bloggang.com mainmenu search
วิวัฒนาการบัตรประจำตัวประชาชน
"บัตรประจำตัวประชาชน" เป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้เฉพาะผู้มีสัญชาติไทยเพื่อใช้พิสูจน์ทราบและยืนยันตัวบุคคลนับได้ว่าเป็นเอกสารที่มี เช่น การใช้สิทธิเลือกตั้งการสมัครงาน การติดต่อธุรกิจการค้า การทำนิติกรรมสัญญา และการติดต่อประสานงานกับส่วนราชการหรือภาคเอกชน
นอกจากนั้นยังเป็นหลักฐานที่หน่วยงานต่าง ๆ ใช้ตรวจสอบบุคคลเพื่อประกอบการออกหนังสือสำคัญต่าง ๆ เฉพาะด้าน เช่นบัตรประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาล ใบอนุญาตขับรถ หนังสือเดินทาง หรือแม้แต่บัตรเครดิตประเภทต่างๆ ที่นิยมใช้กันในวงการของสถาบันการเงิน และการธนาคาร ซึ่งหากไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว ความยุ่งยากสับสนในการยืนยันตัวบุคคลย่อมเกิดขึ้นอีกทั้งจะส่งผลทำให้การติดต่อดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ ไม่อาจดำเนินการไปได้ด้วยความสะดวกรวดเร็ว"หนังสือเดินทางสำหรับราษฎร": ต้นกำเนิดของบัตรประจำตัวประชาชน
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถชี้ชัดได้ว่าคนไทยเริ่มมีการใช้หนังสือยืนยันตัวบุคคลปรากฎอยู่ใน พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โดยในมาตรา 90 บัญญัติว่า "กรมการอำเภอเป็นพนักงานทำหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรในท้องที่อำเภอนั้น จะนำไปมาค้าขายในท้องที่อื่น"
วัตถุประสงค์ของการออกหนังสือเดินทางรับรองราษฎรดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของราษฎรโดยตรง เพราะการมีหนังสือเดินทางของทางราชการไว้แสดงตัวบุคคลว่า ตัวเขาเป็น ใคร มาจากแห่งหนตำบลใด ย่อมทำให้การเดินทางในต่างท้องที่เป็นไปด้วยความสะดวก และหากเจ้าหน้าที่เกิดความสงสัยขอตรวจค้นตัว ก็สามารถใช้หนังสือเดินทางที่ออกให้ เป็นหลักฐานยืนยันและพิสูจน์ได้ว่า เป็นคนบริสุทธิ์ที่ทางราชการรับรองแล้ว ไม่ได้เป็นพวกมิจฉาชีพหรือพวกโจรแต่อย่างใด
หนังสือดังกล่าวจึงเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในสมัยนั้นและเหมาะสมกับสภาพการเวลาของสังคมเมื่อประมาณ 80 ปีที่แล้ว ความสำคัญของหนังสือเดินทางตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ จึงไม่แตกต่างไปจากความสำคัญของบัตรประจำตัวประชาชนในปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าต้นกำเนิดของบัตรประจำตัวประชาชนมีที่มาจากหนังสือเดินทางสำหรับราษฎร เพื่อใช้เดินทางไปท้องที่ที่อื่นสำหรับการค้าขายติดต่อกันโดยมีกรมการอำเภอ(หรือนายอำเภอปัจจุบัน) เป็นพนักงานทำหนังสือดังกล่าวพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2486 : กฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนฉบับแรกของไทย
ผลของการออกหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ทำให้ทางราชการเห็นความจำเป็นที่จะต้องทำเอกสารเป็นหลักฐาน เพื่อแสดงว่าใครคือใคร อยู่ที่ไหน รูปพรรณเป็นอย่างไร เพื่อประโยชน์ในการปกครองท้องที่และการควบคุมราษฏรของทางราชการ รวมทั้งประชาชนก็จะได้ประโยชน์ในการติดต่อซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการทำมาค้าขาย
ดังนั้นในปี พ.ศ. 2486 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่8 รัฐบาลโดยการนำของจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอออกกฎหมาย ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นมาบังคับใช้เป็นการเฉพาะครั้งแรก เรียกว่า "พระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2486"นับเป็นกฏหมายฉบับแรกที่เกี่ยวกับการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่คนไทย แต่ประกาศและบังคับใช้เฉพาะราษฎรในจังหวัดสองจังหวัดเท่านั้น คือ จังหวัดพระนคร และจังหวัดธนบุรี (กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน)
บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก มีลักษณะเป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พับเป็น 4 ตอนคล้ายบัตรยืมหนังสือของห้องสมุดมีทั้งหมด 8 หน้า แต่ละตอนกว้าง 4 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว ตัวบัตรใช้ได้ทั้ง2ด้านด้านหน้า(ปกหน้า) จะมีรูปครุฑและคำว่า "บัตรประจำตัวประชาชน" พร้อมเลขทะเบียนที่ออกบัตร ด้านหลัง (ปกหลัง) เป็นคำเตือนสำหรับผู้ถือบัตร ให้ระลึกถึงหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนอาทิเช่น ต้องพกบัตรติดตัวและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้เสมอต้องขอเปลี่ยนบัตรเมื่อบัตรหมดอายุต้องแจ้งขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในบัตรเมื่อมีการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือที่อยู่ เป็นต้น


