Group Blog All Blog
|
โภชนพันธุศาสตร์คืออะไร?
นูทริจีโนมิกส์ (Nutrigenomics) โภชนพันธุศาสตร์ คืออะไร?โภชนพันธุศาสตร์ (Nutrigenomics) โภชนพันธุศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงใหม่ เพื่อศึกษาบทบาทของวิตามิน แร่ธาตุและสารประกอบที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพต่อการแสดงออกของยีน และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มีต่อการตอบสนองของร่างกาย หลักฐานที่น่าสนใจแสดงให้เห็นว่าสารอาหารมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ผ่านความสามารถในการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและ epigenetic (การเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนที่เกิดจากกลไกอื่นนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงลำดับของดีเอ็นเอ) ที่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ รวมทั้งมะเร็ง นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยความสัมพันธ์ระหว่างยีนและสารอาหาร สำหรับโรคทุกประเภท เมื่อเข้าใจความสัมพันธ์เหล่านี้ดีขึ้นแล้ว คำแนะนำด้านโภชนาการก็สามารถปรับให้เหมาะกับการป้องกันและจัดการกับโรคได้มนุษย์เราทุกคนเกิดขึ้นมาพร้อม DNA ที่ต่างกันDNA หรือ (Deoxyribonucleic acid (ดีออกซิไรโบ นิวคลีอิค แอซิด)) คือรหัสพันธุกรรมพื้นฐานในแต่ละบุคคล ถูกสร้างมาตั้งแต่กำเนิด โดยการถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง และจะไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ซึ่งรหัสพันธุกรรมพื้นฐานเหล่านี้ ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ รวมทั้งมนุษย์อย่างเราด้วย DNA คือ อะไร?DNA ของคนเราจะมาจากการผสมลักษณะทางพันธุกรรม จากพ่อ และแม่อย่างละครึ่ง ซึ่งจะเป็นตัวกำหนด รูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ ความไวต่อสภาพแวดล้อม ความไวต่ออาหาร และ ความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ DNA เป็นตัวบ่งชี้ลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์ จึงได้มีการนำเอา เทคโนโลยีการตรวจพันธุกรรม หรือ เทคโนโลยีทางชีวภาพมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน และ DNA มีหน้าที่ 5 อย่างคือ
สมรรถภาพทางร่างกายแสดงถึงความสามารถ และ สมรรถภาพทางร่างกาย ว่าร่างกายของผู้ได้รับการตรวจถูกสร้างมาให้เหมาะกับการออกกำลังกายแบบใด และต้องดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อต้องการออกกำลังกาย ซึ่งจะแสดงถึง ความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บ ประสิทธิภาพของการนำออกซิเจนไปใช้ ระยะเวลาในการฟื้นตัวหลังออกกำลังกาย รวมถึงความทนทาน (ความอึด) หรือพละกำลังของร่างกาย โภชนศาสตร์พันธุกรรม (Nutrigenomics) เหมาะกับใครโภชนพันธุศาสตร์ ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งเริ่มได้รับความสนใจในไทย แต่มีมานานแล้วในอเมริกา โดยเฉพาะในหมู่นักกีฬา ใช้เพื่อจัดโปรแกรมการรับประทานอาหาร และวางตารางการฝึกซ้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านร่างกายให้พร้อมรับกับการฝึก และการแข่งขัน สำหรับบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ โภชนศาสตร์พันธุกรรม (Nutrigenomics) ยังนิยมใช้ประกอบการวางแผนโภชนาการ เพื่อการลดน้ำหนัก ในกลุ่มคนที่มีปัญหาโรคอ้วน โรคเบาหวาน อีกด้วย สำหรับคนทั่วไป สามารถใช้ผลตรวจ เพื่อมาปรับใช้ให้เข้ากับชีวิตประจำวัน และสร้างเสริมสุขภาพที่ดีขึ้นได้ เช่น การเลือกรับประทานอาหาร ปริมาณการทานอาหารแต่ละชนิด การเลือกกิจกรรมการออกกำลังกาย ระยะเวลาการออกกำลังกายให้เหมาะสม และการกำหนดเวลาในการฟื้นฟูร่างกายให้เพียงพอ มารู้จัก Nrf2
