Either's Blog: Everything Beyond.

EITHER
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เว็บไซต์ของผม
ขายกล้องฟิล์ม กล้องโลโม่ เลนส์มือหมุน
www.foto-analog.com
www.facebook.com/FotoAnalog
ขายของแต่งรถ กรอบป้ายทะเบียน โลโก้ แตร
www.eautorace.com
www.eautoraceshop.com
Gallery ภาพ รับถ่ายรูปงานต่างๆ สินค้า อาหาร
http://either.multiply.com
รวมพลคนรัก Chevrolet
http://www.thaichevyclub.com


------------
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add EITHER's blog to your web]
Links
 

 

มารู้จักชัตเตอร์กล้องฟิล์มกันดีกว่า




ถึงจะจั่วหัวว่า "มารู้จักชัตเตอร์กล้องฟิล์มกันดีกว่า" ก็จริงครับ แต่ว่าจะพูดเฉพาะชัตเตอร์แบบ Leaf Shutter ในกล้องฟิล์มประเภท Viewfinder / Rangefinder เท่านั้นล่ะครับ แล้วก็แบบคร่าวๆ เฉพาะทางฝั่งยุโรปเท่านั้น  เพราะผมรู้แค่นั้นแหล่ะ 555+

ชัตเตอร์ในกล้อง มีหลายแบบครับ แต่เอาหลักๆ ในสมัยก่อน ก็มีชัตเตอร์อยู่ 2 แบบ คือ แบบ Leaf shutter และ Focal Plane


แบบ Focal Plane ที่เห็นใช้กันมาก ก็ในกล้องแบบ SLR (Single Lens Reflect) จะม่านชัตเตอร์แบบแผ่นวางเรียงกันมีทั้งแบบโลหะ ผ้า และพลาสติก
ส่วนแบบ Leaf Shutter จะใช้กันมาก่อนหน้านั้นนานแล้ว พัฒนามาตั้งแต่กล้องแบบ
Folding และ Box มายังเป็นกล้อง Viewfinder และ Rangefinder


ลักษณะการทำงานก็ตามรูปครับ





ในสมัยก่อนบริษัทผลิตกล้องเอง ก็มักไม่ได้ผลิตชัตเตอร์ หรือเลนส์เอง แต่จะให้บริษัทที่ทำเฉพาะทำขึ้น แล้วก็นำมาใช้ในกล้อง (ที่จริงสมัยนี้ เจ้าของแบรนด์ก็ไม่ได้ทำเองเหมือนกัน แต่ชื่อของ บ. supplier ไม่ได้ออกหน้ามาให้เรารู้จัก)


สำหรับชัตเตอร์ที่สมัยก่อนใช้กันจะมี Compur, Prontor, Vario, Vero สำหรับในฝั่งยุโรป  ส่วนฝั่งญี่ปุ่นจะมี Copal และ Seikosha แต่ผมไม่สันทัดกล้องทางญี่ปุ่น เลยขอเสนอข้อมูลเฉพาะฝั่งยุโรปแล้วกันครับ



ถ้าสังเกตกล้องทางยุโรปอย่าง Kodak, Agfa, Voigtlander
ที่หน้าเลนส์จะมีรุ่นของชัตเตอร์เขียนอยู่ ไม่ว่าจะ Prontor, Compur หรือ
Vario ชื่ออาจจะคุ้นๆ กันบ้าง  เดี๋ยวจะพยายามไล่เรียงเท่าที่หาข้อมูลได้นะครับ


Prontor,Vero และ Vario เป็นของบริษัท Gauthier ของเยอรมัน ส่วน Compur เป็นของบ. F. Deckel ของเยอรมันเช่นกัน



ชัตเตอร์ของ Prontor มีรุ่นดังนี้ครับ (เฉพาะที่เจอบ่อยๆนะครับ)


Prontor - มีความเร็วชัตเตอร์ 1/30, 1/60, 1/125, 1/250,B และ self-timer



Prontor SV - เป็นชัตเตอร์ที่มีโหมด M/X (X = Synchronization) มีความเร็วชัตเตอร์ 1/1, 1/2, 1/5, 1/10, 1/25, 1/50, 1/100, 1/250, B (หรือ 1/300 แทน 1/250 ในบางรุ่น)



Prontor SVS - มีโหมด M/X และเพิ่ม Self-timer ขึ้นมา ความเร็วชัตเตอร์สูงสุด 1/300 และ 1/500 กล้องที่ใช้ชัตเตอร์นี้ ก็เช่น Zeiss Ikon Contina, Voigtlander Vito B, Agfa Silette



Prontor 125 - มีความเร็วสูงสุดที่ 1/125 ความเร็วชัตเตอร์มี 1/30, 1/60, 1/125, B ส่วนใหญ่เป็นกล้องรุ่นต่ำ หรือรุ่นประหยัด กล้องที่ใช้ชัตเตอร์นี้ ก็เช่น Voigtlander Vitoret, Agfa Silette I, Agfa Silette F



Prontor 300 - มีความเร็วสูงสุด 1/300 บางรุ่นมี s ต่อท้าย เป็น Prontor 300 S น่าจะหมายถึง มี self-timer กล้องที่ใช้ชัตเตอร์นี้ ก็เช่น Voigtlander Vito B, Kodak Retinette IA



Prontor 300 LK, 500 LK, 1000 LK - เป็นชัตเตอร์ที่มี ระบบวัดแสงแบบ Couple Exposure (คือปรับตั้งค่าแล้ว เข็มวัดแสงจะเปลี่ยนตาม)