^บัตรรุ่นที่หนึ่ง บัตรประจำตัวประชาชนแบบสมุดพก^


ในแต่ละหน้าต่อมาจะมีการบอกลำดับเลขไว้ดังนี้
หน้าที่ 1 ระบุข้อความว่า เลขทะเบียนที่ออกบัตร วันที่ออกบัตรออกให้ ณ ที่อำเภอ จังหวัด พร้อมปิดรูปถ่ายของผู้ถือบัตรนาด 2 นิ้ว และมีลายมือผู้ถือบัตรและลาย พิมพ์นิ้วหัวแม่มือขวา
หน้าที่ 2 เป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือบัตร ได้แก่ ชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล วันเดือน ปีเกิด อายุ ตำหนิแผลเป็น รูปพรรณเชื้อชาติ สัญชาติ ชื่อบิดา มารดา ชื่อภริยา หรือ สามี
หน้าที่ 3 เป็นข้อมูลทางทะเบียนราษฎร ได้แก่ ที่เกิด บ้านเลขที่ ตำบล อำเภอ จังหวัดประเทศที่อยู่บ้านเลขที่ ถนนหมู่บ้าน ตำบลอำเภอ จังหวัดอาชีพ และมีตราประจำตำแหน่งพนักงานเจ้าหน้าที่
หน้าที่ 4 - 6 มีไว้สำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงรายการของผู้ถือบัตร ลักษณะพื้นบัตร เป็นสีฟ้าอมเขียว มีลายเทพพนมตลอดใบ ด้านหน้าและด้านหลัง ในแต่ละหน้าจะมีรูปแผนที่ประเทศไทย และรูปเรือสุพรรณหงส์กับวัดอรุณราชวราราม เด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลางรูปประเทศไทย
บัตรประจำตัวประชาชนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีอายุการใช้ 10 ปี เมื่อบัตรหมดอายุแล้ว ต้องทำคำร้องขอปลี่ยนบัตรโดยเสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 25 สตางค์ ส่วนบุคคลซึ่งจะต้องมีบัตรตามกฎหมาย คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์จนถึง 70 ปีบริบูรณ์ และกำหนดให้ยื่นคำร้อง ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นต้องมีบัตรตามพระราชบัญญัตินี้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2505: กฎหมายที่บังคับให้คนไทยทั่วประเทศต้องมีบัตร
ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองโดยเฉพาะความเจริญของภูมิภาคส่งผลให้ราชการ และประชาชนคนไทยต้องปรับตัวและ ปรับวิถีทางของความเป็นอยู่ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การติดต่อทางสังคมและเศรษฐกิจของประชาชนก็เปิดกว้างขวางขึ้น
บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก มีจุดอ่อนในด้านการพกพา ทั้งนี้เนื่องจากมีลักษณะใหญ่เกินไป ทำให้เกิดความไม่สะดวก ต่อผู้ใช้ที่จะต้องนำพกพาติดตัวไปด้วยเสมอ ประกอบกับลักษณะของบัตร หลักการ และวิธีการทางกฎหมายในเรื่องการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ล้าสมัยรัฐบาลในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงกฎหมาย ว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและให้สามารถบังคับใช้กับประชาชนคนไทยทั่วประเทศ
ในที่สุดจึงได้ออก "พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505" ซึ่งให้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2506 เป็นต้นมาโดยการออกบัตรจะมี "กรมการปกครอง" เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการออกบัตรประจำตัวประชาชนทั่วประเทศ
สาะระสำคัญที่แตกต่างไปฉบับปี พ.ศ. 2486 มีหลายประการ อาทิ เช่น กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่ต้องมีบัตรต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุระหว่าง 17 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ บัตรมีอายุ 6 ปี กำหนดค่าธรรมเนียมในการออกบัตรหรือเปลี่ยนบัตร ไว้ฉบับละ 5 บาท และให้ยกเลิกบัตรประจำตัวประชาชนรุ่นแรก เปลี่ยนมาใช้บัตรรุ่นใหม่แทน
ลักษณะของบัตรรุ่นที่สองเป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 6 เซ็นติเมตร ยาว 9 เซ็นติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปตราครุฑอยู่ตรงกลาง มีข้อความ "สำนักงานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนกระทรวงมหาดไทย" วันที่ออกบัตรและวันบัตรหมดอายุด้านหลังจะเป็นรายการของผู้ถือบัตร ประกอบด้วย รูปถ่ายที่มีเส้นบอกส่วนสูงเป็นนิ้วฟุต ใต้รูปจะมีเลขและคัวอักษรแสดงถึงอำเภอที่ออกบัตรและเลขทะเบียนบัตรและตราประจำตำแหน่งเจ้าพนักงานออกบัตร ปรากฎอยู่ทางด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะมีชื่อตัวชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด อายุ ที่อยู่ และลายมือชื่อเจ้าพนักงานออกบัตร