ฉันเปรียบเทียบว่า Nrf2 เป็นเสมือนหน่วยซีลของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ซึ่งปกติแล้วจะอยู่ในฐานทัพ นั่งดื่มกาแฟ (หรือชาเขียว) จนกว่าจะถูกเรียกให้ลงมือปฏิบัติแล้วเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์และเข้าไปใน DNA จัดการกวาดล้างผู้ก่อการร้าย (อนุมูลอิสระ) และปรับสวิทซ์ยีนแห่งการมีอายุยืน SIRT-1 เมื่อเสร็จภารกิจพวกเขาก็กลับไปที่เยื่อหุ้มเซลล์และเฝ้าระวังอย่างตื่นตัวต่อไป นักวิจัยพบว่า Nrf2 อาจเป็นตัวควบคุมหลักของกระบวนการสร้างความชรา นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัสอ้างว่า “การส่งสัญญาณของ Nrf2 . . กระตุ้นการทำงานของยีนมากกว่า 200 ยีนที่มีความสำคัญในการเผาผลาญยาและสารพิษ ป้องกันความเครียดออกซิเดชัน และต้านการอักเสบ รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในความเสถียรของโปรตีนและในการกำจัดโปรตีนที่เสียหายผ่านการย่อยสลายของโปรตีนหรือที่เรียกว่า autophagy”
Researchers have found that Nrf2 might be the master regulator of the aging process. Scientists at the University of Texas claim that “the Nrf2-signaling … activates more than 200 genes that are crucial in the metabolism of drugs and toxins, protection against oxidative stress and inflammation, as well as playing an integral role in stability of proteins and in the removal of damaged proteins via proteasomal degradation or autophagy.” เรื่องนมวัวเพิ่มเติม... ข้อมูลที่รู้แล้วจะทำให้ตกใจ (บ้าง (เป็นบางคน)) !!!!! ^^
"อาหารที่มีแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสในอัตราส่วน 2:1 หรือมากกว่านั้นจะเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดี" ในนมแม่มีอัตราส่วน 2.35:1 ถ้าเป็นนมวัวมีอัตราส่วน 1.27:1 ฟอสฟอรัสที่สูงเกินทำให้ต่อมพาราไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกไป สมดุลกับฟอสฟอรัส ผลคือ ยิ่งกินนมวัวยิ่งกระดูกผุ
สารที่ก่อมูกคือ โปรตีนเคซีนในนม เคซีนย่อยยากมาก ชาวยุโรปสมัยก่อนจะเคี่ยวนมจนข้นเหนียวกลายเป็นกาวเพื่อใช้ติดไม้ติดเฟอร์นิเจอร์ และเคซีนนี้มีในนมวัวมากกว่านมแม่ 300% เมื่อกินเข้าไป เคซีนจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ให้บูดเน่ากลายเป็นเมือกเหนียว ผลก็คือเกิดโรคทางเดินอาหาร เช่นท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสียสลับกับท้องผูก กระทั่งเป็นแผลลำไส้ใหญ่อักเสบ คนเหล่านี้ถ้าหยุดดื่มนมอาการก็จะหายจากโรคได้เร็วอย่างน่าแปลกใจ Reference1: นพ. โจเซฟ ดี.ซักกา วารสาร Annal of Allergy May 1971 Reference2: นพ. เอส. ซี. ทรูเลิฟ ชี้ชัดว่า แผลลำไส้ใหญ่อักเสบจากการดื่มนม วารสาร British Medical Journal ปี 1961 ผมเป็นผู้ส่งสาร... ที่เหลือก็อยู่ที่คุณแล้วว่าจะพิจารณากันยังไง ขอให้ทุกคนแคล้วคลาดจากโรคภัย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ง่วง ขี้เกียจ ซึมเศร้า อ้วน คอเลสเตอรอลสูง ... ฯลฯ
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ง่วง ขี้เกียจ ซึมเศร้า อ้วน คอเลสเตอรอลสูง อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ หนาวง่าย มือเท้าเย็น มีลูกยาก ปวดข้อ ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมามาก เป็นหวัดบ่อย เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนังต่างๆ ความจำไม่ดี หวาดระแวง ไมเกรน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รู้สึกแสบๆเจ็บๆเหมือนหนามตำ โลหิตจาง ตอบสนองช้า เปลือกตาบวม ท้องผูก หายใจไม่สะดวก เสียงแหบ เล็บเปราะ สายตาไม่ดี...