มี ความเร็วสูงสุด 1/300, 1/500 และ 1/1000 ตามชื่อรุ่น
กล้องที่ใช้ชัตเตอร์นี้ ก็เช่น Voigtlander Vito CL, Voigtlander Vitessa 500s, Kodak Retinette IB



นอกจากนี้ ยังมีชัตเตอร์ Prontor อีกหลายรุ่น และกล้องรุ่นเดียวกัน บางทีก็ใช้ชัตเตอร์คนละตัว ค่อนข้างหลากหลาย









Vario - มีความเร็วชัตเตอร์ 1/25, 1/50, 1/200, B กล้องที่ใช้ชัตเตอร์นี้ ก็เช่น Agfa Silette, Ilford Sportman





Vero - มีความเร็วชัตเตอร์ 1/30, 1/60,1/125, 1/250, B กล้องที่ใช้ชัตเตอร์นี้ ก็เช่น Kodak Retinette IA, Zeiss Ikon Nettar





Compur ชัตเตอร์ตัวนี้เฉพาะที่ผมเห็นมีอยู่ 3 รุ่นครับ (อาจจะมีมากกว่านี้นะครับ)



Compur กับ Synchro Compur เห็นในกล้องรุ่นเก่าๆ แบบ Folding Camera  และมีรุ่นย่อยหลายรุ่น ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดไม่เท่ากัน


แต่จะเริ่มที่ 1/1 เหมือนกัน ไล่ไปจน 1/300 หรือ 1/500







Compur-Rapid - มีความเร็วชัตเตอร์ 10 speed สูงสุดที่ 1/500 ความเร็วชัตเตอร์ 1/1, 1/2, 1/4, 1/8, 1/15, 1/30, 1/60, 1/125, 1/250, 1/500, B


กล้องที่ใช้ชัตเตอร์นี้ ก็เช่น Kodak Retinette I (type 030), Kodak Retina II





Parator -
ตัวนี้คิดว่าเป็นชัตเตอร์ของ Agfa ครับ เพราะเห็นใช้อยู่ยี่ห้อเดียว
ใช้ในรุ่น Agfa Silette LK Sensor, Agfa Agfamatic Sensor และในรุ่น Agfa
ที่ใช้ฟิล์ม 126  มีความเร็วชัตเตอร์ ในรุ่น Agfa Silette LK ที่ 1/30,
1/60, 1/125, 1/300, B






ขอคร่าวๆ เพียงเท่านี้ก่อนแล้วกันครับ  รุ่นของชัตเตอร์มันเยอะเหมือนกันครับ





ขออภัยครับ ลืม save ที่มาของภาพต่างๆ


 All Right Reserved by Foto Analog






Free TextEditor




 

Create Date : 03 กันยายน 2554    
Last Update : 3 กันยายน 2554 14:28:38 น.
Counter : 4050 Pageviews.  

กล้องฟิล์มสะสม :: My Vintage Camera Collection

เอากล้องฟิล์มเก่าๆ ที่ผมสะสมอยู่มาให้ดูกันครับ  ไม่ใช่กล้องที่มีราคาอะไรมากมาย แค่เป็นกล้องที่ผมถูกใจหน้าตาเท่านั้น ก็ซื้อมาสะสมไว้


เลยเอาแบ่งให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ได้ดูกัน เผื่อได้แลกเปลี่ยนกันบ้างครับ



PRAKTICA L-Series


เริ่มจากกล้อง SLR สัญชาติเยอรมัน PRAKTICA ผมมีแต่ L-Series  อยากได้ตระกูล Nova, Praktina, Pentacon เหมือนกัน แต่ยังไม่มีโอกาส


 ตอนนี้ผมมี รุ่น PLC3, MTL3, MTL50, MTL 5B, LLC, L และ EE


Praktica LLC เป็นกล้องรุ่นแรกของโลกที่มีระบบ electronic เชื่อมต่อระหว่างกล้อง และเลนส์














mamiya/sekor 1000TL (1966)


 กล้อง SLR อีกตัวที่มีอยู่ คือ mamiya/sekor 1000TL เป็นกล้อง SLR ที่วัดแสงแบบ TTL รุ่นแรกของ Mamiya Mount M42  ที่จริงอยากได้ตัว 1000DTL  แต่แพงกว่าและหายากกว่าหน่อยนึง






Nikon L35 AF (1983)


ต่อมาเป็นกล้อง Compact Rangefinder Nikon L35 AF  กล้องรุ่นเป็นกล้องที่ที่บ้านผมใช้มาตั้งแต่ผมเกิดก็ว่าได้ แต่ตัวนั้นหายไปแล้วพร้อมกับตอนที่ขโมยขึ้นบ้าน เสียดายมาก  เลยไปหามาใหม่จากอีเบย์  เสียดายว่าตัวที่ได้มาเป็นบอดี้พลาสติกแล้ว ไม่ใช่โลหะ เหมือนตัวที่หายไป  แล้วมารู้ทีหลังว่า นี่คือกล้อง Compact ที่ Auto Focus ได้รุ่นแรกของ Nikon






 ตัวนี้เป็นกล้องที่ผมตั้งใจเอามาไว้เล่นโลโม่ Vivitar PN2011 หายากเหมือนกันนะ แถมราคาก็ไม่ถูกเหมือนความกิ๊กก๊อกของมัน







Ricoh 300 S (1960)


