|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
จากกระทู้ ห้องเฉลิมไทย "ประเทศไทยจะล่มจมแบบอาร์เจนติน่าหรือไม่?"...(ภาค 3-จบซักที)
เอาละครับ ขอกลับมาต่อตอนที่ 3 เอาเป็นว่า เข้าเรื่อง การไฟฟ้า ของเราเลยละกัน (จะได้เปลี่ยนไปคุยเรื่องอื่นกันบ้างเนอะ) ... . . . ประเด็นการแปรรูป ที่รัฐบาลพยายามนำเสนออยู่ตอนนี้ คือ เรื่องของความจำเป็นในการระดมเงินทุนเพือสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ซึ่งต้องใช้งบประมาณถึง 200,000 ล้านบาท ใน 5 ปี (จากโฆษณา) โดยไม่ให้เป็นภาระกับรัฐ ... ส่วนอีกหลายกระแส ก็มีคนอ้างถึง การทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพภายในองค์กร . . . เอาเรื่องการลงทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในสายตาของ ฝ่ายที่ต่อต้านการแปรรูปก่อน ... ทางฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ยกข้อมูลมาให้ดูกันว่า กฟผ. มีทรัพย์สิน 400,000 ล้านบาท มีหนี้สินทั้งสิ้น 140,000 ล้านบาท โดยทั้งหมดเป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ เป็นหนี้ระยะยาว และ มีกำหนดการชำระหนี้ที่แน่นอน อีกทั้งเวิลด์แบงค์พร้อมที่จะเป็นผู้คำประกันเงินกู้สำหรับ การลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ จำนวน 400,000 ล้านบาทให้กับ กฟผ. โดยรัฐไม่ต้องเข้ามาค้ำเพราะมีความเชื่อถือในระบบบริหารจัดการของกฟผ. . . ตกลงเรื่องนี้จริงไหม... ถ้าจริง มีใครมาอธิบายทีว่าโครงสร้างหนี้ที่เกิดขึ้น ถ้ากฟผ.กู้โดยไม่แปรรูป กับ การที่แปรรูประดมทุน แล้วก็กู้เพิ่ม (เพราะจากราคาประเมินเริ่มต้น รัฐแจ้งว่าจะได้ประมาณ 40,000 ล้านบาท) แบบไหนดีเสีย ต่างกันอย่างไร !!! . . . เรื่องของประสิทธิภาพในองค์กร ในแง่ของการทำงานภายใน ยังไม่ค่อยเห็น ทางฝ่ายต่อต้านออกมาให้ข้อมูลเพียงพอที่จะจับเป็นประเด็นได้ (ซึ่งผมเดาว่า ไอ้อาการ "เช้าชาม-เย็นชาม" ก็คงเป็นเรื่องจริงในหลาย ๆ ส่วนงาน) แต่ที่น่าสนใจ คือ คุณภาพ ของบริการ อย่างไร ลองไปดูปัญหาที่ต่างประเทศกันครับ . ผมต้องบอกก่อนว่าข้อมูลตรงนี้ ผมไม่สามารถอ้างอิงได้ว่าเกิดเมื่อวัน เวลาไหน (แต่ยังไม่นานเกินห้าปีสิบปีหรอก) แต่พอบอกได้ว่าเคยได้อ่านได้ยินมาเป็นปีแล้ว หลง ๆ ลืม ๆ ในรายละเอียด หรือ ตัวเลขที่จำไม่ได้บ้าง โปรดอภัย . เรื่องการแปรรูปการไฟฟ้าในแคลิฟอร์เนีย โดยทางรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้มีการแปรรูปการไฟฟ้าทั้งระบบ ไปเป็นของเอกชน โดยปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้น