bloggang.com mainmenu search
รับปีใหม่ 2567 ที่ ‘วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์’ ในงานวันสมโภชพระอารามหลวงครบ 338 ปี
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ตั้งอยู่ ตั้งอยู่ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วิทยาเขตท่าพระจันทร์
และสนามหลวง
พิกัด : https://goo.gl/maps/2Fqa8KXH6sL5Ds5j9 



ช่วงสิ้นปี 2566 ได้มีการจัดกิจกรรม วันสมโภชพระอารามหลวงครบ 338 ปี
ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พร้อมกิจกรรมที่สร้างบุญสร้างกุศล อิ่มเอมไปกับแสงสี ที่สร้าง
ความสุขที่น่าสนใจ ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2566 - วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา



ส่งท้ายปี 2566 นี้ มีกิจกรรมสำคัญของ “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”
วัดสำคัญของกรุงเทพมหานครที่มีอายุครบ 338 ปี ที่ได้จัดกิจกรรมแห่งความสุข
พร้อมบุญกุศลอันยิ่งใหญ่เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณูปการ คุณงามความดีที่บูรพมหากษัตริย์



และบูรพาจารย์ผู้ได้สร้างวัดมหาธาตุให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นสถานที่ศึกษาเล่า
เรียนของอนุชนคนรุ่นหลัง วัดศูนย์รวมความรู้ และจุดเริ่มต้นของการสอนวิปัสสนากรรมฐาน
แนวสติปัฏฐาน 4 ดังนั้นคณะสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์



และคณะศิษยานุศิษย์จึงพร้อมใจกันจัดให้มีการสมโภชพระอารามขึ้น ในระหว่าง
วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2566-2 มกราคม พ.ศ. 2567 ภายใต้ชื่อ
“งานสมโภชพระอารามหลวงครบ 338 ปี เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” 



ประวัติของวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
เดิมชื่อว่าวัดสลัก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ปรากฏศิลาจารึก
มีอยู่ไว้ใต้ฐานพระพุทธรูปหินซึ่งเป็นพระประธานในอุโบสถวัดสลัก



โดยอักษรที่จารึกนั้นเป็นอักษรในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในปี พ.ศ. 2228 และ
นับจนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2566 นับได้ว่าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์มีอายุครบ 338 ปี
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ นับเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก



โดย สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
พระอนุชาธิราชในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สถาปนาพระอาราม
แห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2326 พระอารามนี้เป็นสถานที่ทำสังคายนาพระไตรปิฎก และที่สถิต
ของสมเด็จพระสังฆราชในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์จำนวน 5 พระองค์ ประกอบด้วย



พระเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ (พระเจดีย์ทอง)ในพระมณฑป ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้า
มหาสุรสิงหนาท ทรงสร้างพระมณฑปสูง 10 วา บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อเป็นที่สัก
การะบูชา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพฯ สันนิษฐานว่า ภายในพระเจดีย์ทองนี้
ได้บรรจุพระอัฐิ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกไว้ด้วย



มีการก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทยแห่งแรกขึ้น นับเป็นวัดแรกที่ใช้นาม
“วิทยาลัย” ในประเทศไทยจากมหาธาตุวิทยาลัย สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย นามพระอารามได้เปลี่ยนจากวัดสลัก เป็นวัดนิพพานาราม วัดพระศรีสรรเพชญ์
และวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหารในปัจจุบัน



วันสมโภชพระอารามหลวงครบ 338 ปี ถูกจัดขึ้นเพื่อการประชาสัมพันธ์
สร้างการรับรู้ด้านประวัติศาสตร์ และเผยแพร่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร
ให้เป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไป และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ และเป็นสถานที่
ท่องเที่ยวสำคัญอีกหนึ่งจุดในช่วงสิ้นปีประกอบไปด้วยไฮไลต์ที่น่าสนใจมากมาย เช่น



ชมความงดงามของวัดคู่วังประวัติศาสตร์ล้ำค่าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ด้วยการจัดแสดงแสงสีสุดอลังการประดับไฟ ILLUMINATE LIGHTING SHOW 



คิดถึงวันวาน ย่านวังหน้า ลิ้มรสอาหารอร่อยแบบไทยโบราณ ของอร่อยประจำย่าน
อุดหนุนงานหัตถศิลป์ เครื่องหอม เครื่องประดับ งานปั้น งานจักสาน และสินค้าเด่น 



ประวัติศาสตร์นอกห้องเรียน ย้อนไปวันวาน เรื่องเล่าย่านวังหน้า ภาพเก่าเล่าเรื่อง 



เสริมศิริมงคล จำหน่ายชุดสังฆทาน ไทยทาน ถวายพระ ของฝาก สำหรับญาติผู้ใหญ่
หรือบุคคลที่เคารพรัก เลือกของขวัญปีใหม่



ของกินที่หายากที่กำลังจะหายไปจากสังคมปัจจุบัน ทำให้รักและหวงแหนวัฒนธรรม
อันสวยงามของประเทศเราให้อยู่กับลูกหลานเราต่อไป



Workshop & DIY จัดดอกไม้ถวายพระ จัดพานพุ่ม จัดโต๊ะหมู่บูชา ร้อยมาลัย 



ขอบคุณข้อมูล : ททท., งานสมโภชพระอารามหลวง ๓๓๘ ปี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์



ใครที่ยังไม่ได้เข้าไปอ่านบล๊อก ร้านอาหารเกาะล้าน บรรยากาศดี รับลมทะเล
ร้านครัวเฉลียงลม ชลบุรี
  
สามารถกดที่นี่ได้เลยครับ



ฝากกด like Facebook นายแว่นขยันเที่ยว : 
https://www.facebook.com/นายแว่นขยันเที่ยว-110467381183341



ฝากกดติดตาม YouTube PT Channel : 
https://www.youtube.com/channel/UCGZdHn45JVfiyGdW4wZE0Tw 



ขอบคุณที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้ผม
"นายแว่นขยันเที่ยว"



ขอบคุณเพลง : ดาวหางฮัลเลย์
ศิลปิน : fellow fellow
Vote : ท่องเที่ยวไทย

Create Date :15 มกราคม 2567 Last Update :23 กุมภาพันธ์ 2567 23:59:56 น. Counter : 99 Pageviews. Comments :4