ต่อมาเป็นกล้องเก่าตัวแรกๆ ของผมที่ซื้อมาเก็บไว้ คือ Ricoh 300 S  เป็นกล้อง Rangefinder ครับ และทำให้ผมเริ่มรู้สึกดีกับกล้องยี่ห้อนี้หลังจากค่อยๆ มาข้อมูล  กล้อง Ricoh ในตลาดอีเบย์ ส่วนใหญ่ราคาสูง ยกเว้นตระกูล 500G กับอีกบางรุ่น ที่ราคาไม่แพง  ส่วนตัวนี้ผมได้มาถูกๆ ต้องส่งให้เพื่อนที่ UK ก่อน แล้วส่งมาให้ผมอีกที  Ricoh 300 S เป็นกล้อง Rangefinder ไม่มีวัดแสง ใช้เลนส์ Riken 1:2.8/45 mm. ความไวชัตเตอร์ 1/4-1/300 + B







Ricoh Auto Shot (1964)


Ricoh ตัวต่อมา คือ Ricoh Auto Shot  เป็นกล้อง Compact Viewfinder ที่มีระบบออโต้ แบบ Shutter Priority ที่กล้องจะปรับขนาดรูรับแสงให้อัตโนมัติ เลนส์ Rikenon 1:2.8/35 mm. ความไวชัตเตอร์ 1/30 - 1/125 + B  ส่วนที่แปลกคือ ขึ้นฟิล์มด้วย Spring Motor ก็คือไขลาดนั่นแหล่ะครับ ถ่ายเสร็จมันจะหมุนฟิล์มให้อัตโนมัติ


   ที่่จริงตอนเขียนนี้ ได้ Ricoh Auto 35 และ Ricoh 35 FM มาเพิ่มแล้ว แต่ยังมาไม่ถึง มาเมื่อไหร่จะเอารูปมาลง








Kodak ColorSnap 35 Model 2 (1964)


ช่วงนั้นอยากได้กล้องประเภทนี้ เห็นตัวนี้ราคาไม่แพง เลยลองซื้อมาดูครับ ใช้งานยากๆ มึนเหมือนกัน เพราะไม่มีวัดแสง แถมปรับค่าโดย Exposure Guide  เลยใช้ Sunny 16 ไม่ได้  กล้องตัวนี้เลนส์ Anaston 1:3.9/43.9 mm. ปรับรูรับแสงได้ ตาม EV Scale ตั้งแต่ 9.5 - 15.5 EV ตาม Exposure Guide ความไวชัตเตอร์คงที่ ไม่มีชัตเตอร์ B แต่ถ่าย Double Exposure ได้





Kodak Duaflex IV (1957)


 กล้อง Kodak ตัวต่อมา เป็นกล้องโบราณครับ ใจอยากได้ TRL แท้ๆ  แต่ราคาก็แพงครับ เลยได้ TRL ราคาถูกมาแทน คือ Kodak Duaflex IV แถมใช้ฟิล์ม 620 ที่เลิกผลิตไปนานแล้ว  ก็เลยต้องเอาฟิล์ม 120 มาแปลงใช้แทน ตัวนี้เป็นเลนส์ Kodar 75 mm ปรับรูรับแสงได้ 3 Stop คือ f/8, f/11 และ f/16 ชัตเตอร์คงที่ แต่มีชัตเตอร์ B ถ่าย Double Exposure ได้ด้วย  Duaflex ที่ใช้เลนส์ Kodar จะหายากกว่า เพราะปรับ f ได้ และ focus ได้ด้วย  ทั่วไปที่ขายจะเป็นเลนส์ Kodet ที่ fixed focus และ รูรับแสง ตอนซื้อไม่รู้หรอกครับ มารู้ตอนหลัง ฟลุ้คสุดๆ  แต่กล้องตัวนี้ชอบมากๆ เลยครับ







Kodak Retinette Type 030 (1958)


เป็นกล้อง Viewfinder ได้มาสภาพดีมาก ที่จริงกล้อง Retinette เป็นกล้องระดับกลางถึงล่างของ Kodak สมัยนั้น (ตัวแพงคือ Retina) ตระกูล Retinette มีมากมายเป็น 30-40 models นี่เป็น 1 ในนั้นครับ  ใช้เลนส์ Schneider Kreuznach Reomar 1:3.5/45 mm. เป็น 1 ในไม่กี่รุ่นของ Retinette ที่ใช้เลนส์ Schneider ส่วนชัตเตอร์เป็นของ Compur-Rapid ก็มีแค่ไม่กี่รุ่นที่ใช้ชัตเตอร์นี้  จุดเด่น คือ ชัตเตอร์ละเอียดถึง 10 speed ตั้งแต่ 1/1-1/500 ซึ่งเมื่อก่อน ไม่ค่อยมี และมีชัตเตอร์ B กับ Self-timer อีกด้วย  ที่จริงตามคู่มือว่า ถ่ายเบิ้ลได้ แต่ของผมเสียครับ






Kodak Brownie (1980)


เป็นกล้องใช้ฟิล์ม 110 เป็นกล้องฟิล์ม 110 ไม่กี่รุ่นของ Kodak ที่มีลักษณะแบบนี้ ใช้เลนส์ขนาก 25 mm f/11 ความไวชัตเตอร์ 1/50







Kodak Instamatic 76x (1977)


เป็นกล้องฟิล์ม 126 ที่เลิกผลิตไปแล้ว ตัวนี้ได้มาในไทยครับ ไม่แพง แต่ดูเหมือนจะเจ๊งนะ เลนส์ Kodar 1:11/43 mm. ความไวชัตเตอร์ 1/50 ได้รูปแบบ Square Format 28 x 28 mm.


