Deconstruction Darwin เตตระพอด ------------------------------------------------------------------------ ![]() หากมองลงไปยังป่าชายเลนแถวสันทวีป จะเห็นขบวนอพยพของสิ่งมีชีวิตรูปร่างประหลาดคลานข้ามทุ่งกว้างจำนวนหลายแสนตัว สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มีเป็นสัตว์น้ำ มีรูปร่างคล้ายปลาแต่ทว่ากลับมีระยางยืนออกมาคล้ายขาสี่ข้าง ช่วยให้มันสามารถตะกายบนบกไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว มันมีชื่อว่า "เตตระพอด" ฤดูกาลและสภาพภูมิประเทศอันแปลกประหลาดของโลกยุคโบราณ บริเวณใจกลางทวีปจะมีฤดูแล้งที่ยาวนานถึง 6 เดือน การขาดฝนอันยาวนานทำให้หนองน้ำส่วนใหญ่เหือดแห้งจนหมด สภาพการณ์เช่นนี้บังคับให้พวก เตตระพอด ต้องอพยพจากแหล่งน้ำแห่งเก่าที่แห้งเหือดไปยังแหล่งน้ำแห่งใหม่ไกลออกไปทางแนวขอบทวีป จากแหล่งน้ำหนึ่งไปยังอีกแหล่งน้ำหนึ่ง และเมื่อฤดูหนาวมาถึงบริเวณขอบทวีปก็จะหนาวเกินกว่าที่พวกมันจะอยู่อาศัยได้ เตตระพอดจึงจำใจต้องเดินทางกลับมายังใจบริเวณใจกลางทวีปที่อบอุ่นกว่า วัฏจักรชีวิตของพวกมันดำเนินผ่านไปอย่างนี้ปีแล้วปีเล่า ขบวนของเตตระพอดจำนวนหลายแสนตัว เคลื่อนที่ยาวหลายกิโลเมตร ยังพวกมันไม่สามารถหายใจบนบกได้แต่สามารถกลั้นหายใจได้นานเกือบครึ่งชั่วโมง ดังนั้นพวกมันจึงตะกายสุดชีวิต ทั้งเบียด เหยียบกัน ใช้อ๊อกซิเจนที่เก็บไว้ทุกๆ โมเลกุล เพื่อไปยังหนองน้ำแห่งใหม่ให้เร็วที่สุด เตตระพอดกลุ่มที่แข็งแรงที่สุด กลั้นหายใจได้นานที่สุด เคลื่อนที่เร็วที่สุด จะรอดชีวิตไปได้เมื่อหมดฤดูกาล เตตระพอดที่รอดชีวิตมานั้นเหลือจำนวนเพียงไม่กี่พันตัว พวกมันจะเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ถ่ายทอดยีนชุดที่ดีที่สุดให้แก่ลูกหลานของมันต่อไป ทั้งหมดนี้เป็นไปตามกฏการคัดสรรตามธรรมชาติของ ชาร์ลส ดาวิน ชาร์ลส ดาร์วิน ------------------------------------------------------------------------ ![]() ในหนังสือชื่อ "The Origin of Species" นำเสนอแนวความคิดเรื่องการวิวัฒนาการตามหลักการคัดสรรตามธรรมชาติ กล่าวคือสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า จะสามารถเอาตัวรอดได้ดีกว่า เพื่อถ่ายทอดยีนของพวกมันไปสู่ลูกสู่หลานได้ ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายๆ คือ ตัวยีราฟ ในสมัยโบราณเป็นสัตว์คอสั้น ยีราฟพยามจะยืดคอของมันเพื่อกินใบไม้ที่อยู่สูงๆ ตัวที่คอยาวกว่าจะกินใบไม้ได้เยอะกว่า จึงแข็งแรงกว่าและมีโอกาสสืบพันธุ์มากกว่า ลักษณะเด่นที่สำคัญในการอยู่รอดนี้ถูกถ่ายทอดผ่านยีนของมันไปจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ประชากรยีราฟในรุ่นถัดมามีคอที่ยาวขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นยีราฟในปัจจุบันซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างจากบรรพบุรุษของมันโดยสิ้นเชิง (อันที่จริงผลงานเรื่องยีราฟนี้เป็นผลงานของ ลาร์มาร์คซ หาใช่ผลงานของดาร์วินอย่างที่หลายเข้าใจกันผิด) ดาร์วินค้นพบความจริงข้อนี้จากการสังเกตุจงอยปากของนกกระจอกที่มีลักษณะแตกต่างกันไปตามแหล่งอาศัยบนเกาะ ทฤษฏีวิวัฒนาการนั้นชี้ให้เห็นภาพอย่างเรียบง่าย ของการเปลี่ยนแปลงลักษณะของโครงสร้างทางกายภาพของสิ่งมีชีวิต จากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง แต่ก็อธิบายจำเพาะสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะทางโครงสร้างละม้ายกันเท่านั้น การที่ลิงและมนุษย์มีบรรพบุรุษร่วมกัน เราะจะเห็นลักษณะร่วมได้อย่างชัดเจน เนื่องเพราะลักษณะโครงสร้างทางกายภาพส่วนใหญ่คล้ายกันเป็นอย่างยิ่ง มีเท้าสองข้าง นิ้วข้างละห้านิ้ว ตำแหน่งของอวัยวะต่างๆ หรือ ตามหลักการวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่าอวัยวะไหนมีการใช้งานมากก็จะมีความใหญ่โต แข็งแรงมากขึ้น อวัยวะไหนที่ไม่มีการใช้งานก็จะหดเล็กลงหรือหดหายไปในที่สุด ดังเช่นปีกของนกขนาดใหญ่อย่างนกกระจอกเทศ เป็นต้น กระทั่งให้คำอธิบายต่อการวิวัฒนาการของวาฬการเป็นสัตว์บกสู่การเป็นสัตว์น้ำ การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของมันชี้เห็นว่า ขาหลังของสัตว์บกเปลี่ยนสภาพกลายเป็นครีบของสัตว์น้ำได้อย่างไร แต่การเปลี่ยนจากสัตว์บกเป็นสัตว์น้ำนั้น กลับกลายเป็นคนละเรื่องกับการเปลี่ยนของสัตว์น้ำให้กลายเป็นสัตว์บก ดังเช่นกรณีปลามีปอด ปลามีปอด ------------------------------------------------------------------------ ในกรณีตัวอย่างดังกล่าวที่ยกมานั้น เป็นการเทียบให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางกายภาพของสิ่งมีชีวิตจากอวัยวะที่มีอยู่แล้ว เช่น ขากลายเป็นปีก คอยาวขึ้น ตัวสั้นลง แต่วาฬไม่ได้เปลี่ยนระบบการหายใจของมัน มันคงอาศัยการหายใจด้วยปอด ดังเช่นบรรพบุรุษของมัน การเกิดปอดของปลานั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงมากมายกว่าที่เกิดขึ้นในวาฬมาก หากอธิบายกันตรงๆ ตามทฤษฏีวิวัฒนาการ การเกิดอวัยวะปอดในปลานั้น สืบเนื่องมาการวิวัฒนาการให้สามารถดำรงชีวิตอยู่บนบกได้นานๆ ของปลา อาจจะเกิดจากสาเหตุที่สภาพของโลกเปลี่ยนไป คำตอบแบบกำปั้นทุบดินเช่นนี้ให้ความกระจ่างกับเรามากพอๆ กับพูดว่ามนุษย์สืบสายพันธุ์มาจากอาดัมกับอีฟนั่นเอง ลองจินตนาการกันดูถึงสภาพของเตตระพอดกลุ่มแรกที่ถือว่าเป็น missing link ระหว่างสัตว์บกกับสัตว์น้ำ ระหว่างที่พวกมันกระเสือกกระสนเจียนเป็นเจียนตายข้ามไปหาแหล่งน้ำแหล่งใหม่นั้น ภายในร่างกายของพวกมันก็มีก้อนเนื้อเล็กๆ ขนาดไม่กี่เซ็นติเมตร งอกขึ้นมาในช่องอก ซึ่งหาได้เป็นประโยชน์อันใดกับพวกมันไม่ พวกมันยังคงไม่สามารถหายใจผ่านก้อนเนื้อขนาดเล็กนี้ได้ จนกระทั่งผ่านไปอีกหลายร้อยรุ่น ก้อนเนื้อก้อนเดิมมีขนาดใหญ่ขึ้นมาเล็กน้อย แต่มันสามารถดึงเอาอ๊อกซิเจนในอากาศมาใช้งานได้แล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่มากก็ตาม..... ข้อขัดแย้งคือก้อนเนื้อที่ไร้ประโยชน์นั้นจะสามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นอวัยวะที่สลับซับซ้อนได้อย่างไร หากมันสามารถใช้งานได้ไม่ต่างจากก้อนหูด ก้อนสิว และตามระบบการคัดสรรตามธรรมชาติแล้วอะไรที่ไม่มีประโยชน์ก็มีแนวโน้มว่าจะหดหายหรือสูญหายไป แต่ในทางตรงกันข้ามอวัยวะที่ว่ากลับมีขยายขนาดของมันมากขึ้น มากขึ้นในแต่ละรุ่นที่ผ่านไป จนกระทั่งวันหนึ่งอวัยวะที่ว่านี้กลายเป็นปอดในที่สุด หากการวิวัฒนาการมีแนวโน้มเป็นดังย่อหน้าข้างต้น ก็เหมือนกับว่ามีใครบางคนเขียนพิมพ์เขียวสำหรับอวัยวะใหม่รอให้สัตว์เหล่านี้อยู่แล้ว โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม และไม่สนใจความสามารถในการอยู่รอด อวัยวะที่ว่านี้รู้ตัวเองเสมอจะพัฒนาไปเป็นอะไร และใช้ทำงานอะไร