การผ่าบอนสี ![]() ที่จริงแล้ว ก็ไม่เคยผ่าบอนสีกับเขาหรอก แต่เห็นเพื่อนสมาชิกหลายท่านที่ผ่าหัวบอนในการขยายพันธุ์ ก็เลยขอลองกับเขาบ้าง เริ่มแรกก็ลงทุนซื้อบอนสีมาก่อน แต่วงการนี้ขอบอกว่า รูปถ่ายกับของจริงต่างกันมาก บอนสีบางพันธุ์ มีชื่อมีราคา คนขายถ่ายใกล้ๆ แต่ต้นจริงมาคืบเดียว ถึงกับเงิบ เราก็ตกลงซื้อขายกับเจ้าหนึ่งที่เห็นหัวแล้วน่าจะได้ผ่า ราคาก็แพงน่าดู เรายังไม่รู้เลย ผ่าแล้วจะรอดไหม? หรือจะเสียเงินเปล่าๆ วันที่ 12.10.63 ได้หัวบนบอนมาแล้ว 3 วัน แช่น้ำรอฟื้น เตรียมอุปกรณ์ 1. หัวบอนที่เราจะผ่า 2. กะบะเพาะ/ถาดเพาะ บางคนก็ใช้ดินทั่วไป บางคนก็ใช้ทราย 3. มีด (ควรใช้มีดที่ล้างสะอาด) ขอให้ทุกอย่างสะอาด เพื่อที่หัวบอนจะได้ไม่เน่านะคะ แต่ขอบอกว่าบอนสีจริงๆ เขาทนมาก พืชหัวที่ตายยากทนแล้งเหมือนกัน #วันนั้นผ่าไป 4 อย่าง คือ หนุมาน, นางไหม, เพชรพันล้าน และ เจ้ากรุงไกรเซอร์ ![]() ขนาดของชิ้นบอนนั้น ขึ้นอยู่กับเราว่าหั่นเล็กหรือใหญ่ แต่ชิ้นเล็กไปก็อาจจะมีผลต่อการเน่า ชิ้นใหญ่ก็อาจจะติดง่ายกว่า เราเลี้ยงในถาดไข่ ดินข้างล่าง ด้านบนโรยทราย ![]() เซียนบอนหลานท่านจะมักอบถาดเพาะด้วยนะคะ เพราะบอนสีเขาชอบอบอ้าว ชุ่มฉ่ำ แต่ไม่แฉะมาก ทีแรกก็เอาถุงคลุม แต่เหมือนจะร้อนหัวอาจจะเน่าอีก เลยเอาถุงออก ผ่านไปประมาณ 20 วัน เริ่มเห็นมีหน่อบ้างบางหัว เลยย้ายน้องลงแก้วน้ำดื่มที่ใช้แล้ว เพื่อเป็นการใช้ซ้ำ ลดขยะของโลก ![]() ![]() เป็นอันว่าสมคำร่ำลือ เลี้ยงง่ายตายยาก ผ่าหัวแล้วก็งอกได้ใหม่ อัตราการงอกนั้น ยังนับไม่ได้ เพราะบางหัวยังไม่มีการเคลื่อนไหว ชิ้นเล็กๆ บางหัวก็เหมือนจะเน่าระหว่างอบอีก แต่มาอยู่ในถ้ายน้ำพลาสติกที่มีฝาปิดเหมือนอบอีกรอบ ก็เหมือนน้องๆ จะโตกันเร็ว
|
บทความทั้งหมด
|
ถาดไข่นึกอยู่ตั้งนานตัวเองเรียกแผงไข่ค่ะ