  นอกจาก Kodak ทั้ง 4 รุ่นนี้แล้ว  ยังมี Kodak Brownie Six-20 Model C
(1953) เป็นกล้องประเภท Box กำลังเดินทางมาขณะนี้อยู่ด้วยครับ ใช้ฟิล์ม 620
เช่นเคย





Agfa Silette LK Sensor (1970)


ล้อง Viewfinder จาก Agfa ตระกูล Silette กล้องระดับกลางถึงล่างเช่นกัน ตัวนี้ใช้เลนส์ Color Agnar 1:2.8/45 mm. ชัตเตอร์ของ Parator ความไว 1-1/300 และชัตเตอร์ B  ปุ่มชัตเตอร์แบบ Sensor ของ Agfa ที่ถือว่าเป็นชัตเตอร์สัมผัสในยุคนั้น ที่ทำเพื่อลดการสั่นการการกดชัตเตอร์  มีมิเตอร์วัดแสงด้านบน ที่เข็มจะสัมพันธ์กับ รูรับแสง และความไวชัตเตอร์  แต่เสียดายกล้องตัวนี้ของผมชัตเตอร์ไม่ค่อยดี ขึ้นไม่ค่อยติด






Agfamatic 2008 Tele Pocket Sensor (1973)


กล้องฟิล์ม 110 ที่สามารถปรับเลนส์ถ่าย Normal กับ Tele ได้ ใช้เลนส์ Color Agnar ระยะ 26 และ 43 mm.  f/11  ปรับชัตเตอร์ ได้ 2 speed 1/50 และ 1/100 (Cloudy-Sunny)







Agfamatic 3000 Pocket Sensor (1974)


กล้องฟิล์ม 110 ใช้เลนส์ Color Agnar 1:6.3/26 mm.  ปรับชัตเตอร์ ได้ 4 speed Cloudy-Hazy-Sunny-Sunny&Sea


  แล้วก็ที่กำลังเดินทางมาขณะเขียนนี้ มี Agfamatic 6008 Makro Pocket เป็นรุ่นแพงสุดของตระกูล Agfamatic Pocket ที่สามารถถ่ายระยะ Macro ได้  และกำลังลุ้นรุ่น 4008 อยู่ด้วย


   อ้อ แล้วก็มี Agfa Silette F ที่อยู่ระหว่างเดินทางมาด้วยครับ






Minolta Hi-Matic 11 Super 3 Circuit (1969)


กล้อง Rangefinder ที่เป็นกล้อง Automatic แบบ Shutter Priority กล้องจะปรับรูรับแสงให้  และมีระบบ Full Auto ด้วย  ใช้เลนส์ Rokkor 1:1.7/45 mm.  ชัตเตอร์ของ Seiko ALA ความไว 1/8 - 1/500 และชัตเตอร์ B กับ Self-timer  ข้อเสียของรุ่นนี้และทำให้ไม่เป็นที่นิยมเหมือนกับ Hi-Matic 7, 7s และ 9 คือ ไม่มีระบบ Manual พอวัดแสงเสีย ก็ใช้งานแทบไม่ได้  ตัวของผมก็เช่นกันครับ ชัตเตอร์ยังทำงานดีอยู่ แต่วัดแสงเสีย รูรับแสงจะค้างอยู่ที่ f/1.7 ตลอด รอเอาไปซ่อมครับ







Minolta Weathermatic-A (1980)


กล้องฟิล์ม 110 กันน้ำในตัวเลย ไม่ต้องใส่ Housing ดำน้ำได้ลึก 5 เมตร มีแฟลชในตัว ใช้ถ่าย AA -1 ก้อน ใช้เลนส์ Rokkor 1:3.5/26 mm. ความไวชัตเตอร์คงที่ 1/200 แต่สามารถปรับรูรับแสงได้ 3 แบบ คือ Sun, Cloud, Flash สามารถโฟกัสได้ 5 ระยะ ตามสัญลักษณ์บนกล้อง





นี่ก็เป็นกล้องทั้งหมดที่ผมเริ่มสะสมมาจนถึงตอนนี้น่ะครับ  ใครมีกล้องเก่าๆ สะสมอยู่ ก็พูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้ครับ









 

Create Date : 03 มิถุนายน 2554    
Last Update : 4 มิถุนายน 2554 8:36:57 น.
Counter : 9728 Pageviews.  

มารู้จักกับฟิล์มถ่ายภาพขนาดต่างๆ กันดีกว่าครับ



ช่วงนี้ได้นั่งดูกล้อง
ฟิล์มเก่าๆ หลายรุ่น เลยเห็นว่าเมื่อก่อนมีฟิล์มขนาดต่างๆ แบบต่างๆ มากมาย
เลยพยายามรวบรวมเท่าที่พอจะรู้ พอจะหาได้ นำข้อมูล และรูปเล็กๆ น้อยๆ
มาให้ดูกันครับ อาจจะไม่ได้ครบถ้วนทั้งหมดนะครับ  เท่าที่ผมเจอแล้วกัน 
และในนี้จะไม่เขียนถึงรายละเอียดของฟิล์มแบบต่างๆ เช่น ฟิล์มเนกาทีฟ สไลด์
อะไรเป็นอย่างไรนะครับ  ว่ากันด้วยขนาดของฟิล์มที่จับลงไปในกล้องแบบต่างๆ
เท่านั้น



1. 135 film หรือฟิล์ม 35 mm 
ฟิล์มนี้คงรู้จักกันดีแพร่หลายมาจนปัจจุบัน คิดค้นโดย Kodak เมื่อปี 1934
ฟิล์มชนิดนี้เป็น Roll Film อยู่ในกลักเพื่อกันแสง ได้รูปขนาด 36x24 mm ใน
Full Frame ส่วน Half Frame อยู่ที่ 18x24 mm. ความยาวมาตรฐานคือ 36 รูป
ใช้กับกล้องหลายประเภททั้ง SLR, Rangefinder, Viewfinder, Compact  
ปัจจุบันก็ยังผลิตอยู่ครับ 


