Object Oriented Programming Object Oriented Programming (OOP) เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวคิด และกฎเกณฑ์การพัฒนาโปรแกรมอย่างสิ้นเชิง โดย Object Oriented Programming จัดโครงสร้างการทำงานรอบ ๆ อ๊อบเจคแทนที่คำสั่ง ทำงานกับข้อมูลมากกว่าตรรกะ ซึ่งแนวคิดเดิมโปรแกรมสามารถมองว่า กระบวนทางทางตรรกะ โดยการนำเข้าข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ จึงทำให้โปรแกรมแบบดั้งเดิมเห็นการทำงานทางตรรกะโดยการนำเข้าข้อมูล ในส่วน Object-Oriented Programming ให้ความสนใจในการควบคุมอ๊อบเจคแทนที่การใช้ตรรกะในการควบคุม ขั้นตอนแรกของการทำงานให้เริ่มจากระบุออพเจคและความสัมพันธ์ของอ๊อบเจค หรือเรียกว่าการสร้าง Data modeling จากนั้นให้นำอ๊อบเจคมากำหนด Classและกำหนดประเภทข้อมูล รวมถึงขั้นตอนทางตรรกะ หรือ method ในการควบคุม การทำงานกับ class เป็นการเรียกอ๊อบเจค แต่บางครั้งจะเรียก class instance โดยอ๊อบเจคและ instance class เป็นสิ่งที่ทำงานอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วน method เป็นการส่งคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ และคุณสมบัติของอ๊อบเจคเป็นแสดงลักษณะข้อมูล การติดต่อกับอ๊อบเจค และภายในอ๊อบเจคใช้อินเตอร์เฟซที่เรียกว่า message แนวคิดและกฎเกณฑ์ที่สำคัญของ Object-Oriented Programming สามารถสรุปได้ คือ - แนวคิดของชั้นข้อมูล Data Class ทำให้สามารถกำหนด subclass ของอ๊อบเจคเพื่อการใช้ร่วมบางส่วนหรือบางส่วนใน class หลัก หรือเรียกว่า inheritance ซึ่งแนวคิดนี้ทำให้วิเคราะห์ทำได้สะดวกและลดการพัฒนาโปรแกรม - การกำหนด Class เฉพาะข้อมูลที่ต้องการ ทำให้เมื่อมีการประมวลผลคำสั่งจะไม่สามารถไปใช้ข้อมูลอื่นของโปรแกรม คุณลักษณะการซ่อนข้อมูล ทำให้ระบบมีความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการทำให้ข้อมูลเสียหาย - การกำหนด Class ทำให้สามารถนำไปใช้ได้อีกทั้งภายในโปรแกรมและโปรแกรมอื่น - แนวคิดของชั้นข้อมูล ยินยอมให้ผู้พัฒนาโปรแกรมสามารถสร้างประเภทข้อมูลใหม่ได้เอง ภาษาคอมพิวเตอร์แบบ Object-Oriented ภาษาแรก ๆ คือ Small talk ในปัจจุบันภาษา C++ และJava ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ภาษา Java ได้รับการออกแบบโดยเฉพาะ ในการใช้กระจายโปรแกรมประยุกต์บนระบบเครือข่ายและอินเตอร์เน็ต ที่มา widebase.net |
บทความทั้งหมด
|