bloggang.com mainmenu search

       ในช่วงฤดูร้อน ปัญหาที่มารบกวนใจเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่างของอาคารต่าง ๆ มากที่สุดคือ การได้รับโทรศัพท์แจ้งว่าแอร์ไม่เย็น  “ฮัลโหล ฝ่ายช่างใช่ไหมคะ ตอนนี้แอร์ไม่เย็นเลย ห้องทำงานท่านประทานฯ ร้อนจะแย่อยู่แล้ว ช่วยขึ้นมาดูเดี๋ยวนี้ได้ไหม” เสียงตามสายแจ้งแอร์ไม่เย็นมักจะมีอารมณ์ไม่เย็นแฝงมาด้วย เพราะอากาศรอบ ๆ ตัวก็ไม่เย็น แถมยังโดนเจ้านายอารมณ์เสียใส่อีกต่างหาก เมื่อได้รับแจ้งปัญหาแอร์ไม่เย็น สิ่งที่ช่างเกือบทุกคนต้องดูเป็นสิ่งแรกคือ เทอร์โมสตาตตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่    ถ้าตั้งไว้สูงเกินไป ก็ปรับลดลงมากเป็นอันหมดปัญหา แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่โชคดีอย่างนั้น      เพราะเทอร์โมสตาตมักจะตั้งไว้ถูกต้องอยู่ที่ 23-23 องศาเซลเซียส (หรือต่ำกว่า) แต่อุณหภูมิในห้องก็ยังสูง 29-30 องศาเซลเซียสอยู่    มาถึงตอนนี้ช่างเกือบทั้งร้อย  ก็จะตั้งเทอร์โทสตาตต่ำลงไปอีก บางทีก็บิดกันจดสุด   โดยมีความหวังเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่ามันจะช่วยให้เย็นขึ้นบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วมันจะไม่ช่วยอะไร เพราะถ้าเครื่องปรับอากาศปกติดีอยู่ก็จะต้องทำความเย็นตามที่ตั้งไว้เดิมได้อยู่แล้ว ไม่ต้องมาตั้งกันลงไปอีก

          ถ้าท่านเคยพบปัญหาลักษณะนี้ บทความนี้อาจช่วยท่านได้ ในการตรวจสอบไปทีละตอน เพื่อให้รู้แน่ว่าปัญหาแอร์ไม่เย็นเกิดจากอะไรกันแน่ แล้วจะได้แก้ปัญหาได้ถูกจุด เหมือนกับเกาได้ถูกที่คัน   เมื่อพบปัญหาแอร์ไม่เย็นให้เริ่มตรวจสอบตามหัวข้อดังนี้

          ตรวจสอบอุณหภูมิลมจ่าย  การตรวจสอบอุณหภูมิลมจ่ายทำโดยใช้เทอร์โมมิเตอร์ ถ้าจะให้ดีควรเป็นแบบดิจิตอล ซึ่งจะวัดได้แม่นยำและรวดเร็วกว่า วิธีวัดควรวัดให้ใกล้กับหน้ากากจ่ายลมเย็นให้มากที่สุด ถ้าจะให้ดีควรยื่นเข้าไปวัดในหน้ากากจ่ายลมเลย แต่ต้องระวังไม่ให้หัววัดสัมผัสกับหน้ากาก

 การตรวจสอบ

1. ถ้าวัดได้ 10-15 C ถือว่าปกติ
2. ถ้าวัดได้สูงกว่า 15 C ถือว่าสูงผิดปกติ ให้ตรวจสอบดังนี้

   A. การตรวจทั่วไป
- ตรวจสอบว่ามี fresh air เข้ามามากเกินไปหรือไม่
- ตรวจสอบว่าท่อลมกลับรั่วและดูดลมร้อนเข้ามาหรือไม่
- ตรวจสอบว่าในช่องฝ้า หรือในจั่วมีรอยรั่วให้ลมร้อนเข้ามาได้หรือไม่ ในกรณีดูดลมกลับเหนือฝ้า

   B. แอร์แบบ Split type  
- ตรวจสอบว่าน้ำยาหมดหรือไม่
- ตรวจสอบว่าคอยล์เย็นและคอยล์ร้อนสกปรกหรือไม่
- ตรวจสอบว่ามีสิ่งกีดขวางทางระบายลมร้อนหรือไม่
- ตรวจสอบว่าลมร้อนถูกดูดย้อนกลับหรือไม่

   C. แอร์แบบน้ำเย็น
- ตรวจสอบอัตราไหลน้ำเย็นว่าตรงตามข้อกำหนดหรือไม่ (ปกติจะต้องการ 2.4 gpm/ตัน)
- ตรวจสอบอุณหภูมิน้ำเข้าเครื่องว่าสูงกว่าข้อกำหนดหรือไม่ (ปกติจะมีค่า 45 F)
- ตรวจสอบว่าคอยล์สกปรกหรือไม่

