bloggang.com mainmenu search

    โบรอน (Boron) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ B และเลขอะตอม 5 เป็นธาตุที่มี วาเลนซ์ 3 และเป็นกึ่งโลหะ โบรอนปรากฏมากในแร่บอแรกซ์ โบรอนมี 2 อัญรูปโดย ที่ amorphous boron เป็นผงสีน้ำตาล และ metallic boron มีสีดำ รูปแบบที่เป็นโลหะมีความแข็งมาก (9.3 บนมาตราของโมห์ส) แต่นำไฟฟ้าไม่ดีที่อุณหภูมิห้อง ไม่ปรากฏแบบอิสระในธรรมชาติ เป็นสารประกอบออกไซด์และเฮไลด์ เป็นพันธะโควาเลนท์ เช่น BF3


เลขอะตอม                     5 ธาตุแรกของหมู่ IIIA ในตารางธาตุ จัดเป็นกึ่งโลหะ
น้ำหนักอะตอม                10.811 amu
จุดหลอมเหลว                 2300 ํc
จุดเดือด (โดยประมาณ)    2550 ํc
ความหนาแน่น                 2.34 g/cc
เลขออกซิเดชันสามัญ       +3

การค้นพบ
    สารประกอบของโบรอนเป็นที่รู้จักเป็นเวลาประมาณ 6000 ปีแล้ว มีการบันทึกไว้ว่า ชาวบาบิโลน (Babylonians) ชาวอียิปต์ ชาวจีน และชาวอาหรับได้เคยใช้สารประกอบของโบรอน ชาวอาหรับเรียกแร่หลายชนิดของโบรอนว่า "baurach" ซึ่งรวมถึงโบเรกซ์ (borax) ซึ่งเป็นแร่สามัญของโบรอนในปัจจุบัน
    โบรอนในรูปของธาตุอิสระไม่เป็นที่รู้จักจนกระทั่งต้นศตวรรษ ที่ 19 Sir Humphrey Davy, Gay-Lussac และ Thernard ได้เตรียมธาตุโบรอนขึ้นโดยนำโบรอนไตรออกไซด์ (B2o3) มารีดิวซ์ด้วยโพแทสเซียม (K) และโดยการนำกรดโบริกที่ขึ้นมาแยกสลายด้วยไฟฟ้า (electrolysis) โบรอนอิสระที่เขาเหล่านั้นเตรียมได้มีความบริสุทธิ์ร้อยละ 50 เท่านั้น
    หลังจากนั้นประมาณ 50 ปี ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์โบรอนที่คล้ายคลึงกับเพชรและแกรไฟต์ ผลิตภัณฑ์โบรอนที่มีสมบัติแข็งแกร่งคล้ายเพชรมี อะลูมินัมโบไรด์ (AlB12) เป็นองค์ประกอบหลัก ส่วนที่คล้ายแกรไฟต์เป็นของผสมของ boron-aluminum-carbide
    ต่อจากนั้นได้มีการเตรียมโบรอนที่มีความบริสุทธิ์สูงประมาณ 90 % โดยการนำ B2O3 มารีดิวซ์ด้วยโลหะ Mg โบรอนที่ได้มีสีน้ำตาลอ่อนและมีโครงสร้างอสัญฐาน
    หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการศึกษาสมบัติและเคมีของโบรอนอย่างจริงจัง และพบว่าธาตุนี้มีสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น สามารถเกิดสารประกอบและสารเชิงซ้อนที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก
    ปัจจุบันนี้โบรอนที่มีความบริสุทธิ์สูงเตรียมได้โดยการแยกสลายด้วยไฟฟ้าและวิธี vapor deposition

    การใช้ประโยชน์
    1. ใช้ทำโลหะเจือสำหรับการใช้งานพิเศษ
    2. เป็นตัวดูดนิวตรอนในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เพื่อควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์
    3. เส้นใยของโบรอนใช้ผสมกับโลหะ ทำให้โลหะมีความเหนียวขึ้น
    4. ใช้เป็นกึ่งตัวนำ (semiconductors)
    5. ใช้ผสมในเชื้อเพลิงขับจรวด
    6. ผสมในโลหะเจือที่ใช้งาน ณ อุณหภูมิสูงมาก ๆ

ความเป็นพิษ
    โบรอนในรูปของโลหะไม่เป็นพิษ ในรูปผงหรือฝุ่นแข็งและคนมาก อาจเป็นอันตรายต่อผิวหนังได้เมื่อสัมผัส นอกจากนี้ผงหรือฝุ่นของโบรอนติดไฟได้เองในอากาศ จึงอาจเกิด อัคคีภัยและการระเบิดได้
    โบรอนในปริมาณเล็กน้อยดูเหมือนจะจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืชและเป็นพิษถ้ามีปริมาณมากเกินไป
    สารประกอบของโบรอนเป็นพิษต่อระบบประสาทกลางของคนเรา และความเป็นพิษในแบบสะสมทำให้เกิดอาเจียน ท้องร่วง ช๊อค และผื่นคันที่ผิวหนังได้ อาการพิษจะร้ายแรงเพียงใดขึ้นกับปริมาณที่ร่างกายรับเข้าไปหรือมีสะสมอยู่
    การรับโบริกครั้งละ 15-20 g สำหรับผู้ใหญ่ และ 5-6 g สำหรับเด็กทำให้ถึงตายได้

ที่่มา : //th.wikipedia.org/wiki
         //web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic2/B.html

Smileyขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมครับSmiley

Create Date :23 สิงหาคม 2555 Last Update :23 สิงหาคม 2555 17:26:49 น. Counter : 3672 Pageviews. Comments :0