และหากเป็นเช่นนั้นจริงก็เท่ากับว่าวิทยาศาสตร์ได้ยอมรับเอาแนวความคิดแบบเทวนิยม เรื่องของพระผู้สร้าง เสียแล้ว และถ้ามันไม่ได้ค่อยๆ พัฒนาทีละเล็ก ละน้อย จากรุ่น สู่รุ่น แต่หากมันงอกขึ้นมาเบียดบังอวัยวะอื่น แล้วเอาอาหารจากเลือดไปเรื่อยๆ แบ่งตัวแบ่งเซลล์พัฒนา จนมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นๆ ลักษณะการพัฒนากรเช่นนี้ทำให้นึกถึงเซลล์อีกประเภทหนึ่งที่รู้จักกันดีนั่นคือ "มะเร็ง" มะเร็ง ------------------------------------------------------------------------ มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดขึ้นจากการแบ่งเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ และการที่เซลล์เหล่านี้เข้าไปทำลายเนื้อเยื่ออื่น ๆ อาจโดยการที่เซลล์เจริญเติบโตเข้าไปยังเนื้อเยื่ออื่น ๆ หรือการกระจายเซลล์ไปยังที่อื่น ๆ การเจริญเติบโตที่ไม่สามารถควบคุมได้นี้ อาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอภายในเซลล์ ทำให้ข้อมูลทางพันธุกรรมที่ควบคุมการทำงานของเซลล์สูญเสียไป แล้วมะเร็งมีประโยชน์อะไรกับสิ่งมีชีวิต ทำไมมันจึงยังคงมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตเกือบทุกประเภท เกิดได้เกือบในทุกอวัยวะ หากมันเป็นลักษณะพันธุ์กรรมด้อย ทำไมมันจึงไม่ถูกกำจัดออกไประยะเวลาหลายล้านปีที่ผ่านมา เว้นแต่ว่า ยีนมะเร็งนั้นไม่ใช่ยีนด้อยนั่นเอง ลองนึกถึงเซลล์มะเร็งในฐานะห้องทดลองในการสร้างอวัยวะใหม่ของธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของระบบการสร้างความหลากหลายทางพันธุ์กรรม ภาพของตัวเตตระพอดกระเสือกกระสนล้มตายนับหมื่นตัว บางตัวมีก้อนเนื้องอกอัปลักษณ์น่าเกลียด บางตัวเกิดมาพิกลพิการ บางตัวเกิดมาพร้อมกับระยางมากถึงหกอัน บางตัวมีสองหัว สัตว์พิการเหล่านี้ก็กระเสือกกระสนเอาตัวรอดไปในทางเดียวกันกับเตตระพอดตัวอื่น แต่น่าเสียดายความพิการส่วนใหญ่ทำให้มันล้มตายอย่างรวดเร็ว แต่บางตัวก็ไม่เป็นเช่นนั้น เตตระพอด ------------------------------------------------------------------------ ฤดูแล้งมาเยือนฝูงเตตระพอดฝูงเดิมอีกครั้ง แต่ในครั้งนี้พวกมันกับมีท่าทางเอื่อยเฉื่อย ส่วนใหญ่ของฝูงมานอนเกยตื้นบริเวณริมหนองน้ำ อาบแดดเพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้แก่ร่างกาย และหายใจเอาอ๊อกซิเจนผ่านปอดอันแข็งแรงทั้งคู่ของมัน เตตระพอดตัวที่ใหญ่สุดเป็นจ่าฝูง ตะกายขึ้นมาจากหนองน้ำ ส่งเสียงร้องสั้นๆ เป็นสัญญาณการอพยพฝูง มันเริ่มออกเดินนำไปเป็นตัวแรก ส่วนที่เหลือของฝูงเริ่มออกเดินตาม ภาพฝูงอพยพเป็นเส้นระนาบตามนอนตัดกับสีแดงฉานของพระอาทิตย์ยามอัสดง. สงสัยจะมีแต่ยายที่อ่านจนจบ....
โดย: นพดล IP: 210.246.71.62 วันที่: 10 ธันวาคม 2548 เวลา:22:34:32 น.
อ่านจบแล้ว...
ถึงได้รู้ว่าทำไมกระโหลกมันถึงหนาเข้าข้างใน สมองลีบเล็ก เพราะว่าคงไม่ค่อยได้ใช้งานมันนั่นเอง ![]() โดย: \(^;^)/
![]() ขอโทษนะคะ น้องเขียนบทความนี้เองหรือคัดมาจากหนังสือวิทยาศาสตร์คะ เผื่อจะนำไปเป็นข้อมูลในการทำงานต่อไป ช่วยแนะนำที่มาด้วยค่ะ
โดย: karavathai IP: 64.131.239.20 วันที่: 10 ธันวาคม 2549 เวลา:23:05:56 น.
ได้ความรู้มากเลย
โดย: นุ้ย IP: 118.172.68.90 วันที่: 12 มกราคม 2552 เวลา:11:08:52 น.
|
ได้ความรุ้เพิ่มมากมาย...
อ่านแล้วรีบสำรวจตัวเองเลยนะเนี่ย
เรามีระยางแปลกประหลาดอะไรโผล่มารึเปล่า