อาการเหล่านี้อาจจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเป็น "ภาวะธัยรอยด์ต่ำ" แหะๆ มาอีกแล้ว ที่ผ่านมาอะไรๆก็ดูน่ากลัวแล้วนี่มาเรื่องนี้อีกชีวิตจะอยู่ยังไง ทีนี้คนที่คิดว่าจะเป็นก็... อืม... ไปตรวจเลือดดีกว่า แต่... การวินิฉัยภาวะนี้ยากครับ ต้องสังเกตตัวเองอย่างเดียว คือให้วัดปรอทในตอนเช้าก่อนที่จะลุกจากเตียงโดยเตรียมปรอทไว้ด้วยการสะบัดปรอทให้ต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียสแล้ววางไว้หัวเตียงเมื่อตื่นนอนให้เอามาหนีบไว้ใต้รักแร้หรืออม (ไม่ใช่หนีบแล้วเอามาอมนะครับ ^^) ถ้าผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนจะต้องไม่ต่ำกว่า 36.4 องศาเซลเซียส ส่วนผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือผู้ชายต้องไม่ต่ำกว่า 36.3 องศาเซลเซียส การวัดอุณหภูมินี้ถ้ามีอาการร่วมกับอาการที่กล่าวไว้ข้างต้นก็เสี่ยงที่จะเป็นภาวะธัยรอยด์ต่ำ สำหรับผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนแนะนำให้วัดในวันที่ 3 ของการมีประจำเดือน และการวัดอุณหภูมิให้วัดติดต่อกัน 5 วัน ทีนี้มาดูสาเหตุกันครับ... อย่าพึ่งวิตกนะครับ กับสาเหตุเหล่านี้ สาเหตุอันดับหนึ่งเลยที่ทำให้เกิดภาวะธัยรอยด์ต่ำ 1. คือคลื่นรังสี เกิดจากอะไรได้บ้างที่มากที่สุดคือเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ก็ได้แก่วิทยุ ทีวี โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ สายไฟฟ้าแรงสูง ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ ฯลฯ 2. กินผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองมากเกินไป เนื่องจากในถั่วเหลืองมีสารต้านธัยรอยด์ 3. การกินหวานมากเกินไป จะทำให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานหนักมาก จนในที่สุดทำงานได้น้อยลง 4. ในร่างกายมีเอสโตรเจนมากเกินไป ซึ่งจะไปต้านการทำงานของธัยรอยด์ 5. การกินไขมันมากเกินไป โดยไขมันจะต้านการทำงานของธัยรอยด์ 6. แร่ธาตุไอโอดีน การได้รับไอโอดีนมากเกินไปอาจทำให้เป็นทั้งธัยรอยด์เป็นพิษและภาวะธัยรอยด์ต่ำ แล้วแต่การตอบสนองของแต่ละคน 7. โลหะหนักบางชนิดก็สามารถต้านการทำงานของธัยรอยด์ได้ เช่น ปรอท (มาจากไหน ก็วัสดุอุดฟันไงครับ) 8. พืชบางชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ บล็อกโคลี ผักเหล่านี้ควรได้รับความร้อนก่อนเพื่อทำลายสารต้านธัยรอยด์ เอาแค่นี้ก่อนนะครับ เอาไว้หัวข้อหน้าจะว่ากันเรื่องอาการและการตรวจพบบางอย่าง ทำไมสาวๆหรือไม่สาวถึงได้ปวดประจำเดือน หรือมีอาการทรมานอย่างอื่นมากมาย
ก่อนที่จะเริ่มเรื่องนี้มาดูถึงสาเหตุก่อนนะครับ ซึ่งไม่เพียงแค่อาการปวดประจำเดือนหรืออาการอื่นๆที่คุณเคยเป็น แต่สิ่งนี้ทำให้เกิดอาการอื่นๆอีกมากมายมากกว่าที่คุณคิดไว้ สาเหตุนั้นคือภาวะที่ร่างกายมีเอสโตรเจนมากเกินไปซึ่งผู้หญิงบางคนสามารถสร้างได้มากกว่าคนอื่น 8-9 เท่า แล้วมีอะไรบ้างที่เรารับเอสโตรเจนเสริมเข้าไปนอกเหนือจากที่ร่างกายสร้างซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างปัญหาให้กับคนที่สร้างเอสโตรเจนได้มากอยู่แล้ว