            หากตรวจสอบตามรายการด้านบนแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ    ก็อาจเป็นไปได้ว่าเครื่องแอร์มีขนาดทำความเย็นไม่เพียงพอ หรือเครื่องแอร์มีขนาดเล็กเกินไปนั่นเอง ทั้งนี้ขอให้ตรวจสอบปริมาณลมจ่ายในข้อถัดไป และแก้ไขให้มีลมจ่ายมากขึ้น ก็อาจจะทำให้ห้องเย็นขึ้นได้ หากเครื่องแอร์มีขนาดเล็กเกินไปไม่มากนัก

            ตรวจสอบปริมาณลมจ่าย  การ วัดปริมาณลมจ่าย  ทำโดยวัดความเร็วลม แล้วนำไปคูณกับพื้นที่ของหน้ากากจ่ายลม เครื่องวัดความเร็วลมมีหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องแบบใบพัด ซึ่งมีความแม่นยำและราคาไม่แพง    สำหรับหน้ากากลมขนาดใหญ่ควรวัดความเร็วลมหลาย ๆ จุด แล้วนำค่ามาเฉลี่ยกัน สำหรับหัวจ่ายลมติดเพดานจะสะดวกกว่าถ้าทำกรวยไปครอบแล้วต่อคอลงมาถึงระดับที่วัดได้ง่าย

            การตรวจสอบ

1. ตรวจสอบปริมาณลมว่าน้อยกว่าที่กำหนดหรือไม่ ถ้าไม่ มีแบบหรือข้อกำหนดให้พิจารณาดังนี้
- ห้องทั่วไป ควรมีปริมาณลมจ่าย 15-30 cfm/m2
- ห้องติดริมกระจก ควรมีปริมาณลมจ่าย 30-40 cfm/m2
2. เมื่อพบว่าปริมาณลมจ่ายน้อยเกินไปให้ตรวจสอบดังนี้
- ตรวจสอบว่าแผงกรองอากาศอุดตันหรือไม่
- ตรวจสอบว่าความเร็วรอบของพัดลมต่ำกว่าข้อกำหนดหรือไม่ หรือตรวจสอบว่า

สายพานสลิปหรือไม่
- ตรวจสอบว่าลมไปออกห้องอื่นๆ มากเกินไปหรือไม่
- ตรวจสอบว่ามีท่อลมรั่วตามตะเข็บรอยต่อหรือไม่
- ตรวจสอบว่าท่อลมอ่อนฉีกขาดหรือไม่
- ตรวจสอบว่ามีลมรั่วที่รอยต่อระหว่างคอหัวจ่ายกับท่อลมหรือไม่

            โดยทั่วไปแล้วปัญหาแอร์ไม่เย็นมากกว่า 90%  จะเกิดจากปัญหาอุณหภูมิลมจ่าย สูงเกิน หรือปริมาณลมจ่ายน้อยเกินไป หรือเกิดจากทั้งสองอย่างพร้อมกัน ดังนั้นเมื่อตรวจสอบตามรายการข้างต้นแล้วก็น่าจะพบสาเหตุของปัญหา และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องต่อไป


บทความอื่นๆน่าสนใจ

- ทำอย่างไรเมื่อแอร์ในบ้านไม่เย็น
- แต่งบ้านให้ได้โชคลาภต้อนรับปีใหม่
-
เทคนิคขั้นเทพวิธีทาสีบ้านหลังเก่าให้สวยสดเหมือนใหม่
-
10 วิธีเตรียมสวนและสนามหญ้ารับมือหน้าหนาว
-
15 วิธีคลายร้อนให้บ้าน
-
ดูฮวงจุ้ย ก่อนตัดสินใจซื้อคอนโด
-
5 วิธี แต่งคอนโดขนาดเล็กให้ดูกว้าง
- เพิ่มสีสันในคอนโด ด้วยหมอนอิงสีสวย
- เลือกคอนโดชั้นไหน ดีกับผู้อยู่อาศัย
- ซื้อคอนโดทั้งที เลือกห้องไหนดี ตอนเลือกทิศไหนดี

- เลือกคอนโดแบบสตูดิโอ ดีหรือไม่
- แบบคอนโด สีเขียว สวยสดชื่น
- ลงทุนในคอนโด ปลอดภัย ไม่มีเสี่ยง
- ค่าใช้จ่าย กรณีเปลี่ยนสัญญาคอนโด
- โฆษณาคอนโด แบบไหนที่ผิดกฎหมาย

Create Date :03 ธันวาคม 2557 Last Update :3 ธันวาคม 2557 18:20:28 น. Counter : 1748 Pageviews. Comments :0