พบเห็นได้ง่าย รูปเดียวพอครับ






2. Rapid film เป็น
ฟิล์มที่คิดค้นโดย Agfa เมื่อปี 1964 ใช้ขนาดฟิล์ม 35 mm.
แต่จะใส่อยู่ในกลักโลหะ (Metal Cassettes)  ฟิล์มมีขนาดรูป 24x24 mm
และมีความยาวที่ 12 รูป โดยใช้กับกล้องประเภท Rapid ที่คิดค้นโดย Agfa
แต่ก็มีกล้องบางยี่ห้อใช้ film ประเภทนี้เช่นกัน เช่น Agfa Optima Rapid,
Agfa Iso Rapid, Minolta 24 rapid, Canon Demi Rapid, Voigtlander Vitoret
Rapid D เป็นต้น ฟิล์ม Rapid จะมีข้อดีกว่าฟิล์ม 35 mm
ตรงการโหลดฟิล์มที่ทำได้ง่ายกว่า เพราะไม่ต้องมี Take-up spool 
แต่จะต้องมีกลัก หรือ cassettes ทั้ง 2 ฝั่ง
ฟิล์มจะเลื่อนจากฝั่งที่มีฟิล์มไปยังฝั่งที่เป็น cassettes เปล่า
ปัจจุบันฟิล์ม rapid เลิกผลิตไปแล้ว แต่มีบางคนนำฟิล์ม 35 mm. มาโหลดใส่
cassettes เองแล้วมาถ่ายได้  ดังนั้นใครจะซื้อกล้องประเภทนี้มา 
เช็คให้ดีว่าต้องมี cassettes 2 อันนะครับ






ที่มา //home.cogeco.ca/~disastrophe/campages/c0054.html






ที่มา //www.flickr.com/photos/captkodak/271771349/



3. 120 film 
เป็นฟิล์มที่คิดค้นโดย Kodak เมื่อปี 1901 เป็นฟิล์มลักษณะ Roll Film
ม้วนอยู่กับ Spool ฟิล์ม 120 สามารถให้รูปได้หลายขนาด ตั้งแต่ 6x4.5 ไปจน
6x24 (ขนาดประมาณเป็น cm) แต่ที่พบบ่อยจะเป็นขนาด 6x6 ซึ่งเท่ากับ 56x56
mm. มีความยาว 12 รูป  ปัจจุบันฟิล์มขนาด 120 ใช้กับกล้องประเภท Medium
Format เป็นส่วนใหญ่ แต่ในอดีตใช้กับกล้องทั้ง Box, Folding, TRL,
Viewfinder หรือ Rangefinder






ที่มา //www.lowyat.net/v2/index.php?option=com_content&task=view&id=3235&Itemid=34






ที่มา //mconnealy.com/vintagecameras/120in620



4. 220 film ผลิตครั้งแรกเมื่อปี 1965  มีความกว้างเท่ากับ 120 แต่มีความยาวมากกว่าเท่าตัว และไม่มีกระดาษปิดด้านหลัง รวมถึงไม่มีตัวเลขฟิล์มบอกเช่นกัน 
ส่วนใหญ่ใช้กับกล้อง Medium Format และโหลดฟิล์มใส่ Magazine






ที่มา //blog.photoshelter.com/2008/08/20-for-20x200s-andrew-hetherington.html



5. 620 film
ผลิตเมื่อปี 1931 โดย Kodak เพื่อเป็นอีกทางเลือกแทนฟิล์ม 120
ในสมัยนั้นที่แกน Spool ทำจากไม้  Spool ของ 620 จะมีแกนเล็กกว่า
หัวบางกว่า เพราะทำจากโลหะ ปัจจุบันฟิล์ม 620 เลิกผลิตไปแล้ว
โดยกล้องที่ใช้กับฟิล์ม 620 ได้เช่น Kodak Duaflex, Argus Seventy-5, Kodak
Brownie Six-20 เป็นต้น ซึ่งขนาดรูปมาตรฐานมักเป็น 6x6


   แม้ว่าฟิล์ม 620 จะเลิกผลิตไปแล้ว แต่กล้องที่ใช้ฟิล์ม 620 สามารถนำฟิล์ม 120 มาดัดแปลงให้ใช้ได้ โดยมีหลายวิธี


วิธีแปลงฟิล์ม 120 มาใช้กับกล้อง 620 //www.facebook.com/note.php?note_id=132241576852098






ที่มา //en.wikipedia.org/wiki/120_film






ที่มา //www.mattdentonphoto.com/cameras/kodak_duaflex2.html



6. 126 film เป็น
ฟิล์มประเภทตลับ (Cartridge) ผลิตโดย Kodak เมื่อปี 1963 (ก่อนหน้านี้ฟิล์ม
126 ผลิตตั้งแต่ปี 1906 แต่เป็นลักษณะ Roll Film) ฟิล์มประเภทนี้ Kodak
ตั้งใจนำมาใช้กับกล้องระดับล่าง ประภทเล็งแล้วถ่าย (Point 'n Shoot) 
ในชื่อซีรี่ส์ Instamatic และมีกล้องยี่ห้ออื่นๆ ใช้ เช่น Yashica
EZ-Matic, Ricoh 126 C เป็นต้น


