง 1 วัน และมีการเฉลิมพระราชมนเฑียรในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325 แต่ขณะนั้นพระราชมนเฑียรสร้างด้วยเครื่องไม้และสร้างเสาระเนียดรายรอบพระราชวัง เพื่อประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษก

ต่อมาใน พ.ศ. 2326 พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชมนเทียร พระมหาปราสาท เปลี่ยนเสาระเนียดจากเครื่องไม้เป็นก่อกำแพงอิฐ สร้างประตูรายรอบพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนสร้างพระอารามในพระราชวังหลวง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เมื่อสร้างพระราชนิเวศน์มนเฑียรเป็นการถาวรแล้วโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเต็มตามแบบแผนราชประเพณีอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. 2328


พระบรมมหาราชวังได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมขยายอาณาเขตและบูรณปฏิสังขรณ์มาในทุกรัชกาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชอนุชา ขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงบัญญัติให้เรียกพระราชวังหลวงว่า พระบรมมหาราชวัง นั่นคือ ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า “บรม” สำหรับฝ่ายวังหลวง และ “บวร” สำหรับฝ่ายวังหน้า พระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าจึงเรียกว่า “พระบวรราชวัง” เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว พระราชวังหลวงก็ยังคงใช้ว่า พระบรมมหาราชวัง มาจนกระทั่งปัจจุบัน


ที่ตั้งและอาณาเขต
หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างราชธานีแห่งใหม่แล้วก็โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังไว้ด้วย ที่ตรงบริเวณพระบรมมหาราชวังในปัจจุบันนี้แต่เดิมเป็นชุมชนชาวจีน พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนเหล่านี้อพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บริเวณสำเพ็งในปัจจุบัน ในปัจจุบันพระบรมมหาราชวังตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับสถานที่สำคัญเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

ทิศเหนือ ติดกับท้องสนามหลวง
ทิศตะวันออก ติดกับกระทรวงกลาโหม
ทิศใต้ ติดกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
ทิศตะวันตก ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา
พื้นที่ของพระบรมมหาราชวังในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อแรกสร้าง มีเนื้อที่ทั้งหมด 132 ไร่ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ขยายเขตพื้นที่ออกไปเป็น 152 ไร่ 2 งาน จนถึงปัจจุบัน แผนผังของพระบรมมหาราชวังได้ยึดถือแบบของพระราชวังหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา คือสร้างติดกับแม่น้ำ หันหน้าไปทางทิศเหนือโดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ทางทิศตะวันตก ให้กำแพงเมืองด้านข้างแม่น้ำเป็นกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอก และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระอารามหลวงในพระราชวังตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ์ของกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก

เขตพระราชฐาน
พระบรมมหาราชวังสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็นบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดารามและเขตพระราชฐานอันเป็นพื้นที่สำหรับเป็นที่ประทับและบริหารราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ โดยเขตพระราชฐานสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
เขตพระราชฐานชั้นหน้า
เขตพระราชฐานชั้นหน้า นับตั้งแต่ประตูวิเศษไชยศรีถึงประตูพิมานไชยศรี (ไม่นับรวมบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม) รวมทั้ง บริเวณรอบนอกกำแพงชั้นในของพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ตั้งของหน่วยราชการต่าง ๆ และที่ทำการของทหารรักษาพระราชวัง เช่น สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ ราชบัณฑิตยสถาน

เขตพระราชฐานชั้นกลาง

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทและพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท เขตพระราชฐานชั้นกลาง นับตั้งแต่ประตูพิมานไชยศรีถึงประตูสนามราชกิจ เป็นที่ตั้งของปราสาทราชมณเฑียรทั้งสถาปัตยกรรมไทยและตะวันตก ใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีฉัตรมงคล ประกอบไปด้วย


หมู่พระมหามณเฑียร
พระมหามณเฑียร เป็นหมู่พระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพื่อทรงใช้เป็นที่ประทับและเป็นพระราชพิธีมณฑลในพระราชพิธีปราบดาภิเษก ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน ปัจจุบัน ใช้เป็นพระราชพิธีมณฑลสำหรับประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีสำคัญอื่น ๆ ในพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรีสืบเนื่องกันมา โดยพระที่นั่งที่สำคัญของพระมหามณเฑียร ได้แก่ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ และพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน


หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อใช้เป็นสถานที่ออกว่าราชการและเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน เดิมประกอบด้วยหมู่พระที่นั่ง 11 องค์ ปัจจุบัน พระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอยู่ในสภาพที่ชำรุดจนเกินกว่าการบูรณะได้จึงมีการรื้อพระที่นั่งลงหลายองค์ อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่บนสถานที่เดิม พระที่นั่งที่สำคัญของหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ได้แก่ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ และพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร



หมู่พระมหาปราสาท
หมู่พระมหาปราสาท เป็นหมู่พระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญและเป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน ปัจจุบัน หมู่พระมหาปราสาทใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญ อาทิ พระราชพิธีฉัตรมงคล รวมทั้ง เป็นสถานที่สำหรับสรงน้ำพระบรมศพและประดิษฐานพระบรมศพของของพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง พระที่นั่งที่สำคัญ ได้แก่ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่งพิมานรัตยา พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท และพระที่นั่งราชกรัณยสภา



พระที่นั่งบริเวณสวนศิวาลัย
สวนศิวาลัย เป็นสวนภายในพระบรมมหาราชวัง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของพระอภิเนาว์นิเวศน์อันเป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตราบจนเสด็จสวรรคต แต่พระราชมณเฑียรดังกล่าวเกิดการชำรุดทรุดโทรมจนยากต่อการบูรณะซ่อมแซม ดังนั้น จึงจำต้องรื้อถอนไปเกือบหมดสิ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบัน สวนศิวาลัยและบริเวณใกล้เคียงมีพระที่นั่งที่สำคัญตั้งอยู่ ได้แก่ พระพุทธรัตนสถาน พระที่นั่งมหิศรปราสาท พระที่นั่งบรมพิมาน และพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท


แถวเต๊ง
 เดิมเป็นอาคารแถวทิมชั้นเดียวตั้งอยู่อบเขตพระราชฐานชั้นในทั้งด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศใต้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อกั้นเขตพระราชฐานชั้นในกับพระราชฐานชั้นนอกด้านทิศใต้ และใช้เป็นที่อยู่ของผู้ปฏิบัติงานในเขตพระราชฐานชั้นใน เช่นข้าหลวง คุณพนักงาน คุณห้องเครื่อง คุณเฒ่าแก่ ฯลฯ

เขตพระราชฐานชั้นใน

เขตพระราชฐานชั้นใน นับตั้งแต่ประตูสนามราชกิจจนถึงแถวเต๊งทางทิศใต้ เป็นเขตสำหรับผู้หญิงล้วน ผู้ชายที่อายุ 13 ปีขึ้นไปห้ามเข้า (ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์) หากจะเข้าก็ต้องมีโขลนกำกับดูแล (โขลน คือ ตำรวจหญิงที่คอยกำกับดูแล ความเรียบร้อยในเขตพระราชฐานชั้นใน) เป็นที่ตั้งของพระตำหนัก ตำหนัก เรือน ของพระมเหสี พระราชเทวี พระชายา พระราชธิดา เจ้าจอมมารดา เจ้าจอม ข้าราชบริพารและข้าราชการฝ่ายใน
การใช้งาน
พระบรมมหาราชวังได้ใช้เป็นที่ประทับและศูนย์กลางการปกครองของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์มาตลอด จนถึงกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประทับเพียงครั้งคราว ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลได้เสด็จประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง กระทั่งเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นจนถึงปัจจุบัน มิได้มีพระมหากษัตริย์เสด็จมาประทับในพระบรมมหาราชวังเป็นการถาวรอีก ปัจจุบันพระที่นั่งบรมพิมาน เป็นเขตพระราชฐานและที่ประทับส่วนพระองค์ใน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับบ้างเป็นครั้งคราว เช่นเวลาซ่อมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน หรือเวลามีการพระราชพิธี เป็นต้น พระบรมมหาราชวังใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ตามพระราชประเพณี, เป็นที่รับแขกเมือง และพระราชอาคันตุกะ รวมทั้งเป็นที่ตั้งพระบรมศพและพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ส่วนบริเวณเขตพระราชฐานชั้นนอกได้ใช้เป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ เช่น สำนักพระราชวัง, สำนักราชเลขาธิการและราชบัณฑิตยสถาน และเขตพระราชฐานชั้นในก็มิได้เป็นที่อยู่อาศัยของเจ้านายฝ่ายในอีกต่อไป แต่ยังคงเป็นที่ทำการและที่พำนักของข้าราชการสำนักพระราชวัง ฝ่ายพระราชฐานชั้นในบางส่วนซึ่งล้วนเป็นสตรีทั้งสิ้น