^บัตรรุ่นที่สอง^

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่สองนี้เป็นบัตรรูปขาว-ดำ รายการผู้ถือบัตรพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา คนไทยได้ทำบัตรรุ่นนี้ ตั้งแต่ปี 2506 จนถึงสิ้นปี 2530 รวม 24 ปี ประมาณไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบัตรจึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายของคนไทยในช่วง ระหว่างปีดังกล่าวพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2526 : กฎหมายฉบับปัจจุบัน
พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 ใช้บังคับได้ประมาณ 21 ปีพบจุดอ่อนหลายประการข้อสำคัญคืออายุของผู้ที่จะต้องมีบัตรที่กำหนดไว้17ปีบริบูรณ์ ไม่สัมพันธ์กับกฎหมายคุ้มครองแรงงานประกอบกับกฎหมายฉบับนี้กำหนดการให้นับอายุตามปีพุทธศักราช ทำให้จำนวนประชาชนผู้ขอยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน จะมายื่นทำบัตรกันมากในช่วงตั้งแต่วันที่1มกราคมจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ปัญหาทางข้อกฎหมายทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง
ในสมัยรัฐบาลที่มี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีจึงได้ยกเลิก พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 และตรา "พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526" ขึ้นใช้บังคับแทน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
กฎหมายฉบับนี้ มีข้อเด่นในเรื่องการปรับปรุงจุดอ่อนของกฎหมายฉบับก่อน ได้แก่ การลดอายุของผู้ที่จะต้องขอมีบัตรจาก17 ปีบริบูรณ์ เป็น15ปีบริบูรณ์เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานการนับอายุผู้ขอมีบัตร15ปีบริบูรณ์ให้นับชนวันเดือนปีเกิดของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นการนับอายุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากนั้น ได้ขยายระยะเวลาการขอมีบัตรเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ 60 วัน เป็น 90 วัน กำหนดให้บัตรที่ยังใช้ได้ในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบ70ปีบริบูรณ์ สามารถใช้ได้ต่อไปจนกว่าผู้ถือบัตรจะเสียชีวิต กำหนดลักษณะความผิดเกี่ยวกับบัตรและบทลงโทษเพิ่มขึ้น และไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการขอมีบัตรครั้งแรกหรือขอมีบัตรใหม่เมื่อบัตรเดิมหมดอายุ
การเปลี่ยนแปลงพ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนในครั้งนี้มิได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และลักษณะของบัตรประจำตัวประชาชนแต่อย่างใด ลักษณะของบัตรยังคงเหมือนเดิมทุกประการ
บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 3 : การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการผลิตบัตร ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสูงขึ้น ทั้งประเทศค่ายเสรีประชาธิปไตย ค่ายสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ และค่ายประเทศที่สาม ทำใหมีบุคคลต่างด้าวเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งในลักษณะของผู้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายและผู้อพยพหลบหนีเข้าเมืองโดยมิชอบ ความต้องการบัตรประจำตัวประชาชนในหมู่ของคนต่างด้าวเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยได้เยี่ยงคนไทย ก่อให้เกิดปัญหาการปลอมแปลงบัตรประจำตัวประชาชนระบาดอย่างหนัก
นอกจากนี้ตัวแปรทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในภาคเอกชนและราชการไทย สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องกระตุ้นให้มีการเรียกร้องปรับปรุงรูปโฉมของบัตรประจำตัวประชาชนให้สวยงาม ก้าวหน้า ทันสมัย และสามารถป้องกันการปลอมแปลงได้มากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติรสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีมติเมื่อวันที่30 เมษายน 2529เห็นชอบโครงการปรับปรุงระบบการผลิตบัตรประจำตัวประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และอนุมัติให้ดำเนินการได้ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว เป็นจุดเริ่มต้นของการพลิกโฉมหน้าของบัตรประจำตัวประชาชน มาสู่รูปแบบใหม่เป็นบัตรรุ่นที่ 3


^บัตรรุ่นที่สาม^

บัตรประจำตัวประชาชนรุ่นที่ 3 นี้ ลักษณะบัตรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 5.4 เซ็นติเมตร ยาว8.4เซ็นติเมตร ตัวบัตรจะเป็นสีขาวและมีลายพื้นเป็นเส้นสีฟ้าทั่วบัตรทั้งสองด้าน ด้านหน้าของบัตรมีรูปครุฑอยู่ตรงกลาง มีตัวอักษรคำว่า "บัตรประจำตัวประชาชน"
Create Date :26 กุมภาพันธ์ 2555 Last Update :26 กุมภาพันธ์ 2555 14:01:17 น. Counter : Pageviews. Comments :2