|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
การซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า
การซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้ามีหลักการสำคัญที่ควรพิจารณา ดังนี้ 1. เลือกใช้วิธีการซ่อมแซมและดัดแปลงให้เหมาะสม เสื้อผ้าที่ชำรุดเป็นรอยขาด อาจจะถูกหนามเกี่ยวขาดเป็นรูปปากฉลาม ถูกเตารีดร้อนจัดเป็นรอยไหม้ ก่อนที่เราจะซ่อมแซมรอยขาดเหล่านี้จะต้องตัดรอยขาดนั้นทิ้ง แล้วเปลี่ยนผ้าใหม่เข้าไปแทน เป็นการดัดแปลงแบบใหม่ก็ได้ ทั้งนี้ควรดูตำแหน่งที่ขาดประกอบการพิจารณาด้วย 2. ออกแบบให้เหมาะสมกับวัยของผู้ใช้ การ นำเสื้อผ้าเก่าหรือเสื้อผ้าชำรุดมาดัดแปลง ควรคำนึงถึงวัยของผู้สวมใส่ด้วย เช่น เสื้อผ้าผู้ใหญ่ จากเดิมเป็นเสื้อคอกลมแขนสั้นธรรมดา เมื่อนำมาดัดแปลงเป็นเสื้อผ้าสำหรับเด็กก็ควรติดลูกไม้ จีบ ระบาย เปลี่ยนแขนทรงกระบอกเป็นแขนพอง ทำโบติดที่คอเสื้อ หรือผูกเอว จะช่วยให้แลดูเหมาะสมกับวัยเด็กมากขึ้น 3. เลือกใช้อุปกรณ์ตกแต่งให้เหมาะกับเนื้อผ้า ก่อน ที่จะซ่อมแซมหรือดัดแปลงเสื้อผ้า ควรเลือกหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้เหมาะกับเนื้อผ้าที่ชำรุด เพื่อให้ส่วนที่ซ่อมแซมหรือดัดแปลงขึ้นใหม่มีสภาพกลมกลืนกับเสื้อผ้าตัวเดิม มากที่สุด เช่น เลือกกระดุม สีและแบบเดียวกับเม็ดเดิมที่หลุดหายไป ใช้ด้ายสีเดียวกันกับผ้าที่จะซ่อม ใช้เศษผ้าที่มีเส้นใยชนิดเดียวกันมาปะกับรอยผ้าที่ขาด เป็นต้น 4. เตรียมเครื่องมือให้พร้อม เครื่องมือที่ ใช้ในการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า เช่น เข็ม ด้าย จักร กรรไกร ควรเตรียมไว้ให้พร้อม ตรวจดูให้อยู่ในสภาพดี ใช้งานได้ นำไปจัดวางไว้ใกล้บริเวณที่จะปฏิบัติงาน เพื่อให้หยิบใช้ได้สะดวก และช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น 5. คำนึงถึงความคุ้มค่า สิ่งสำคัญที่ควรจะนำมาพิจารณาก่อนที่จะซ่อมแซมหรือดัดแปลงเสื้อผ้า คือ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการซ่อมแซมดัดแปลงเสื้อผ้าชิ้นนั้น ๆ คุ้มค่ากับเวลา เงิน แรงงาน ที่ต้องเสียไปหรือไม่ ถ้านำเสื้อผ้าที่ซ่อมแล้วไปใส่เพียงครั้งเดียวแล้วเลิกใช้ ก็ไม่คุ้มค่า แต่ถ้านำไปใส่อีกนานนับปีถือว่าเป็นการคุ้มค่า นอกจากนี้ยังควรนำสิ่งตกแต่งเสื้อผ้าที่มีอยู่แล้วมาใช้ ไม่ควรซื้อสิ่งใหม่ที่มีราคาแพงก็จะช่วยประหยัดได้อีกทางหนึ่ง การซ่อมแซมตะเข็บเสื้อผ้าด้านข้าง
ตะเข็บเสื้อผ้าด้านข้างที่เนื้อผ้าขาดหายไปจะปรากฏบ่อยมากกับนักเรียนที่สวมเสื้อผ้าชุดที่ใช้ในการเรียนวิชาพลานามัย ซึ่งส่วนใหญ่เสื้อลักษณะนี้ จะออกแบบผ้าด้านข้าง เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนไหว จึงทำให้เสื้อส่วนที่ผ่ามีโอกาสชำรุดได้มาก ซึ่งถ้ามีความรู้ ความเข้าใจและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อเสื้อตัวใหม่ และได้ผลงานที่สวยงามประณีต ๑.) อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน ๑. ด้ายสีเดียวกับผ้าหรือใกล้เคียงกับผ้า ๒. กรรไกรตัดผ้า ๓. เข็มหมุด ๔. ที่เลาะด้าย ๕. ด้ายเนา ๖. เศษผ้าสีใกล้เคียงกับสีเสื้อให้มีขนาดใหญ่กว่ารอยขาด ๗. จักรเย็บผ้าในกรณีที่ซ่อมแซมด้วยจักร ๒.) ขั้นตอนการปฏิบัติ ๑. เย็บปะด้านในตรงส่วนที่เสื้อผ้าขาดหายไปเหมือนกับการซ่อมแซมกระเป๋าเสื้อที่ขาดหายไป ๒. กลัดเข็มหมุดเพื่อยึดผ้า และเนาผ้าให้ติดกันและเย็บตะเข็บตามรอยเย็บเดิมหรือรอยเนา ๓. รีดแบะตะเข็บและเนาด้านในตามแนวพับเดิม ๔. เย็บรอยพับตามแนวรอยเย็บเดิม ๕. เลาะด้ายเนาออกและรีดให้เรียบ การเปลี่ยนยางยืด
ยางยืด มีขายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดเป็นเมตรหรือแผง ใช้เย็บสอยเข้าไปในขอบแขน ขอบขา ขอบเอวกางเกง หรือในส่วนของเสื้อผ้าที่ต้องการ ยางยืดมีหลายขนาดตั้งแต่เส้นกลมเหมือนลวดจนถึงแผ่นกว่างเป็นนิ้ว มีหน้าที่ใช้สอยต่างๆ กันและมีความแข็งแรงต่างกัน ถ้าเส้นเล็กจะมีกำลังยืดน้อย ถ้าเส้นใหญ่มีกำลังยืดมากและให้ได้ทนทานกว่าในการเปลี่ยนยางยืดที่ชำรุดควรเลือกยางที่มีขนาดเท่าเดิมการเปลี่ยนยางยืดมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้ ๑. เลาะรอยเย็บที่ของกางเกงออกประมาณ ๓ นิ้ว ๒. ติดยางยืดเส้นใหม่ยาวเท่ากับรอบเอวลบ ๓ นิ้ว ๓. ตัดยางยืดเก่าให้ขาด เลาะและดึงออก ๔. สอดยางยืดใหม่เข้าไป และเย็บปลายให้ติดกันด้วยจักรหรือด้นถอยหลังถี่ๆ ให้แน่น ๕. เนารอยเลาะที่ขอบกางเกงให้เรียบร้อย เย็บด้วยจักรหรือด้นถอยหลังด้วยมือ
Free TextEditor
Create Date : 01 ธันวาคม 2553 |
|
0 comments |
Last Update : 1 ธันวาคม 2553 16:52:33 น. |
Counter : 25512 Pageviews. |
|
 |
|
|
|
|
|
|