แผนที่ในพระบรมมหาราชวัง




  1. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
  2. อาคารสำนักพระราชวัง
  3. สำนักราชเลขาธิการ
  4. ศาลาลูกขุนใน
  5. ศาลาสหทัยสมาคม
  6. พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
  7. ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์
  8. พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
  9. พระที่นั่งไพศาลทักษิณ
  10. พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน
  11. พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์
  12. พระที่นั่งราชฤดี
  13. พระที่นั่งสนามจันทร์
  14. หอศาสตราคม
  15. หอพระสุราลัยพิมาน
  16. หอพระธาตุมณเฑียร
  17. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
  18. พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์
  19. พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ
  20. พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
  21. พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
  22. พระที่นั่งพิมานรัตยา
  23. พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท
  24. พระที่นั่งราชกรัณยสภา
  25. ศาลาเปลื้องเครื่อง
  26. เขาไกรลาสจำลอง
  27. สวนศิวาลัย
  28. พระที่นั่งบรมพิมาน
  29. พระที่นั่งมหิศรปราสาท
  30. พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท
  31. พระที่นั่งสีตลาภิรมย์
  32. พระพุทธรัตนสถาน
  33. พระที่นั่งไชยชุมพล
  34. พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท
  35. เขตพระราชฐานชั้นใน


