อัพเดทเทรนด์ เสื้อผ้าแฟชั่น ชุดเดรส เสื้อผ้าแฟชั่นราคาถูก ชุดราตรี เสื้อผ้า เสื้อผ้าเกาหลี ชุดแซก ชุดไปงานแต่งงาน ชุดไปงานแต่ง เสื้อ ชุดราตรียาว เสื้อแฟชั่น เสื้อผ้าแฟชั่นเกาหลี เสื้อผ้าราคาถูก ชุดทำงาน เดรส ชุดราตรีสั้น ชุดเพื่อนเจ้าสาว ชุดทํางาน เสื้อยืดแฟชั่น ชุดเดรสทํางาน ชุดไปทะเล เดรสออกงาน เสื้อผ้าแฟชั่นราคาส่ง เสื้อผ้าแฟชั่นขายส่ง ชุดเที่ยวทะเล ขายส่งเสื้อผ้า ชุดเดรสสวยๆ ชุดเดรสยาว ชุดทํางานสวยๆ เสื้อผ้าขายส่ง ร้านขายเสื้อผ้า ขายส่งเสื้อผ้าแฟชั่น ชุดเดรสราคาถูก ชุดออกงาน ชุดลูกไม้ ชุดเดรสน่ารัก เดรสยาว ชุดกระโปรง เสื้อผ้าราคาส่ง ชุดไปเที่ยวทะเล เสื้อผ้าแฟชั่นใหม่ๆ ขายเสื้อผ้า เสื้อผ้าแฟชั่นราคาถูกพร้อมส่ง เสื้อผ้าแฟชั่นพร้อมส่ง ชุดแซกทํางาน เดรสเกาหลี เดรสทำงาน เดรสสวยๆ เสื้อสวยๆ ร้านเสื้อผ้า ขายเสื้อผ้าแฟชั่น ชุดเดรสออกงาน ชุดเดรสสั้น เสื้อผ้าเกาหลีพร้อมส่ง เสื้อแฟชั่นเกาหลี เดรสน่ารัก ชุดเดรสทำงาน ชุดทํางานราคาถูก เสื้อทำงาน ติดตามกันที่นี่

ชื่องานแมน ๆ ทำให้ผู้หญิงดูเป็นเวิร์กกิ้งวูแมนมากกว่า

          ในสังคมการทำงานยุคปัจจุบันเช่นตอนนี้ ต้องยอมรับกันเลยทีเดียวว่าผู้หญิงได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทในตำแหน่งสำคัญ ๆ ระดับผู้บริหาร หรือในฐานะฟันเฟืองสำคัญของธุรกิจกันมากขึ้น แต่ทว่าด้วยชื่อตำแหน่งอาจทำให้ผู้หญิงทำงานเก่งเหล่านี้ถูกประเมินว่าไม่เก่ง ไม่ชำนาญงาน หรือว่าไม่แกร่งกล้าพอ หากชื่อตำแหน่งงานของเธอระบุเพศเจ้าของงานว่าเป็นผู้หญิง เช่น ใช้คำว่า chairwoman แทน chairman สำหรับตำแหน่งผู้บริหาร 

          แมกดาลีนา ฟอร์มาโนวิค นักเขียนจากมหาวิทยาลัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในกรุงวอร์ซอว์ ประเทศโปแลนด์ ร่วมกับ ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยคีล ประเทศเยอรมนี และมหาวิทยาลัยเบอร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทำการศึกษาเรื่องอิทธิพลของชื่อตำแหน่งงานที่ระบุความเป็นผู้หญิง และพบว่ามันส่งผลต่อภาพลักษณ์ของเวิร์กกิ้งวูแมนเหล่านี้ไม่น้อย เมื่อผลการสำรวจพบว่าหญิงที่ใช้ชื่อตำแหน่งซึ่งระบุความเป็นเพศหญิง (...woman) มักถูกประเมินค่าว่าด้อยกว่าผู้ที่ใช้ชื่อตำแหน่งแบบดั้งเดิม (...man) ไม่ว่าเจ้าของตำแหน่งนั้นจะเป็นผู้ชาย หรือว่าเป็นผู้หญิงเหมือนกันก็ตาม 

          ผลการสำรวจดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ในวารสารจิตวิทยาสังคมแห่งยุโรป (European Journal of Social Psychology) ซึ่งในกระบวนการสำรวจได้ทำขึ้นถึง 2 รูปแบบด้วยกัน แบบแรกได้ให้ชายและหญิงทั้งหมด 96 คน ทำหน้าที่เป็นกรรมการ (หลอก ๆ) เพื่อเฟ้นหาผู้มารับตำแหน่ง "ผู้ชำนาญการพิเศษ" โดยต้องทำการคัดเลือกจากใบสมัครของผู้สมัครหลายคนจากหลายหน้าที่การงาน ผลปรากฏว่า ผู้สมัครเข้าที่ทำงานซึ่งมีชื่อตำแหน่งงานเดิมซึ่งบ่งบอกความเป็นเพศหญิงแทบไม่ถูกหยิบขึ้นมาพิจารณาเลย 

          ส่วนในอีกการทดลองหนึ่งได้ให้ชาย 50 คน และหญิง 71 คน ทำหน้าที่เป็นกรรมการในการคัดเลือกผู้ที่จะมาเข้าทำงานกับร้านซาลอนที่มีชื่อเสียง และทำงานในห้องปฏิบัติการทดลองนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี โดยได้ให้พิจารณาจากรีซูเม่ (ปลอม) ของผู้สมัคร 3 คน ซึ่งมีทั้งผู้ชาย ผู้หญิงที่ใช้ชื่อตำแหน่งงานแบบผู้ชาย และผู้หญิงที่ใช้ชื่อตำแหน่งงานแบบระบุความเป็นหญิง ปรากฏว่า ไม่ว่าจะเป็นงานไหน กรรมการทุกคนล้วนประเมินให้ผู้สมัครหญิงที่ทำงานเดิมโดยมีชื่อตำแหน่งระบุความเป็นเพศหญิงมีความเหมาะสมต่องานที่กำลังรับสมัครอยู่นี้น้อยที่สุด แม้ว่าคุณสมบัติอื่น ๆ ของเธอจะเหมือนกับผู้สมัครอีกคนทุกประการก็ตาม 

          ฟอร์มาโนวิค อธิบายผลการสำรวจทั้งสองครั้งซึ่งออกมาในทิศทางเดียวกันนี้ว่า คนส่วนใหญ่ประเมินผู้ที่ใช้ชื่อตำแหน่งงานที่ระบุความเป็นเพศหญิงว่ามีความสามารถต่ำกว่าอยู่เสมอ เหตุผลประการแรกคือ คนจะมองว่าหญิงผู้นั้นเป็นพวกสตรีนิยม (feminist) ซึ่งขัดต่อกระแสอนุรักษนิยมเดิมที่ให้ผู้ชายเป็นใหญ่ ซึ่งเป็นค่านิยมที่ไหลอยู่ในกระแสสังคม และฝังหัวหลายคนอยู่โดยที่เจ้าตัวก็ไม่รู้ตนเอง รวมทั้งชื่อตำแหน่งซึ่งระบุความเป็นหญิงยังเป็นคำที่เพิ่งเกิดใหม่ จึงฟังดูแปลกหู และดูไม่น่าเชื่อถือเท่ากับคำเรียกชื่อตำแหน่งแบบเดิม ๆ ที่มักใส่คำว่า "...man" ลงไปนั่นเอง 

          แม้ว่าเวิร์กกิ้งวูแมนในสมัยนี้จะสามารถเลือกชื่อตำแหน่งที่ระบุความเป็นเพศหญิงลงไป เพื่อแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น แต่หากทำเช่นนั้นเธอก็ต้องยอมรับว่าอาจถูกผู้คนประเมินความสามารถว่าอ่อนด้อยกว่า ทั้ง ๆ ที่คนที่มองเช่นนั้นไม่เคยได้มาสัมผัสหรือรับรู้ศักยภาพในการทำงานที่แท้จริงของเธอเลยด้วยซ้ำ เรื่องแบบนี้ต้องมาคลุกคลีทำงานด้วยกันก่อนต่างหากจึงจะตัดสินได้ เพราะค่าของคนอยู่ที่ผลของงานหาใช่ที่ชื่อตำแหน่งสักหน่อย จริงไหมคะ ?


ที่มาของบทความ




Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2558 18:02:50 น. 0 comments
Counter : 1203 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1680837
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 65 คน [?]




[Add สมาชิกหมายเลข 1680837's blog to your web]