   ฟิล์ม 126 มีขนาดรูป 26.5x26.5 mm
ช่วงแรกๆ มีความยาวฟิล์ม 12 และ 20 รูป แต่ช่วงหลังมีความยาวที่ 24 รูป
โดยฟิล์ม 126 ยี่ห้อสุดท้ายที่ผลิตคือ Solaris ที่เลิกผลิตไปเมื่อปลายปี
2007 ปัจจุบันมีการแปลงฟิล์ม 135 มาใช้กับ 126 ได้ แต่ค่อนข้างยุ่งยาก
และต้องมีตลับฟิล์ม 126 มาแปลง






ที่มา //www.cosmonet.org/camera/kodak_instamatic_e.html






ที่มา //etsy-vintage.blogspot.com/2010/02/vintage-60s-kodak-100-instamatic-camera.html



7. 127 film
เป็นฟิล์มแบบ Roll Film ที่คิดค้นโดย Kodak ในปี 1912 เพื่อใช้กับกล้อง
Folding ของ Kodak ซึ่งเป็นกล้องที่มีขนาดย่อมลงมากว่ากล้องที่ใช้ฟิล์ม 120
ฟิล์ม 127 มีความกว้าง 46 mm และมีขนาดเฟรม 4x4 และ 4x6 มีความยาว 12 และ 8
รูป


ฟิล์ม 127 ใช้กับกล้อง Kodak หลายรุ่น ตั้งแต่กล้องเก่าแบบ
Folding มาเป็นกล้องที่มองผ่าน Viewfinder หรือใช้กับกล้อง TRL เช่น ตระกูล
Brownie 127, Brownie Reflex, Brownie Starmite,  เป็นต้น ฟิล์ม 127
หยุดผลิตไปเมื่อปี 1995  แต่เมื่อปี 2009 บ. Rollei ได้ผลิตฟิล์ม Rollei
Retro 127 format ขึ้นมาจำหน่าย






ที่มา //www.jck.net/enjoy_old_camera/index_e.html






ที่มา //onemanscameras.blogspot.com/2009/05/brownies.html






ที่มา //www.foto-r3.com/rollei-retro-80s-127.html



8. 110 Film เป็น
ฟิล์มประเภทตลับ (Cartridge) ผลิตโดย Kodak ในปี 1972
เป็นฟิล์มขนาดเล็กที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้กับกล้องประเภท Pocket ของ Kodak 
โดยมีขนาดรูปอยู่ที่ 13x17 mm. ความยาว 12 และ 24 รูป ฟิล์มและกล้อง 110
ออกมาแทนที่กล้อง Subminiature ที่วางขายมาก่อนหน้านั้น ที่ใช้ฟิล์ม 16 mm 
เช่น Minolta 16 ภายหลังกล้อง 110 ออกวางขายมากมายหลายยี่ห้อ เช่น Kodak,
Agfa, Minolta, Vivitar, Rollei, Voightlander, Canon  เป็นต้น
แม้ว่ากล้องที่ใช้ฟิล์ม 110 ส่วนใหญ่จะเป็นกล้องประเภทราคาถูก
แต่ก็มีหลายรุ่นที่ทำออกมามีราคาสูง รวมทั้งใช้ในกล้อง SLR ขนาดเล็ก เช่น
Pentax Auto110 และ Minolta Mark II


   ปัจจุบันฟิล์ม 110
ยังมีขายอยู่ แม้ว่าจะหายาก และราคาแพงสักนิด รวมทั้ง Holga เองก็ออกกล้อง
Holga Baby ที่ใช้ฟิล์ม 110 ออกมาด้วย







ที่มา //en.wikipedia.org/wiki/110_film







ที่มา //www.nfoto.info/index.php?id=26







ที่มา //www.freytag-grafik.de/sucherkameras-6-3-06.htm







ที่มา //rick_oleson.tripod.com/index-116.html



ขอจบช่วงนี้ตรงนี้ก่อนครับ  ยังเหลือฟิล์ม APS, 616, 828 อีกนิดหน่อย แล้วจะมาเพิ่มเติมวันหลังครับ



By Rungtham Panyawipart


All Right Reserved 2011. //www.facebook.com/FotoAnalog








Free TextEditor




 

Create Date : 02 มิถุนายน 2554    
Last Update : 2 มิถุนายน 2554 0:42:49 น.
Counter : 2413 Pageviews.  

[Review & Repair] กล้องฟิล์มเก่า AGFA SILETTE LK SENSOR


ก่อนจะมาชำแหล่ะ เรามารูจักกล้องตัวนี้คร่าวๆ กันก่อนครับ



Agfa Silette LK Sensor
เป็นกล้องประเภท Viewfinder ใช้กับฟิล์ม 35 mm  1 ในตระกูล Silette กล้อง
Compact ของ Agfa ที่มีมากมายหลายรุ่นมากกว่า 40 models ตั้งปี 1953 ถึง
1974  โดยทั้งหมดเป็นกล้องประเภท viewfinder  ยกเว้นก็แต่รุ่น Super
Silette ที่เป็น Rangefinder




Agfa Silette LK Sensor รุ่นนี้ผลิตที่ Germany เมื่อปี 1969  ใช้ปุ่มกดแบบ Sensor ลิขสิทธิ์ของ Agfa


Silette LK Sensor ใช้เลนส์ Color-Agnar 45 mm. f2.8-f22 ชัตเตอร์ของ PARATOR 4 speeds 1/30, 1/60, 1/125, 1/300 และ B ปรับค่า ASA (ISO) ได้ตั้งแต่ 25-400
มีมิเตอร์วัดแสงแบบเข็มอยู่ด้านบน ซึ่งสัมพันธ์กับการปรับรูรับแสง
ความเร็วชัตเตอร์ และการปรับค่า ASA (ISO) ที่เลนส์ มี Hot Shoe
ไว้ต่อแฟลชนอก โดย sync ที่ 1/125 และมีรูต่อสายลั่นชัตเตอร์ด้านหลังด้วย