และเป็นกรณีศึกษาให้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งโลก ก็คือ ปัญหา ระบบส่งไฟฟ้า ... . มันเป็นยังไง . ปัญหาก็คือ ระบบส่งไฟฟ้า มีปริมาณไม่เพียงพอ และคุณภาพไม่ดี ทำให้มีปัญหา ไฟดับเป็นบริเวณกว้าง หลายหน เป็นเวลานาน ทางเอกชน เจ้าของบริษัทไฟฟ้า อ้างว่า การลงทุนสายส่งต้องใช้เงินทุนสูง และไม่คุ้มที่จะลงทุนด้วยระบบสายส่งคุณภาพดี ในปริมาณที่เพียงพอ ดังนั้น... ทางแก้ขั้นต้นของปัญหา คือ . ... การแบ่งโซน กัน ใช้(ดับ) ไฟ ... (-.-") . ส่วนอีกกรณี ก็คือที่อังกฤษ ... อาจจะไม่ตรงเรื่องไฟฟ้าเท่าไหร่ แต่คงพอยกมาอ้างอิงเรื่องบริการของรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปไปแล้วได้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การแปรรูปรถไฟ ซึ่งถูกแปรรูปตั้งแต่สมัย นางมากาแรต แธทเชอร์ (เขียนถูกป่าวหว่า) ปัจจุบัน ได้มีเสียงบ่นกันมากถึงบริการที่แย่ลง จนถึงขั้นถูกกล่าวว่า เป็นระบบรถไฟที่ห่วยที่สุดที่หนึ่งในยุโรป ค่าโดยสารที่แพงขึ้น และรวมถึงสถิติการเกิดอุบัติเหตุที่ก่อความเสียหายให้กับประชาชนมากขึ้น จนถึงขั้นประชนชน 70% ของอังกฤษมีความต้องการจะให้รัฐบาลซื้อคืน... แต่... . ราคาหุ้นของรถไฟอังกฤษพุ่งสูงขึ้น... (สวนทางกับที่อ้างว่าไม่ค่อยมีกำไร) จนรัฐบาลอังกฤษ ต้องคิดหนัก ว่าจะเอาเงินที่ไหนมาซื้อคืน . . . ฟังตัวอย่าง กรณีศึกษาทั้ง 2 กรณีเห็นอะไรกันบ้างครับ ผมมองว่า เหตุแห่งปัญหา มันอยู่ที่การ"ผูกขาด" เมื่อใดก็ตามที่มีการผูกขาดจะทำให้การพัฒนาประสิทธิภาพเกิดขึ้นได้ยาก . สังเกตุจากที่อังกฤษเองเช่นกัน อังกฤษ ประสบความสำเร็จในการ แปรรูปการไฟฟ้า ทำให้ค่าไฟลดลงถึง 17% แต่ที่น่าสนใจคือ เค้าแปรรูปให้ไปแข่งกันในด้านการผลิตไฟฟ้าขาย ส่วนระบบสายส่ง รัฐยังคงเป็นเจ้าของอยู่ . มาดูในโครงสร้างที่เรากำลังจะแปรรูปกัน การแปรรูปกฟผ.ของเรานั้น จะแปรรูปในส่วนของโรงงานผลิตไฟฟ้า แต่ไม่รวมถึงเขื่อน โดยเขื่อน ปัจจุบันเป็นของกระทรวงการคลัง โดยให้ กฟผ.เช่าใน ราคาที่ถูก (ถ้าจำข้อมูลในถึงลูกถึงคนไม่ผิด เขื่อนผลิตไฟฟ้าที่เล็กที่สุด กฟผ.จ่ายค่าเช่าแค่ ปีละ สี่ หรือ ห้าล้านบาท) . ถึงแม้ว่าไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังน้ำจะเป็นส่วนน้อยกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ก็น่าสนใจในเรื่อง ค่าบำรุงรักษา และ ค่าใช้จ่ายกรณีที่เกิด ปัญหากับตัวเขื่อน อีกทั้ง หน้าที่ของเขื่อน นั้นนอกจากผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว ยังมีหน้าที่ในด้านชลประทานด้วย... แล้วนโยบายการสั่งปล่อยน้ำ... ใครจะเป็นคนดูแล ??? . . . ส่วนในแง่ของสายส่ง (อันนี้รวมถึง กฟน.