Thermite to Gansizer
Thermite to Gansizer Thermiteชื่อเรียกระเบิดของผสมซึ่งจัดอยู่ในจำพวกไพโรเทคนิคปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะสร้างเปลวไฟและพลังความร้อนสูงอย่างฉับพลัน องค์ประกอบของ Thermite ประกอบด้วยสารออกซิไดเซอร์ที่ให้ความร้อนสูงและผงโลหะเนื่องจาก Thermite สามารถให้พลังงานความร้อนสูงได้ในระยะเวลาอันสั้นจึงนิยมประยุกต์ใช้ Thermiteเป็นตัวจุดหรือเป็นสารเพิ่มพลังงานความร้อน นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์นำ Thermite ไปทำเป็นวัตถุระเบิดที่อาศัยแรงระเบิดจากการแรงดันที่เรียกว่า Gansizer การระเบิดวิธีนี้จะมีความปลอดภัยกว่าแรงระเบิดจากปฏิกิริยาของตัวระเบิดโดยตรงเพราะหากระเบิดในพื้นที่เปิดโล่งจะไม่มีShock Wave และการระเบิดจะกำจัดอยู่เฉพาะจุดเท่านั้น รูป Gansizer(//www.hodumi.co.jp/members/list/materials/break_2.html) Gansizer เป็นวัตถุระเบิดที่มีส่วนผสมของ Thermite นิยมใช้ระเบิดหินหรือคอนกรีตซึ่งเป็นวัสดุที่มีกำลังแรงดึงต่ำหลักการสร้างแรงระเบิดเขียนเป็นลำดับได้ดังนี้ 1) พลังความร้อนจากThermite 2) ปริมาตรที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเปลี่ยนสถานะ(สร้างไอแรงดัน) 3) เกิดแรงดันสูงในพื้นที่จำกัด 4) แรงดันสูงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการระเบิด หลักการทำลาย สร้างพื้นที่จำกัดเป็นวงกลมไอแรงดันที่สร้างขึ้นจะกระทำกับผนังวงกลมเกิดเป็นความเค้นอัด (Compressive Stress) ในแนวตั้งฉากกับเส้นสัมผัสวงกลมขณะเดียวกันก็จะเกิดความเค้นดึง (TensileStress) เกิดขึ้นตั้งฉากกับแนวความเค้นอัดด้วย ซึ่งค่าความเค้นดึงนี้มีค่าสูงเกินกำลังแรงดึงของวัสดุที่ทนได้แล้วจะทำให้วัสดุเกิดการปริแยกและถึงจุดวิบัติในที่สุด  รูปทิศทางแรงกระทำต่อวัสดุจากแรงไอระเบิด เมื่อใช้ระเบิดที่สร้างแรงไอระเบิดในพื้นที่จำกัดจะเกิดแรงดันขนาด1,500 ถึง 3,000kgf/cm2 ทำให้สามารถทำลายคอนกรีต ก้อนหินหรือชั้นหินที่มีกำลังแรงดึงอยู่ในช่วง20 ถึง 180 kgf/cm2 ได้ กลไกการทำลาย (Sakano,Technical Gr., YAMAZAKI Construction Co., Ltd)
กลไกการทำลายวัสดุแข็งแต่เปราะตามวิธีระเบิดทำลายนั้นมีทั้งแบบ Dynamic Damage จากแรงอัดปะทะระหว่างการระเบิดและแบบ Semi-Static Damage จากแรงอัดแก๊สหลังการระเบิดนอกจากนี้การควบคุมการระเบิดทำลายโดยใช้ Decoupling Effect ที่มาจากการสร้างAir Gap นั้น จะช่วยปรับแรงทำลายจาก Dynamicให้เป็น Semi-Static มากขึ้นกรณีดังกล่าวคือการระเบิดทำลายที่ใช้แรงดันสร้างผลเสียหายแบบ Semi-Staticเป็นหลัก
กลไกการทำลายแบบ Semi-Staticนั้น อาศัยแรงดันแก๊สที่เกิดจากไอระเบิดเป็นการทำลายด้วยแรงดึงเป็นหลักเมื่อวัสดุที่จะทำลายเกิดปริแยกจาก Tensile Failure แล้วแก๊สจะแทรกไปตามช่วงว่างดังกล่าวแล้วทำให้เกิดความเค้นดึงลุกลามไปเรื่อย ๆจนเกิดการพังทลายอย่างสมบูรณ์
ในรูระเบิดเมื่อมีแรงดันกระทำกับผนังต่อช่วงเวลาเป็นแบบSemi-Static แล้ว จะเกิดความเค้นแปรผกผันกับระยะทางที่แรงดันไปถึงวัสดุที่ต้องการทำลายความเค้นนี้เมื่อมีค่าสูงเกินกำลังแรงดึงของวัสดุจะเริ่มเกิด TensileFailure ทำให้ปริแยกและแรงดันแก๊สจะแทรกดันในช่องว่างดังกล่าวให้ขยายไปจนเกิดการวิบัติในที่สุด ตัวอย่างการระเบิดด้วย Gansizer (นาทีที่ 4:12 ) https://www.youtube.com/watch?v=VomHYfG1H78
Create Date : 13 มกราคม 2556 | | |
Last Update : 24 พฤษภาคม 2556 19:36:25 น. |
Counter : 1938 Pageviews. |
| |
|
|
|