ก้านเลื่อนฟิล์มพร้อมขึ้นชัตเตอร์อยู่ด้านล่าง
และยังสามารถเป็นตัวกรอฟิล์มกลับได้อีกด้วย จากกลไกง่ายๆ
เมื่อเลื่อนปุ่มที่อยู่ด้านหน้าข้างๆ เลนส์ 
และมีตัวนับฟิล์มอยู่ด้านล่างเช่นกัน เซ็ตโดยเอามือหมุนเอาครับ
ไม่เด้งอัตโนมัติ



ทีนี้กลับมาที่การชำแหล่ะของผมครับ  ผมเจอปัญหาตามนี้ครับ


1. ก้านเลื่อนฟิล์มติด


2. พอเลื่อนฟิล์มได้ ชัตเตอร์ไม่ทำงาน  (ซึ่งชัตเตอร์ที่เลนส์ไม่เสีย
แต่กลไกลมันดันก้านชัตเตอร์ให้สุดจนขึ้นชัตเตอร์ไม่ได้ อันนี้มารู้ทีหลัง)


3. แหวนปรับค่า f ไม่ตรง ปรับไม่ถึง f22 และเลย f2.8


4. tag บอกรุ่นเลนส์หลุด



รูปนี้เป็นหน้าตากล้องผมก่อนจะลอง DIY ซ่อมด้วยตัวเอง




เริ่มจากเปิดฝาด้านบนก่อนครับ  ไม่ยากมีน็อตแค่ 2 ตัว ซ้ายและขวา  ตรงนี้ที่ระวังมี 3 ชิ้นที่อาจจะหลุด และหายได้ คือ


น็อตตัวเมียของฝั่งตัววัดแสง  ฝาครอบมิเตอร์วัดแสง  และแผ่นใต้เข็มวัดแสง ที่เป็นแค่กระดาษธรรมดาๆ




เห็นสายไฟ แต่ว่า No Battery ครับรุ่นนี้  อีกอย่างระวังเข็มวัดแสงด้วยนะ




จากนั้น ทำการถอดเลนส์ออก โดยเปิดขันน็อตจากด้านในกล้อง




เรียบร้อย เลนส์มานอนข้างๆ สายไฟต่อกับเลนส์รู้สึกจะบีบไว้ (มั้ง) ไม่กล้าถอด 
ส่วนหน้ากากซ้าย-ขวา ถ้าให้ง่าย ถอดด้านล่างก่อนดีกว่า




ที่เห็นเป็นกลไกขึ้นชัตเตอร์ครับ 




เริ่มจากซ่อมปัญหาวงแหวนปรับรูรับแสงไม่ตรงกับตัวเลข ปัญหาอยู่ตรงที่ลูกศรชี้ไว้
ตัวล็อกหลุดจากก้าน แค่ง้างนิดเดียวจับใส่เข้าไปได้ 
แต่มารู้ทีหลังว่าวิธีที่ถูกต้อง  คือ ถอดน็อตที่เห็นทั้งหมดแล้วแยกส่วน
แล้วขยับดีกว่า



ส่วนที่วงสีเขียว มาร์คไม่ตรงตำแหน่ง ตรงนี้มีผลทำให้วัดแสงไม่ตรง ถอดน็อตจับเลื่อนซะ เป็นอันจบ ตรงนี้แก้ไม่ยาก




ต่อไปปัญหาก้านเลื่อนฟิล์มติด ก็ต้องจัดการถอดข้างล่างดูครับ  ถอดก้านเลื่อนฟิล์มก่อน  หาอะไรจิ้มที่ 2 รูนั่นแล้วหมุนออกครับ


ส่วนน็อตมี 3 ตัว  ตรงนี้ให้ระวังปุ่มหมุนตัวนับเลขหายนะครับ




ต่อมาก็เจอชุดเฟืองด้านในครับ  ก็จับถอดอีก น็อต 3 ตัว ตามลูกศร และเฟือง 1
ชุด โดยชุดเฟืองหมุนตามเข็ม (ข้อมูลจากเน็ต ไม่รู้คงถอดกันไม่ได้) 
ตรงนี้ระวังนิดนึงใต้เฟือง เป็นสปริง ระวังจะดีดหาย




ปัญหาที่ก้านเลื่อนฟิล์มติด คือ เจ้าตัวสีแดง มันมีไว้ล็อค เวลาขึ้นฟิล์มแล้ว
เพื่อไม่ให้เลื่อนขึ้นฟิล์มซ้ำซ้อนได้ แต่ปัญหาคือ ถ้าชุดขึ้นชัตเตอร์
(รูปถัดไปที่วงเขียว/แดงไว้) มันถอยกลับไม่สุด เจ้าตัวล็อคจะไม่อยู่ท่านี้
มันจะไปล็อคก้านเลื่อนฟิล์มไว้




ปัญหาเกิดจากกลไกลเลื่อนฟิล์ม ที่วงแดงๆ ไว้ (ด้านหลัง) มันเบี้ยวเล็กๆ
ทำให้ถอยมาไม่สุด ก็จับเอาคีมดัดซะ ปัญหาเลื่อนขึ้นฟิล์มไม่ได้ "จบ"


ส่วนที่วงสีเขียว เป็นการลองปัญหาขึ้นชัตเตอร์ไม่ได้
เพราะก้านเลื่อนฟิล์มมันดันชุดขึ้นชัตเตอร์ได้ไม่ลึกพอ
เลยลองจับเศษกระดาษยัดเข้าไปในขาวๆ นั่น เพิ่มระยะดันให้มากขึ้นอีกนิด