และ กฟภ.ด้วย) โดยส่วนตัวนั้นผมไม่อยากให้แปรรูปส่วนนี้ เพราะเห็นชัดเจนว่าเป็นลักษณะผูกขาด ซึ่งส่วนนี้แปรรูปไป ก็ไม่สร้างการแข่งขันขึ้นในตลาด อีกทั้งมีข่าว เรื่อง สายไฟเบอร์ออปติค ที่เพิ่งให้กฟผ. เดินสายตามสายแรงสูง ไปเมื่อรัฐบาลทักษิน 1 นี้เอง (ก็รู้จะแปรรูปอยู่แล้วเดินไปทำไมฟระ) ยิ่งทำให้ข้อครหาเกี่ยวกับการแปรรูปโดยพ่วงระบบสายส่งไปด้วยยิ่งถูกเพ่งเล็ง . ดังนั้น ผมว่า ถ้าเพื่อประโยชน์จริง ๆ เราหันกลับมาทบทวนมติครม.ที่แยก สายส่งออกจากการแปรรูปไฟฟ้า(เช่นมติในสมัย นายกชวน) จะดีกว่า ถ้า... . . . คุณไม่มีอะไรลับลมคมนัยจริง ๆ . . . ###################################
ดังนั้นสรุป การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ในความคิดของผม ท่านที่อ่านตอน 1 กับ 2 มาคงคิดว่า ผมจะต่อต้านการแปรรูปอย่างแน่นอนละซี... . ผิดครับ !!! . ผมไม่ถึงขั้นต่อต้าน . แต่เชื่อว่ากรณีศึกษาต่าง ๆ ในการแปรรูปมีให้เห็นมากมาย หากเราจะต้องเดินตามเขา เพื่อประโยชน์ในการแข่งขันหรืออะไรก็ตามที ควรที่จะตอบตัวเองและประชาชนให้ได้ ถึงปัญหาที่ ๆ อื่น (หรือเราเองในกรณี ปตท.และอื่น ๆ) ประสบมา เราจะมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไรในแบบของเรา (ไม่มีสูตรไหนดีที่สุด อย่างฝรั่งเศสแปรรูปที 100% แต่ญี่ปุ่นเลือกบางอย่างแค่ 5% ) เพื่อให้ผลการแปรรูปออกมาดีและเหมาะสมที่สุด และสร้างความเจริญให้สังคมไทยอย่างยั่งยืน
####################################
ท้ายนี้เรื่อง ประเทศไทยจะเป็นอย่างอาร์เจนติน่าหรือไม่... (จริง ๆเริ่มออกนอกเรื่องตั้งแต่ตอนที่สองแล้ว... อิอิ) . ในความคิดผม . อยู่ที่ "เรา" ... "คนไทย" จะปล่อยให้มันเป็น หรือ ไม่เป็นครับ ขอบคุณครับ
Create Date : 23 พฤศจิกายน 2548 |
|
5 comments |
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2548 0:18:01 น. |
Counter : 2596 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
โดย: Joe IP: 203.154.100.35 23 พฤศจิกายน 2548 0:23:33 น. |
|
|
|
| |
โดย: แวะมาทักทาย IP: 61.91.205.187 23 พฤศจิกายน 2548 6:24:11 น. |
|
|
|
| |
โดย: รวย IP: 61.90.63.96 23 พฤศจิกายน 2548 11:34:32 น. |
|
|
|
| |
โดย: เกลอแก้ว 24 พฤศจิกายน 2548 0:25:15 น. |
|
|
|
| |
โดย: หนุ่ย IP: 202.28.38.253 16 ธันวาคม 2548 14:32:24 น. |
|
|
|
|
|
|
|
หดหู่เนอะ