ฝุ่น ฝุ่น ฝุ่น
ฝุ่นมีอยู่ทั่วไปทุกหนแห่ง ฝุ่นมีขนาดเล็กมาก และมักมองไม่เห็น นอกจากมีรวมกันมากๆ หรือเกาะตามโต๊ะ ชั้นหนังสือ ฯลฯ เด็กๆ อาจคิดว่า บริเวณที่เล่น นอน ฯลฯ และไม่เห็นฝุ่นนั้นเป็นบริเวณที่ไม่มีฝุ่น กิจกรรมต่อไปนี้ จะช่วยให้นักเรียนมองเห็นฝุ่นในที่ๆ ไม่คิดว่าจะมี และเปรียบเทียบได้ว่า บริเวณใดมีฝุ่นมากกว่ากัน ต้องใช้อะไรบ้าง 1.กระดาษแข็ง ขนาด 5cm x 8cm 6 แผ่น 2.เทปใส 3.แว่นขยาย 4.เชือกหมายเหตุ กระดาษแข็งที่ใช้นั้นอาจเป็นกระดาษกล่องรองเท้า กล่องนมก็ได้ ทำอย่างไร 1.เจาะรูกระดาษแข็ง 2 รู แล้วร้อยด้วย เชือก เขียนชื่อสถานที่ที่จะดักฝุ่น วัน และเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุด 2.ตัดเทปใสประมาณ 6 cm ติดบน กระดาษแข็งเหนือ คำว่า สถานที่ โดยหันด้านที่เหนียวออกและให้ ้ ด้านนี้ยาว 4 cm ทำเช่นนี้ 6 แผ่น 3.นำกระดาษแข็งในข้อ 2 ไปแขวนไว้ ในที่ต่างๆ เช่น เตียงนอน โต๊ะเขียน หนังสือ ที่ที่นักเรียนชอบนั่งเล่น ห้องครัว ต้นไม้ แขวนไว้ 1 วัน สังเกต บันทึกผล 4.ใช้แว่นขยายส่องดูฝุ่นที่ดักได้จากแต่ละแห่ง บันทึกผล - ที่ใดที่มีฝุ่นมากที่สุด เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น - จะเกิดอะไรขึ้นกับฝุ่นเมื่อนักเรียนสูดเข้าไป - ฝุ่นมีลักษณะอย่างไร ฝุ่นที่ดักได้มีลักษณะเหมือนกัน หรือไม่ - นักเรียนจะช่วยลดปริมาณฝุ่นลงได้อย่างไร สำหรับครู จากการทดลอง นักเรียนคงพบฝุ่นทุกแห่ง ฝุ่นที่ติดบนเทปใสคงม ีปริมาณมากน้อยแล้วแต่สถานที่ที่วาง และบริเวณที่ตั้งบ้าน ในปัจจุบัน อากาศที่เราสูดเข้าไปมีฝุ่นปะปนมากมายทั้งฝุ่นที่มี ขนาดเล็กมากจนถึงขนาดใหญ่ การสูดฝุ่นเข้าสู่ร่างกายอยู่เสมอ จะมี ีผลเสียต่อระบบทางเดินลมหายใจ การลดปริมาณของฝุ่นนั้นอาจทำได้ ดังนี้ 1. หมั่นทำความสะอาดและเช็ดฝุ่นออกจากเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น โต๊ะ ตู้ เก้าอี้ ชั้นหนังสือ 2. ปลูกต้นไม้ไว้มากๆ 3. ถ้ามีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ใกล้และปล่อยฝุ่นออกสู่บรรยากาศ มากๆ ควรแจ้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อหาวิธีการในการลด ปริมาณฝุ่นที่ปล่อยออกลง 4.ลดการใช้ยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง เช่น รถจักรยานยนต์ เป็นต้น ฯลฯ