แม้ว่าก้านเลื่อนฟิล์มจะดันชุดขึ้นชัตเตอร์ไปได้สุด
แต่ก็ไม่สามารถขึ้นชัตเตอร์ได้อยู่ดีครับ  เลยทำการดัดๆ แต่งๆ
ระบบดันตัวขึ้นชัตเตอร์อีกหน่อย เป็นอันพอขึ้นชัตเตอร์ได้ โดยย้ำเบาๆ
สั้นๆ  สักที สองที



ถึงไม่สมบูรณ์แต่ขึ้นชัตเตอร์ได้ก็ดีใจแล้วครับ  จากนั้นก็ประกอบกลับไปตามเดิม ติดกาวที่ tag เลนส์ซะหน่อย หล่อขึ้นเยอะครับ





By Rungtham


All Right Reserved 2011. //www.facebook.com/FotoAnalog







Free TextEditor




 

Create Date : 27 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 27 พฤษภาคม 2554 0:20:54 น.
Counter : 1913 Pageviews.  

วิธีจับเจ้าฟิล์ม 120 ยัดลงบนกล้องคลาสสิค Kodak Duaflex IV (620 Film)



บังเอิญว่าผมไปได้เจ้ากล้อง Kodak Duaflex IV ที่เป็นกล้องฟิล์ม 620 มาตัวนึง (ที่จริงก็ไม่ได้อังเอิญหรอกตั้งใจซื้อมา)


โดยก่อนจะตัดสินใจประมูลเจ้ากล้องตัวนี้มา ก็ศึกษาคร่าวๆ มาว่า ฟิล์ม 620 และ 120 นั้น ตัวขนาดฟิล์มเท่ากัน


แต่ตัว spool ต่างกันเล็กน้อย  เลยจัดการบิดมาตัวนึง ในราคาที่ไม่แพงนัก (ใจอยากเล่น TLR แต่ตังค์ไม่ถึง orz )





หลังจากได้กล้องมา และจัดการรื้อ เพื่อบูรณะ กับทำความสะอาด  ก็เริ่มอยากจะถ่ายแล้ว  โชคดีว่ากล้องตัวนี้มี spool 620 มา 1 อัน


ก็เริ่มหาวิธีในเน็ต แต่วิธีที่เจอนั้น ยุ่งยากไปนิดสำหรับผม และต้องมี spool 620 2 อันด้วย  จะหาซื้อแยกก็หายาก และแพงหลาย


เลยเอาแต่ละวิธีที่เจอ มาผสมๆ  ออกมาเป็นวิธีที่จะบอกต่อไปนี้ครับ



วิธีของผมต้องมี spool 620 1  อัน  และผมไม่รู้นะครับ ว่าจะไปใช้กับกล้องรุ่นอื่นได้แค่ไหน (ก็มันมีอยู่ตัวเดียว) แต่คิดว่า


น่าจะเอาไปใช้กันได้


อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ก็  1) ตะไบเหล็ก 2) คีมตัด



เริ่มจากอย่างแรก  ความยาว spool 120 และ 620 ไม่เท่ากัน  ต่างกันนิดหน่อย ประมาณ 3-4 มม.  มีลุ้นครับ


เริ่มจากตะไบลดความหนาก่อน  ไม่ยากครับก็ตะไบไปเรื่อยๆ จนมันบางเกือบเท่า spool 620  แต่พยายามตะไบให้มัน


ได้ระนาบนะครับ (อ้อ  ตะไบทั้ง 2 ด้าน หัว-ท้ายนะครับ)







หลังจากตะไบเสร็จจนได้ความหนาพอๆ กันแล้ว จะเห็นว่าเส้นผ่านศูนย์กลางมันไม่เท่ากัน spool 120 จะใหญ่กว่าเล็กน้อย



ที่จริงหลังจากขั้นตอนนี้ผมลองจับยัดลงกล้องแล้วมันก็ทำได้  แต่พอปิดฝาแล้ว เวลาหมุนโหลดฟิล์มจะแน่นมาก


คิดว่ามีบางส่วนของฝามันไปกดทับ  แต่อยากถ่ายจัดครับ เลยฝืนหมุนทั้งแน่นๆ นั่นแหล่ะ  ปรากฏว่าถ่ายได้ 6 รูป มือแหกครับ T^T


เลยต้องกลับมาโมฯ ต่อ





ทีนี้เรามาจัดการต่อจากขั้นตอนแรก  คือ การโมฯ ให้ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากัน  ผมใช้คีมตัด ตัดแต่งซะก่อน จะได้เร็วๆ






จากนั้นก็ไปตะไบ ให้ได้ความกลมหน่อย  ก็เรียบร้อยครับ





ดูจากขนาดแล้ว ก็ใกล้เคียงทั้งความหนา และเส้นผ่านศูนย์กลาง





จากนั้นก็จับโหลดใส่กล้องลองหมุนดู   โอ้วลื่นปรื้ดกำลังดี  (มือไม่แหกแล้ว)


ยังไงคิดว่าอันนี้น่าจะมีประโยชน์กับหลายๆคนนะครับ  จะได้ลองเอากล้องเก่าๆ 620 มาใช้กันอีกที


ปล. อาจจะมีคนคิด และทำแบบผมไปแล้วก็ได้นะ  แต่ผมหาไม่เจอง่ะ - -" 





คัดลอกจาก //www.facebook.com/FotoAnalog







Free TextEditor




 

Create Date : 21 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 21 พฤษภาคม 2554 10:00:39 น.
Counter : 4057 Pageviews.  

1  2  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.