bloggang.com mainmenu search
มาตรา 32 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วย ตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งของสถานพยาบาลของทางราชการ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ
จากมาตรา 32 มาดูทีละคำ
1. “ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วย” แปลว่าถ้าลูกจ้าง “ป่วย” ก็มีสิทธิลา แม้ป่วยช่วงเช้าแป๊ปเดียวก็ลาได้ หรือลาป่วยแต่มาทำงานศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่าป่วย การฝืนร่างกายมาทำงานจะถือว่าไม่ป่วยและเป็นการลาป่วยเท็จไม่ได้
2. “ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง” แปลว่า “หากป่วย” จะลากี่วันก็ได้ ถ้าป่วยเป็นปีๆ ก็มีสิทธิลาใช่หรือไม่ คำตอบคือ ใช่ มีสิทธิลาได้เพราะกฎหมายเขียนรองรับสิทธิเอาไว้ชัดเจน (แต่นายจ้างอาจหยิบยกขึ้นมาใช้เลิกจ้างได้เช่นกัน) (ค่าจ้างจะได้ไม่เกิน 30 วัน)
3. “การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแจ้งใบรับรองแพย์...” แปลว่าการลาป่วย 3 พอวันพอดี หรือมากกว่านั้น ซึ่งเป็นการลาในวันทำงาน (วันหยุดไม่ต้องลา จะนับรวมไม่ได้ เพราะกฎหมายเขียนว่าเฉพาะวันทำงาน) นายจ้าง “อาจ” ให้ลูกจ้างแจ้งใบรับรองแพทย์ (“อาจ” แปลว่าจะเรียกหรือไม่ก็ได้)
คนที่มี “อำนาจเรียกคือนายจ้าง” คนที่มี “หน้าที่แจ้งใบรับรองแพทย์คือลูกจ้าง”
4. “ใบรับรองแพทย์... ของสถานพยาบาลทางราชการ” แปลว่าคนที่ออกใบรับรองแพทย์มี 2 กรณี คือ 1) แพทย์ กับ 2) สถานพยาบาลของรัฐ (อาจเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือพยาบาลก็รับรองให้ได้ ภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจ)
5. “กรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์...ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ” แปลว่า หากลูกจ้างไม่ได้ไปหาหมอ ก็ชี้แจ้งแทนได้(ได้เหรอ ตอบว่าได้ คนเราไม่ต้องไปแออัดสร้างภาระให้บุคคลกรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพมาก)

แปลว่าถ้านายจ้าง “เรียก” ใบรับรองแพทย์ และถ้าลูกจ้างตอบว่า “ไม่มี” สามารถทำได้ !!!!
แต่ต้อง “ชี้แจงให้นายจ้างทราบ” โดยการชี้แจ้งนั้นจะทำอย่างไรก็ได้ให้นายจ้างเชื่อว่าป่วยจริง จะให้คลิปวีดีโอ ใช้ภาพถ่าย ใช้ซองยา(ซึ่งมีกฎหมายกำหนดให้คนขายยาเขียนรายละเอียดที่มีมากพอจะทำให้นายจ้างเชื่อได้ว่าป่วย

แต่ในความเป็นจริงอาจมีคนที่ไม่เขียนรายละเอียดตามกฎหมายกำหนด โดยเฉพาะชื่อยา ซึ่งเป็นสิทธิของคนไข้ที่ควรจะรู้ว่าเรากินยาอะไรไป  หรือจะใช้หนังสือรับรองแพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีนก็ได้

โดยสรุปคือมีหลักฐานอะไรก็ได้ที่ “ชี้แจง” แล้วนายจ้าง “เชื่อ” เลยว่า “ป่วย”

ขอบคุณ เพจกฎหมายแรงงาน
Create Date :27 กันยายน 2564 Last Update :28 กันยายน 2564 11:07:30 น. Counter : 464 Pageviews. Comments :0