1. ยาคุมกำเนิด 2. เนื้อสัตว์ 3. นมและผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ไก่ไข่เป็ดที่มีเอสโตรเจนตกค้าง 4. การกินอาหารที่ไม่ได้มีเอสโตรเจนแต่มีผลเหมือนกินเอสโตรเจน (เช่น จมูกข้าวสาลี อาหารที่มียีสต์ (ขนมปัง ไวตามินเม็ดที่สกัดจากยีสต์ เบียร์ ไวน์ เป็นต้น) 5. สมุนไพรบางชนิด เช่น กวาวเครือขาว กระเจี๊ยบแดง 6. สารเคมีบางชนิด เช่น ยาปราบศัตรูพืช น้ำยาทำความสะอาดต่างๆ 7. ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง 8. ไขมันทั้งหลายโดยเฉพาะเนยเทียม ทีนี้มาสรุปอันตรายจากการมีเอสโตรเจนเกินนะครับ 1. มีประจำเดือนเร็ว (ตำกว่าอายุ 13 ปี) 2. สัดส่วน มีขาสั้น สะโพกผายมาก 3. ภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำ 4. ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิง มีอาการก่อนมีประจำเดือนรุนแรง มีประจำเดือนมากหรือน้อยไป ประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา ท้องยาก แท้งง่าย ผมร่วง มีหนวด มีอาการซึมเศร้าหลังคลอด 5. ปัญหาของเต้านม มดลูกรังไข่ เช่น เป็นเนื้องอกหรือซึสต์ 6. มะเร็งทุกชนิด 7. ไมเกรน 8. โรคลมชัก (โดยเฉพาะช่วงที่มีการตกไข่และมีประจำเดือน) 9. อ้วนง่าย 10. การนำพาออกซิเจนไนร่างการไม่ดี 11. ปวดกล้ามเนื้อ 12. ฝ้า กระ 13. เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นโรคถุงน้ำดี 14. ผลต่อผิวหนังเหมือนกับสารเสตียรอยด์ ทำให้ผิวบาง 15. เพิ่มโอกาสกระดูกผุ 16. ผลเสียต่อหัวใจและหลอดเลือด 17. ทำให้โรคต่อไปนี้รุนแรงขึ้น - ภูมิต้านทานทำลายเซลล์ตัวเอง ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคถุงน้ำดี ภูมิแพ้ ประสาทตาอักเสบ ต้อหิน เส้นประสาทอักเสบ เบาหวาน เส้นเลือดขอด บวม อ้วน 18. เพิ่มปัญหาของจิตใจและอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า อ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว วิตกกังวล กลัวการไปอยู่ในที่สาธารณะ ความจำไม่ดี เอาละครับ...สำหรับหญิงสาวหรือไม่สาวที่กำลังมีปัญหากับความเจ็บปวดก่อนมีประจำเดือนถ้าเลี่ยงอาหารดังกล่าวไม่ได้หรือว่าใกล้จะมีประจำเดือนแล้วแนะนำได้ดังนี้ 1. กินเมล็ดฟักทองที่ 7-11 ซองละ 13 บาทวันละ 1 ซอง จน ปจด.มาจึงหยุดกิน 2. กินแคลเซียมเม็ดที่มีขายวันละ 1 เม็ดจนหมดประจำเดือนจึงหยุดกิน 3. กินไบโอแมกนีเซียมครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้าและเย็นไปจนหมดประจำเดือนแล้วหยุดกิน แล้วก็ห้ามกินซี้ซั้วนะคับ ต้องกินตามนี้เป๊ๆ อย่ากินเล่น ตัวผมเองไม่ใช่หมอนะครับ แต่สนใจเรื่องสุขภาพ พยายามค้นคว้าหาคำตอบเรื่องสุขภาพ จุดประสงค์ก็คืออยากให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกันไม่เจ็บไม่ป่วย ถ้าไม่เชื่อไม่เป็นไรครับ แต่ก็อยากให้ลองหาข้อมูลด้วยตนเองด้วยเหมือนกันว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือเท็จแค่ไหน เลิกกินยาเถอะครับ ธรรมชาติช่วยคุณได้ |
dmi
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Link |