ที่มา bangkok-today
~~~~~~~~~~~~~~~~~




 

Create Date : 26 ตุลาคม 2559    
Last Update : 26 ตุลาคม 2559 22:22:50 น.
Counter : 3522 Pageviews.  

@##ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 เผย บุญญาภินิหารในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่เห็นมากับตา



  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ที่ได้เล่าเรื่องบุญญาภินิหาร รัชกาลที่ 9 ที่เห็นมากับตา ซึ่งเป็นช่วงได้รับเชิญไปปาฐกถา อภิปรายในระหว่างปี 2531-2532 และในช่วงท้ายได้มีการกล่าวถึงราชวงศ์จักรีที่ทรงพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องมาทุกรัชกาล //winne.ws/n9307



คึกฤทธิ์ ปราโมช เผยเรื่องราวในหนังสือคึกฤทธิ์พูด ฉบับรวมปาฐกถา เล่าเรื่องบุญญาภินิหารในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่เห็นมากับตา

วันที่ 22 ตุลาคม 2559 สำนักข่าวอิศรา ได้เผยเรื่องราวจากหนังสือคึกฤทธิ์พูด ฉบับรวมปาฐกถา เนื่องในวันเกิดครบรอบปีที่ 78 ของ พล.ต. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ที่ได้เล่าเรื่องบุญญาภินิหาร รัชกาลที่ 9 ที่เห็นมากับตา ซึ่งเป็นช่วงได้รับเชิญไปปาฐกถา อภิปรายในระหว่างปี 2531-2532 และในช่วงท้ายได้มีการกล่าวถึงราชวงศ์จักรีที่ทรงพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องมาทุกรัชกาล 


โดยใจความตอนหนึ่งระบุไว้ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่ในใจของคนไทยทุกคน ถ้าจะว่าในทางบุญญาภินิหารของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบันนี่แหละที่คนได้เห็นบุญญาภินิหารของพระองค์มากที่สุด กระผมได้พบด้วยตัวเอง ผมเองจะว่าคนโบราณก็โบราณ แต่ความรู้วิชาสมัยใหม่ก็ยังมีอยู่ได้เห็นเองบ้าง ไม่เห็นบ้าง และได้รับคำบอกเล่าจากคนอื่นที่เชื่อถือได้ 

และคุณหลวงสุรัตน์ณรงค์ ราชองครักษ์ ได้เล่าให้ผมฟังว่า เมื่อครั้งเสด็จประพาสทางชายพรมแดน ประทับเรือพระที่นั่งเสด็จทอดพระเนตรแม่น้ำโขงฝั่งไทย พอไปถึงตำบลหนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมเวลานั้น ยืนอยู่ข้างพระองค์ คอยชี้แจง ก็กราบบังคมทูลว่า บ้านนี้เรียกว่าอย่างนั้น ตำบลนี้ชื่ออะไร ราษฎรมีเท่าไหร่ ทำมาหากินอะไร ไปถึงตำบลเรียกว่า "วังจระเข้" พระองค์ก็ทรงพระสรวล มีพระราชดำรัสถามว่า "แล้วมีจระเข้ไหม"

ผู้ว่าฯ ก็กราบบังคมทูล "ไม่มี สมัยนี้มีเรือไฟ เรืออะไร จระเข้คงไม่มีอาศัยอยู่ได้ ก็ต้องหลบหนีไป" จากนั้นก็มีพระราชดำรัสว่า "เสียดายจริง ฉันยังไม่เคยเห็นจระเข้ที่มันอยู่ตามธรรมชาติ" พอมีพระราชดำรัสขาดพระโอษฐ์เท่านั้น จระเข้ขึ้น 2 ตัว พระองค์ก็ทรงพระสรวล ชี้ให้ผู้ว่าฯ ดูว่า "เห็นไหม"

นอกจากนี้ พล.ต. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ยังเล่าต่อว่า เมื่อครั้งพระองค์เสด็จฯ เมืองเพชร เขาปลูกปะรำรับเสด็จใหญ่ศาลากลาง 2 ปะรำ ระหว่างที่อยู่กลางแจ้งกับที่ไปถึงราษฎรเฝ้าฯ เต็มปะรำ เพราะขณะนั้นฝนตกหนัก เมื่อพระองค์เสร็จฯ มาถึง ทรงเยี่ยมราษฎรในปะรำ แรกฝนก็ยังตกหนักจนลืมหูลืมตาไม่ขึ้น พอถึงหมวดปะรำที่จะเสด็จฯ ออกไปอีกปะรำหนึ่ง ฝนก็ยังตกอยู่ คุณหลวงสุรัตนณรงค์ ราชองครักษ์ ถวายให้คนกลางกลด ทว่าพระองค์ทรงยับยั้ง บอกคุณหลวงว่า ก็เขาเปียก เราก็เปียกได้ ว่าแล้วเสด็จพระราชดำเนินออกไป ฝนก็หยุดตก  

นี่เอาไปสาบานที่ไหนก็ได้ ว่าเห็นกับตา แปลกจริง ๆ ไม่มีฝน เสด็จพระราชดำเนินไปเข้าปะรำโน้น พอลับพระองค์ ฝนตกจั้ก ๆ อย่างเก่าอีกที พวกที่ตามเสด็จฯ ไม่ต้องพูดละ โชกไปด้วยกันหมด หนีไม่พ้น แม้องค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถยังเปียก เสด็จพระราชดำเนินคล้อยตาม นี่ก็เห็นกันมาแล้ว และอื่น ๆ อีกมากมายเหลือเกิน จะเล่าไปก็ไม่มีที่สิ้นสุด

ผมจึงอยากจะบอกว่า เรามีองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงมีบุญญาภินิหารอย่างยิ่งในคราวนี้ ก็เป็นเกียรติของคนไทยทั้งประเทศ เพราะเรามีเทพเจ้าปกครอง และนอกจากนั้นแล้ว รัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงบำเพ็ญพระองค์เป็นนักประชาธิปไตย เป็นพระมหากษัตริย์ของประชาชน ทรงราชการมิได้ว่างเว้น ทำงานมากกว่าใครทั้งหมด สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องที่คนไทยช่วยกันระลึกถึงเพื่อเป็นกำลังใจของพวกเรา
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
รวมข่าวและหมายกำหนดการงานพระบรมศพ รัชกาลที่ 9 หลังเสด็จสวรรคต
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
ภาพและข้อมูลจาก สำนักข่าวอิศรา, เฟซบุ๊ก สถาบันคึกฤทธิ์ Kukrit Institute

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ //hilight.kapook.com/view/143915




 

Create Date : 25 ตุลาคม 2559    
Last Update : 25 ตุลาคม 2559 6:38:14 น.
Counter : 1364 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

Turtle Came to See Me
Location :
พัทลุง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]





★ที่มา ล็อกอิน ★Turtle Came to See Me ★( บทกวี Poem )
เป็นหนังสือ สำหรับเยาวชน
★Turtle Came to See Me
แต่งโดย :Margrita Engle
★★★★



BlogGang Popular Award #11

BlogGang Popular Award #12
Friends' blogs
[Add Turtle Came to See Me's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.