RFID
RFID
(Radio-frequency identification)

RFID tags เป็น intelligent bar codes ที่สามารถสื่อสารกับ  networked system และตัวอ่าน ทำให้สามารถค้นหาติดตามสินค้าที่มีtag นี้ติดอยู่ได้ 
สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายๆด้านทั้งทางธุรกิจหรือด้านอื่นๆ เช่นใช้ในการติดตามสัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์ หรือติดตามพาหนะ.ผู้ป่วยสมองเสื่อม เป็นต้น

RFID technology เริ่มตั้งแต่ปี1970และมีราคาแพงเริ่มใช้ในการติดตามวัตถุใหญ่ๆเช่นยานพาหนะเทคโนโลยีเริ่มแรกๆ คือ
1. inductively coupled RFID tags ซึ่งใช้หลักการของขดลวดโลหะ.แก้วและเสาอากาศ โดยใช้หลักการของการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า ( electromagnetics)

ต่อมาได้มีการพัฒนาต่อเพื่อลดต้นทุนในการผลิต RFID ทำให้เกิด RFID รุ่นต่อมาเรียกว่า
2. Capacitively coupled tags ตัวอย่างRFID ในรุ่นนี้คือ Motorola's BiStatix RFID tags ซึ่งเป็นผู้บุกเบิก  ( frontrunners ) ของ technology นี้ tag แบบนี้ประกอบด้วย silicon chip ขนาดกว้าง 3 mm และเก็บข้อมูล 96  bit  technology นี้จึงไม่เป็นที่สนใจและถูกปิดตัวไปในปี  2001 

เทคโนโลยีใหม่ในปัจจุบัน คือ 
3. Active, Semi-pasive and Passive RFID tags. tag พวกนี้สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 2 kilobytes และประกอบด้วย microchip, เสาอากาศ ( antenna )และในกรณี active and semi-passive tags ต้องมี internal battery ด้วย  โดย tag  เหล่านี้จะถูกหุ้มอยู่ใน plastic, silicon หรือ แก้ว

หลักการพื้นฐานของการทำงานของ RFID รุ่นนี้คือ

  • ข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บใน microship รอการอ่าน
  • เสาอากาศของ tag ( tag's antenna )รับ electromagnetic energy จากเสาอากาศของ RFID reader ( RFID reader's antenna )
  • ใช้พลังงานจาก battery ภายในหรือจาก electromagnetic field ของตัวอ่าน (reader ) จากนั้น tag จะส่ง radiowave ไปยังตัวอ่าน (reader)
  • ตัวอ่านจะจับสัญญาณ radiowave ที่ tag ส่งมาและแปลผลความถี่  ( frequencies  ) เป็นผลข้อมูล

1. Active และ Semi-passive RFID tags มีแบตเตอรี่ในตัวเพื่อให้พลังงานกับระบบ( circuits ). Active tag ใช้ internal battery ในการส่ง radiowave ไปยังตัวอ่าน ( reader )ขณะที่ semi-passive tag ใช้พลังงานของ readerในการส่งสัญญาณ (broadcasting) 
2. Active และ Semi-passive RFID tags มี hardwareมากกว่าpassive RFID tags ดังนั้นราคาก็จะแพงกว่าด้วย จึงมักใช้กับสินค้าที่มีราคาแพงและสามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่า
3.  Active และ Semi-passive RFID tags ส่งสัญญาณความถี่  850 to 950 MHz ซึ่งสามารถอ่านได้ถึงระยะมากถึง 100 feet (30.5 meters) หรือกว่านั้นถ้าเพิ่มแบตเตอรี่ให้มากขึ้น
 

เพื่อป้องกันtag interference หรือ reader interference. RFID systems สามารถใช้ระบบ cellular ที่เรียก Time Division Multiple Access (TDMA) เพื่อให้การสื่อสารไร้สายของ RFID เป็นไปอย่างเหมาะสม

4. Passive RFID tags พึ่งพาพลังงานจาก  tag reader เพียงอย่างเดียว tag แบบนี้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ไกลถึง 20 feet (six meters)  tag พวกนี้มีราคาถูกและเป็นแบบ disposable หรือใช้แล้วทิ้งดังนั้นในสินค้าที่ราคาถูกมักใช้ tag แบบนี้ เช่น สินค้าใน supermarket 

นอกเหนือจากชนิด RFID tagsที่มีผลกับราคาของการผลิต RFID แล้วอีกปัจจัยที่มีความสำคัญคือชนิดของข้อมูลที่เก็บว่าเป็นแบบไหน ( data storage ) ซึ่งมี 3 ชนิดคือ read-write, read-only และ WORM (write once, read many).




Create Date : 13 มีนาคม 2563
Last Update : 13 มีนาคม 2563 14:09:08 น.
Counter : 587 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Wanchalermn.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 5705695
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]